ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

วิชาการศาสนาและศีลธรรม สำหรับ หลักสูตรนายสิบอาวุโส

 วิชาการศาสนาและศีลธรรม

สำหรับ หลักสูตรนายสิบอาวุโส

------------------------

  พระพุทธศาสนากับสังคมไทย

พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศไทย

พระพุทธศาสนาได้ถูกนำมาเผยแผ่ในประเทศไทยตั้งแต่แผ่นดินไทยทุกวันนี้ยังเป็นอาณาจักรทวาราวดีซึ่งในสมัยเดียวกันนั้น 

ชาวไทยตั้งภูมิลำเนาอยู่ในผืนแผ่นดินที่เป็นประเทศจีนเดี๋ยวนี้ และเป็นที่คาดกันว่าคนไทยได้เริ่มนับถือ

พระพุทธศาสนาตั้งแต่ครั้งนั้นบ้างแล้ว

ความเป็นมาของพระพุทธศาสนาในประเทศไทย  อาจแบ่งออกได้เป็น  ๔  ยุค   คือ

๑.  ยุคเถรวาทแบบสมัยอโศก

๒. ยุคมหายาน

๓. ยุคเถรวาทแบบพุกาม

๔. ยุคเถรวาทแบบลังกาวงศ์

ยุคที่    เถรวาทแบบสมัยอโศก

พ.ศ. ๒๑๘  พระเจ้าอโศกม

หาราช  ทรงอุปถัมภ์การสังคายนาครั้งที่  ๓  ณ พระนครปาฏลีบุตร  หลังจากเสร็จสิ้นการสังคายนาแล้ว     ได้ทรงส่งพระสงฆ์ไปประกาศพระศาสนาในดินแดนต่าง ๆ          รวม ๙ สาย  บรรดา ๙ สายนั้น  พระโสณะและพระอุตตระ  เป็นสายหนึ่ง (คัมภีร์สมันตปาสาทิกาอรรถกถาแห่งพระวินัยปิฎกนับเป็นสายที่ ๘  แต่คัมภีร์ศาสนวงศ์นับย้อนเป็นสายที่ ๒)  นำพระพุทธศาสนาไปประดิษฐานในอาณาจักรสุวรรณภูมิ  ซึ่งสันนิษฐานกันว่าได้แก่จังหวัดนครปฐม  โดยมีโบราณสถานและโบราณวัตถุต่าง ๆ เช่น พระปฐมเจดีย์เป็นต้น  เป็นประจักษ์พยานอยู่จนบัดนี้  (พม่าว่าสุวรรณภูมิได้แก่เมืองสะเทิม ในพม่าภาคใต้)

ยุคที่  ๒  ยุคมหายาน

พ.ศ. ๖๒๐  พระเจ้ากนิษกมหาราช  ทรงอุปถัมภ์การสังคายนาครั้งที่ ๔  ของฝ่ายมหายาน  ณ เมือง ชลันธร  และทรงส่งสมณทูตออกประกาศ

พระศาสนาในอาเซียกลางเป็นต้น คราวนั้นพระเจ้ามิ่งตี่  ทรงนำพระพุทธศาสนาจากอาเซียเข้าไปเผยแผ่ในประเทศจีนและได้ทรงส่งทูตสันถวไมตรีมายังขุนหลวงเม้า  กษัตริย์ไทยผู้ครองอาณาจักรอ้ายลาว  คณะทูตได้นำพระพุทธศาสนาเข้ามาด้วย  ทำให้หัวเมืองไทยทั้ง  ๗๗ เมือง มีราษฎร ๕๑,๘๙๐ ครอบครัว  หันมานับถือพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรก


พ.ศ. ๑๓๐๐  กษัตริย์แห่งศรีวิชัยในเกาะสุมาตราเรืองอำนาจ  แผ่อาณาเขตเข้ามาถึงจังหวัด          สุราษฎร์ธานี  กษัตริย์ศรีวิชัยทรงนับถือพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานจึงทำให้พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานเผยแพร่เข้ามาในภาคใต้ของประเทศไทยที่อยู่ในอาณาจักรของพระองค์  ดังมีเจดีย์พระธาตุไชยาและพระมหาธาตุนครศรีธรรมราชเป็นประจักษ์พยานถึงบัดนี้

พ.ศ. ๑๕๕๐  กษัตริย์ กัมพูชา ราชวงศ์สุริยวรมัน  เรืองอำนาจ  แผ่อาณาเขตลงมาทั่วภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางของประเทศไทยและตั้งเมืองละโว้หรือลพบุรีเป็นเมืองหลวงเมืองหนึ่งสำหรับปกครองดินแดนแถบนี้ (จึงเรียกสมัยนี้ว่าสมัย ลพบุรี)  กษัตริย์กัมพูชาทรงนับถือพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ซึ่งได้เผยแพร่ต่อขึ้นมาจากอาณาจักรศรีวิชัย  แต่มหายานสมัยนี้ปนเปผสมกับศาสนาพราหมณ์มาก  ประชาชนถิ่นนี้จึงได้รับพระพุทธศาสนาทั้งแบบเถรวาทที่สืบมาแต่เดิมกับมหายานและศาสนาพราหมณ์ ที่เข้ามาใหม่  ทำให้มีผู้นับถือทั้งสองแบบ  และมีพระสงฆ์ทั้ง ๒ นิกาย  ภาษาสันสกฤต  ก็เข้ามาเผยแพร่  มีอิทธิพลในภาษาและวรรณคดีไทยมากตั้งแต่บัดนั้น

ยุคที่   เถรวาทแบบพุกาม

พ.ศ. ๑๖๐๐  พระเจ้า อนุรุทธมหาราช  หรืออโนรธามังช่อ  กษัตริย์พุกาม  เรืองอำนาจขึ้น  ทรงปราบรามัญ  รวมพม่าเข้าได้ทั้งหมด  แล้วแผ่อาณาเขตเข้ามาถึงอาณาจักรล้านนา  ล้านช้าง  จรดลพบุรี       และทวาราวดี  พระเจ้าอนุรุทธทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท  ทรงทำนุบำรุงและเผยแพร่พระพุทธศาสนาด้วยพระราชศรัทธาอย่างแรงกล้า

ย้อนกล่าวถึงชนชาติไทยในจีน  ถูกจีนรุกราน  อพยพลงมาทางใต้ตามลำดับ  หลังจากอาณาจักรอ้ายลาวสลายตัว  ก็ได้มาตั้งอาณาจักรน่านเจ้า   ครั้นถึงประมาณ พ.ศ. ๑๒๙๙  ขุนท้าวกวา  โอรสขุนบรมแห่งอาณาจักรน่านเจ้า  ได้มาตั้งอาณาจักรโยนกเชียงแสนในสุวรรณภูมิ  กาลเวลาผ่านไปคนไทยก็กระจัดกระจายอยู่ทั่วภาคเหนือ   ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางของประเทศไทยปัจจุบัน  เมื่ออาณาจักรกัมพูชาเรืองอำนาจ คนไทยที่อยู่ในเขตอำนาจขอมได้รับศาสนาวัฒนธรรมขอมไว้ด้วย  ส่วนคนไทยในอาณาจักรล้านนาคือภาคพายัพได้รับอิทธิพลขอมน้อย  แต่เมื่ออาณาจักรพุกามแผ่เข้ามาครอบงำ  คนไทยในถิ่นนี้ซึ่งนับถือพระพุทธศาสนาสืบ ๆ มาอยู่แล้ว  ก็รับนับถือพระพุทธศาสนาแบบพุกามจนเจริญแพร่หลายขึ้นทั่วไปในฝ่ายเหนือ 

ยุคที่    ยุคเถรวาทแบบลังกาวงศ์

พระพุทธศาสนาในยุคนี้  คือแบบที่นับถือสืบมาเป็นศาสนาประจำชาติของไทยจนถึงปัจจุบัน  สำหรับยุคนี้  มีรายละเอียดที่ปรากฏในประวัติศาสตร์มากกว่ายุคก่อน ๆ

พ.ศ. ๑๘๐๐  ระยะนี้  อาณาจักรพุกามและกัมพูชาเสื่อมอำนาจลงแล้ว  คนไทยตั้งตัวเป็นอิสระขึ้นได้  ทางเหนือเกิดอาณาจักรล้านนา  ใต้ลงมาเกิดอาณาจักรสุโขทัย

ย้อนกล่าวทางฝ่ายพระพุทธศาสนา ในประเทศลังกา พ.ศ. ๑๖๙๖  พระเจ้าปรากรมพาหุมหาราช  ขึ้นครองราชย์ ทรงปราบทมิฬ  ทำบ้านเมืองให้เป็นปึกแผ่น  ทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา  รวมพระสงฆ์เข้าเป็นนิกายเดียว  และโปรดให้มีการสังคายนาครั้งที่ ๗ ขึ้น  พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองในลังกาทวีปทั้งการศึกษาและปฏิบัติ  พระสงฆ์ประเทศต่าง ๆ เดินทางไปศึกษาธรรมวินัยและบวชแปลงใหม่แล้วกลับไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ในประเทศของตน  บ้างก็นิมนต์พระลังกามาด้วย  สำหรับประเทศไทย  พระสงฆ์ไทยและลังกาเช่นนี้ได้มาตั้งสำนักเผยแพร่อยู่  ณ  เมืองนครศรีธรรมราช  ได้รับความนับถืออย่างรวดเร็ว

พ.ศ. ๑๘๒๐  พ่อขุนรามคำแหง  เสด็จขึ้นครองราชย์  ทรงสดับกิติศัพท์ของพระสงฆ์ลังกาวงศ์แล้วอาราธนา  พระมหาเถรสังฆราช  จากนครศรีธรรมราชเข้ามาพำนัก  ณ วัดอรัญญิก  ในกรุงสุโขทัย  พระพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ก็รุ่งเรืองแต่นั้นมา  เบื้องต้นยังมีพระสงฆ์ ๒  พวก คือ คณะสงฆ์เดิมกับคณะสงฆ์ลังกาวงศ์  แต่ในที่สุดได้รวมเข้าเป็นนิกายเดียวกัน  ส่วนพระพุทธศาสนามหายานก็เสื่อมแล้วสูญไป  ในรัชกาลนี้ได้นำ  พระพุทธสิหิงค์  ซึ่งสร้างในลังกาขึ้นมาจากนครศรีธรรมราชไว้  ณ กรุงสุโขทัยด้วย (ชินกาลมาลีปกรณ์ว่า  ได้พระพุทธสิหิงค์มาใน พ.ศ.๑๘๐๐  รัชกาลพ่อขุนศรีอินทราทิตย์)  ศิลปแบบลังกาเริ่มเข้ามาแทนที่ศิลปแบบมหายาน  เช่นเจดีย์พระมหาธาตุนครศรีธรรมราชแปลงรูปเป็นสถูปแบบลังกาเป็นต้น

พ.ศ. ๒๐๒๐ พระเจ้าติโลกราช  โปรดอุปถัมภ์จัดการสังคยานาครั้งที่ ๑ ของประเทศไทยหรือนับต่อจากลังกาเป็นครั้งที่  ๘ ที่วัดโพธารามหรือวัดเจ็ดยอด

พ.ศ. ๒๓๒๕  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก   โปรดให้ประชุมพระสงฆ์และราชบัณฑิตทำการสังคายนาครั้งที่ ๙ ณ วัดมหาธาตุ  เสร็จแล้วคัดลอกสร้างเป็นพระไตรปิฎกฉบับหลวง    เรียกว่า  ฉบับทองใหญ่  ต่อมาทรงสร้างเพิ่ม ๒ ฉบับคือ  ฉบับรองทอง  และฉบับทองชุบ  โปรดให้มี  การสอนพระปริยัติธรรมในพระบรมมหาราชวังตลอดจนตามวังเจ้านายและบ้านข้าราชการผู้ใหญ่

พ.ศ. ๒๓๖๐  พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  ทรงมีพระราชดำริกับด้วยสมเด็จ-       พระสังฆราช (มี) ให้ทำ พิธีวิสาขบูชา  เป็นครั้งแรกในกรุงรัตนโกสินทร์เป็นนักขัตตฤกษ์ใหญ่ของปี    และโปรดให้มีการสังคายนาสวดมนต์ใน พ.ศ. ๒๓๖๓ ในรัชกาลนี้สมเด็จพระสังฆราช (มี) ได้ขยายหลักสูตรการเรียนการสอนภาษาบาลีจาก ๓ ชั้น (๓ ชั้น คือ เปรียญตรี –โท – เอก) เป็น ๙ ประโยค

พ.ศ. ๒๓๙๔  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  เสด็จขึ้นครองราชย์พระชนม์ได้ ๔๗ พรรษา (ภายหลังจากผนวชอยู่ได้ ๒๗ พรรษา) ทรงโปรดให้มีพิธีมาฆบูชา  ขึ้นเป็นครั้งแรกใน    พ.ศ. ๒๓๙๔ ทรงสร้างพระไตรปิฎกฉบับล่องชาด  ทรงอุปถัมภ์สงฆ์ญวน  นับเป็นการให้ความรับรองเป็นทางการแก่พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานขึ้นใหม่เป็นครั้งแรก

พ.ศ. ๒๔๑๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  เสด็จขึ้นครองราชย์  ต่อมาวันที่ ๒๔ กันยายน ๒๔๑๖  ได้ทรงผนวชอยู่  ๑๕ วัน  ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม  

พ.ศ. ๒๔๓๑ โปรดให้พิมพ์หนังสือพระไตรปิฎกด้วยอักษรไทยจบละ ๓๙ เล่ม จำนวน ๑,๐๐๐ จบ  เป็นครั้งแรกที่มีการพิมพ์ พระไตรปิฎกเป็นอักษรไทย  เสร็จและฉลองใน พ.ศ. ๒๔๓๖  พร้อมกับงานรัชดาภิเษก  กับโปรดให้แต่งและพิมพ์คัมภีร์เทศนา  พระราชทานพระอารามหลวงและวัดราษฎร์  ทั้งใน  กรุงและหัวเมืองทั่วกันใน พ.ศ. ๒๔๓๑ นั้น

พ.ศ. ๒๔๓๒  โปรดให้ย้ายที่ราชบัณฑิตบอกพระปริยัติธรรมแก่พระภิกษุสามเณร  จากในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม  ออกมาจัดเป็นบาลีวิทยาลัยขึ้นที่วัดมหาธาตุขนานนามว่า “มหาธาตุวิทยาลัย”  เป็นครั้งแรกที่ใช้นามวิทยาลัยในประเทศไทย  และต่อมาในวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๔๓๙ เสด็จไปทรงวาง     ศิลาฤกษ์สังฆเสนาสน์ราชวิทยาลัย  ประกาศพระราชปรารภเปลี่ยนนามมหาธาตุวิทยาลัยเป็น “มหาจุฬา-ลงกรณราชวิทยาลัย”  ให้เป็นที่ศึกษาพระปริยัติธรรม  และวิชาชั้นสูงต่อไป

พ.ศ. ๒๔๓๖  เสด็จไปทรงเปิด มหามกุฏราชวิทยาลัย  ที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยา-   วชิรญาณวโรรสทรงริเริ่มจัดตั้งขึ้น

พ.ศ. ๒๔๕๓  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  เสด็จขึ้นครองราชย์  พระองค์ทรง     พระปรีชาปราดเปรื่องในความรู้ทางพระพุทธศาสนามาก  ถึงกับทรงเทศนาสั่งสอนอบรมข้าราชการด้วย

พระองค์เอง  และทรงพระราชนิพนธ์หนังสือแสดงคำสอนในพระพุทธศาสนาหลายเรื่องเช่น  เทศนาเสือป่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร  แสดงคุณานุคุณ  เป็นต้น

พ.ศ. ๒๔๕๖  โปรดให้ใช้ พุทธศักราช เป็นศักราชทางราชการแทนรัตนโกสินทร์ศก  ตั้งแต่วันที่  ๑ เมษายน  ๒๔๕๖

พ.ศ. ๒๔๖๘  พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  เสด็จขึ้นครองราชย์  โปรดให้จัดพิมพ์  

พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ  จบละ ๔๕ เล่ม จำนวน ๑,๕๐๐ จบ  เพื่ออุทิศถวายพระราชกุศลแด่พระบาท-สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  พระราชทานไปในนานาประเทศประมาณ ๔๐๐ - ๔๕๐ จบ

พ.ศ. ๒๔๙๙  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ เสด็จออกผนวช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม  ในวันที่  ๒๒ ตุลาคม  ๒๔๙๙  – ๕  พฤศจิกายน  ๒๔๙๙  และประทับอยู่  ณ วัดบวรนิเวศวิหารเป็นเวลา  ๑๕ วัน  จึงทรงลาผนวช

.. ๒๕๐๘  องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (...) ได้มาตั้งสำนักงานใหญ่อยู่ในประเทศไทยตามกำหนดเวลา    ปี  ต่อมาในการประชุมใหญ่ครั้งที่ ขององค์การเมื่อ .. ๒๕๑๒      ที่ประชุมได้มีมติให้สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในประเทศไทยเป็นการถาวรสืบไป

พ.ศ. ๒๕๔๒  องค์การสหประชาชาติ  ประกาศรับรองว่าวันวิสาขบูชา  เป็นวันสำคัญสากลของชาวโลก       

พุทธจักร

ภายในสังฆมณฑล   จึงเสมือนอาณาจักรหนึ่งต่างหากจากราชอาณาจักร       เรียกว่า พุทธจักร   เพราะมีพระวินัย  ระเบียบ  ข้อบังคับ   กติกาและอาณัติสงฆ์เป็นเครื่องควบคุมภิกษุสงฆ์อีก

ต่างหากจากกฎหมายของบ้านเมือง   พระสังฆราชาธิบดีมีอำนาจควบคุมคณะสงฆ์ตลอดมา  เริ่มตั้งแต่

สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน

นิกายสงฆ์

เป็นธรรมดาของศาสนาทุกนิกาย   เมื่อพระศาสดาล่วงลับไปแล้ว  และมีอายุยืนนานปี 

ศาสนิกแบ่งเป็นหลายพวกหลายเหล่า  เพราะมีการตีความหมายของคำสอนไม่ตรงกัน  พระพุทธศาสนา

ก็เช่นเดียวกัน  พระสงฆ์ผู้เป็นคณะบริหารศาสนามีความเห็นเกี่ยวกับพระธรรมวินัยไม่ตรงกัน    มีจารีตขนบประเพณีผิดแผกกัน   เพราะต่างมั่นใจในสิ่งที่ตนปฏิบัติว่าถูกต้อง   ในชั้นแรกก็มีคนจำนวนน้อย แต่นานเข้าก็มีผู้เห็นตามมากขึ้น   จนรวมเป็นคณะเรียกว่า  นิกาย     นิกายใหญ่ของพระพุทธศาสนาคือ เถรวาท และ มหายาน  สำหรับคณะสงฆ์ไทยเป็นนิกายเถรวาท  ต่อมาได้แบ่งย่อยลงไปอีกเป็น ๒ นิกาย คือ

๑. มหานิกาย  เป็นนิกายเดิม

๒. ธรรมยุติกนิกาย  เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓  ใน พ.ศ.๒๓๗๖  โดยกำหนดด้วยการฝังลูกนิมิตผูกพัทธสีมาใหม่ของวัดสมอราย (วัดราชาธิวาส) ว่าเป็นการตั้งคณะธรรมยุต

การแยกนิกายของคณะสงฆ์ไทย     เป็นปัญหาเรื่องการปฏิบัติวินัยของสงฆ์อย่างเดียว       ไม่เกี่ยวกับธรรมะ   จึงไม่กระทบกระเทือนถึงการนับถือของประชาชนแต่อย่างใด    เพราะพระสงฆ์          ทั้ง  ๒  นิกาย    มุ่งปฏิบัติให้ถูกตามพระธรรมวินัยและต่างก็ได้ปกครองรักษาพระพุทธศาสนาเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติด้วยกันทั้ง  ๒ ฝ่าย  ควรที่ฆราวาสจะให้การเคารพ สนับสนุนและทะนุบำรุง  ทั้ง  ๒ ฝ่าย  ควบกันไป  และไม่เป็นการสมควรอย่างยิ่งที่จะกีดกันการปฏิบัติของสงฆ์นิกายใดนิกายหนึ่ง

ภารกิจของคณะสงฆ์

ภารกิจ หรือหน้าที่ที่พระภิกษุสามเณรต้องปฏิบัติ เรียกว่าธุระ  ธุระที่สำคัญมี ๒ อย่าง คือ

๑. การศึกษาพระปริยัติธรรม  เรียกว่า คันถธุระ

๒. การปฏิบัติตามพระพุทธวจนะ  เพื่อบรรลุผลเบื้องสูง  เรียกว่า วิปัสสนาธุระ

คณะสงฆ์ไทยมีทั้งฝ่ายคันถธุระ  และวิปัสสนาธุระ  ซึ่งรัฐบาลและประชาชนให้         การสนับสนุนทั้ง ๒ ฝ่าย

การศึกษาพระปริยัติธรรมแบ่งเป็น ๓ ประเภท คือ

๑. แผนกนักธรรม

๒. แผนกบาลี

๓. มหาวิทยาลัยสงฆ์

บทบาทของวัดและพระสงฆ์ในอดีต

ในอดีตกาลประชาชนชาวไทยมีศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า พระพุทธ-ศาสนาได้เข้ามามีบทบาทต่อชีวิตและสังคมไทยในทุก ๆ ด้าน ทั้งในการดำเนินชีวิต การศึกษา ภาษา ประเพณีวัฒนธรรม ทุกอย่างล้วนมีความเกี่ยวพันกับพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น

บทบาทของวัดและพระสงฆ์ในอดีตนั้นไม่สามารถจะแยกออกจากสังคมไทยได้  ดังที่ท่านผู้รู้ได้กล่าวไว้ว่า “ วัดเป็นศูนย์กลางของสังคมไทยในทุกรูปแบบ ”  เช่น

๑. วัดเป็นสถานศึกษาสำหรับชาวบ้านส่งบุตรหลานมาอยู่รับใช้พระ  รับการศึกษาฝึกฝนอบรมทางศีลธรรมและเล่าเรียนวิชาต่าง ๆ ที่มีสอนในสมัยนั้น

๒. วัดเป็นสถานสงเคราะห์ที่บุตรหลานชาวบ้านที่ยากจนได้มาอาศัยเลี้ยงชีวิตอยู่และ

ศึกษาเล่าเรียนด้วย   ตลอดถึงผู้ใหญ่ที่ยากจนได้มาอาศัยเลี้ยงชีพ

๓. วัดเป็นสถานพยาบาลที่รักษาผู้ป่วยตามภูมิรู้ของคนสมัยนั้น

๔. วัดเป็นที่พักของคนเดินทาง

๕. วัดเป็นสโมสร ที่ชาวบ้านมาพบปะสังสรรค์  พักผ่อนหย่อนใจ หาความรู้เพิ่มเติม

๖. วัดเป็นสถานบันเทิงที่จัดงานเทศกาล และมหรสพต่าง ๆ สำหรับชาวบ้านทั้งหมด

๗. วัดเป็นที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท เป็นที่ปรึกษาแก้ปัญหาชีวิตครอบครัวและความทุกข์ต่าง ๆ

๘. วัดเป็นศูนย์กลางศิลปวัฒนธรรมที่รวมศิลปะต่าง ๆ ของชาติ ตลอดจนเป็นเหมือน

พิพิธภัณฑ์

๙. วัดเป็นคลังพัสดุสำหรับเก็บของใช้ต่าง ๆ ซึ่งชาวบ้านจะได้ใช้ร่วมกันเมื่อมีงานวัดหรือยืมไปใช้เมื่อคราวมีงาน

๑๐. วัดเป็นศูนย์กลางบริหารหรือปกครองที่กำนันหรือผู้ใหญ่บ้านจะเรียกลูกบ้านมา      ประชุมกัน บอกแจ้งกิจกรรมต่าง ๆ (ในยามสงครามอาจใช้เป็นที่ชุมนุมทหารด้วย)

๑๑. วัดเป็นที่ประกอบพิธีกรรมหรือใช้บริการด้านพิธีกรรมอันเป็นเครื่องผูกพันชีวิต ของคนทุกคนในระยะเวลาต่าง ๆ กันของชีวิต

ปัจจุบันบทบาทของวัด และพระสงฆ์ที่มีต่อสังคมลดน้อยลงไปทุกวัน ทั้งนี้เพราะเหตุต่าง ๆ ทั้งภายนอกและภายใน

บทบาทของวัดและพระสงฆ์ในปัจจุบัน

เหตุภายนอก เกิดจากความเจริญของโลกปัจจุบันที่มุ่งเน้นความเจริญทางวัตถุมากกว่า

จิตใจ คนในสังคมต้องดิ้นรนต่อสู้เพื่อ ลาภ ยศ  สรรเสริญ สุข ทางวัตถุจนลืมพระพุทธศาสนา

เหตุภายใน  ได้แก่ บทบาทของวัดและพระสงฆ์ไม่มีการพัฒนาให้ทันกับความเจริญ  ของโลกทั้งในด้านการศึกษา  การอบรมสั่งสอนความรู้ทางศาสนา และการประพฤติปฏิบัติบางอย่างที่ทำให้ประชาชนเสื่อมศรัทธาและเบื่อหน่ายต่อพระพุทธศาสนา

แนวทางแก้ไข

๑. แก้เงื่อนไข

๒. ให้การศึกษา

๓. พัฒนาสร้างสรรค์

๑. แก้เงื่อนไข

    การปรับปรุงแก้ไขสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อความเจริญรุ่งเรืองของ

พระพุทธศาสนาทั้งฝ่ายอาณาจักรและพุทธจักร เช่น การดำเนินการปราบปรามแหล่งอบายมุขอย่างจริงจังตลอดจนผู้ประพฤตินอกลู่นอกทางในวงพระพุทธศาสนาให้หมดไป  เพื่อให้สถาบันของพระพุทธศาสนาเป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาของมหาชน

๒. ให้การศึกษา

คือสนับสนุนส่งเสริมการศึกษาความรู้ทางพระพุทธศาสนาอย่างจริงจังทั้งในหลักสูตรและนอกหลักสูตรการศึกษาของชาติ     เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในหลักคำสอนของ

พระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้งและกว้างขวาง




๓. พัฒนาสร้างสรรค์

คือสร้างสรรค์สังคมไทยให้มีสภาพแวดล้อมเกื้อกูลแก่การศึกษาและการปฏิบัติตาม      หลักธรรมของพระพุทธศาสนา   ทั้งในส่วนบุคคลและสังคม    โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางศาสนจักรจะต้องมุ่งเน้นการพัฒนาด้านจิตใจให้มากกว่าด้านวัตถุ  เพื่อสร้างสังคมไทยให้เป็นแผ่นดินธรรมแผ่นดินทองให้ได้

ความสำคัญของพระพุทธศาสนาในฐานะเป็นสถาบันหลักของสังคมไทย

สถาบันหลักของสังคมไทยมีอยู่ สถาบัน คือ สถาบันชาติ  สถาบันศาสนา (อันหมายถึงพระพุทธศาสนาและสถาบันพระมหากษัตริย์  ทั้งสามสถาบันนี้ต่างพึ่งพาอาศัยกัน  เกื้อหนุนค้ำจุนกันและดำรงอยู่คู่กับสังคมไทยตลอดมา เราสามารถกล่าวได้ว่าประวัติศาสตร์ของชาติไทย ก็เป็นประวัติศาสตร์ของพระพุทธศาสนาด้วย

สีทั้งสามของธงไตรรงค์   ซึ่งเป็นธงชาติไทย  ก็เป็นสัญลักษณ์ยืนยันสถาบันหลักของสังคมไทย   กล่าวคือ  สีแดง  หมายถึง  ชาติ      สีขาว หมายถึง พระพุทธศาสนา     และสีน้ำเงิน หมายถึงพระมหากษัตริย์  เท่ากับเป็นการยืนยันว่า ชาติ  ศาสนา และพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันหลักสำคัญของประเทศ  จะขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไปมิได้ 

เหตุผลที่ทำให้พระพุทธศาสนาเป็นสถาบันหลักอย่างหนึ่งของสังคมไทยก็คือ

. พระพุทธศาสนาเป็นสถาบันคู่กับชาติไทย   พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทยมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่               เมื่อครั้งพระเจ้าอโศกมหาราชทรงส่งสมณฑูต  คือพระโสณะ  และ

พระอุตตระ    นำพระพุทธศาสนามาเผยแผ่ยังดินแดนสุวรรณภูมิ      ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นแถบจังหวัดนครปฐมในปัจจุบัน   ตลอดจนจวบปัจจุบันพระพุทธศาสนาก็คงดำรงอยู่เคียงคู่กับชาติไทยมาโดยตลอด

. พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ   พระมหากษัตริย์ไทยทุกยุคทุกสมัยทรงเป็นพุทธมามกะโดยพระราชประเพณี และต่อมาได้ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญการปกครองด้วย   พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ก่อนขึ้นครองราชย์    มีพระราชประเพณีให้ออกผนวชชั่วคราว     เพื่อศึกษาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา และนำหลักธรรมนั้น มาประยุกต์ใช้ในการปกครองประเทศ   ในกรณีที่ไม่สามารถออกผนวชก่อนขึ้นครองราชย์  ก็ต้องออกผนวชหลังจากนั้น        (ดังกรณีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน เป็นต้น  พระองค์ได้เสด็จออกผนวช   เมื่อวันที่  ๒๒ ตุลาคม .. ๒๔๙๙     โดยทรงมีพระฉายาว่า  “ภูมิพโล ภิกขุ”)

๓. พระมหากษัตริย์ทรงเป็นองค์อัครศาสนูปถัมภก           คือ ทรงให้ความสำคัญใน

การอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนา  ซึ่งถือว่าเป็นพระราชภารกิจสำคัญที่จะทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา เช่น    

ทรงสร้างวัด ปฏิสังขรณ์วัด และปูชนียสถานต่าง ๆ    อาทิ  รัชกาลที่ ๑ ทรงสร้าง

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม  วัดสุทัศนเทพวราราม  ทรงปฏิสังขรณ์วัดโพธาราม (วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม),   รัชกาลที่   ทรงบูรณะวัดอรุณราชวราราม   วัดสุทัศนเทพวราราม   และวัดสมอราย (วัดราชาธิวาส),     รัชกาลที่   ทรงสร้างวัดราชนัดดาราม  วัดเฉลิมพระเกียรติ  และทรงบูรณะวัดต่าง อีกมากมาย  รัชกาลที่ ทรงสร้างวัดบรมนิวาส  วัดโสมนัสวิหาร วัดปทุมวนาราม วัดมกุฏกษัตริยาราม รัชกาลที่   ทรงสร้าง วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม วัดราชบพิธ วัดเทพศิรินทราวาส   รัชกาลต่อ มาก็ทรงเอาพระทัยใส่ต่อการพระพุทธศาสนาทุกพระองค์  จะเห็นได้ว่าพุทธสถานตลอดจนพระพุทธรูปสำคัญ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย    เป็นเพราะพระมหากษัตริย์ไทยทรงสร้างไว้ให้เป็นมรดกของชาติเกือบทั้งสิ้น

              ทรงอุปถัมป์การศึกษาพระพุทธศาสนา  คือ   ทรงสนับสนุนการศึกษาพระปริยัติธรรม (การเรียนของพระภิกษุสามเณร)  พระมหากษัตริย์บางพระองค์ทรงเชี่ยวชาญภาษาบาลีและพระไตรปิฎก ทรงจัดให้มีการบอกหนังสือ และการสอบไล่ในพระบรมมหาราชวัง โดยพระมหากษัตริย์ประทับนั่งเป็นสักขีพยาน  จนทำให้มีการเรียกขานการสอบไล่ของพระภิกษุสามเณรว่า “สอบสนามหลวง”  มาจนบัดนี้

                  ทรงส่งเสริมการปฏิบัติ  คือ ทรงอุปถัมป์พระที่เชี่ยวชาญด้านวิปัสสนาธุระในคราว

ขาดแคลนถึงกับต้องแสวงหาพระนักปฏิบัติมาสืบต่อพระศาสนาก็มี ดังกรณีสมเด็จพระเจ้าตากสิน-มหาราช  เสด็จไปอาราธนาพระอาจารย์ศรีขึ้นมาจากเมืองนครศรีธรรมราช  แล้วสถาปนาให้ดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช  เพื่อฟื้นฟูบูรณะพระพุทธศาสนาให้กลับฟื้นคืนสู่ความเจริญรุ่งเรืองเหมือนดังเดิม เป็นต้น

                  ทรงยกย่องพระสงฆ์คือ   ทรงยกย่องพระสงฆ์ที่เชี่ยวชาญในพระปริยัติ        และด้านการปฏิบัติ  ให้ดำรงสมณศักดิ์ตามความสามารถ และตามความเหมาะสม

                               ทรงแก้ไขปัญหาวิกฤติของพระพุทธศาสนา   ในคราวพระพุทธศาสนาประสบภาวะวิกฤติ  พระมหากษัตริย์ทรงชำระสังฆมณฑลให้บริสุทธิ์           ดังกรณีสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงชำระสังฆมณฑลเมืองเหนือครั้งใหญ่  เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๓  เป็นต้น

                  ทรงสนับสนุนการสังคายนา ดังในสมัยรัชกาลที่ ๑  พระองค์ได้ทรงสนับสนุนและทรงอุปถัมภ์การสังคายนา คือการชำระพระไตรปิฎกให้คงความบริสุทธิ์บริบูรณ์     เพื่อความดำรงมั่นแห่งพระพุทธศาสนา

                  ทรงวางพระองค์เป็นแบบอย่างของชาวพุทธที่ดี    พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์

ทรงดำรงอยู่ในศีล ทรงทศพิธราชธรรม  จักรวรรดิวัตร  และมีพระราชจรรยานุวัตรเป็นแบบอย่างที่ดี

แก่พสกนิกร

๔. รัฐบาลไทยส่งเสริมสนับสนุนพระพุทธศาสนา                 หลังการปกครองระบอบ-

สมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นระบอบประชาธิปไตย      พระราชอำนาจและพระราชภารกิจในการอุปถัมภ์

บำรุงพระพุทธศาสนา  ก็ถูกมอบหมายให้กับรัฐบาล  เพื่อสนองงานดังกล่าว       เพราะฉะนั้นรัฐบาลไทย

จึงมีหน้าที่โดยตรงที่จะอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาทั้งในด้านการศึกษา และการปฏิบัติพระศาสนา  โดยผ่านทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และกรมการศาสนา  กระทรวงวัฒนธรรม     เป็นต้น

หลักการครองตนเป็นคนดี มีความสุข

เบญจศีล เบญจธรรม

เบญจศีล หมายถึง ข้อปฏิบัติสำหรับละเว้นการทำความชั่ว ๕ ประการ เพราะคนที่จะได้ชื่อว่าเป็นผู้มีความดีอย่างสมบูรณ์นั้น นอกจากจะละเว้นการทำความชั่วแล้วยังต้องกระทำคุณความดีด้วย  ศีลธรรม  คือข้อปฏิบัติเพื่อฝึกหัดกล่อมเกลานิสัยจิตใจของคนให้ประณีต มีมากมายหลายประการ  แต่เมื่อกล่าวถึงศีลธรรมพื้นฐานที่สมควรจะปลูกฝังให้เกิดมีก่อนหลักธรรมอื่น ๆ มี ๒ ประการคือ เบญจศีลและเบญจธรรม ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติเบื้องต้นที่คนควรยึดถือทำตาม เพื่อความสงบสุขของชีวิตและสังคมโดยส่วนรวม

เบญจศีล

หลักแห่งพระพุทธโอวาทคือหลักการที่เราจะปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธศาสนา มี ๓ ข้อ  ในหลักทั้ง ๓ ข้อนี้ ถ้าพิจารณาถึงงานที่ทำก็มีอยู่ ๒ ลักษณะ คือ

๑. เว้นจากการทำคามชั่ว

๒. บำเพ็ญคุณความดี

ความชั่วเป็นข้อควรเว้นเป็นเบื้องต้น คือ การทำผิดศีลห้า ส่วนคุณความดีที่ควรบำเพ็ญ คือธรรม ในที่นี้ท่านแสดงไว้ ๕ ข้อ คู่กับศีล ศีล ๕ เรียกว่า เบญจศีล และธรรม ๕ เรียกว่า เบญจธรรม    เบญจศีล หรือ ศีล ๕ ประการคือ

๑. ปาณาติปาตา เวรมณี เจตนางดเว้นจากการฆ่าสัตว์     คือ ละเว้นการฆ่า การสังหาร ไม่ประทุษร้ายต่อชีวิตและร่างกาย   ทั้งนี้รวมถึงการไม่ทำร้ายร่างกาย การทรมาน การใช้แรงงานของคน และสัตว์จนเกินกำลังความสามารถด้วย  

๒. อทินฺนาทานา เวรมณี เจตนางดเว้นจากการลักทรัพย์      คือ ละเว้นการลักขโมย เบียดเบียนแย่งชิง ไม่ประทุษร้ายต่อทรัพย์สิน ทั้งนี้รวมถึงการไม่ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ให้มาเป็นของตนด้วย ไม่ว่าจะเป็นโดยวิธีการหลอกลวง ฉ้อโกง เบียดบัง ยักยอก ตลอดจนการทำความเสียหายให้แก่ทรัพย์สินของผู้อื่นโดยมิชอบ 

๓. กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี    เจตนางดเว้นจากการผิดประเวณี  คือ ละเว้นประพฤติผิดในกาม ไม่ประทุษร้ายต่อของรักของหวงแหน อันเป็นการทำลายเกียรติภูมิและจิตใจ  ตลอดจนทำวงศ์ตระกูลเขาให้สับสน หมายถึง การไม่ไปยุ่งเกี่ยวทางเพศสัมพันธ์กับหญิงหรือชายที่มีคู่ครองแล้ว ผู้ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ และผู้ที่กฎหมายคุ้มครอง

๔. มุสาวาทา เวรมณี  เจตนางดเว้นจากการกล่าวเท็จ   คือ ละเว้นจากการพูดเท็จโกหกหลอกลวงประทุษร้ายเขาหรือประโยชน์สุขของเขาด้วยวาจา   หมายถึง การไม่มีเจตนาที่จะบิดเบือนความจริงทุกอย่าง  เช่น ไม่พูดเล่นสำนวนให้คนเข้าใจผิด ไม่อวดอ้างตนเอง ไม่พูดเกินความจริง หรือไม่พูดน้อยกว่าที่เป็นจริง  เป็นต้น



๕. สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา  เวรมณี   เจตนางดเว้นจากการดื่มน้ำเมา   คือ  สุราและเมรัย

อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท    คือไม่เสพเครื่องดองของเมาสิ่งเสพติด อันเป็นเหตุให้เกิดความประมาทมัวเมา ก่อความฉิบหาย เสียหายผิดพลาดเพราะขาดสติ หมายถึง ละเว้นการดื่มเครื่องดื่มที่ทำให้ตนเองครองสติไม่อยู่ เช่น เหล้า เบียร์ น้ำตาลเมา และรวมถึงละเว้นการเสพสิ่งเสพติดทั้งหลายด้วย ไม่ว่าจะเป็น ยาบ้า บุหรี่ ฝิ่น กัญชา เฮโรอีน เป็นต้น

ความหมายของศีล

คำว่า ศีล แปลได้มากความหมาย ๆ หนึ่งแปลว่า ปรกติ ที่ “รักษาศีล” ก็คือตั้งใจรักษาปรกติของตนนั่นเอง        ต้องทำความเข้าใจเรื่องปรกติก่อน  แล้วจะเข้าใจเรื่องรักษาศีลได้ดีขึ้น  ทุกสิ่งทุกอย่างมีความปรกติในตนประจำอยู่ทั้งนั้น ดังที่จะยกมาเป็นตัวอย่างดังต่อไปนี้

ดวงอาทิตย์  ขึ้นทางทิศตะวันออกเวลาเช้า ส่องแสงสว่างอยู่ตลอดวัน แล้วหายลับไป ทางทิศตะวันตกในเวลาเย็น การขึ้น การส่องแสง และการหายลับไปอย่างนี้ เป็นปรกติของดวงอาทิตย์ เพราะดวงอาทิตย์ได้เป็นอย่างนี้อยู่ทุกวี่ทุกวัน ถ้าดวงอาทิตย์เกิดมีอันเป็นไปอย่างอื่นนอกจากนี้ ก็เรียกว่าผิดปรกติ เช่น กลางวันเคยส่องแสงกลับไม่ส่องแสง   อย่างนี้เป็นต้น เรียกว่า ผิดปรกติ

การรักษาศีลทั้ง ๕ ข้อ นั้น  การรักษาปรกติของตนนั่นเอง  ลองยกมาพิจารณาดูว่า       ข้อห้ามทั้ง ๕ ข้อ  ตรงกันกับปรกติของคนใช่หรือไม่  ขอให้พิจารณาทีละข้อดังต่อไปนี้

๑. การฆ่ากับการไม่ฆ่า   อย่างไหนเป็นปรกติของคน  แน่นอน  ปรกติของคนต้องไม่   ฆ่ากัน  อย่างที่เราอยู่ในลักษณะนี้แหละ ไม่ใช่ว่าคนเราจะต้องฆ่ากันอยู่เรื่อย  ถ้าการฆ่ากันเป็นปรกติ   ของคน    ตัวเราเองก็จะถูกคนอื่นฆ่าไปนานแล้ว   เท่านี้ก็เห็นได้แล้วว่า   ปรกติของคนต้องไม่ฆ่ากัน  ส่วนการฆ่าเป็นการทำผิดปรกติ โดยนัยนี้ การรักษาศีลข้อที่ ๑ คือ ตั้งใจไม่ฆ่า ก็คือตั้งใจอยู่ในปรกติเดิมนั่นเอง

๒.  การขโมยกับการไม่ขโมย  อย่างไหนเป็นปรกติของคน     การไม่ขโมยนั่นแหละ เป็นปรกติ ปรกติของคนต้องทำมาหากิน ไม่ใช่แย่งกันกินโกงกันกิน ไม่เหมือนไก่ ไก่นั้น  ถ้าหากินด้วยกันตั้งแต่สองตัวขึ้นไป  มันต้องแย่งกันกิน ตัวหนึ่งคุ้ยดินหาอาหาร อีกตัวหนึ่งขโมยจิกกิน ประเดี๋ยวเดียว  ตัวคุ้ยก็ตีตัวขโมย ปรกติของไก่เป็นอย่างนี้ ไม่เหมือนปรกติของคน  เราเป็นคนจะต้องอยู่ในปรกติของคน ถ้าใครคิดแย่งกันกิน ขโมยกันกิน ก็ผิดปรกติของคน แต่ไพล่ไปอยู่ในปรกติของไก่ การรักษาศีลข้อที่ ๒ คือ ตั้งใจไม่ขโมยของของคนอื่น ที่แท้  ก็คืออยู่ในปรกติเดิมของตนนั่นเอง

๓.  เกี่ยวกับประเวณี  ปรกติของคนย่อมหวงแหนประเวณี   และเห็นอกเห็นใจคนอื่นในเรื่องนี้ ไม่เหมือนพวกเดรัจฉานที่ส้องเสพสำส่อน เพราะปรกติของเดรัจฉานเป็นอย่างนั้น  เป็นความจริงใช่หรือไม่   มนุษย์เราก็จึงต้องอยู่ในปรกติของคน    คือไม่ล่วงเกินประเวณี การรักษาศีลข้อที่  ๓  จึงเป็น  การตั้งอยู่ในปรกติของตนอีกเหมือนกัน

๔.  เกี่ยวกับการกล่าวเจรจา  ตามปรกติ  เรากล่าวความจริงกันเป็นพื้น ไม่ใช่โกหกกันเรื่อยไป  เพราะฉะนั้น การรักษาศีลข้อที่ ๔ คือ ตั้งใจงดเว้นการกล่าวคำเท็จ ที่แท้  ก็คืออยู่ในปรกติเดิมของตนนั่นเอง

๕. เกี่ยวกับการดื่มสุรา  คนเราไม่ใช่ว่าจะต้องดื่มสุราอยู่เรื่อยอย่างนั้นก็หาไม่  เพราะแม้คนที่ติดสุราขนาดไหนก็คงทำไม่ได้   ใครขืนทำก็ตาย   ปรกติของคนคือดื่มน้ำบริสุทธิ์   ไม่ใช่ดื่มสุรา    ส่วนการดื่มสุรานั้น เป็นการทำผิดปรกติ ฉะนั้น การรักษาศีลข้อที่ ๕ คือเว้นจากการดื่มสุรา ก็เป็นการอยู่ในปรกติเดิมของตนอีกนั่นแหละ

ศีลวัตร

บางทีอาจจะสงสัยกันว่า   ที่ว่า การรักษาศีล    เป็นการรักษาปรกติ     อยู่ในปรกติเดิม แต่เหตุไฉนศีล  ๘  ศีล  ๑๐  จึงห้ามในสิ่งที่เป็นปรกติอยู่แล้ว เช่น ห้ามเสพเมถุน และห้ามรับประทานอาหารเย็น เพราะปรกติของมนุษย์ต้องเสพกาม และต้องกินอาหาร จะไม่ค้านกับที่อธิบายมาแล้วหรือ ?

ขอชี้แจงว่า ศีล ที่แปลว่ารักษาปรกติ นั้น มุ่งถึงศีล ๕ โดยตรงเท่านั้น ส่วนศีลชั้นสูง สูงกว่าศีล ๕ ขึ้นไป มีลักษณะและความมุ่งหมายต่างจากศีลห้า เข้าลักษณะเป็น “วัตร”  นักศึกษาคงจะเคยได้ยินคำว่า “ศีลวัตร” หรือ “ศีลพรต” หรือคำว่า “บำเพ็ญพรต” คำว่า พรต กับคำว่า วัตร เป็นคำเดียวกัน  หมายถึงข้อปฏิบัติเพื่อฝึกฝนตนเอง ให้สามารถถอนใจออกจากกามารมณ์ได้ทีละน้อย ๆ เป็นทางนำไปสู่การละกิเลสได้เด็ดขาดต่อไป   ข้อปฏิบัติในขั้นวัตร   เป็นการฝืนปรกติของคนนั้นถูกแล้ว ยิ่งวัตรชั้นสูง  ชั้นพระภิกษุ  ยิ่งฝืนปรกติเอามากทีเดียว 

ผลการรักษาศีล

ผลของการรักษาศีล เราจะแยกพิจารณาเป็น ๓ ลักษณะคือ 

๑. ผลทางส่วนตัว   การรักษาศีล มีความมุ่งหมายปรากฏชัดเจนอยู่แล้วว่าเป็นการเว้น จากการกระทำที่ไม่ดี ทั้งนี้ หมายความว่า  การรักษาศีล   เป็นการป้องกันตัวเราไว้ไม่ให้เสื่อมเสียลงไป ข้อนี้เป็นเหตุผลตรงตัว  เมื่อท่านศึกษารายละเอียดของศีลแต่ละข้อแล้ว  ยิ่งจะเห็นได้ชัดว่า การรักษาศีล  เป็นการป้องกันตัวมิให้เสื่อมเสียอย่างดียิ่ง    เป็นการรักษาพื้นฐานของชีวิตเพื่อความเจริญแก่ส่วนตน  โดยเฉพาะ และมีผลต่อสังคมโดยรวมอีกต่างหาก ซึ่งในที่นี้จะได้แสดงถึงพื้น(ฐาน) ของคนและส่วนประกอบที่เกี่ยวข้องต่อไปดังนี้

พื้นของคน

การรักษาศีล   เป็นการปรับพื้นตัวของผู้รักษาศีลนั้นเองให้เป็นคนมีพื้นดี   เหมาะที่จะสร้างความดีความเจริญแก่คนส่วนรวมต่อไป

พื้น  เป็นสิ่งสำคัญมาก  แต่คนไม่ค่อยสนใจ การจะทำอะไรทุกอย่าง ต้องพิจารณาถึง พื้นเดิมของสิ่งนั้นก่อน ต้องทำพื้นให้ดี สิ่งที่ทำนั้นจึงจะเด่นดีขึ้น อย่างเวลาเขียนรูป ก่อนที่จะวาดรูป     ลงไป ผู้เขียนต้องลงสีพื้นก่อน จะให้พื้นเป็นสีอะไร  ต้องเลือกให้เหมาะ ๆ แล้วก็ลงสีพื้น ถ้าพื้นไม่เด่น รูปก็ไม่เด่น ถึงการเขียนหนังสือก็เหมือนกัน ต้องใช้พื้นกระดาษที่เขียนได้สะอาดเรียบร้อยจึงจะดี ถึงคน ผู้มีลายมือดี   ถ้าเขียนลงบนพื้นเลอะเทอะเปรอะเปื้อน      คุณค่าของหนังสือก็ดีไม่ถึงขนาด ถนนลาดยาง หรือถนนคอนกรีตที่เราสัญจรไปมาอยู่นี่ก็เหมือนกัน เวลาทำ   นายช่างต้องลงพื้นให้ดีเสียก่อน ถ้าพื้นไม่ดี ถ้าทำกันสักแต่ว่าสุกเอาเผากิน ไม่ช้าก็ทรุด ตึกรามใหญ่ ๆ โต ๆ ที่เราเห็นกันอยู่ทั่วไปก็เหมือนกัน  พื้นนั้นสำคัญมาก ต้องตอกเสาเข็มลงรากให้แข็งแรง ไม่เช่นนั้นจะทรุด และถ้าลงได้ทรุดแล้ว จะซ่อมยากลำบากลำบนจริง ๆ ให้ฝาหรือหลังคารั่วเสียอีก  ดูเหมือนจะดีกว่าพื้นทรุด  เพราะซ่อมง่ายกว่า ลงทุนน้อยกว่า

        คนเราก็มีลักษณะเหมือนถนนหนทาง หรืออาคารบ้านเรือน  ดังกล่าวแล้ว ถ้าพื้นดี  ก็ดี ถ้าพื้นเสีย  ก็เสียหาย คนพื้นดี  ทำอะไรก็ดีขึ้น  ไม่ว่าจะเล่าเรียน หรือเป็นข้าราชการ ทหาร ตำรวจ เป็นพ่อค้า ชาวนา ชาวสวน จนกระทั่งบวชเป็นพระสงฆ์  ก็มีความเจริญก้าวหน้า  ที่เรียกว่าทำขึ้น ถ้าได้พื้นดีแล้ว   จะดีจริง ๆ   จึงกล่าวได้ว่าโชคลาภในชีวิตอะไร ๆ ก็ดูจะสู้เป็นคนที่มีพื้นดีไม่ได้ และถ้าว่าข้างอาภัพ   คนที่อาภัพที่สุด ก็คือคนที่มีพื้นเสีย   ทำอะไรไม่ดีขึ้น

วิธีสังเกตพื้นคน

          การจะดูพื้นว่าดีหรือไม่ดี    เป็นการที่ยากสักหน่อย เพราะเป็นของที่จมอยู่ข้างล่าง  หรือแอบแฝงอยู่เบื้องหลัง  เหมือนพื้นรากของโบสถ์  วิหาร  ก็จมอยู่ในดิน  ไม่ได้ขึ้นมาลอยหน้าอวดใคร ๆ เหมือนช่อฟ้า ใบระกา แต่ถึงจะดูยาก  เราก็ต้องพยายาม ต้องหัดดูให้เป็น

        วิธีดูพื้นของสิ่งต่าง ๆ  ล้วนมีที่สังเกต คือ สังเกตส่วนที่ปรากฏออกมาให้เห็นนั่นเอง เช่นจะดูพื้นถนนว่าดีหรือไม่ดี ก็ดูหลุมบ่อ ดูพื้นตึก  ก็ให้ดูรอยร้าว เช่น ถ้าเราเห็นตึกหลังใดมีรอยร้าวตามฝาผนังเป็นทาง ๆ เราก็สันนิษฐานได้ว่า  รากหรือพื้นตึกหลังนั้นไม่ดี

รอยร้าวทั้งห้า

การดูพื้นคน ก็ให้ดูรอยร้าวเหมือนกัน  อาการที่เป็นรอยร้าวของคนที่สำคัญมี ๕ อย่าง  ใช้คำเรียกอย่างสามัญได้ ดังนี้ 

๑. โหดร้าย

๒. มือไว

๓. ใจเร็ว

๔. ขี้ปด

๕. หมดสติ

ถ้าใครมีรอยร้าวทั้ง ๕ อย่างนี้ปรากฏออกมา ให้พึงรู้เถอะว่า  ผู้นั้น  เป็นคนพื้นเสีย

อาคารสถานที่ที่พื้นไม่แข็งแรง  ถ้าปล่อยไว้เป็นที่ว่างเปล่า  เพียงแต่ทรงตัวของมันอยู่บางทีก็อยู่ได้ คือ ทรงรูปร่างอยู่ได้ไม่ทรุดไม่พัง แต่เวลาใช้การ เช่นมีคนขึ้นไปอยู่ หรือนำสิ่งของขึ้นไปเก็บ   อาคารจะทนไม่ไหว ประเดี๋ยวก็ทรุด พลาดท่าพังครืนทั้งหลัง  เคยมีตัวอย่างมาแล้ว ผู้ที่พื้นเสียก็เหมือนกัน ลำพังเขาเองก็อยู่ได้ แต่พอมีหน้าที่ต้องรองรับเข้า ก็ทนไม่ไหว


การรักษาศีล ๕ เป็นเรื่องของการทำพื้นตัวโดยตรง พื้นตึก นายช่างสร้างด้วยไม้ ด้วยหิน 

ปูน ทราย และเหล็ก แต่พื้นคน  ต้องสร้างด้วยศีล ลงศีลห้าเป็นพื้นไว้เสียแล้ว รอยร้าวทั้งห้าจะไม่ปรากฏ

๒. ผลทางสังคม   การอยู่ร่วมกันของมนุษย์   ซึ่งเรียกว่า  สังคม   ตั้งแต่ส่วนน้อยจนกระทั่งถึงส่วนใหญ่  จะมีความสุขความเจริญได้  ต้องมีความสงบ (สันติ) เป็นพื้นฐาน ถ้าความสงบมีสุขอื่นก็มีขึ้นได้ ถ้าไม่มีความสงบแล้ว สุขอื่นก็พังทลาย ดังนั้น ความสงบ หรือสันติ จึงเป็นสิ่งที่สังคมต้องการอย่างยิ่ง

  ก็ความสงบของสังคมนั้น  ย่อมมาจากคนในสังคมแต่ละคนนั่นเองเป็นผู้สงบ ถ้าคนในสังคมเป็นผู้ไม่สงบแล้ว ความสงบของสังคมจะมีไม่ได้เลย

  คนรักษาศีล  ก็เป็นคนทำความสงบแก่ตนเอง คือ  ทำตนเองให้สงบ และการทำตนเองให้สงบ   ก็เท่ากับสร้างความสงบให้แก่สังคมโดยตรงนั่นเอง

๓. ผลทางประเทศชาติ   การดำรงรักษาประเทศชาติ มีภาระสำคัญยิ่งอยู่ ๒ ประการ คือ   ๓.๑  การบำรุงให้ประเทศชาติเจริญ เช่น การเสริมสร้างการศึกษา  การบำบัดทุกข์บำรุงสุข การส่งเสริมอาชีพ เป็นต้น และ

  ๓.๒ การรักษา คือป้องกันการรุกรานจากศัตรู 

  ทั้ง ๒ ประการนี้รวมเรียกว่า บำรุงรักษาประเทศชาติ    ได้มีผู้ข้องใจอยู่ว่า    การที่คนรักษาศีล     ทำให้การบำรุงรักษาประเทศชาติไม่ได้ผลเต็มที่  ที่คิดดังนี้เป็นเพราะคิดแง่เดียว   คือนึกถึงตรงที่ประหัตประหารข้าศึกเท่านั้น   ซึ่งความจริงแล้วการบำรุงรักษาชาติ   ยังมีอีกร้อยทางพันทางซึ่งมีความสงบเป็นพื้นฐาน   และเราได้ความสงบนั้นก็จากบุคคลแต่ละคนซึ่งเป็นผู้มีศีลดังกล่าวแล้ว   ลองนึกวาดภาพดูซิว่า ถ้าคนทั้งประเทศทิ้งศีลกันหมด  ฆ่าฟันกันอยู่ทั่วไป  ลักปล้นฉ้อโกงกันดาษดื่น ล่วงเกินบุตรภรรยากันอย่างไม่มียางอาย โกหกปลิ้นปล้อน และดื่มสุรายาเมา สูบฝิ่นกินกัญชาทั้งเด็กทั้งผู้ใหญ่ เหตุการณ์จะเป็นอย่างไร อย่าว่าแต่จะปราบศัตรูภายนอกเลย แม้แต่จะปราบโจรภายใน  ก็ไม่ไหวแล้ว    ถึงแม้ยามสงคราม  ที่ทหารอุตส่าห์ทิ้งครอบครัวไปรบ  ก็เพราะเชื่อแน่ว่าเพื่อนร่วมชาติที่อยู่แนวหลัง    จะเป็นคนมีศีล  ไม่ข่มเหงครอบครัวเขา  และเชื่ออีกว่าครอบครัวเขาเองก็มีศีลมีสัตย์ต่อเขาด้วย

บรรพบุรุษของเรา รักษาประเทศชาติให้อยู่รอดมาได้จนถึงทุกวันนี้ ก็เพราะชาวไทย   เราพากันรักษาศีล คือ ไม่ทำลายล้างผลาญกันทั้งทางชีวิตร่างกาย ทางทรัพย์  และทางอื่น ๆ เราไม่ทำลายกันและกัน  เราควบคุมกันเป็นปึกแผ่น ดินแดนไทยก็เป็นถิ่นที่สงบน่าอยู่  บางคราว  มีเหตุร้ายเกิดขึ้น เพราะคนไม่มีศีล เราชาวไทยต้องทำการปราบปรามเหตุการณ์ร้ายนั้น    ให้สงบราบคาบอย่างเด็ดขาด  การสู้รบนั้น  เป็นวิธีสุดท้ายที่เราทำด้วยความรักประเทศชาติ  ศาสนา และพระมหากษัตริย์ของเรา        เราต้องการให้ประชาชนพลเมืองมีความสงบสุขเท่านั้น หาใช่กระทำด้วยความเหี้ยมโหดทารุณในจิตใจไม่ เรารักเย็น  เราเกลียดร้อน แต่เมื่อไฟไหม้ขึ้นแล้ว  เราก็ต้องวิ่งเข้าไปหาไฟ เพื่อจะดับไฟนั้น แม้การเข้าไปดับไฟตัวจะร้อนแทบไหม้  เราก็ต้องยอมทน เพราะเห็นแก่ประโยชน์ส่วนใหญ่

การรักษาศีล จึงไม่ได้ทำให้กำลังป้องกันรักษาประเทศชาติของเราอ่อนลง บรรพบุรุษของเรา  ท่านได้นำประเทศชาติลุล่วงมาจนถึงตัวเราทุกวันนี้  ท่านก็รักษาศีล คนรักษาศีลเป็นคนอ่อน      ก็จริง   แต่เป็นการอ่อนโยน   ไม่ใช่อ่อนแอ   ความอ่อนโยนเป็นเกราะป้องกันตัวดีที่สุด เพราะไม่ทำให้คนอื่นมาเป็นศัตรู การที่เราชาวไทยยึดมั่นในศีล คือชอบสงบเรียบร้อย จึงเป็นการสร้างกำแพงเหล็กกล้าป้องกันประเทศชาติของเราด้วย

วิรัติ

ศีล  จะมีได้ก็ด้วยการตั้งเจตนางดเว้นจากความผิดนั้น ๆ ถ้าไม่มีเจตนาจะงดเว้น แม้มิได้ทำการละเมิด เช่นผู้ร้ายที่ถูกจับขังไว้ ขณะที่อยู่ในห้องขังนั้น ไม่ได้ฆ่าคน ไม่ลักของของใคร ก็ไม่นับว่า มีศีล (เว้นแต่เขาจะมีเจตนางดเว้น) เจตนางดเว้นจากการทำผิดศีล เรียกว่า “วิรัติ” มี ๓ อย่าง คือ

๑. สมาทานวิรัติ  เจตนางดเว้นด้วยการสมาทานศีลไว้ล่วงหน้า

๒. สัมปัตตวิรัติ   เจตนางดเว้นเมื่อเผชิญกับเหตุที่จะทำให้ผิดศีล

๓. สมุจเฉทวิรัติ   เจตนางดเว้นเด็ดขาดของท่านผู้สิ้นกิเลสแล้ว

หลักการรักษาศีล

  เรื่องการศึกษาศีลแต่ละสิกขาบทนี้  เราต้องหาความรู้ และความเข้าใจใน ๔ จุดโดยรวม คือ 

๑. ความมุ่งหมาย

๒. ข้อห้าม

๓. หลักวินิจฉัยโทษ

๔. เหตุผลอื่น

เบญจศีลสิกขาบทที่

ปาณาติปาตา เวรมณี   เจตนางดเว้นจากการฆ่าสัตว์

๑. ความมุ่งหมาย   ท่านบัญญัติศีลข้อนี้ไว้  โดยมุ่งให้มนุษย์อบรมจิตของตนให้คลายความเหี้ยมโหด มีเมตตากรุณาต่อกันและกัน เผื่อแผ่แก่สัตว์ทั้งปวงด้วย

๒. ข้อห้าม  ในสิกขาบทนี้ ห้ามการฆ่าโดยตรง แต่ผู้รักษาศีล  พึงเว้นจากการกระทำอันเป็นบริวารของการฆ่าด้วย คือ

    ๒.๑ การฆ่า (ทำให้ศีลขาด)

            -  กิริยาที่ฆ่า  หมายถึง  การทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป  คำว่า สัตว์ หมายเอามนุษย์และเดียรัจฉานทุกชนิด  ชั้นที่สุดแม้สัตว์ในครรภ์

            -  บาปกรรม  การฆ่าสัตว์ทุกชนิดทำให้ศีลขาดทั้งนั้น   แต่ทางบาปกรรมย่อม  ลดหลั่นกัน

              - หลักวินิจฉัย  ท่านวางหลักวินิจฉัยบาปกรรมไว้ ๓ อย่าง  คือ

๑. วัตถุ      หมายถึง สัตว์ที่ถูกฆ่า  ในทางวัตถุนี้  ฆ่าคนบาปมากกว่าสัตว์เดรัจฉาน แม้ในการฆ่าคนนั้นยังมีลดหลั่น นับตั้งแต่ฆ่าพ่อฆ่าแม่ ฆ่าพระอรหันต์ ฆ่าคนมีคุณ  ฆ่าคนทั่วไป  ฆ่าคน ที่เป็นภัยแก่คนอื่น บาปกรรมก็ลดหลั่นกันไปตามลำดับ  แม้ฆ่าสัตว์เดรัจฉาน ก็พิจารณาตามเกณฑ์อย่างเดียวกันนี้  คือ  ฆ่าสัตว์มีคุณ  บาปมากกว่าสัตว์ทั่วไป

  ๒. เจตนา   หมายถึง   เจตนาของผู้ฆ่า   ในทางเจตนานี้  การฆ่าด้วยความอำมหิต  เช่นรับจ้างฆ่าคน   หรือฆ่าด้วยความอาฆาตพยาบาทอันร้ายกาจ   ฆ่าด้วยอำนาจโมหะ เช่น ยิงสัตว์เล่นเพราะเห็นแก่สนุก เหล่านี้ บาปจะมีมากน้อยลดหลั่นกัน  ส่วนการฆ่าด้วยจิตที่มีเมตตาผสมอยู่ เช่น แพทย์ทดลองวิชาเพื่อหาวิธีรักษาคนอื่นสัตว์อื่น หรือฆ่าเพื่อป้องกันตัว และทำให้เขาตายโดยพลาดพลั้ง บาปกรรมก็เบาบางลงตามลำดับ

๓. ประโยค   หมายถึง  วิธีการฆ่า  ในทางประโยค คือวิธีฆ่านี้  ถ้าฆ่าโดยวิธีทรมานให้ลำบากมาก หวาดเสียวมาก ช้ำใจมาก ก็บาปมาก

    การฆ่านี้ ทางศาสนาห้ามรวมถึงการฆ่าตัวเองด้วย ถือว่าเป็นการกระทำอันน่าตำหนิ และจิตใจของผู้ฆ่าตัวเองก็ไม่พ้นความมัวหมอง

    ๒.๒ การทำร้ายร่างกาย (ทำให้ศีลด่างพร้อย)

            การทำร้ายร่างกาย หมายถึงการทำให้ร่างกายเขาเสียรูป  เสียงาม เจ็บป่วยหรือพิการ(แต่ไม่ถึงตาย) จะด้วยการยิง ฟัน ทุบ  ตีก็ตาม ซึ่งกระทำโดยเจตนาร้ายต่อผู้นั้น ทั้งหมดเป็นเรื่องที่ไม่ควรทำ

      ๒.๓ การทรกรรม (ทำให้ศีลด่างพร้อย)

  การทรกรรม คือการทำให้สัตว์ได้รับความลำบาก โดยขาดเมตตาปรานี มีลักษณะดังนี้ 

        ๑. ใช้งานเกินกำลัง ไม่ให้ได้รับการพักผ่อนและการเลี้ยงดูตามควร

                      ๒. กักขังในที่อันไม่อาจเปลี่ยนอิริยาบถได้ และเป็นอันตราย

        ๓. นำสัตว์ไปโดยวิธีอันทรมานยิ่งนัก

          ๔. ผจญสัตว์ เช่น  ยั่วสัตว์ให้ทำลายกัน เพราะเห็นแก่ความสนุกของตน

๓. หลักวินิจฉัย ( หรือองค์ของศีล ) การฆ่าถึงขั้นศีลขาด ต้องประกอบด้วยองค์ ๕ คือ

    ๓.๑  สัตว์นั้นมีชีวิต

    ๓.๒  ผู้ฆ่ารู้ว่าสัตว์นั้นมีชีวิต

    ๓.๓  ผู้ฆ่าคิดจะฆ่า

    ๓.๔  พยายามฆ่า

    ๓.๕  สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น



๔. เหตุผลอื่น (เหตุผลของผู้รักษาศีลข้อ ๑)

      ชีวิตเป็นสมบัติชิ้นเดียวที่มนุษย์และสัตว์มีอยู่  และสิ่งที่มนุษย์และสัตว์ทุกรูป        ทุกนามหวงแหนที่สุดก็คือชีวิตของตน   ดังนั้น   การกระทำผิดต่อสัตว์    ไม่มีสิ่งใดร้ายแรงยิ่งกว่าการทำลายชีวิตของเขาเพียงแต่เรางดฆ่าสัตว์เสียอย่างเดียว  ก็ชื่อว่าเป็นการให้ความปลอดภัยแก่ชีวิต   สัตว์ทั้งโลกและให้ความปลอดภัยแก่บรรดาบุตรหลานและบริวารของสัตว์นั้นด้วย

    การประพฤติตนเป็นคนโหดร้าย  ละเมิดศีลข้อนี้  ชื่อว่าเป็นการทำลายมนุษยธรรม

ในตัวเราเอง ทั้งเป็นการทำลายสังคมและประเทศชาติของเราด้วย

เบญจศีลสิกขาบทที่

อทินฺนาทานา  เวรมณี  เจตนางดเว้นจากการลักทรัพย์

๑. ความมุ่งหมาย    ท่านบัญญัติศีลข้อนี้ไว้เพื่อให้ทุกคนงดเว้นจากการทำมาหากินในทางทุจริต   ให้ประกอบอาชีพในทางสุจริต และเคารพในกรรมสิทธิ์ของผู้อื่น

๒. ข้อห้าม   ในสิกขาบทนี้ ข้อห้ามโดยตรง คือห้ามกระทำโจรกรรม  แต่ผู้รักษาศีลพึงเว้นจากการกระทำอันเป็นบริวารของโจรกรรมด้วย คือ

    ๒.๑ โจรกรรม  การกระทำที่เป็นโจรกรรมมี ๑๔ อย่าง คือ 

  - ลัก     คือขโมยเอาทรัพย์เมื่อเจ้าของไม่เห็น

  - ฉก      คือชิงเอาทรัพย์ต่อหน้าเจ้าของ

  - กรรโชก   คือทำให้เขากลัวแล้วให้เขาให้ทรัพย์หรือยกเว้นให้ไม่ต้องเสียทรัพย์

  - ปล้น   คือร่วมหัวกันหลายคน มีศัสตราวุธเข้าปล้นทรัพย์

  - ตู่   คืออ้างหลักฐานพยานเท็จ หักล้างกรรมสิทธิ์ของผู้อื่น

  - ฉ้อ   คือโกงทรัพย์ของผู้อื่น

  - หลอก คือปั้นเรื่องให้เขาเชื่อแล้วให้เขาให้ทรัพย์

  - ลวง   คือใช้เล่ห์เอาทรัพย์ด้วยเครื่องมือลวง

  - ปลอม คือทำหรือใช้ของปลอม

  - ตระบัด  คือยืมของคนอื่นมาใช้แล้วยึดเอาเสีย

  - เบียดบัง คือกินเศษกินเลย

  - สับเปลี่ยน คือแอบสลับเอาของผู้อื่นซึ่งมีค่ากว่า

  - ลักลอบ คือหลบหนีภาษีของหลวง

  - ยักยอก คือใช้อำนาจหน้าที่อันมีอยู่ ถือเอาทรัพย์โดยไม่สุจริต

    ๒.๒ อนุโลมโจรกรรม  การกระทำอันเป็นอนุโลมโจรกรรม มี ๓ อย่าง คือ:-

              - สมโจร คือสนับสนุนโจร

              - ปอกลอก คือคบเขาเพื่อปอกลอกเอาทรัพย์

              - รับสินบ   คือรับสินจ้างเพื่อกระทำผิดหน้าที่ การรับสินบนนี้  หากผู้รับมีเจตนาร่วมกับผู้ให้ในการทำลายกรรมสิทธิ์ของผู้อื่น  ก็เป็นการร่วมทำโจรกรรมโดยตรงศีลย่อมขาด

    ๒.๓ ฉายาโจรกรรม การกระทำเป็นฉายาโจรกรรมมี ๒ อย่าง คือ

- ผลาญ   คือทำลายทรัพย์ผู้อื่น (ไม่ถือเอาเป็นของตน)

- หยิบฉวย คือถือวิสาสะเกินขอบเขต

              ทั้งนี้  ถ้ามีเจตนาในทางทำลายกรรมสิทธิ์ของผู้อื่นรวมอยู่ด้วย ก็ไม่พ้นเป็นโจรกรรม  ศีลย่อมขาด

หมายเหตุ :  เฉพาะอนุโลมโจรกรรม  กับฉายาโจรกรรมนั้น  ต้องพิจารณาถึงเจตนาของผู้ทำอีกด้วย  ถ้าเจตนาทำลายกรรมสิทธิ์ ศีลก็ขาด ถ้าเจตนาไม่แน่ชัด ศีลก็เพียงด่างพร้อย

๓. หลักวินิจฉัย   การกระทำโจรกรรม  ที่ถึงขั้นศีลขาด  ต้องประกอบด้วยองค์ ๕ คือ

    ๓.๑ ของนั้นมีเจ้าของ

    ๓.๒ ตนรู้ว่าของนั้นมีเจ้าของ

    ๓.๓ จิตคิดจะลัก

    ๓.๔ พยายามลัก

    ๓.๕ ได้ของนั้นมาด้วยความพยายามนั้น

๔. เหตุผลอื่น (เหตุผลของผู้รักษาศีลข้อที่ ๒)

    สัตว์ทุกชนิดย่อมมีปากมีท้อง  และมีภาระในการหาเลี้ยงปากเลี้ยงท้องด้วยกันทั้งนั้น  ทั้งไก่ สุนัข ลิง แมว และสารพัดสัตว์รวมทั้งคนด้วย  แต่ธรรมชาติได้สร้างอวัยวะไว้ให้เป็นเครื่องมือหากิน พอเหมาะพอสมควรกับตัว  สามารถหากินอิ่มท้องได้ภายในตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก  และยังเหลือเวลาพักผ่อนอีกด้วย  คนเราก็เป็นสัตว์โลกชนิดหนึ่ง  มีปาก  มีท้อง  และมีอวัยวะหากินเหมือนกัน  และยังมีสมองและปัญญามากกว่าสัตว์  สามารถทำมาหากินได้จนพอที่จะเผื่อแผ่คนอื่นได้อีกด้วย  คนที่ลักขโมยฉ้อโกงเขากิน  จึงเป็นคนทำลายศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของตนเอง  คนที่ใช้ความรู้โกงทรัพย์  คนอื่นนั้น  ไม่ใช่ความดีวิเศษอะไร  เพราะการโกงทรัพย์คนอื่นนั้นแม้แต่ไก่ก็โกงกันกินได้

    ร้ายยิ่งไปกว่านั้น  การลักขโมยฉ้อโกงเอาทรัพย์ผู้อื่นนั้น  เราเองได้ทรัพย์ภายนอกมา แต่ต้องเสียทรัพย์ภายใน คือศีลธรรมและเกียรติยศของตนเอง  ซึ่งเทียบราคากันไม่ได้เลย

เบญจศีลสิกขาบทที่

กาเมสุ  มิจฺฉาจารา  เวรมณี  เจตนางดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม

๑. ความมุ่งหมาย  จุดหมายสำคัญของศีลข้อนี้  อยู่ที่การสร้างความเป็นปึกแผ่น  ปลูกสามัคคี  และป้องกันการแตกร้าวในหมู่มนุษย์

๒. ข้อห้าม  สิกขาบทนี้ห้าม (ทั้งหญิงทั้งชาย) ไม่ให้ประพฤติผิดประเวณี

๓. หลักวินิจฉัย การกระทำที่เรียกว่า  กาเมสุมิจฉาจาร  เป็นการผิดประเวณี  ประพฤติแล้วที่ทำให้ศีลข้อนี้ขาดนั้น  ต้องประกอบด้วยองค์ ๔ คือ

๓.๑   หญิง (หรือชาย) นั้นเป็นบุคคลต้องห้าม  กล่าวโดยย่อ บุคคลต้องห้าม คือบุคคลผู้ที่ใคร ๆ จะสมสู่ด้วยไม่ได้ มีอยู่ ๒ ประเภท คือ หญิงต้องห้าม  กับชายต้องห้าม

หญิงต้องห้าม    หญิงต้องห้าม มี ๓ จำพวก คือ

- หญิงมีสามี (สสฺสามิกา) หมายถึงหญิงที่อยู่กินกับชายอื่นในฐานะภรรยาและสามี  ทั้งนี้  ไม่ว่าเขาจะได้ทำพิธีแต่งงานกันหรือไม่ก็ตาม และจะได้จดทะเบียนสมรสตามกฎหมายหรือไม่ ไม่ถือเป็นประมาณ ข้อสำคัญอยู่ที่ว่าเขาได้อยู่กินเป็นสามีภรรยากันโดยเปิดเผยเท่านั้น

หญิงประเภทนี้  จะหมดภาวะที่เป็นหญิงต้องห้ามก็ต่อเมื่อสามีตายแล้ว  หรือได้บอกหย่าขาดจากสามีแล้ว  หญิงที่สามีถูกกักขัง เช่นจำคุก  ถ้าไม่ได้หย่าขาดจากกัน ก็คงถือว่าหญิงนั้นยังมีสามีอยู่  แม้สามีจะต้องจองจำตลอดชีวิต  ตนก็ยังอยู่ในฐานะหญิงต้องห้ามจนกว่าสามีจะสิ้นชีวิต  ชายใดสมสู่ด้วย  จึงผิดศีล    และเมื่อเพ่งถึงการทำลายความไว้วางใจกัน  นอกจากการร่วมสังวาสแล้ว  ผู้รักษาศีลพึงเว้นแม้การผูกสมัครรักใคร่ฐานชู้สาว  การเกี้ยวพาราสี  พูดเคาะ  หรือแม้แต่เล่นหูเล่นตากับภรรยาผู้อื่นในเชิงชู้สาว

- หญิงมีญาติปกครอง (ญาติรกฺขิตา) คือหญิงสาวที่ไม่เป็นอิสระแก่ตน  แต่อยู่ในการปกครอง

ดูแลของ พ่อ แม่ พี่ ป้า น้า อา หรือผู้อุปการะ  ซึ่งนับว่าเป็นผู้ใหญ่ของเขา  หญิงประเภทนี้  ถ้าชายใดอยากได้เป็นภรรยา   ก็ต้องติดต่อสู่ขอจากผู้ใหญ่ให้ชอบด้วยประเพณี  จักได้เป็นศรีแก่ตนและวงศ์สกุล  ชายใด ลักลอบสมสู่หรือฉุดคร่า  ลักพาเอาไป  เป็นผิดศีล  การผิดศีลในข้อนี้  เกิดจากการขืน  น้ำใจท่าน ทำให้ผู้มีพระคุณต้องช้ำใจ ผิดทั้งหญิงและชาย

หญิงที่ผู้ใหญ่รับของหมั้นจากชายแล้ว  ตกลงว่าจะให้แต่งงานด้วย    นับแต่รับของหมั้นแล้ว  หญิงนั้นย่อมเป็นสิทธิของคู่หมั้น  จนกว่าจะได้คืนของหมั้น  หรือบอกเลิกการหมั้นเสีย

- หญิงมีจารีตรักษา (จาริตา ธมฺมรกฺขิตา) หมายถึง หญิงที่ศีลธรรม  กฎหมาย  หรือจารีตนิยมคุ้มครองรักษา  ห้ามการสมสู่  มี  ๒  ประเภทคือ 

หญิงผู้เป็นเทือกเถาเหล่ากอของตน  ประเภทแรกนี้ ได้แก่หญิงที่เป็นเทือกเถาเหล่ากอของตนเอง เทือกเถา คือ  ญาติผู้ใหญ่  นับย้อนขึ้นไปทางบรรพบุรุษ ๓ ชั้น เหล่ากอ  หมายถึง ผู้สืบสันดานจากตน  นับลงไป ๓ ชั้นเหมือนกัน

      ชายใดสมสู่กับหญิงที่เป็นเถือกเถาเหล่ากอของตน  เป็นบาป ผิดศีล  ฝ่ายหญิงควรพึงทราบโดยนัยตรงกันข้าม

หญิงมีข้อห้าม  คือหญิงบำเพ็ญพรหมจรรย์ เช่น ภิกษุณี และสามเณรีในสมัยก่อน หรืออุบาสิการักษาอุโบสถในสมัยนี้  นอกจากห้ามโดยข้อปฏิบัติแล้ว  ยังมีหญิงบางประเภทที่พระราชาห้ามโดยข้อบทกฎหมายอีก

นอกจากหญิงที่มีข้อห้ามโดยตรงแล้ว  ยังมีหญิงต้องห้ามโดยจารีตประเพณี  และห้ามโดยการกระทำอันไม่สมควรแก่กาละ  เทศะ เช่น  หญิงที่เป็นเด็กทารก  หรือผู้เจ็บไข้ไม่สมประกอบ  การกระทำข่มขืนโดยพลการ และในสถานที่อันไม่บังควร เช่น ในโบสถ์ วิหาร เป็นต้น  เป็นการเหยียบย่ำทำลายจารีตประเพณีด้วยการประพฤติเสพกามเช่นนี้  ย่อมเป็นการละเมิดศีลข้อนี้โดยตรงบ้าง โดยอ้อมบ้าง ไม่พึงประพฤติเป็นอย่างยิ่ง

ชายต้องห้าม  ชายต้องห้าม คือชายที่หญิงสมสู่ไม่ได้  ท่านแสดงไว้เพียง ๒ จำพวก คือ

ชายอื่นนอกจากสามีตน (สำหรับหญิงมีสามี) ข้อนี้สำหรับหญิงที่มีสามีแล้ว และยังอยู่กินกับสามี  ให้ถือว่า ผู้ชายนอกจากสามีตน เป็นชายต้องห้าม

ชายที่จารีตห้าม (สำหรับหญิงทั่วไป)  หญิงทั่วไป คือ ทั้งที่มีสามีและไม่มีสามี  พึงถือว่า ชายที่มีจารีตห้าม เช่นนักบวชในศาสนาที่ห้ามเสพเมถุน  เป็นชายต้องห้าม มิให้ยินยอมพร้อมใจในการร่วมสังวาส ถ้าเป็นใจด้วยถือว่า ผิดศีล

๓.๒  มีเจตนาจะเสพกาม

๓.๓  ประกอบกามกิจ

๓.๔   อวัยวะเครื่องเสพกามถึงกัน

๔. เหตุผลอื่น (เหตุผลของผู้รักษาศีลข้อ ๓)

ในบรรดาภพที่เกิดของสัตว์  มีอยู่ภพหนึ่ง เรียกว่า กามภพ สัตว์โลกที่อยู่ในกามภพ     พากันเสพกาม  ติดอยู่ในกาม  แต่ก็แบ่งออกเป็น ๓ พวก หรือ ๓ ชั้น คือ 

พวกชั้นต่ำ  มีกามเป็นใหญ่ คือพวกตกเป็นทาสของอารมณ์ ประพฤติตามความใคร่ ไม่มีข้อใดที่จะต้องสังวรในเรื่องนี้  ได้แก่จำพวกสัตว์ที่ต่ำกว่ามนุษย์ลงไป  ซึ่งไม่มีความอาย  ไม่มีข้อควรเว้น

พวกชั้นกลาง สังวรในกาม คือ รู้จักสังวรในกาม  มีการควบคุมจิต  แม้จะมีความใคร่ในกาม  ก็ยังรู้จักเว้นสิ่งที่ควรเว้น ไม่ปล่อยไปตามอารมณ์  ได้แก่พวกมนุษย์ชั้นสามัญ

พวกชั้นสูง  เว้นจากกาม   ได้แก่พวกประพฤติพรหมจรรย์   งดเว้นการเสพกาม

ความผิดในกามนั้น  อาจเกิดขึ้นในพวกชั้นกลางกับชั้นสูงเท่านั้น ส่วนพวกชั้นต่ำ คือ พวกเดรัจฉาน ไม่มีข้อใดที่ถือเป็นความผิดในกาม  เพราะต่ำที่สุดอยู่แล้ว พวกชั้นกลางนั้น  จะผิดในกามก็ต่อเมื่อไปประพฤติอย่างพวกชั้นต่ำเข้า  คือกระทำโดยไม่เว้นกาละ  เทศะ และบุคคลอันตนจะพึงเว้น

ทางสังคม  คนรักกัน  อาจเสียสละทุกสิ่งทุกอย่างให้แก่กันได้  ให้เงินให้ทอง ให้ข้าว   ให้ของแก่กันได้  เสื้อผ้าอาภรณ์  แม้จะหยิบยืมกันใช้  ก็ยืมได้ทุกอย่าง  ยืมไม่ทัน  จะถือวิสาสะฐานะคนรักกันก็ยังได้  เว้นอย่างเดียว คือการล่วงเกินในภรรยาเพื่อน กับเพื่อน ซึ่งทำให้ไม่อาจรักกันต่อไปได้ พี่กับน้องก็ไม่อาจรักกันต่อไปได้  ผู้ใหญ่กับผู้น้อยก็ไม่อาจรักกันต่อไปได้ ตกลงว่า  การนอกใจ  การทำชู้ ถือว่าเป็นศัตรูโดยตรงกับความไว้วางใจกัน

เบญจศีลสิกขาบทที่

มุสาวาทา เวรมณี   เจตนางดเว้นจากการพูดเท็จ

๑.  ความมุ่งหมาย  ศีลข้อนี้  ท่านบัญญัติไว้  เพื่อป้องกันการทำลายประโยชน์ของตนและผู้อื่นด้วยการพูดเท็จ  และให้รู้จักฝึกอบรมจิตใจให้เป็นคนมั่นคงในความดี


เมื่อเพ่งความมุ่งหมายดังกล่าวแล้ว  พึงทราบว่าในสิกขาบทนี้ท่านห้ามดังต่อไปนี้

๑.๑  มุสา    แปลว่า  เท็จ  ได้แก่โกหก  ส่วนมาก  เราเข้าใจกันว่า  การกล่าวคำโกหก คือการใช้ปากกล่าว แต่ในทางศีล  ท่านหมายถึงการทำเท็จทุกอย่าง  จะทำเท็จด้วยการกล่าว หรือทำเท็จด้วยการไม่กล่าว ก็เป็นการเท็จได้ทั้งนั้น  เมื่อแยกวิธีและวิธีทำมุสาวาท แล้วจะมีลักษณะดังนี้ 

วิธีทำเท็จ มี  ๒  ทาง  คือ 

ทางวาจา คือ กล่าวออกมาเป็นคำเท็จ  ตรงกับคำว่า โกหกชัด ๆ ซึ่งเป็นที่เข้าใจกันอยู่แล้ว

ทางกาย  คือทำเท็จด้วยร่างกาย เช่นเขียนจดหมายโกหก  รายงานเท็จ  ทำหลักฐานปลอม ตีพิมพ์ข่าวเท็จเผยแพร่ ทำเครื่องหมายให้คนอื่นหลงเชื่อ  ตลอดจนการทำใบ้ให้คนอื่นเข้าใจผิด เช่นสั่นศีรษะในเรื่องควรรับ  หรือพยักหน้าในเรื่องควรปฏิเสธ

วิธีแห่งมุสาวาท  มุสาวาทนั้นมี ๗ วิธีคือ

- ปด  ได้แก่การโกหกชัด ๆ    ไม่รู้ก็ว่ารู้   ไม่เห็นก็ว่าเห็น   ไม่มีก็ว่ามี หรือรู้ก็ว่าไม่รู้  เห็นก็ว่าไม่เห็น มีก็ว่าไม่มี  อย่างนี้เรียกว่า ปด

- ทนสาบาน  คือทนสาบานตัว  เพื่อให้คนอื่นหลงเชื่อ   การสาบานนั้นอาจมีการสาปแช่งด้วยหรือไม่ก็ตาม  ชั้นที่สุดคนที่อยู่ด้วยกันมาก ๆ เช่น  นักเรียนทั้งชั้น  เมื่อมีผู้หนึ่งทำความผิดแต่   จับตัวไม่ได้  ครูจึงเรียกประชุม แล้วก็ถามในที่ประชุมและสั่งว่า  ใครเป็นคนทำผิดให้ยืนขึ้น นักเรียน   คนทำผิดไม่ยอมยืน   นั่งเฉยอยู่เหมือนกับคนที่เขาไม่ได้ทำผิด ทำอย่างนี้ก็เป็นการมุสาด้วยการทนสาบาน

- ทำเล่ห์กระเท่ห์    ได้แก่การอวดอ้างความศักดิ์สิทธิ์เกินความจริง  เช่นอวดรู้วิชาคงกะพัน  ว่าฟันไม่เข้า  ยิงไม่ออก อวดวิชาเล่ห์ยาแฝดว่าทำให้คนรักคนหลง  อวดความแม่นยำทำนายโชคชะตา อวดวิเศษใบ้หวยบอกเบอร์

- มายา   คือแสดงอาการหลอกคนอื่น เช่นเจ็บน้อยทำทีเป็นเจ็บมาก  หรืออย่างข้าราชการบางคนต้องการจะลาพักงาน  และถ้าลาตรง ๆ เกรงผู้บังคับบัญชาจะไม่เห็นใจ จึงแกล้งทำหน้าตาท่าทางว่าป่วย  ใช้มือกุมขมับ  แสดงว่าปวดศีรษะ กุมท้อง  แสดงว่าปวดท้อง

- ทำเลศ    คือใจอยากจะกล่าวเท็จ     แต่ทำเป็นเล่นสำนวน     กล่าวคลุมเครือให้ผู้ฟัง  คิดผิดไปเอง

            - เสริมความ  คือเรื่องจริงมี แต่มีน้อย คนกล่าวอยากให้คนฟังเป็นเรื่องใหญ่ จึงกล่าวพร้อมประกอบกิริยาท่าทางให้เห็นเป็นเรื่องใหญ่โต  เช่นเห็นไฟไหม้เศษกระดาษนิดเดียว  ก็ตะโกนลั่นว่า “ไฟไหม้ ๆ” คิดจะให้คนฟังเข้าใจว่าไฟไหม้บ้านเรือน    หรือคนโฆษณาขายสินค้า  พรรณนาสรรพคุณเกินความจริง  ก็นับเข้าในเจตนาเสริมความนี้

- อำความ  การอำความนี้  ตรงข้ามจากเสริมความ   เสริมความ คือทำเรื่องเล็กให้ใหญ่ ส่วนอำความ คือทำเรื่องใหญ่ให้เล็ก

       


๑.๒ อนุโลมมุสา อนุโลมมุสา    คือเรื่องที่กล่าวนั้นไม่จริง  แต่ผู้กล่าวก็มิได้มุ่งจะให้      

ผู้ฟังหลงเชื่อ เช่นคนกล่าวประชดคนทำอะไรช้า ๆ ว่า   “คนนั้นเขาทำมาตั้งปีแล้ว”  คนที่ถูกเขาว่านั้นความจริงไม่ได้ช้าถึงปี    และคนที่กล่าวก็ไม่ประสงค์จะให้คนนั้นหลงเชื่อว่าเป็นเช่นนั้น แต่มุ่งจะว่า กล่าวให้เจ็บใจ  อย่างนี้เรียกว่าทำประชด  เป็นอนุโลมมุสา

๑.๓ ปฏิสสวะ ปฏิสสว ได้แก่การรับคำของคนอื่นด้วยเจตนาบริสุทธิ์ แต่ภายหลัง    เกิดกลับใจ  ไม่ทำตามที่รับนั้น โดยที่ตนยังพอจะทำตามคำที่รับมาได้อยู่

การกระทำในข้อ ๑.๑  ทำให้ศีลขาด   ส่วนข้อ ๑.๒ และข้อ ๑.๓ ทำให้ศีลด่างพร้อย

หมายเหตุ (ข้อยกเว้น) มีคำกล่าวอีกประเภทหนึ่ง ผู้กล่าว กล่าวไม่จริง แต่ก็ไม่ประสงค์จะให้ผู้ฟังเชื่อ ซึ่งเรียกว่า ยถาสัญญา  คือกล่าวตามความสำคัญ  ผู้กล่าวไม่ผิดศีล คือ

๑.โวหาร  ได้แก่ถ้อยคำที่ใช้เป็นธรรมเนียมเพื่อความไพเราะของภาษา เช่น เราเขียนจดหมาย ลงท้ายว่า “ด้วยความนับถืออย่างยิ่ง” นี่เราเขียนตามธรรมเนียมของจดหมาย  ความจริงเราไม่ได้นับถืออย่างยิ่ง หรืออาจไม่นับถือเขาเลยก็ได้

๒. นิยาย  เช่นคนผูกนิทานขึ้นมาเล่า หรือแต่งเรื่องลิเกละคร เขาบอกผู้ดูว่าเขาเป็นอย่างนั้น เขาเป็นอย่างนี้  ซึ่งไม่เป็นความจริง แต่ก็ไม่ผิดศีล  เพราะเขาไม่ตั้งใจจะให้คนฟังหลงเชื่อ เพียงแต่แสดงไปตามเรื่อง

๓. สำคัญผิด  คือผู้กล่าวเข้าใจอย่างนั้น กล่าวไปตามความเข้าใจของตน  เช่น เราจำชื่อหรือที่ตั้งวัดผิด เมื่อมีใครถาม  เราก็ตอบไปตามที่จำได้ ก็เป็นอันไม่ผิดศีล

๔. พลั้ง คือ กล่าวพลั้งไป ไม่มีเจตนา

เป็นอันว่า  คำกล่าวประเภท โวหาร นิยาย สำคัญผิด พลั้ง เป็นข้อยกเว้น ผู้กล่าวไม่ผิดศีล

        ๒. ข้อห้าม   ศีลข้อนี้ ห้ามการปฏิบัติทั้ง ๓ ประการนั้น (ห้ามข้อ ๑.๑, ๑.๒ และ ๑.๓)

        ๓. หลักวินิจฉัย  การปฏิบัติที่จะเรียกว่าเป็นมุสาวาท (ศีลข้อที่ ๔ ขาด ) จะต้องประกอบ  ด้วยองค์ ๔ คือ

๑. เรื่องไม่จริง  ที่ว่าจริงหรือไม่จริง คือ เรื่องที่พูดนั้นไม่มีจริง ไม่เป็นจริง เช่น ฝนไม่ตกเลย แต่บอกว่าฝนตก  อย่างนี้เรียกว่า เรื่องไม่จริง

๒.  จิตคิดจะกล่าวให้ผิด คือ มีเจตนาจะกล่าวบิดเบือนความจริงเสีย  ถ้ากล่าวโดยไม่เจตนาจะกล่าวให้ผิด  ศีลไม่ขาด

๓. พยายามกล่าวออกไป คือได้กระทำการเท็จด้วยเจตนานั้น ไม่ใช่เพียงแต่คิดเฉย ๆ

๔. คนฟังเข้าใจเนื้อความนั้น  ส่วนที่ว่าเขาจะเชื่อหรือไม่นั้น ไม่ถือเป็นสำคัญ

๔. เหตุผลอื่น (เหตุผลของผู้รักษาศีลข้อ ๔)

ระหว่างคนทั้งสอง คือ คนกล่าวคำโกหก กับคนฟังคำโกหก  ผู้กล่าวคำโกหกเป็นผู้เสียหายร้ายแรงกว่า เพราะการโกหกแต่ละครั้ง  สัจธาตุในจิตของเขาถูกทำลายลงไป  เขาจะกลายเป็นคนเหลาะแหละและเหลวแหลกในที่สุด ฝ่ายคนฟังคำโกหกจะถูกทำลายเพียงความรู้สึกบางอย่างของจิตเท่านั้น

คนคิดทำลายผู้อื่นด้วยการกล่าวคำโกหก  ก็ไม่ผิดอะไรกับคนที่กรีดเลือดของตนออกเขียนด่าคนอื่น เขาเป็นคนไร้สัจธาตุ เป็นโมฆบุรุษ สติปัญญาหากมีและทำให้กล่าวหรือแสดงคำโกหกได้คล่อง  สติปัญญาที่มีนั้นก็มีเพื่อพิฆาตฆ่าตัวเขาผู้เป็นคนพาลเอง  ดุจปลีกล้วยฆ่าต้นกล้วย      ขุยไผ่ฆ่าต้นไผ่     ลูกม้าอัสดร เกิดมาเพื่อฆ่ามารดาตน  จะยกแผ่นดิน และหรือแผ่นฟ้าทุกจักรวาลให้ ก็หาหยุดยั้งหรือสนองความเป็นคนพาล ความเป็นคนเปล่าประโยชน์ของเขาได้ไม่

เบญจศีลสิกขาบทที่ ๕

สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา เวรมณี  เจตนางดเว้น จากการดื่มน้ำเมาอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท

๑. ความมุ่งหมาย  การบัญญัติศีลข้อนี้  เพื่อให้คนรู้จักรักษาสติของตนให้สมบูรณ์

๒. ข้อห้าม   สิกขาบทนี้ ห้ามโดยตรง คือ ห้ามดื่มน้ำเมา  อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท คือทำให้สติฟั่นเฟือน น้ำเมาที่ว่านี้ ได้แก่

สุรา  คือน้ำเมาที่กลั่นแล้ว ไทยเรียกว่า เหล้า

เมรัย น้ำเมาที่ไม่ได้กลั่น เช่น เหล้าดิบ  กระแช่ น้ำตาลเมา เป็นต้น (ฝิ่น กัญชา

 ยาเสพติด เฮโรอิน ยาม้า ฯ เป็นต้น ก็นับเข้าในข้อนี้ด้วย )

๓. หลักวินิจฉัย  สุราปานะ (การดื่มสุรา)  ที่เป็นเหตุให้ศีลขาดและที่จัดว่าเป็นโทษ เพราะการดื่ม มีข้อวินิจฉัย และโทษแห่งสุรา ดังนี้ 

ข้อวินิจฉัยว่า  ศีล ๕ ข้อที่  ขาดต้องประกอบด้วย 

๑. น้ำที่ดื่มนั้นเป็นน้ำเมา หมายความว่า  น้ำที่ดื่มนั้นต้องเป็นน้ำเมา ถ้าคิดจะดื่มสุรา    แต่เข้าใจผิด  เห็นแก้วน้ำชาเป็นแก้วสุรา จึงคว้าเอามาดื่ม อย่างนี้ศีลไม่ขาด  การที่ผู้อื่นปรุงสุราลงไปในอาหารหรือยาแก้โรคเพื่อชูรส หรือให้ยามีประสิทธิภาพดี ผู้กินอาหารหรือรับประทานยานั้นไม่มีเจตนาจะดื่มเหล้า ศีลไม่ขาด 

๒.  จิตคิดจะดื่มน้ำเมา   หมายความว่าตัวผู้ดื่มนั้นตั้งใจจะดื่มสุราจริง ๆ    แล้วดื่มเข้าไป 

ศีลจึงขาด 

๓.  พยายามดื่มน้ำเมา คือดื่มด้วยตนเอง ตัวเองดื่มเอง ที่ว่าพยายามในที่นี้ หมายเอาการดื่มนั้นเอง  อ้าปากขึ้นดูดเอาน้ำเหล้าจากแก้วเข้าปาก  แล้วก็กลืนลงคอ  อย่างนี้เรียกว่าพยายาม  

๔.  น้ำเมานั้นล่วงลำคอลงไป  คือกำหนดขีดสมบูรณ์แห่งการกระทำ นั่นคือ ที่ว่าศีลขาด ๆ 

นั้น ถามว่า ขาดตอนไหน ตอนยกแก้วขึ้น หรือตอนอมสุราเข้าปาก หรือตอนกลืน หรือตอนเมา หรือตอนไหนกันแน่  ตอบว่า ท่านกำหนดเอาตอนน้ำสุราไหลล่วงเข้าลำคอไปเป็นจุดสำคัญ

โปรดทราบด้วยว่า  ของเมาที่ห้ามนั้น เฉพาะที่ทำให้ผู้เสพมีสติฟั่นเฟือน เป็นเหตุแห่ง

โรคร้ายแก่ชีวิตซึ่งเรียกว่า เป็นที่ตั้งแห่งความประมาทต่อความปลอดภัยของชีวิตนั่นเอง

โทษของการดื่มสุรามี  ๖ ประการ คือ

- สุราทำให้เสียทรัพย์  เพราะสุราเป็นน้ำเมาเสพติด ผู้ดื่มมักจะเพิ่มปริมาณดื่มขึ้นไปทุกที และใฝ่ฝันที่จะหาเพื่อนฝูงร่วมวงดื่มให้เกิดรส ผู้ติดสุราจึงจำเป็นต้องเสียทรัพย์ในการซื้อดื่มเอง  ซื้อเลี้ยงคนอื่นด้วย  และนั่นหมายถึงการเชือดเฉือนความสุขจากบุตรภรรยาและสามีของตนมาละลายทิ้งอย่างได้ผลไม่คุ้มค่า

- สุราเป็นเหตุก่อวิวาท   ความกล้าเป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งของคน แต่ความกล้านั้นจะให้เกิดประโยชน์และไม่เป็นภัย ต้องมีคุณธรรม คือสติควบคุมด้วย  ไม่เช่นนั้นก็จะกลายเป็นความบ้าบิ่น ทำอะไรแผลง  เลยขีดสามัญชน ไม่มีผลดีอันใดเลย สุราที่ตนดื่มเข้าไปแล้วนั้นจะเข้าไปทำลายสติโดยตรง ฉะนั้น  คนเมาสุราจึงชอบพูดพล่ามก่อกวน  กวนโทสะคนอื่น ลวนลามลามปามได้ทุกคนไม่ว่าลูก  ภรรยา หรือสามีใคร ผลที่สุดก็เกิดการทะเลาะวิวาทกันจนถึงฆ่ากันตายก็มี ผลการวิจัยสาเหตุอาชญากรรมของศูนย์การป้องกันอาชญากรรมในประเทศไทย  ได้ค้นพบว่าสุราเป็นเหตุใหญ่ยิ่งเหนือเหตุอื่นใดที่ทำให้เกิดคดีฆาตกรรมในประเทศ 

- สุรานำโรคมาให้   ข้อนี้    วงการแพทย์ทั้งแผนโบราณทั้งแผนปัจจุบันยืนยันตรงกันว่า สุราเป็นวัตถุที่เป็นอันตรายต่ออวัยวะทางเดินอาหาร ต่อระบบประสาททางเดินของโลหิต ต่อต่อมไม่มีท่อ และต่อระบบการหายใจ 

- สุราทำให้เสียชื่อเสียง  คนที่สติฟั่นเฟือน  ย่อมอาจทำความผิดได้ทุกประตู  อาจเสีย   ซื่อเสียงได้ทุกกรณี  และทุกกาละ  สิ่งที่ทำให้สติฟั่นเฟือนนั้นก็คือสุรานั่นเอง

  - สุราเป็นเหตุให้ทำเรื่องน่าอดสู   วิญญูชนย่อมสงวนศักดิ์รักเกียรติของตนเอง  จึงไม่กระทำสิ่งที่น่าอดสูให้คนทั้งหลายดูหมิ่น  แต่สุราทำให้คนที่ดื่มจนเมาแล้วลืมเกียรติยศเกียรติศักดิ์อันตนพึงหวงแหนนั้น   แสดงกิริยาวาจาอันน่าอดสูได้ทุกอย่าง  นอนกลางถนนก็ได้ ถ่ายอุจจาระปัสสาวะต่อหน้าสาธารณชนก็ได้ เปิดเผยอวัยวะอันพึงปกปิดโดยไม่กระดากอายก็ได้

  - สุราบั่นทอนกำลังปัญญา  สุราทำลายระบบประสาท ทำลายสติ และทำลายสุขภาพ  ดังกล่าวแล้ว  จึงมีผลปรากฎว่า  คนติดสุรานั้นปัญญาทึบ บางคนต้องคอยดื่มสุรากระตุ้นเตือนไว้จึงใช้ความคิดได้ มิฉะนั้นจะซึมเซา คิดอะไรไม่ปลอดโปร่ง

๔. เหตุผลอื่น  ( เหตุผลของผู้รักษาศีลข้อ ๕ )

สมรรถภาพของคนมี ๒ ทาง คือ ทางกายกับทางจิต ในการใช้สมรรถภาพทางจิตนั้น    จิตจำเป็นต้องมีคุณภาพอย่างหนึ่งประกอบความคิดด้วย คือ สติ

ร่างกายนั้นหากชักจิตออกเสียแล้ว ก็หมดความสำคัญ จิตนั้น ถ้าขาดสติ ก็สิ้นความหมาย

สติของคนเรา มิใช่จะเป็นของแตกหักเสียหายง่ายดายนัก  หามิได้ อดข้าว ๑ วันสติก็ไม่เสีย ป่วยทั้งปี  สติก็ยังดี แต่มีสิ่งหนึ่งในโลกนี้มีพิษร้ายกาจ  สามารถฆ่าสติของคนได้ง่ายที่สุด นั่นคือ สุรา

การไม่ดื่มสุรา  จึงเป็นการประกันคุณค่าแห่งชีวิตของตนเองได้อย่างดีแท้

เบญจธรรม

ธรรมกับวินัย

เบญจธรรมนั้น บางทีเรียก กัลยาณธรรม  แปลว่า ธรรมอันทำให้ผู้ประพฤติเป็นคนดีงาม  บางทีใช้คำว่า “เบญจธรรม” เฉย ๆ แปลว่า ธรรมห้าอย่าง  ก็เป็นอันรู้กันว่าหมายถึงกัลยาณธรรมนี้     ส่วนมากใช้ควบกับคำว่า เบญจศีล เช่นใช้ว่า “เบญจศีลเบญจธรรม” ท่านที่เคยเคร่งศัพท์ใช้เต็มอัตราเลย  ก็มีเหมือนกัน คือใช้คำว่า เบญจกัลยาณธรรม

เราได้ทราบมาจากตอนต้นแล้วว่า พระพุทธศาสนาประกอบด้วยพระธรรมกับพระวินัย  หมายความว่าโอวาทของพระพุทธองค์ทั้งสิ้นนั้น  เมื่อแบ่งออกแล้ว มีอยู่สองประเภท คือ

๑. ธรรมะ ได้แก่ข้อปฏิบัติต่าง ๆ อันจะทำให้กาย วาจา ใจ ประณีตขึ้น

๒. วินัย    ได้แก่ข้อห้าม หรือระเบียบควบคุมมิให้ตัวเราตกไปสู่ความชั่ว

ธรรมกับวินัยนี้  สำนวนทางพระ  เวลาเรียกชอบเรียกว่า “ธรรมวินัย” แต่สำนวนชาวบ้านเราใช้คำว่า “ศีลธรรม” เช่นในหลักสูตรโรงเรียนก็เรียกว่า วิชาศีลธรรม  ความหมายก็เหมือนกับคำว่า ธรรมวินัย คือ คำว่า ศีล = วินัย  คำว่าธรรม = ธรรม

การประพฤติธรรมวินัย

เมื่อพระบรมศาสดาของเรา  ได้ทรงรับสั่งไว้ให้เราทราบอย่างชัด ๆ ว่า พระโอวาทของพระองค์มีอยู่สองประการคือ ธรรม กับ วินัย อย่างนี้ เราผู้เป็นศาสนิกของท่าน เป็นผู้รับปฏิบัติตามศาสนาของท่าน  ก็ต้องใส่ใจปฏิบัติให้ครบทั้งธรรมทั้งวินัย(ศีล) ควบกันไปเสมอ  จึงจะได้ชื่อว่าได้เข้าถึงพระศาสนาที่เรียกว่า  เป็นผู้มีศีลธรรม

การรักษาศีลก็ทำให้เราเป็นคนดีได้  แต่เป็นเพียงคนดีขั้นต้น คือดีที่เป็นคนไม่ทำความชั่วเท่านั้นเอง   ถ้าหยุดอยู่เพียงนี้อาจเสียได้  ยกตัวอย่างคนเว้นจากการฆ่าสัตว์    ซึ่งเรายอมรับกันว่าเป็นคนมีศีล  ถ้าคนผู้นี้เดินเล่นไปตามริมคลอง เห็นเด็กตกน้ำกำลังจะจมน้ำตาย   ถ้าจะช่วยเขาก็ช่วยได้  แต่ไม่ช่วย กลับยืน มือก็กอดอกอยู่เฉย ๆ ถือว่าตัวไม่ได้ฆ่า ศีลบริสุทธิ์อยู่ ตามตัวอย่างนี้  ท่านนักศึกษาจะเห็นเป็นอย่างไร คนทั้งโลกก็ต้องลงความเห็นว่า เขาเป็นคนไม่ดี เพราะคนดีจะต้องรู้จักเว้นจากการฆ่าคนด้วย และรู้จักช่วยชีวิตคนด้วย

การเว้นจากการฆ่า นั่นเป็นการรักษาศีล

การช่วยชีวิตเขา นี้เป็นการปฏิบัติธรรม

ฉะนั้น  ผู้รักษาศีลห้า  พึงประพฤติเบญจธรรมกำกับไปด้วยจัดเป็นคู่ ๆ ดังนี้ 





    เบญจศีล           เบญจธรรม

เว้นจากการฆ่าสัตว์ คู่กับ เมตตากรุณา

เว้นจากการลักทรัพย์ คู่กับ สัมมาอาชีพ

เว้นจากการผิดในกาม คู่กับ กามสังวร

เว้นจากการพูดเท็จ คู่กับ สัจจวาจา

เว้นจากการดื่มสุรา คู่กับ สติสัมปชัญญะ

ความหมายของ “เบญจธรรม”

เบญจธรรม คือหลักธรรม ๕ ประการอันเป็นคู่ของ เบญจศีล  แต่ละข้อมีความหมายดังนี้ 

๑.  เมตตากรุณา   คือปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข และช่วยเหลือเขาให้พ้นทุกข์  การไม่ทำร้ายผู้อื่นนั้นก็นับว่าเป็นคนดีแล้ว แต่ถ้าจะให้ดียิ่งขึ้น ต้องเอื้อเฟื้อช่วยเหลือผู้อื่นด้วย สังคมจึงจะสงบร่มเย็นยิ่ง ๆ ขึ้น

๒. สัมมาอาชีพ    คือตั้งใจทำมาหาเลี้ยงโดยสุจริต  หมายถึง การหาเลี้ยงชีพในทางที่ชอบ ธรรมข้อนี้คู่กับศีลข้อสองที่ให้ละเว้นจากการถือเอาของที่เขาไม่ให้ คนที่ประกอบอาชีพสุจริต ขยันขันแข็งในการทำมาหากิน ย่อมยินดีกับของที่ตนหาได้เอง ไม่คิดฉกฉวยเอาของผู้อื่น

๓. กามสังวร      คือระมัดระวังในเรื่องรัก ๆ ใคร่ ๆ ทางกามารมณ์      หมายถึง การยินดีเฉพาะในคู่ครองของตนและการไม่คิดหมกมุ่นอยู่แต่เรื่องความรักความใคร่จนเกินขอบเขต การที่คนเรามีความต้องการทางเพศนั้น มิใช่ของผิดปกติแต่อย่างใด แต่ถ้าเดินสายกลางไว้ ก็จะทำให้เราไม่ไปผิดลูกเมีย ผู้อื่น ธรรมข้อนี้คู่กับศีลข้อสาม

๔. สัจจวาจา      คือรักษาวาจาให้ได้จริง บูชาคำจริง  หมายถึง การพูดความจริง เป็นธรรมที่ใช้คู่กับศีลข้อสี่ที่ให้เว้นจากการพูดเท็จ ธรรมข้อนี้เป็นการส่งเสริมให้มนุษย์รู้จักแสดงไมตรีจิต

ต่อกันทางวาจา การพูดความจริงนี้หมายรวมถึงการพูดคำสุภาพ คำอ่อนหวาน  และการสื่อสารที่ตรงกับความเป็นจริง  ไม่บิดเบือนสื่อ

๕. สติสัมปชัญญะ             คือฝึกตนมิให้ประมาท  หมายถึง มีสติรอบคอบรู้สึกตัวอยู่ตลอดเวลาว่ากำลังทำอะไร พูดอะไร  ธรรมข้อนี้คู่กับศีลข้อห้าที่ห้ามมิให้ดื่มสุราเมรัย ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติตามศีลและธรรมข้อที่ห้าอยู่เสมอจะเป็นผู้ที่ไม่ขาดสติ ไม่ประมาท จะทำการสิ่งใดก็จะสำเร็จได้โดยไม่ยาก และโอกาสที่จะเผลอตัวทำผิดด้วยความประมาทก็มีน้อยหรือไม่มีเลย

มนุษยธรรม

มีข้อควรทราบอีกอย่างหนึ่ง คือศีลห้านี้  ความจริงเป็นข้อปฏิบัติต่อกันในระหว่างมนุษย์มาแต่ดึกดำบรรพ์เรียกว่า มนุษยธรรม  แปลว่า ธรรมของมนุษย์ หรือธรรมะเครื่องทำผู้ประพฤติให้เป็นมนุษย์

ครั้นเมื่อพระสิทธัตถะตรัสรู้แล้ว  ก็ได้ทรงรับรองและส่งเสริมศีลห้านี้  ทรงรับเข้าเป็นคำสอนในศาสนาของพระองค์  ทรงแสดงความหมายหรือเงื่อนไขของแต่ละข้อให้ละเอียดแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น เพื่อปิดกั้นความชั่วที่จะไหลซึมเข้ามาสู่ใจได้สนิท

ในบางแห่ง  ท่านเรียกศีลห้าว่า  นิจศีล  คือเป็นศีลที่ทุกคนควรรักษาเป็นนิจ  

ความสัมพันธ์ของศีล  กับ  สุจริต  ทุจริต

คำว่า  สุจริต แปลว่า  ความประพฤติดี  อันความประพฤติที่จะเรียกว่าสุจริตได้นั้น  ต้องเป็นความประพฤติดีที่เว้นจากทุจริต  จะทำ จะพูด จะคิด อะไรก็ตาม ต้องไม่เข้าลักษณะแห่งทุจริต

ลักษณะแห่งสุจริตแบ่งออกเป็น ๓ อย่าง ดังนี้

๑. กายสุจริต  ความประพฤติดีทางกาย ได้แก่

      - ไม่ฆ่าสัตว์

    -  ไม่ถือเอาของที่เจ้าของไม่ให้

    - ไม่ทำผิดในทางประเวณี

๒. วจีสุจริต  ความประพฤติดีทางวาจา ได้แก่

    - ไม่กล่าวคำเท็จ

    - ไม่กล่าวคำหยาบคาย

    - ไม่กล่าวคำส่อเสียด

    - ไม่กล่าวคำเพ้อเจ้อ

๓. มโนสุจริต  ความประพฤติดีทางใจ ได้แก่

    - ไม่คิดเพ่งเล็งอยากได้ของคนอื่น

    - ไม่คิดจองล้างจองผลาญคนอื่น

    - เห็นชอบตามทำนองคลองธรรม

ส่วนคำว่า  ทุจริต  แปลว่า  ความประพฤติชั่ว  ซึ่งมีลักษณะตรงกันข้ามจากสุจริต ๓ ประการ ดังกล่าวข้างต้นนั้น    ไม้แก่นเป็นไม้ที่มีราคาสูงสุด  ฉันใด   คนมีแก่นสุจริต  ย่อมเป็นคนทรงคุณค่าสูงเด่นกว่าคนทั้งหลาย  ฉันนั้น

กุศลกรรมบถ ๑๐

กุศลกรรมบถ เป็นธรรมจริยาและเป็นธรรมที่สมบูรณ์ครบถ้วน ทำให้คนเจริญขึ้นพร้อมทั้งกาย วาจา และใจ

กุศลกรรมบถ เป็นการปฏิบัติถูกต้องตามทางแห่งกุศลที่อริยชนดำเนินไปแล้ว และสรรเสริญ มีข้อปฏิบัติ ๑๐ ประการ คือ

กุศลกรรมบถทางกาย ๓  ประการ คือ

๑. ละเว้นการฆ่า การสังหาร การบีบคั้น เบียดเบียน มีความเมตตากรุณา ช่วยเหลือเกื้อกูลสงเคราะห์กัน

๒. ละเว้นการแย่งชิง ลักขโมย  และการเอารัดเอาเปรียบ เคารพในสิทธิและทรัพย์สินของกันและกัน

๓. ละเว้นการประพฤติล่วงละเมิดในของหวงแหนของผู้อื่น ไม่ข่มเหงจิตใจ ไม่ทำลายลบหลู่เกียรติวงศ์ตระกูลของกันและกัน

กุศลกรรมบถทางวาจา ๔  ประการ คือ

๔. ละเว้นการพูดเท็จ โกหกหลอกลวง ไม่จงใจพูดให้ผิดพลาดจากความจริงเพราะเห็นแก่ผลประโยชน์ใด ๆ 

๕. ละเว้นการพูดส่อเสียด ยุยงอันสร้างความแตกแยก พูดแต่คำสมาน ส่งเสริมความสามัคคี

๖. ละเว้นการพูดคำหยาบ สกปรกเสียหาย พูดแต่คำสุภาพนุ่มนวลชวนฟัง

๗. ละเว้นการพูดเหลวไหล เพ้อเจ้อ พูดแต่คำจริง มีเหตุ มีผล มีสาระประโยชน์ ถูกกาละเทศะ

กุศลกรรมบถทางใจ ๓  ประการ คือ

๘. ไม่ละโมบ ไม่เพ่งเล็งคิดหาทางเอาแต่จะได้  ควรคิดให้  คิดเสียสละ  ทำใจให้เผื่อแผ่

กว้างขวาง

๙. ไม่คิดมุ่งร้ายเบียดเบียน หรือมองในแง่ที่จะทำลาย  ตั้งความปรารถนาดี แผ่ไมตรี 

มุ่งให้เกิดประโยชน์สุขแก่กัน

๑๐. มีความเห็นถูกต้อง เป็นสัมมาทิฐิ  เข้าใจในหลักธรรมว่าทำดีมีผลดี ทำชั่วมีผลชั่ว  เป็นต้น

ธรรม ๑๐ ข้อนี้  เรียกว่า กุศลกรรมบถ  (ทางทำกรรมดีบ้าง ธรรมจริยาบ้าง อารยธรรมบ้าง  เป็นหลักธรรมที่ชาวพุทธที่ดีควรประพฤติปฏิบัติ)

อบายมุข 

แม้ผู้มียศ  มีทรัพย์  และมีชื่อเสียง  ถ้าตกไปสู่อบายมุขดังจะกล่าวต่อไปนี้  ทุกสิ่งที่เขา

มีอยู่  ย่อมพลันถึงความพินาศ  การศึกษาเรื่องอบายมุขนี้  เพื่อความมั่นคงส่วนตน

อบายมุขท่านแสดงไว้  ๒  นัย  คือ  อบายมุข  ๔  กับ  อบายมุข ๖  ดังนี้ 









คำว่า  อบาย  แปลว่า  ความเสื่อม  คือฐานะที่ไม่มีความเจริญ  นักศึกษาคงจะเคยได้ยินเรื่องอบายภูมิ  ซึ่งหมายถึงภูมิชั้นที่อยู่  อันปราศจากความเจริญ  ได้แก่กำเนิดเดียรัจฉาน  นรก  เปรต  อสุรกาย  อบายเหล่านี้เป็นอบายในภพหน้า  คนจะตกได้ต่อเมื่อตายไปแล้ว

ส่วนอบาย  ที่เรียกว่าอบายมุขนี้ เป็นอบายในปัจจุบัน  ซึ่งหมายถึงความเสื่อม  ความพินาศล่มจม  เห็นกันทันตา

เหตุใดท่านจึงใช้คำว่า  อบายมุข  ซึ่งแปลว่าปากแห่งความเสื่อม  จะใช้คำว่า  อบาย  เฉย ๆ ไม่ดีหรือ ? ที่ว่า ปาก หมายถึงช่องทางจะตกลงไป  เช่น  ปากบ่อ  ปากเหว  ปากหม้อ  ปากไห  ความประพฤติ  ๔  อย่าง  และ  ๖  อย่างนั้น  ท่านว่าเป็นปากแห่งความเสื่อม  ก็เพราะเป็นช่องทางที่จะพลัดตกลงไปสู่ความฉิบหาย  คือ  ไม่ฉิบหายลงไปทันทีทันใด  แต่ค่อย ๆ ฉิบหายลงโดยไม่รู้ตัว  ตัวอย่างเช่นการเล่น

การพนัน  มีได้มีเสีย  ผู้เริ่มเล่นอาจได้เงินจำนวนมาก ๆ ร่ำรวยทันตา  ลวงใจให้ติดแต่ปลายทางก็ถึงความล่มจม  ดังนี้เป็นต้น  ท่านจึงใช้คำว่าปากแห่งความเสื่อม  แทนที่จะเรียกว่า  อบายเฉย ๆ               (ในทางกรรมและผล  นักศึกษาต้องเข้าใจว่า  อบายมุขเป็นเหตุ  คือหมายถึงการกระทำจะทำให้เสื่อม  ส่วนคำว่า  อบายเฉย ๆ นั้น  เป็นผลซึ่งเกิดจากเหตุแล้ว  ในเรื่องนี้ท่านต้องการแสดงตัวเหตุ  จึงได้ตั้งชื่อว่า  อบายมุข)

ความหมายและผลเสียหายของอบายมุข

อบายมุข  ๔

อบายมุขสี่  มีความร้ายแรงยิ่งกว่าอบายมุข  ๖  คงจะเห็นได้ว่า  ในข้อ ๑ - ๒ และ ๓ ท่านใช้คำว่า  “นักเลง”  คือเป็นผู้ประพฤติหมกมุ่นอยู่ในสิ่งนั้นจริง ๆ 

คนที่จะเรียกว่า  “นัก…”  นั้น  ต้องหมายถึงคนที่หมกมุ่นติดพันอยู่กับสิ่งนั้นจริง ๆ  ไม่ใช่ริทำเพียงครั้งคราว  เช่น  นักเรียน  นักมวย  นักโทษ  นักร้อง ฯลฯ แต่ที่นี้ได้แก่  “นักเลง”     ความหมายแต่ละข้อ  ก็พอจะเข้าใจกันอยู่แล้ว  ไม่ต้องอธิบายมาก เช่น

๑.  ความเป็นนักเลงหญิง  หมายความว่า  เป็นคนเจ้าชู้  โลภในกาม  ถ้าเป็นชายก็ใฝ่ฝันแต่   ผู้หญิงเป็นหญิงก็ร่านหาแต่ชายรัก,  คนอย่างนี้แม้อยู่ในวัยเรียน  ก็เสื่อมจากการเรียน  อยู่ในวัยทำงานก็  จะทอดทิ้งงาน  มิเป็นอันทำ  แม้ผู้มีครอบครัวแล้วก็มักจะมีเรื่องร้าวราน  เพราะการนอกใจกันชอบเที่ยว      ผู้หญิง ชอบเที่ยวกลางคืน มีความประพฤติที่ไม่เหมาะสมทางเพศ เช่น คบชู้ หลงไหลในเพศตรงข้ามจนเกินพอดี มีความมักมากทางกามารมณ์ โทษของการเป็นนักเลงหญิง มีดังนี้

- เป็นการไม่รักษาตัว   คนที่เที่ยวเตร่มากมัวเมาลุ่มหลงมาก ย่อมทำให้ร่างกายและจิตใจไม่ปกติ   ไม่อาจประกอบหน้าที่การงานให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

  - เป็นการไม่รักษาลูกเมียหรือครอบครัว  ข้อนี้สำหรับคนที่แต่งงานแล้ว การประพฤติผิดทางเพศ เช่น  การคบชู้ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายหญิงหรือฝ่ายชายย่อมทำให้ครอบครัวเดือดร้อน

- เป็นการไม่รักษาทรัพย์สมบัติ  คนที่ชอบเที่ยวกลางคืนหรือหลงไหลเพศตรงข้ามมากย่อมจะต้องใช้จ่ายเงินเกินกว่าปกติเพื่อบำเรอคนที่ตนรัก  ซึ่งถ้าเหมาะสมกับฐานะก็ไม่เป็นไร แต่โดยทั่วไปแล้วมักจะเกินพอดี

- เป็นที่ระแวงของคนทั่วไป   ข้อนี้เห็นได้ชัด คนที่ชอบคบชู้ ชอบเที่ยวกลางคืน และหลงไหลคู่รักจนเกินขนาดย่อมไม่มีใครอยากไว้ใจ

- มักถูกใส่ความ  เป็นเป้าให้เขาใส่ความหรือข่าวลือ

- เป็นที่มาของความเดือดร้อนนานาชนิด   เพราะผู้ที่เป็นนักเลงหญิงเมื่อหมดตัวแล้วก็มักแสวงหาเงินทองมาจับจ่ายด้วยวิธีการทุจริต  และเมื่อไม่สมหวังก็อาจแสดงอาการเพ้อเจ้อหรือมีอาการคลุ้มคลั่งทำร้ายผู้อื่นได้ง่าย

๒.  ความเป็นนักเลงสุรา  หมายความว่า  เป็นนักดื่ม  ติดเหล้า  ใฝ่ฝันอยู่กับการดื่ม  

จนเป็นทาสของสุรา,  การดื่มย่อมเป็นการผลาญตัวเองทั้งในทางทรัพย์  ชื่อเสียง  สุขภาพ  สติปัญญา     ติดฝิ่น  ติดกัญชา การติดสิ่งมึนเมาอื่น ๆ และยาเสพติดให้โทษ ก็รวมอยู่ในอบายมุขข้อนี้  โทษของการเป็นนักเลงสุรา  มีดังนี้

- เสียทรัพย์

- ทำให้เกิดการทะเลาะวิวาท  คนเมาเหล้ามักจะทะเลาะกัน ชกต่อยกัน และบางครั้งถึงกับ ฆ่ากัน คนบางคนเวลาไม่เมามีความประพฤติเรียบร้อย แต่พอดื่มเหล้าเข้าไปแล้วต้องหาเรื่องทะเลาะ

กับคนอื่นเกือบทุกครั้ง

- เป็นบ่อเกิดแห่งโรค   เหล้าและสิ่งเสพติดทุกอย่างทำให้เสียสุขภาพบั่นทอนกำลังกาย  ยาเสพติดหากเสพไปนาน ๆ อาจทำให้ถึงแก่ความตายได้  หรือถ้าไม่ตายก็ไม่มีกำลังวังชาในการประกอบหน้าที่การงานต่าง ๆ

- ทำให้เสียเกียรติยศและชื่อเสียง  คนเมาเหล้าอยู่เสมอ คนติดยาเสพติดย่อมไม่มีใครเชื่อ ไม่มีใครยอมรับนับถือไว้วางใจ  ไม่มีใครอยากคบค้าสมาคมหรือไม่มีใครอยากให้ทำงานด้วย  เพราะคนเช่นนี้ถ้าไม่มีเงินซื้อเหล้าหรือยาเสพติดก็อาจจะกระทำในสิ่งที่ชั่วร้ายต่าง ๆ ได้ง่าย

- ทำให้ไม่รู้จักอาย     คนเมาเหล้าจะกระทำสิ่งต่าง ๆ     โดยขาดสติ     เพราะถูกฤทธิ์

แอลกอฮอล์ครอบงำ  บางคนเมื่อหายเมาแล้วก็ยังไม่รู้ว่าตอนที่เมาอยู่นั้นตนได้ทำอะไรลงไปบ้าง  ดังนั้นคนที่เมาเหล้าอยู่เป็นนิจจึงไม่มีใครอยากเกี่ยวข้องคบค้าสมาคมด้วย

- บั่นทอนกำลังสติปัญญา   เหล้าและยาเสพติดไม่เพียงแต่บั่นทอนกำลังกายเท่านั้น

แต่ทำให้สติปัญญาเสื่อมความจำไม่ดีหลงลืมง่าย   ความคิดและการตัดสินใจเชื่องช้าลงเรื่อย ๆ จนในที่สุดมีสภาพเหมือนกับคนที่ตายทั้งเป็น

๓.  ความเป็นนักเลงเล่นการพนัน  คือ  เล่นการพนันขันต่อ  มีได้มีเสีย  เช่น  เล่นไพ่   เล่นเบี้ย   

เล่นม้า ฯลฯ คนที่เล่นการพนันจนติดแล้ว  จิตใจจะมัวเมาใฝ่ฝันอยู่กับการเล่น  เมื่อได้ก็กำเริบใจ  คิดจะเล่นซ้ำอีกให้ร่ำรวยมาก ๆ เข้า  ครั้นเล่นอีกกลับเสียยุบเสียยับ  เมื่อเสียไป  ก็คิดจะหาเงินมาเล่นเพื่อแก้ตัว  เอาเงินที่เสียไปกลับคืนมา  ส่วนมากของคนติดการพนัน  มักจะต้องขายสิ่งของที่สะสมไว้  เอาเงินไปเล่น ตระกูลที่มั่งคั่งจริง ๆ ต้องรื้อรั้วบ้านขาย  ขายตุ่ม  ขายเตียงตู้  รื้อลูกกรงขาย  รื้อรั้วขาย  และจนกระทั่งขายบ้าน  ขายที่ดิน  สิ้นเนื้อประดาตัว  อย่างทันตา การพนันมีตั้งแต่เรื่องใหญ่ ๆ เช่นแทงม้า  เล่นไฮโล  เล่นไพ่ เป็นต้น ซึ่งมีการได้เสียนับเป็นเงินหลายร้อย  หลายพัน  หลายหมื่น หรือหลายล้านบาท  จนกระทั่งถึงเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ  ซึ่งมีการได้เสียเป็นเงินเพียงไม่กี่บาท  เช่น ปั่นแปะ  กัดปลา เป็นต้น  พระพุทธเจ้า

ได้ทรงแสดงโทษของการเป็นนักเลงการพนันไว้ว่า

- เมื่อชนะย่อมก่อเวร   คือ เมื่อเล่นได้ก็ย่อมมีคนอยากแก้มือเรียกร้องให้เล่นอีก

- เมื่อแพ้ย่อมเสียดายทรัพย์   คือ เมื่อเล่นเสียจิตใจก็ยังเกิดความเสียดายต้องการเล่นอีกต่อไป  การพนันทุกชนิดทำให้คนลุ่มหลง  เมื่อลองเล่นแล้วก็มักหยุดไม่ได้  หนักเข้าก็ไม่เป็นอันทำงานหรือศึกษาเล่าเรียน

- ทรัพย์สินย่อมเสียหาย    ไม่เคยปรากฏว่ามีคนร่ำรวยหรือมีฐานะดีได้ด้วยการพนันเพราะถึงแม้จะเล่นชนะ  เงินที่ได้มานั้นก็มักเก็บไว้ได้ไม่นานต้องใช้จ่ายจนหมด

- ไม่มีใครเชื่อถือ    ผู้ที่เป็นนักเลงการพนัน  ผู้อื่นย่อมขาดความเชื่อถือถ้อยคำ  มักถูกมองว่าเป็นคนหลอกลวง

- เพื่อนฝูงดูหมิ่น    ไม่อยากคบค้าสมาคมเพราะกลัวจะเสียชื่อตามไปด้วย

- ไม่มีใครอยากได้เป็นคู่ครอง  เพราะกลัวชีวิตครอบครัวจะไม่ราบรื่น  เนื่องจาก

นักเลงการพนันอาจจะละทิ้งครอบครัวได้ ถ้าหากติดการพนันมาก ๆ 

๔.  คบคนชั่วเป็นมิตร  คือร่วมกิน  ร่วมนอน  ร่วมเที่ยว  ร่วมอาชีพ  ร่วมพวก  หรือไปมาหาสู่กับคนชั่ว  เรียกว่าคบคนชั่ว,  คนอย่างไรเรียกว่าคนชั่ว ?  ในที่นี้หมายเอาคนอันธพาลเกเรมีความประพฤติชั่วช้าเสียหาย ทำมาหากินทางทุจริต รวมทั้งที่ชวนให้เราเป็นนักเลงหญิง  นักเลงสุรา  และนักเลงเล่นการพนัน  ดังกล่าวแล้ว,  โทษของการคบคนชั่ว  ก็คือเราจะถูกคนชั่วนำไปในทางเสียหาย  ทำให้เราต้องกลายเป็นคนชั่วคนเสียไปด้วย  คนเราเมื่ออยู่ใกล้ชิดกับใครก็มีโอกาสที่จะมีพฤติกรรมเช่นเดียวกับเขา เปรียบเหมือนดั่งว่าถ้าเราอยู่ใกล้ของหอม   เราก็หอมไปด้วย  และถ้าอยู่ใกล้ของเหม็น    เราก็ย่อมเหม็นตามไปด้วย  ดังนั้นในการเลือกคบผู้ใดเป็นมิตร  ต้องระมัดระวังให้ดี โดยพยายามหลีกเลี่ยงไม่คบกับ   คนชั่ว ๖ ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้

๑. นักเลงการพนัน

๒. นักเลงเจ้าชู้

๓. นักเลงสุรายาเสพติด

๔. นักลวงเขาด้วยของปลอม

๕. นักหลอกลวง

๖. นักเลงหัวไม้

  อบายมุขทั้ง ๔ นี้  เป็นหนทางใหญ่ที่จะนำคนไปสู่ความเสื่อม หากใครละเว้นเสียได้

ก็ย่อมจะมีโอกาสประสบความสำเร็จในชีวิตอย่างมาก

คุณประโยชน์ของการละเว้นอบายมุข

  ผู้ที่ละเว้นจากอบายมุข ๔  ย่อมได้รับคุณประโยชน์  ดังนี้

  ๑. ไม่เสียทรัพย์ไปโดยเปล่าประโยชน์

  ๒. ไม่หมกมุ่นในสิ่งที่หาสาระมิได้

  ๓. ประกอบหน้าที่การงานได้เต็มที่

  ๔. ชีวิตไม่ตกต่ำ

  ๕. เป็นที่รักใคร่และไว้วางใจของผู้อื่น

  ๖. มีพลานามัยสมบูรณ์ พละกำลังและสติปัญญาไม่เสื่อมถอย

  ๗. สามารถประกอบหน้าที่การงานได้ด้วยความสุจริต

โทษของอบายมุข  ๖

ดื่มน้ำเมา   มีโทษ  ๖

๑.  เสียทรัพย์

๒.  ก่อการทะเลาะวิวาท

๓.  เกิดโรค

๔.  ต้องติเตียน

๕.  ไม่รู้จักอาย

๖.  ทอนกำลังปัญญา

เที่ยวกลางคืน   มีโทษ  ๖

๑.  ไม่รักษาตน

๒.  ไม่รักษาลูกเมีย

๓.  ไม่รักษาทรัพย์

๔.  เป็นที่ระแวงของคนอื่น

๕.  มักถูกใส่ความ

๖.  ได้ความลำบาก

เที่ยวดูการเล่น   มีโทษตามวัตถุที่ไปดู  ๖

๑.  รำที่ไหนไปที่นั่น

๒.  ขับร้องที่ไหนไปที่นั่น

๓.  ดีดสีตีเป่าที่ไหนไปที่นั่น

๔.  เสภาที่ไหนไปที่นั่น

๕.  เพลงที่ไหนไปที่นั่น

๖.  เถิดเทิง (กลองยาว) ที่ไหนไปที่นั่น



เล่นการพนัน  มีโทษ  ๖

๑.  เมื่อชนะก็ก่อเวร

๒.  เมื่อแพ้ก็เสียดาย

๓.  ทรัพย์ฉิบหาย

๔.  ไม่มีคนเชื่อถือ

๕.  เพื่อนดูหมิ่น

๖.  ไม่มีใครอยากแต่งงานด้วย

คบมิตรชั่ว  มีโทษ ๖

๑.  นำให้เป็นนักเลงเล่นการพนัน

๒.  นำให้เป็นนักเลงเจ้าชู้

๓.  นำให้เป็นนักเลงเหล้า

๔.  นำให้เป็นคนลวงเขาด้วยของปลอม

๕.  นำให้เป็นคนโกงเขาซึ่งหน้า

๖.  นำให้เป็นนักเลงหัวไม้

เกียจคร้านทำงาน   มีโทษ  ๖  มักยกเหตุต่าง ๆ เป็นข้ออ้างผิดเพี้ยนไม่ทำการงาน

     โดยอ้างว่า

๑.  หนาวนัก

๒.  ร้อนนัก

๓.  เวลาเย็นแล้ว

๔.  ยังเช้าอยู่

๕.  หิวนัก

๖.  กระหายนัก  - แล้วไม่ทำงาน

อกุศลมูล ๓ และกุศลมูล ๓

การทำความชั่วทุกอย่างย่อมนำความเดือดร้อนมาสู่ผู้กระทำ และผู้อื่น ส่วนการทำความดี ทุกอย่างก็ย่อมนำความสงบสุขมาสู่ผู้กระทำและผู้อื่นเช่นกัน ดังนั้นเราจึงควรรู้ถึงต้นเหตุที่ทำให้คนทำความชั่วหรือความดี เพื่อจะได้หาทางหยุดยั้งการทำความชั่วและสนับสนุนการทำความดีต่อไป

อกุศลมูล 

อกุศลมูล หมายถึง ต้นเหตุของความชั่วหรือต้นกำเนิดของความชั่ว ซึ่งมีทั้งหมด ๓ ประการ คือ

     ๑. โลภะ หมายถึง ความอยากได้ไม่รู้จักพอ อยากได้ในสิ่งที่ตนไม่มี อยากได้สิ่งของของผู้อื่น ความอยากได้นี้จะทำให้คนกล้าทำชั่วเพื่อให้ได้ในสิ่งที่ตนต้องการ เช่น การพูดโกหก การทำร้าย

ผู้อื่น การฉ้อโกง การลักขโมย เป็นต้น

     ๒. โทสะ หมายถึง ความคิดประทุษร้าย ความโกรธ ความฉุนเฉียว ความพยาบาท ผู้ที่มีโทสะจะกล้าทำชั่วได้ทุกอย่างเพื่อทำให้ผู้ที่ตนไม่พอใจได้รับความเดือดร้อน เช่น การกลั่นแกล้ง การทำร้ายให้บาดเจ็บหรือตาย  และการให้ร้าย เป็นต้น

     ๓. โมหะ หมายถึง ความหลง ความเขลา ความโง่  ความเข้าใจผิด ความหมกมุ่น ผู้ที่มีโมหะจะอยู่ในสภาวะที่ไม่รู้จริง หลงผิด ซึ่งเป็นสาเหตุให้กล้าทำชั่วได้ทุกอย่าง เช่น เสพยาเสพ  ติดเพราะคิดว่าจะช่วยให้ตนสบายใจ คดโกงเพื่อนเพราะคิดว่าคนโง่ย่อมเป็นเหยื่อของคนฉลาด เป็นต้น     

ดังนั้น ถ้าบุคคลใดมี โลภะ โทสะ หรือโมหะ ก็ย่อมทำชั่วได้ทุกอย่างอยู่ตลอดเวลา เราจึงควรขจัดสิ่งเหล่านี้ให้หมดสิ้นไปจากตนเอง

กุศลมูล

กุศลมูล  หมายถึง ต้นเหตุของความดี หรือต้นกำเนิดของความดี มีทั้งหมด ๓ ประการคือ

     ๑. อโลภะ หมายถึง ความไม่อยากได้ในสิ่งที่ไม่ใช่ของตน ความไม่อยากได้ในสิ่งที่ไม่ควรจะได้ หรือความไม่อยากได้ในสิ่งต่าง ๆ จนเกินความพอดี คนที่มีอโลภะมักจะปรารถนาสิ่งต่าง ๆ ที่ได้มาตามกำลังสติปัญญาหรือความสามารถของตน รู้จักแบ่งปัน และรู้จักเสียสละ

     ๒. อโทสะ หมายถึง ความไม่โกรธ ไม่คิดประทุษร้าย ไม่พยาบาท คนที่มีอโทสะมักจะให้อภัยผู้อื่นเสมอ รู้แพ้ชนะ และอดทน อดกลั้นความโกรธได้

     ๓. อโมหะ หมายถึง ความไม่หลง ไม่ขาดสติ คนที่มีอโมหะจะเป็นคนรอบรู้เฉลียวฉลาดในสิ่งที่ควรรู้ รู้ว่าสิ่งใดเป็นสิ่งดีที่ควรปฏิบัติ และสิ่งใดไม่ดีไม่ควรปฏิบัติ  ดังนั้น ถ้าบุคคลส่วนใหญ่ไม่มีอกุศลมูล แต่มีกุศลมูล ก็ย่อมส่งผลให้สังคมนั้นมีแต่ความสงบสุข   รู้ต้นเหตุของการทำความชั่วคือ โลภะ โทสะ โมหะ เรียกว่า อกุศลมูล  และรู้ต้นเหตุของการทำความดีคือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ ซึ่งเรียกว่า 

กุศลมูล

การคบมิตร  ( มิตรแท้ ๔,   มิตรเทียม ๔ )

นักจิตวิทยาเห็นว่า ความเสื่อมหรือความเจริญของบุคคล อยู่ภายใต้อิทธิพลของสภาพ  

๒  ประการ คือ

๑. พันธุกรรม

๒. สิ่งแวดล้อม

และได้กล่าวถึงความสำคัญของสภาพทั้ง  ๒ ไว้ว่า พันธุกรรมวางพื้นฐานชีวิต สิ่งแวดล้อมกำหนดขอบเขตความเจริญรุ่งเรืองของชีวิต

ความเห็นของนักจิตวิทยา  สอดคล้องกับมติพระพุทธศาสนาในเรื่องพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม  แต่ทางพระพุทธศาสนามีความหมายเรื่องพันธุกรรมกว้างและลึกซึ้งมากกว่าทางจิตวิทยา ในที่นี้จะไม่นำเรื่องพันธุกรรมมากล่าว จะกล่าวเฉพาะสิ่งแวดล้อมอย่างเดียว   มีภาษิตว่า ยํ เว เสวติ ตาทิโส แปลว่า     คบคนเช่นใดก็เป็นคนเช่นนั้น   นั่นคือ    อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมตามทัศนะของพระพุทธศาสนา

บรรดาสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ จะเป็นสิ่งที่มีหรือมีรูปธรรม เช่น คน โรงเรียน สถานที่ทำงานหรือเป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตน เช่นกฎหมาย  ข้อบังคับ จารีต  ประเพณี    หรืออื่นนอกจากนี้ก็ตาม ทางพระพุทธศาสนาถือว่า คนสำคัญกว่าทุกอย่าง  เพราะสิ่งต่าง ๆ เกิดจากคนทั้งนั้น คนสร้างขึ้นและบันดาลให้เป็นไป    ในจำนวนคนที่เราใกล้ชิด  ผู้เป็นมิตรสหาย  สำคัญกว่าทุกคน มิตรได้แก่คนที่คุ้นเคยรักใคร่สนิทสนมกัน ส่วนสหาย  ได้แก่คนที่เคยเห็น  เคยร่วมงานกัน มิตรสำคัญกว่าสหาย เพราะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน  ถ่ายเทอัธยาศัยใจคอ และกิริยามารยาท ตลอดถึงความประพฤติให้กัน ฉะนั้น  การคบมิตรจึงจำต้องเลือก มิตรดีเรียกกัลยาณมิตร   มิตรไม่ดีเรียกปาปมิตร หรือมิตรดีเรียกมิตรแท้   มิตรไม่ดีเรียกคนเทียมมิตร  มิตรเหล่านี้ มีลักษณะต่าง ๆ กันดังนี้

มิตรแท้ จำพวก

                      ก.  มิตรมีอุปการะ ข.  มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์

      มีลักษณะ ๔ อย่าง       มีลักษณะ ๔ อย่าง

๑. ป้องกันเพื่อนผู้ประมาทแล้ว ๑. ขยายความลับของตนแก่เพื่อน

๒. ป้องกันทรัพย์สมบัติของ ๒. ปิดความลับของเพื่อนไม่ให้

    เพื่อนผู้ประมาทแล้ว       แพร่งพราย

๓. เมื่อมีภัยเป็นที่พึ่งพำนักได้ ๓. ไม่ละทิ้งในยามวิบัติ

๔. เมื่อมีธุระ  ช่วยออกทรัพย์ให้ ๔. แม้ชีวิตก็อาจสละแทนได้

    เกินกว่าที่ออกปาก

ค.   มิตรแนะประโยชน์               ง.    มิตรมีความรักใคร่

      มีลักษณะ ๔ อย่าง       มีลักษณะ ๔ อย่าง

๑. ห้ามไม่ให้ทำความชั่ว ๑. ทุกข์ ๆ ด้วย

๒. แนะนำให้ตั้งอยู่ในความดี     ๒. สุข ๆ ด้วย

๓. ให้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง     ๓. โต้เถียงคนพูดติเตียนเพื่อน

๔. บอกทางสวรรค์ให้ ๔. รับรองคนที่กล่าวสรรเสริญเพื่อน

มิตร ๔ ประเภทนี้  จัดเป็นกัลยาณมิตร ควรคบ คบแล้วจะช่วยให้ชีวิตรุ่งโรจน์ ตรงตามภาษิตที่ว่า “คบคนดีเป็นศรีแก่ตัว” หรือ “ คบบัณฑิต ๆ พาไปหาผล”

คนเทียมมิตร   จำพวก

  ก.  คนปอกลอก ข. คนดีแต่พูด

      มีลักษณะ ๔ อย่าง มีลักษณะ ๔ อย่าง

๑. คิดเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว ๑. เก็บเอาของล่วงแล้วมาปราศรัย

๒. เสียให้น้อยคิดเอาให้ได้มาก ๒. อ้างเอาของที่ไม่มีมาปราศรัย

๓. เมื่อมีภัยถึงตัวจึงรับทำกิจให้เพื่อน ๓. สงเคราะห์ด้วยสิ่งหาประโยชน์มิได้

๔. คบเพื่อนเพราะเห็นแก่ประโยชน์ของตัว ๔. ออกปากพึ่งไม่ได้

ค.  คนหัวประจบ ง.  คนชักชวนในทางฉิบหาย

มีลักษณะ ๔ อย่าง     มีลักษณะ ๔ อย่าง

๑. จะทำชั่วก็คล้อยตาม ๑. ชักชวนดื่มน้ำเมา

๒. จะทำดีก็คล้อยตาม ๒. ชักชวนเที่ยวกลางคืน

๓. ต่อหน้าว่าสรรเสริญ ๓. ชักชวนให้มัวเมาในการเล่น

๔. ลับหลังว่านินทา ๔. ชักชวนเล่นการพนัน

มิตร ๔ ประเภทนี้  จัดเป็นบาปมิตร หรือมิตรเทียม  ไม่ควรคบ คบแล้วจะทำให้ชีวิตอับเฉา เสื่อมเกียรติ ตรงตามภาษิตที่ว่า “ คบคนชั่วอัปราชัย” หรือ “คบคนพาล ๆ พาไปหาผิด”

ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์   ประโยชน์ในปัจจุบัน   (การสร้างตัว)

พระพุทธศาสนาสอนให้คนพึ่งตนเอง ความสำเร็จทุกอย่าง ย่อมเป็นผลจากการกระทำของแต่ละคน มิใช่ได้ด้วยการอ้อนวอนผู้ศักดิ์สิทธิ์เบื้องบนให้ประทานลงมา พระพุทธเจ้าทรงสอนให้  คนสร้างตัวให้สำเร็จ   ผู้ที่สร้างตัวเองให้เป็นหลักฐานมั่นคงไม่ได้   ย่อมยากที่จะปฏิบัติธรรมะชั้นสูงขึ้นไปให้ได้ผลดี  นอกจากไม่สามารถจะนำตัวเอง และครอบครัวให้ประสบความสุขแล้ว     ยังเป็นภาระ ของสังคมอีกด้วย

การสร้างตัว  การสร้างตัว คือ  การจัดการเศรษฐกิจให้กับตัวเอง ทางพระพุทธศาสนา

พระพุทธองค์ได้ทรงวางหลักไว้ ๔ อย่าง คือ

๑. อุฏฐานสัมปทา  ถึงพร้อมด้วยความหมั่น    คือ ถึงพร้อมด้วยความหมั่น  จะศึกษา

เล่าเรียน หรือประกอบอาชีพใด ๆ ก็ตาม ความหมั่นขยันนี้  เป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่จะให้ได้รับผลสำเร็จ 

เราต้องการทรัพย์  ต้องการความสุข ตลอดจนความเคารพรักจากผู้อื่น  เราจะได้สิ่งเหล่านั้นมาด้วย

ความหมั่นขยัน

๒. อารักขสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการรักษา เช่น  รักษาทรัพย์ที่หามาได้ไม่ให้สูญหาย ประหยัดใช้ให้เกิดประโยชน์ รักษาหน้าที่ของตนมิให้เสื่อมเสีย มีทรัพย์แล้วต้องรักษาทรัพย์ที่มีไว้  

ทรัพย์จึงจะมากขึ้นไปได้ มีวิชาแล้วต้องรักษา  ด้วยวิธีนำออกใช้ให้เหมาะ  วิชาจึงจะรุ่งเรือง

๓. กัลยาณมิตตตา  ความมีคนดีเป็นมิตร  คนที่มีทรัพย์และรักษาไว้ได้  แต่ขาดเพื่อน  

ก็คับแคบ มีเพื่อนไม่ดี  ก็ทำให้เสียตัว เสียความประพฤติ และเสียทรัพย์สมบัติได้  แต่ถ้ามีเพื่อนดี  ก็จะเป็นการสนับสนุนให้อาชีพรุ่งโรจน์ได้ ทั้งยังคอยป้องกันช่วยเหลือในยามตกทุกข์ได้ยากอีกด้วย ๔. สมชีวิตา  การครองชีพเหมาะสม  คือใช้จ่ายตามควรแก่รายได้    ไม่ฟุ่มเฟือยหรือ

ฝืดเคืองเกินไป  คนจ่ายทรัพย์เกินกำลัง หรือไม่จำเป็น    แต่ยังขืนจ่าย เรียกว่า ฟุ่มเฟือย เป็นสาเหตุให้เกิดหนี้สินและทุจริต  คนที่ทนอด  ทนหิว      หรือจำเป็นแล้วไม่จ่าย   เป็นการฝืดเคืองเรียกว่า ตระหนี่ 

ผู้ประหยัดทรัพย์  ใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็นและสมควร    ทำให้เกิดผลคุ้มค่าของเงินที่จ่ายไป  ชื่อว่าเป็น

ผู้ครองชีวิตเหมาะสม

ผู้ประพฤติหลักธรรมการสร้างตัวทั้ง ๔ นี้ให้เต็มที่   ย่อมสร้างตัวได้สำเร็จ   แม้ฐานะทางการศึกษา และทางสังคมของแต่ละคนจะแตกต่างกันเพียงใดก็ตาม หลักธรรม ๔ ข้อนี้จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติสามารถสร้างตัวได้ตามฐานะนั้น ๆ ถ้าถือคติว่า “สร้างทุกอย่างที่สร้างสรรค์ขึ้นมาได้ รักษาทุกอย่างที่จะรักษาไว้ได้ เสียสละทุกอย่างที่จะเสียสละได้”  ก็ย่อมเป็นบุคคลที่สร้างตนได้อย่างสมบูรณ์แท้

บุญกิริยาวัตถุ

บุญบาป

จะศึกษาเรื่องบุญกิริยาวัตถุ ควรได้ทำความเข้าใจในทรรศนะของพระพุทธศาสนา  ในปัญหาเรื่องบาปบุญเสียก่อน  ได้มีคนอยู่ไม่น้อยที่เข้าใจว่า บุญเป็นวัตถุอะไรอย่างหนึ่ง ซึ่งแห่ล้อมไปกับผู้มีบุญ  คอยให้ผลอย่างมากมายในชาติหน้า  และบาปก็เป็นวัตถุอีกอย่างหนึ่ง         หรือเป็นบันทึกโทษที่ยมบาลได้จารึกลงในหนังสุนัขซึ่งจะใช้เป็นข้อฟ้องร้องในอวสานแห่งชีวิต  ความเข้าใจอย่างนี้ จะว่าผิด

ทีเดียวก็ไม่ได้  แต่คงจะเกินเหตุผลความจริงอยู่บ้าง

ที่แท้แล้ว  บุญคือความดีขึ้นแห่งจิต  และบาปก็คือ ความเสียหายแห่งจิตนั่นเอง  ความดีขึ้น  เจริญขึ้น  ประณีตขึ้น  สูงขึ้นแห่งจิต  มีที่ดูได้ง่าย ๆ คือ ดูที่ความสะอาดผุดผ่องของจิต  ฉะนั้น อาการดีขึ้นของจิตทั้งหมด รวมใช้คำว่า บุญ แปลว่า บริสุทธิ์สะอาด

ความต่ำทราม  ความเสื่อมโทรม และความเสียหายของจิต  ท่านรวมใช้คำว่า ชั่ว เลว เสีย สกปรก

บุญ  คือความสะอาดแห่งจิต  ฉะนั้น จึงไม่เป็นของยากที่จะวินิจฉัย  ความสะอาดเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคนเรา เช่น  ความสะอาดของร่างกาย  ความสะอาดของที่อยู่ ความสะอาดของเสื้อ  ความสะอาดของถ้วยชาม และในทุกกรณี ความสะอาดจำเป็นทั้งนั้น  เราจึงต้องล้างหน้า อาบน้ำ  ปัดกวาดบ้านเรือน  ซักเสื้อผ้า และล้างถ้วยล้างชามเพื่อจะให้เกิดความสะอาด  สิ่งของเหล่านี้ ถ้าสะอาดแล้ว  ใช้งานได้ดี ไม่มีโทษ และเกิดความสวยงาม

จิตของเราก็เหมือนกัน ถ้าสะอาดแล้ว ย่อมปลอดโปร่ง ความคิดอ่านแจ่มใส  เป็นความคิด

ที่ไม่มีภัย  ความคิดสะอาดนั้น ยังเป็นพลังสำคัญในการส่งจิตเข้าสู่คติอันดีเมื่อออกจากร่างนี้แล้วด้วย  

ฉะนั้น  พระจึงสอนให้เราทำความสะอาดจิต แต่ท่านใช้คำว่า “ทำบุญ” ตามสำนวนทางศาสนา การทำบุญนั้นเป็นการทำประโยชน์แก่ตัวเราเอง  มิใช่ทำให้พระอย่างบางคนเข้าใจ พระท่านเป็นเพียงผู้บอกกล่าวในการทำบุญของเรา  ถึงท่านจะได้รับผลจากกการทำบุญของคนอื่น ก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง  เหมือนเราอาบน้ำฟอกสบู่  ก็เป็นการกระทำประโยชน์ให้ตัวเราโดยตรง  ส่วนบริษัทขายสบู่จะได้ผลบ้าง  นั่นเป็นอีกส่วนหนึ่ง  แต่จะเรียกว่าเราอาบน้ำเพื่อทำประโยชน์ให้บริษัทขายสบู่ไม่ได้

บุญกิริยาวัตถุ คือ วิธีทำบุญ มี ๓ วิธี คือ

๑. ทาน    การให้ (ทานมัย  บุญสำเร็จด้วยการให้ทาน)

    ความหมายและความมุ่งหมาย ทานคือการให้  โดยทั่วไป มี ๒  ประการ คือ

    -  การให้เพื่อมุ่งฟอกกิเลสในใจของผู้ให้เอง

    -  การให้เพื่อมุ่งสงเคราะห์ผู้รับ

ทั้งสองความมุ่งหมายนี้  ท่านใช้ศัพท์ว่า  ทาน  เหมือนกัน แต่ในบุญกิริยาวัตถุนี้ 

มุ่งหมายเอาการให้เพื่อมุ่งฟอกกิเลสในใจของผู้ให้เท่านั้น

ทานสมบัติ ๓  (คุณสมบัติของทาน)

การให้ทาน  ซึ่งจะทำให้บังเกิดผลในทางฟอกกิเลสนั้น จะต้องเป็นการให้ที่มีองค์สมบัติ 

๓  อย่าง  ที่เรียกว่า  ทานสมบัติ คือ:-

- วัตถุ  คือ  ของที่จะให้ทาน จะต้องเป็นของที่ได้มาโดยบริสุทธิ์

- เจตนา  คือ มีความตั้งใจที่จะทำบุญ มิใช่มุ่งอย่างอื่น

- บุคคล  คือ บุคคลผู้ให้และผู้รับเป็นคนดีมีศีล

ทานที่มีองค์สมบัติครบทั้ง ๓ ประการนี้ เป็นทานที่มีผลสมบูรณ์     ถ้าขาดอย่างใดอย่างหนึ่ง   ผลก็ลดลงตามส่วน  โปรดสังเกตว่า  การให้สิ่งของซึ่งเรียกว่า  ทาน  ถ้ากระทำได้ตามหลักเกณฑ์

ดังนี้  จิตของผู้ให้ย่อมจะถูกขัดเกลาให้สะอาดขึ้นทุกคราว  ที่เรียกว่า “ได้บุญ”

๒. ศีล  (ศีลมัย  บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล)

      ความหมาย  ศีล คือ  การตั้งใจรักษากายวาจาของตนให้ปกติและเรียบร้อย  ไม่ละเมิดข้อห้ามต่าง ๆ ตามภูมิชั้นของตน  

      ความมุ่งหมาย  การรักษาศีลเป็นวิธีฝึกร่างกายและจิตใจควบกันไป  สามารถทำให้กิเลสซึ่งรัดตรึงจิตอยู่คลายตัวออกได้อย่างประหลาด  และมีความสะอาดผุดผ่องขึ้นแทน  ความสะอาดผุดผ่องนั่นแหละ คือ “บุญ” ที่ได้

     ชั้นของศีล พระพุทธเจ้าทรงวางกำหนดการรักษาศีลไว้เป็นชั้น ๆดังนี้

      ชั้นคฤหัสถ์  รักษาศีล ๕ หรือศีล ๘

        ชั้นสามเณร  รักษาศีล ๑๐

                                   ชั้นภิกษุ      รักษาศีล ๒๒๗

      ศีลที่เป็นพื้นฐานดั้งเดิมมี ๕ ข้อ  ตามที่ได้ศึกษามาแล้ว  ส่วนศีล ๘ - ๑๐ - ๒๒๗ นั้น เป็นส่วนขยายจากศีลห้า  ให้ละเอียดยิ่งขึ้น  บางทีศีลที่ขยายขึ้นไปท่านเรียกว่า “ วัตร” หรือ “พรต”

๓. ภาวนา  (ภาวนา  บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา)

    ความหมาย  ภาวนา  หมายถึงการอบรมจิตให้ฉลาด  ให้รู้ผิดรู้ชอบจนกระทั่งให้เกิดปัญญา  สามารถกำจัดกิเลสให้หมดสิ้น  

      กิจ (หน้าที่) กิจที่เรียกว่า  ภาวนา  ในที่นี้หมายถึง

      การศึกษา  หมายถึง  การเรียน อ่าน ฟัง ฝึกให้รู้และชำนิชำนาญงานต่าง ๆ

      การวิจัยงาน หมายถึงการใช้ปัญญาค้นคว้าหาเหตุผลในการทำงาน รวมทั้งการค้นคิด

    ประเภทของภาวนา  ๒  ประเภท  คือ

      ก. สมถะ  หมายถึง  การทำสมาธิให้ใจสงบ

      ข. วิปัสสนา  หมายถึง  การใช้ปัญญาพิจารณาสังขาร

โดยหลักปฏิบัติทั้ง ๔ นี้  ท่านจะเห็นได้อย่างชัดเจนแล้วว่าภาวนาเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคนทุกคนและทุกวัย  และภาวนาเป็นการสร้าง “บุญ” ขึ้นที่จิตใจโดยตรงทีเดียว เพราะเป็นการกำจัดกิเลสออกจากจิต

วิธีทำจิตใจให้สะอาด  ความจริงยังมีอีกมาก การปฏิบัติธรรมะ  หรือการประพฤติดี

ทุกข้อก็เป็นการทำให้จิตสะอาดได้ทั้งนั้น  แต่ที่ท่านจัดบุญกิริยาวัตถุไว้อย่างนี้  เป็นการแสดงหัวข้อปฏิบัติแยกออกเป็น ๓ สายเท่านั้น

เพราะกิเลสที่จะยึดครองจิตของเรามี ๓ สาย คือ โลภะ โทสะ โมหะ  พระพุทธเจ้าจึง

ทรงวางแผนปฏิบัติกำจัดกิเลส  ที่เรียกว่า วิธีทำบุญไว้ ๓ สาย เข้าต่อสู้คู่กันกับกิเลสดังกล่าวนี้  ซึ่งยิ่งทำให้ฝ่ายกิเลสปราชัยไปได้มากเท่าไร  จิตก็ยิ่งสะอาดมากเท่านั้น  และกล่าวตามสำนวนศาสนาว่า  ได้บุญมาก

ข้อควรจำที่สำคัญ คือการปฏิบัติเพื่อต่อต้านกิเลส  จำเป็นจะต้องทำควบกันไปทั้ง ๓ ทาง คือ  ทาน ศีล ภาวนา  เพราะกิเลสรุกมา ๓ ทาง การทำบุญด้วยวิธีให้ทานอย่างเดียว             แต่ไม่รักษาศีล  ไม่บำเพ็ญภาวนาเลย บุญที่ได้ก็ไม่สมบูรณ์

สัปปุริสธรรม ๗

การกล่าวถึงชื่อคนประเภทต่าง ๆ เช่น คนพาล บัณฑิต พุทธมามกะ อุบาสก อุบาสิกา ภิกษุสามเณร พุทธศาสนิกชน ปุถุชน อริยชน และชื่ออื่น ๆ อีกมาก เป็นการร้องเรียกแยกประเภทตามวัตรปฏิบัติหรือความประพฤติของบุคคลเหล่านั้น

วิธีแยกประเภทคนขั้นมูลฐาน คือแยกขั้นต้นตามทรรศนะของพระพุทธศาสนา คือแยกคนออกเป็น ๒ พวก ได้แก่

ก. สัตบุรุษ คนดี

ข. อสัตบุรุษ คนไม่ดี

ที่ว่าดีหรือไม่ดีนี้ว่าตามทรรศนะของศาสนาพุทธ ที่พระพุทธเจ้าระบุไว้ หรือจะพูดสั้น ๆ ว่าตามพุทธนิยมก็ได้

ประโยชน์ของการศึกษาสัปปุริสธรรม  คือ

๑. เราจะได้ปรับปรุงตัวเองให้ถูกแบบที่ดี

๒. มีคำสอนอยู่มากในศาสนา สอนให้เราคบหาสมาคมกับสัตบุรุษ เราก็จะได้รู้ว่าคน-

อย่างไรเป็นสัตบุรุษ

๓. มักมีคนตำหนิติเตียนว่าคนที่ปฏิบัติตามธรรมะของพระพุทธศาสนาเป็นคนครึ เซ่อซ่า

น่ารังเกียจในสังคมสมัยใหม่  เมื่อศึกษาเรื่องนี้แล้วเราจะตัดสินใจได้เองว่า คำติเตียนนั้นจริงหรือไม่จริง

ข้อขีดคั่นระหว่างศาสนิกชน

พระพุทธศาสนาประกอบด้วยผู้นับถือจำนวนมากมายประมาณ ๕๐๐ ล้านคนทั่วโลก คนเหล่านี้เรียกว่า พุทธศาสนิกชน ทั้งสิ้น แต่คนเหล่านี้ก็มิใช่จะเป็นคนดีทุกคน เรานับรวมหมดทั้งที่เป็นคนดีและคนชั่ว คนพาลเกเร กระทั่งเป็นโจรมหาโจรก็มี รวมอยู่ในนี้ เพราะแม้เขาจะชั่วช้าอย่างเขาก็ยังนับถือศาสนานี้อยู่   ยังไม่ขาดจากศาสนา เราก็ต้องยอมรับว่าเขาเป็นพุทธศาสนิกชน แต่เราแยกเรียกเฉพาะ      ศาสนิกชนที่ดีว่า “ สัตบุรุษ”

ฉะนั้น คำว่า สัตบุรุษ จึงพอเทียบได้กับคำว่า พลเมืองดี

และเมื่อพระพุทธองค์ทรงจำกัดไว้ว่า มีคนพวกหนึ่งเป็นสัตบุรุษ ก็เป็นอันส่องความใน    มุมกลับว่า ยังมีคนอีกพวกหนึ่งเป็น อสัตบุรุษคือคนไม่ดีอยู่

ธรรมของสัตบุรุษ

ธรรมะของสัตบุรุษ มีอยู่ ๗ ข้อ ทั้ง ๗ ข้อนี้ เป็นคุณสมบัติของสัตบุรุษ เป็นเครื่องหมายว่าผู้นั้นเป็นสัตบุรุษ ใครก็ตามไม่ว่าจะยากดีมีจนอย่างไร ถ้ามีคุณสมบัติ ๗ ประการนี้ ผู้นั้นเป็นสัตบุรุษ แต่ถ้าขาดคุณสมบัติ แม้ว่าจะเป็นคนมีชาติสกุล มีวิทยฐานะสูง มียศศักดิ์อัครฐาน มั่งมีเงินทองสักปานใด ก็ไม่เรียกว่า สัตบุรุษ

ธรรมของสัตบุรุษ ธรรมที่ทำให้เป็นสัตบุรุษ  คุณสมบัติของคนดี  ธรรมของผู้ดี  มี ๗

ประการ คือ

๑. ธัมมัญญุตา  ความรู้จักธรรม รู้หลัก หรือรู้จักเหตุ คือ รู้หลักความจริง รู้หลักการ 

รู้หลักเกณฑ์ รู้กฎ แห่งธรรมชาติ รู้กฎเกณฑ์แห่งเหตุผล และรู้หลักการที่จะทำให้เกิดผล เช่น ภิกษุรู้ว่า 

หลักธรรมข้อนั้น ๆ คืออะไร มีอะไรบ้าง พระมหากษัตริย์ ทรงทราบว่า หลักการปกครองตาม

ราชประเพณีเป็นอย่างไร มีอะไรบ้าง รู้ว่าจะต้องกระทำเหตุอันนี้ ๆ หรือกระทำตามหลักการข้อนี้ ๆ 

จึงจะให้เกิดผลที่ต้องการอันนั้น ๆ เป็นต้น

๒. อัตถัญญุตา  ความรู้จักอรรถ รู้ความมุ่งหมายหรือรู้จักผล คือ รู้ความหมาย     รู้

ความมุ่งหมาย รู้ประโยชน์ที่ประสงค์ รู้จักผลที่จะเกิดขึ้นสืบเนื่องจากการกระทำหรือความเป็นไป

ตามหลัก เช่นรู้ว่าหลักธรรมหรือภาษิตข้อนั้น ๆ มีความหมายอย่างไร หลักนั้น ๆ มีความมุ่งหมายอย่างไร กำหนดไว้ หรือพึงปฏิบัติเพื่อประสงค์ประโยชน์อะไร การที่ตนกระทำอยู่มีความมุ่งหมายอย่างไร เมื่อทำไปแล้วจะบังเกิดผลอะไรบ้าง ดังนี้เป็นต้น

๓. อัตตัญญุตา  ความรู้จักตน คือรู้ว่าเรานั้น ว่าโดยฐานะ ภาวะ เพศ กำลังความรู้

ความสามารถ ความถนัด และคุณธรรม เป็นต้น บัดนี้เท่าไร อย่างไร แล้วประพฤติให้เหมาะสมและรู้ที่

จะแก้ไขปรับปรุงตนเองให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นต่อไป

๔. มัตตัญญุตา  ความรู้จักประมาณ คือ ความพอดี เช่น ภิกษุรู้จักประมาณในการรับและ

บริโภคปัจจัยสี่ คฤหัสถ์รู้จักประมาณในการใช้จ่ายโภคทรัพย์ พระมหากษัตริย์   หรือรัฐบาลรู้จักประมาณในการลงทัณฑ์อาชญาและในการเก็บภาษี เป็นต้น

๕. กาลัญญุตา  ความรู้จักกาล คือรู้กาลเวลาอันเหมาะสมและระยะเวลาที่จะต้องใช้ใน

การประกอบกิจ กระทำหน้าที่การงาน เช่น ให้ตรงเวลา ให้เป็นเวลา ให้ทันเวลา ให้พอเวลา ให้เหมาะเวลาเป็นต้น

๖. ปริสัญญุตา  ความรู้จักบริษัท คือ รู้จักชุมชน และรู้จักที่ประชุม รู้กิริยาที่จะประพฤติ

ต่อชุมชนนั้น ๆ ว่า ชุมชนนี้เมื่อเข้าไปหา จะต้องทำกิริยาอย่างนี้ จะต้องพูดอย่างนี้ ชุมชนนี้ควรสงเคราะห์

อย่างนี้ เป็นต้น

๗. ปุคคลัญญุตา หรือ ปุคคลปโรปรัญญุตา  ความรู้จักบุคคล คือ ความแตกต่างแห่งบุคคลว่า โดยอัธยาศัย ความสามารถและคุณธรรม เป็นต้น ใคร ๆ ยิ่งหรือหย่อนอย่างไร และรู้ที่จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้น ๆ ด้วยดีว่าควรจะคบหรือไม่ จะใช้ จะตำหนิ ยกย่อง และแนะนำสั่งสอนอย่างไร เป็นต้น

อุบาสกธรรม

อุบาสกธรรม ๕ ธรรมของอุบาสกที่ดี สมบัติหรือองค์คุณของอุบาสกอย่างเยี่ยม  ๕ ประการ คือ

๑. มีศรัทธา

๒. มีศีล

๓. ไม่ถือมงคลตื่นข่าว เชื่อกรรม ไม่เชื่อมงคล คือมุ่งหวังผลจากการะกระทำและการงาน

มิใช่จากโชคลางและสิ่งที่ตื่นกันว่าขลังศักดิ์สิทธิ์

๔. ไม่แสวงหาทักขิไณย์ภายนอกหลักคำสอนนี้ คือ ไม่แสวงหาเขตบุญนอกหลัก

พระพุทธศาสนา

๕. กระทำความสนับสนุนในพระศาสนานี้เป็นเบื้องต้น คือ ขวนขวายในการอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนา

ธรรม ๕ อย่างนี้   เรียกว่า ธรรมของอุบาสกรัตน์ (อุบาสกแก้ว) หรือ อุบาสกปทุม(อุบาสกดอกบัว)

อุบาสก แปลว่า ผู้อยู่ใกล้ หมายความว่าใกล้พระรัตนตรัย หญิงใช้คำว่า อุบาสิกา 

ทั้งอุบาสกและอุบาสิกาถือคุณสมบัติอย่างเดียวกัน

คือพระรัตนตรัยนั้นเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา เป็นแก่น เป็นเนื้อแท้ ผลประโยชน์

ทั้งหมดที่ผู้นับถือจะได้จากศาสนาก็ได้จากพระรัตนตรัยนี้เอง ขอให้นึกเปรียบเทียบกับห้องอาหาร 

ห้องอาหารนั้นเป็นห้องกว้าง มีตู้มีโต๊ะมีแจกันดอกไม้ และมีอะไร อีกหลายอย่างอยู่ในห้องนั้น 

รวมเรียกว่า ห้องอาหาร  แต่ก็มีสิ่งหนึ่งที่เป็นหัวใจของห้องอาหาร คือสำรับกับข้าว ตรงสำรับกับข้าว

นี่แหละที่ให้ความอิ่มแก่คน ส่วนโต๊ะตู้และของประดับอื่น นั้นกินไม่ได้ ในศาสนาพุทธก็เหมือนกัน 

ในศาสนานี้มีอะไร อยู่มากมาย เช่น วัด โบสถ์ ฯลฯ แต่จุดที่จะหลั่งประโยชน์แก่ผู้นับถือจริง ก็คือ พระรัตนตรัย ถ้าศาสนานี้เป็นห้องอาหาร  พระรัตนตรัยก็เป็นสำรับกับข้าว

คนที่เข้าไปอยู่ในห้องอาหาร อันเดียวกันก็มีหลายคน นั่งบ้างยืนบ้างกระจายกันไป บางคนก็อยู่ใกล้สำรับกับข้าว บางคนก็อยู่ไกล คนที่เข้ามาเป็นพุทธศาสนิกชนในศาสนานี้ก็เหมือนกัน บางคนก็เหินห่างจากพระรัตนตรัย  บางคนก็อยู่ใกล้พระรัตนตรัย  คนที่อยู่ใกล้พระรัตนตรัยนั้น  ท่านเรียกว่า  อุบาสก  แปลว่า ผู้อยู่ใกล้

ถ้ามีใครถามว่า อยู่ใกล้พระรัตนตรัยดีอย่างไร ? เราก็อาจย้อนถามเขาว่า คนที่นั่งใกล้สำรับกับข้าวดีอย่างไร ? ฉันใดก็ฉันนั้น คนที่นั่งใกล้สำรับก็กินอาหารจากสำรับได้ง่ายกว่า คนที่อยู่ไกลนั้นกว่าจะกินได้แต่ละคำก็ต้องกระเย้อกระแหย่ง ได้บ้างไม่ได้บ้าง  เช่นเดียวกัน คนที่นับถือพระพุทธศาสนา  

แต่อยู่ห่างจากพระรัตนตรัย ก็ได้รับประโยชน์จากพระศาสนาน้อย


เพราะฉะนั้น เมื่อได้ปฏิญาณตนนับถือพระพุทธศาสนาแล้ว ก็พยายามขยับเข้าหาพระรัตนตรัย 

ให้ได้อยู่ใกล้ ๆ กับพระรัตนตรัย ดีกว่ากระเจิดกระเจิงไปทางอื่น ที่ว่านี้ คือพยายามให้ตัวเราได้เป็นอุบาสก

ทำอย่างไรจึงจะได้เป็นอุบาสก ? คำตอบก็คือว่า ต้องมีสมบัติอุบาสก จึงจะเป็นอุบาสกได้

ข้อที่ ๑ ประกอบด้วยศรัทธา    คือเชื่อพระพุทธเจ้า เรียกว่า ตถาคตโพธิศรัทธา ซึ่งแปลว่า    เชื่อในความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า พูดฟังกันง่าย ๆ อย่างภาษาชาวบ้านเราก็คือ เชื่อว่าพระพุทธเจ้ามีจริง และเป็นคนประเสริฐจริง ที่ว่าเชื่อพระพุทธเจ้านั้นคือเชื่ออย่างนี้และให้เป็นที่เข้าใจว่า ศรัทธาความเชื่อนี้เป็นพื้นฐานสำคัญของการนับถือศาสนา

ที่ว่าพระพุทธเจ้ามีจริงนั้น เป็นอันไม่ต้องสงสัยแล้ว เพราะพระพุทธเจ้าเป็นคน ๆ หนึ่ง

ปรากฏในประวัติศาสตร์ เรื่องราวของพระองค์ทุกอย่างก็เป็นที่รับรองของนักประวัติศาสตร์         และ

นักโบราณคดี  นักปราชญ์ทุกชาติทุกภาษารับรองต้องกันหมดว่า พระพุทธเจ้ามีจริง ๆ ไม่ใช่เรื่องสมมติขึ้นเหมือนกับบุคคลในนิยายหรือนิทานต่าง ๆ เรื่องนี้เป็นอันหมดปัญหา ยิ่งสมัยนี้ยิ่งพิสูจน์กันง่าย ถ้าท่านผู้ศึกษาซื้อตั๋วเครื่องบินเดินทางไปประเทศอินเดีย สัก ๔-๕ ชั่วโมงเท่านั้น ก็จะได้เห็นสถานที่เกิด ที่ตรัสรู้

และสถานที่พระพุทธเจ้าพักอาศัย ตรงกับที่เราเรียนหนังสือทุกอย่าง

ที่ว่าพระพุทธเจ้าประเสริฐจริง ข้อนี้เห็นได้ยากหน่อย ต้องใช้ปัญญาพินิจพิเคราะห์ เพราะเรา

เกิดไม่ทันพระองค์ แต่ก็พอจะหาช่องทางสังเกตและตัดสินใจได้ ประการแรกที่สุดที่เราจะดูความประเสริฐของพระพุทธเจ้า เราดูอย่างสามัญสำนึก คือดูด้วยสายตาของคนธรรมดานี้ก็ได้ เช่น

๑. เราดูคนอื่น เอาคนอื่นมาวัดดู เหมือนกับเราจะไปเรียนหนังสือกับอาจารย์ ถ้าเราเห็น

คนเขานับถืออาจารย์คนไหนมาก เราก็รู้ได้ว่าอาจารย์นั้นต้องเก่งจริง หรือเราจะไปหาหมอยา ถ้าเห็นคนไข้ไปขอรับการรักษาที่หมอคนไหนมาก ก็แสดงว่าหมอคนนั้นเก่งจริง  โดยทำนองเดียวกัน พระพุทธเจ้า

มีคนนับถือมากเหลือเกิน แล้วคนที่นับถือพระพุทธเจ้านั้น ก็มีหลายพวก หลายชาติหลายภาษา มีทั้ง

คนธรรมดา  จนกระทั่งเศรษฐี เจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน แล้วก็นับถือกันมาเป็นเวลาพัน ๆ ปี ไม่ใช่วันสองวัน เรานึกดูว่าพระองค์ก็ไม่ได้มาอ้อนวอนหรือขู่เข็ญให้ใครนับถือพระองค์ แต่คนก็พากันนับถือมากมายเท่านี้เราก็รู้แล้วว่า แม้เราจะไม่เคยเห็นองค์พระพุทธเจ้า เราก็รู้ได้ว่าพระพุทธเจ้าจะต้องเป็นคนประเสริฐสุดจริง ๆ 

๒. เราดูความเสียสละเพื่อพระพุทธเจ้า คือดูซิว่า มีคนให้อะไร ๆ แก่พระพุทธเจ้ามากไหม       ถ้ามีคนเอาอะไรให้พระองค์มาก ก็แปลว่ามีคนรักพระองค์มาก ที่พระองค์มีคนรักมากก็หมายความว่า พระองค์ เป็นคนดีวิเศษมาก แน่นอนที่สุด      ไม่มีใครที่จะได้รับของที่คนอื่นบริจาคให้มากเท่าพระพุทธเจ้า 

ที่ว่าให้พระพุทธเจ้าคือให้ไว้ในพระศาสนาของพระองค์นั่นเอง เช่น บริจาคสร้างวัดวาอาราม สร้างเจดีย์ สร้างพระพุทธรูป ปิดทองพระ ทอดกฐิน บวชนาค จนกระทั่งบริจาคข้าวปลาอาหารใส่บาตรให้ พระสงฆ์ สิ่งเหล่านี้  ถ้าจะว่ากันแล้วก็คือบริจาคให้พระพุทธเจ้าทั้งสิ้น เพราะเขาเชื่อว่าพระพุทธเจ้าดี เขาจึงนับถือและบริจาค  สิ่งที่คนบริจาคแต่ละปีนั้นถ้าคิดเป็นเงินเฉพาะในเมืองไทยก็ตกหลายร้อยล้านบาท ถ้าคิดดูทั้งโลกก็ไม่รู้ว่าจะเป็นกี่พันกี่หมื่นล้านบาท นี่พระพุทธเจ้าก็ไม่ใช่ญาติ  โดยกำเนิดของใครเลย ไม่มีข้อผูกพันกับใคร    สิ่งที่คนเขาให้จึงเป็นการให้ด้วยความรักภักดีอันบริสุทธิ์แท้ ๆ แม้แต่พระพุทธรูปซึ่งเป็นสิ่งรำลึกถึงพระองค์ประทับอยู่บนแท่นเฉย ๆ ไม่พูดไม่จากับใคร ยังมีคนไปกราบไหว้เอาดอกไม้ธูปเทียนเงินทองบูชากันไม่น้อย ดูเพียงเท่านี้ก็พอจะรู้แล้วว่า พระพุทธเจ้าประเสริฐจริง ๆ

๓. อีกอย่างหนึ่งเราดูทางสติปัญญาก็ได้ การดูสติปัญญาก็คือดูคำสอนของท่าน เพราะคำสอนนั้นออกมาจากสติปัญญา คำสอนของพระพุทธเจ้าถ้าดูกันตามจำนวนข้อ ก็มีมากมาย ในประเทศไทย

เรานี้ ตั้งแต่ตั้งบ้านตั้งเมืองมา ยังไม่เคยมีใครเรียนไว้ได้หมดทุกข้อสักคนเดียว  มีบ้างก็แต่จำตรงนั้นนิดตรงนี้หน่อย ซึ่งแม้จะจำของท่านได้เพียงบางส่วนและเพียงส่วนน้อยเท่านั้น ก็กลายเป็นคนเฉลียวฉลาด   มีคนนับหน้าถือตา และพูดจาอะไรก็ถูกต้องดี เราลองหลับตานึกดูซิว่า ถ้ามีใครเรียนรู้รอบจบหมดทั้ง พระไตรปิฎก คนนั้นจะเก่งสักแค่ไหน ก็พระพุทธเจ้านั้นพระองค์ทรงรู้รอบหมด จบสิ้นทุกข้อทุกกระทงและยังแถมตรัสรู้เองเสียด้วยอีก นึกดูแค่นี้ก็น่าอัศจรรย์พอแล้ว     และเชื่อได้แล้วว่าพระพุทธเจ้าเป็นผู้ประเสริฐจริง ๆ

ทั้งนี้แสดงให้เห็นเป็นตัวอย่าง เป็นทางนึกคิดอย่างสามัญสำนึกเท่านั้น ก็ยังพอเชื่อได้อย่างสนิทใจแล้วว่าพระพุทธเจ้ามีจริง และเป็นผู้ประเสริฐจริง ๆ ทางคิดอื่น ๆ ก็ยังมีอีกมาก

ข้อที่ ๒ ศีลบริสุทธิ์  ที่ว่ามีศีลบริสุทธิ์ก็คือพยายามรักษาศีลให้ได้ ที่เป็นพื้นฐานจริง ๆ ก็คือศีลห้า การที่จะรักษาศีลให้ได้นั้นบางคนพอได้ยินเข้าก็ท้อใจ เพราะตนเองตั้งใจผิดคือนึกไปว่าต่อแต่นี้ไปตนจะต้องมีงานหนักเพิ่มขึ้นอีกอย่างหนึ่ง คือจะต้องรักษาศีลถึง ๕ ข้อ เมื่อก่อนไม่ต้องรักษาศีลก็เหนื่อยพออยู่แล้ว ทีนี้จะต้องเอาศีลจากพระมารักษา พอไปคิดตั้งโจทย์ผิดเข้าเท่านี้ก็เลยท้อใจ อันที่จริงการรักษาศีล ๕ นั้น ก็คือรักษาตัวเองไว้เท่านั้น รักษามือรักษาปากของเรานี้เอง และรักษาก็คือรักษาไว้ให้มั่นดีตามเดิมเท่านั้น    ชื่อสิ่งที่จะรักษาท่านก็บอกอยู่แล้วว่ารักษาศีล คือรักษาปกติเดิมของตนเอง

ข้อที่ ๓ เชื่อกรรม ไม่ถือมงคลตื่นข่าว ความจริงข้อนี้จะพูดแต่ว่า เชื่อกรรมเฉย ๆ ก็ได้

เพราะคนที่เชื่อกรรมก็ย่อมจะไม่ถือมงคลตื่นข่าวอยู่เอง

มงคล ที่ว่านี้ตรงกับที่ชาวบ้านเราพูดกันว่า “ ของดี ”  เช่น ที่เขาพูดกันว่า อาจารย์นั้นมีของดีอาจารย์โน้นมีของดี   แล้วก็เที่ยวไปขอของดีจากที่นั่นที่นี่ คำว่า ของดี ที่พูดกันนี้บางทีเรียกว่า 

ของขลัง ของศักดิ์สิทธิ์  แต่แล้วจะเรียกกันไป ภาษาทางศาสนาท่านเรียกรวมกันเลยว่า  “ มงคล ”

ทีนี้มงคลนั้นพระพุทธเจ้าทรงสอนว่ามีอยู่สองประเภท คือมงคลของพวกที่รู้จริงอย่างหนึ่งอีกอย่างหนึ่งเป็นมงคลของพวกที่งมงาย คือตื่นเต้นไปตามคำเล่าลือของคนอื่น เห็นเขาว่าอะไรดี

ก็พลอยไปกับเขา คนที่ถือมงคลอย่างนี้เรียกว่า ถือมงคลตื่นข่าว

มีปัญหาว่า เมื่อพระพุทธเจ้าทรงห้ามการถือมงคลตื่นข่าวแล้ว   พระองค์จะทรงให้พวกเราถือมงคลแบบไหนล่ะ ? แน่นอน พระองค์ทรงสอนให้เราถือมงคลแบบตื่นตัว ไม่ใช่ตื่นข่าว

มงคลแบบตื่นตัวที่ว่านี้ หมายความว่า ให้เราหันเข้ามาดูที่ตัวเราเอง จะได้รู้ความจริงว่า 

กรรมคือการกระทำของเรานี้ต่างหาก จะทำให้เรามีมงคลหรือมีอัปมงคล

      กุศลกรรมที่เราทำ ย่อมเป็นมงคลแก่เรา

อกุศลกรรมที่เราทำ ย่อมเป็นอัปมงคลแก่เรา

อุบาสก คือผู้ที่เป็นชาวพุทธแท้ เป็นคนของพระพุทธเจ้า จะต้องเชื่อกรรม

ข้อที่ ๔ ไม่แสวงบุญนอกพระพุทธศาสนา

คุณสมบัติข้อนี้มีลักษณะเป็นข้อห้าม คือห้ามไม่ให้ชาวพุทธแสวงหาบุญนอกพระพุทธ-ศาสนา เรื่องนี้มีบางคนเข้าใจผิด คือ เข้าใจว่า ท่านห้ามมิให้ชาวพุทธช่วยเหลือคนที่นับถือศาสนาอื่น 

ยิ่งไปอ่านคุณสมบัติข้อที่ ๕ มาบวกกันเข้าด้วย ก็ยิ่งชวนให้สงสัย ประการสำคัญคือในหนังสือนวโกวาทอันเป็นหลักสูตรนักธรรม ท่านไปแปลข้อ ๕ ไว้ว่า “ ทำบุญแต่ในพระพุทธศาสนา ” ก็ยิ่งชวนให้เข้าใจเอาสนิทว่า ชาวพุทธเรานี้บำเพ็ญประโยชน์แก่ศาสนาอื่นไม่ได้ พอเข้าใจเสียอย่างนี้แล้วก็เลยคิดเตลิดไปว่า ถ้าไปช่วยศาสนาอื่นก็ผิดศาสนา เลยไปกันใหญ่  พาให้ชาวโลกเขาตำหนิติเตียนเอาว่า พวกชาวพุทธเป็นคนเห็นแก่ตัว  รับของคนอื่นได้แต่ให้แก่คนอื่นไม่เป็น ซึ่งเป็นลักษณะของคนที่คบไม่ได้ชัด ๆ

อันที่จริงเราต้องเข้าใจว่า การทำบุญกับการสงเคราะห์เป็นคนละอย่าง ทำบุญคือทำให้ใจเราบริสุทธิ์สะอาด  ส่วนสงเคราะห์     หรือการช่วยเหลือกันหรือจะเรียกว่า    ทำคุณก็ได้ เราต้องแยก

ความมุ่งหมายกันได้

เมื่อแยกอย่างนี้แล้วพึงเข้าใจว่า การสงเคราะห์กันนั้นเราจะสงเคราะห์ใครก็ได้ 

พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่สอนให้คนใจกว้าง ตามปกติเราก็คิดแผ่เมตตาแก่สรรพสัตว์ทุกอย่างอยู่แล้ว แม้แต่สัตว์เดียรัจฉานเราก็แผ่เมตตาให้ได้ ก็แล้วทำไมเราจะช่วยคนที่นับถือศาสนาอื่นไม่ได้เล่า เขาชั่วช้าเลวทรามอย่างไร  ที่เขามีศาสนาประจำตัวนั้น  ก็ย่อมแสดงอยู่แล้วว่า เขาเป็นคนดีคนหนึ่ง

เฉพาะเรื่องการทำบุญเท่านั้นที่ท่านกล่าวไว้ในคุณสมบัติข้อนี้ ที่ห้ามนั้นก็ห้ามอย่างมีเหตุผลคือการแสวงบุญเพื่อทำให้จิตใจสะอาดนั้น ก็มีทำกันอยู่ทุกศาสนา แต่ละศาสนาก็มีวิธีทำไปต่าง ๆ กัน เช่น

- พวกศาสนาคริสต์ การแสวงบุญก็ทำโดยการไปสารภาพบาปกับบาทหลวง ไปกราบไหว้พระเยซูหรือนักบุญต่าง ๆ เดินทางไปไหว้ที่เกิดที่ดับของพระศาสดาแห่งศาสนาคริสต์ที่ประเทศจอร์แดน   ถ้าศรัทธาแรงกล้า ผู้ชายก็ไปบวชเป็นบาทหลวง  ผู้หญิงก็ไปบวชเป็นแม่ชี (ฝรั่ง)

- ศาสนาอิสลาม    การแสวงบุญก็ไปสวดอ้อนวอนพระเจ้าในสุเหร่า  ไปอ่านไปฟัง

คัมภีร์อัลกุรอาน พอถึงเดือนรอมฎอน (เดือนที่ ๙ ของอาหรับ) ก็ไปถือศีลอด ทำพิธีละหมาด (ไหว้พระเจ้า)  วันละห้าครั้ง ใครที่มีทรัพย์ก็เดินทางไปนมัสการหินศักดิ์สิทธิ์ที่เมืองมักกะฮ์    ประเทศซาอุดิอาระเบีย 

- ศาสนาฮินดู การแสวงบุญก็พากันไปล้างบาปที่แม่น้ำคงคา ไปไหว้พระศิวะ  พระนารายณ์  ไปกราบไหว้ศิวลึงค์ ไหว้รูปนางอุมา    ที่ศรัทธาแรงกล้าก็ออกบวชเป็นฤาษีไป   เข้าไปอยู่ที่เขาหิมาลัย

นี่ยกตัวอย่างให้เห็นว่าวิธีแสวงบุญของศาสนาอื่นก็มีทุกศาสนา จะว่าของใครดีกว่าของใครไม่น่าจะว่าได้   เพราะแต่ละศาสนาก็มีวิธีชำระจิตใจครบตามส่วนสัดของตน เหมือนกับยาเป็นขนาน ๆ นั่นแหละ  แต่ละขนานก็มีตัวยาผสมกันหลายอย่าง

ที่ฝ่ายศาสนาพุทธก็มีวิธีทำจิตใจบริสุทธิ์ที่เรียกว่าทำบุญเป็นอีกแบบหนึ่งต่างหาก ก็เป็นชุดหนึ่งของเราเอง ได้แก่ ทาน – ศีล – ภาวนา  รวมสามอย่าง ใครสมัครมานับถือศาสนาพุทธแล้วต้องทำบุญแบบนี้  เท่ากับว่าถ้าจะให้หมอคนไหนรักษา ก็ต้องกินยาของหมอคนนั้น คนที่บอกว่าให้หมอคนนี้รักษา แต่ยังวิ่งพล่านไปกินยาหมอไหน ๆ ทั่วบ้านทั่วเมือง นอกจากจะแสดงว่าตนเป็นคนขาดความนับถือในหมอประจำแล้ว   โรคของแกก็คงไม่หาย พลาดท่าเลยจะสำลักยาตายเอาง่าย ๆ แล้วลงใครเป็นคนไข้แบบนี้ หมอไหน ๆ ก็คงไม่มีใครอยากจะช่วยจริง คนถือศาสนาหนึ่งแล้วยังเที่ยววิ่งพล่านไปเที่ยวแสวงบุญแบบศาสนาอื่นก็เหมือนกัน  ในที่สุดก็คงเอาดีไม่ได้สักอย่างเดียว

ท่านลองนึกวาดภาพดูสักคนหนึ่งก็ได้  ติต่างว่ามีนายคนหนึ่งชื่อนายเหลาะแหละ ที่คอแกแขวนพระพุทธรูปหนึ่งองค์ ไม้กางเขนหนึ่งอัน ศิวลึงค์หนึ่งอัน วันพระไปถืออุโบสถที่วัดพุทธ พอวันศุกร์ไปทำละหมาดที่สุเหร่าอิสลาม วันอาทิตย์ไปล้างบาปที่โบสถ์คริสต์ อายุ ๒๐ ปีบวชเป็นพระสงฆ์ อายุ ๒๑ ปี  ไปบวชเป็นบาทหลวง อายุ ๒๒ ปีไปทำพิธีฮัจที่เมืองมักกะฮ์  ปีนี้นายเหลาะแหละทำบุญอายุไปเชิญบาทหลวงสวดมนต์ ปีหน้าลูกสาวจะแต่งงานไปเชิญอิหม่ามมาสวด ปีต่อไปเกิดไปเชิญพราหมณ์มาบังสุกุลศพแม่ แม้ที่โต๊ะบูชาในบ้านของอีตาเหลาะแหละ  ก็ตั้งรูปเคารพสารพัดอย่าง เพียงเท่านี้ก็ขอให้ท่านตรองดูเองว่า แกเป็นคนดีหรือคนบ้า แล้วก็พระของศาสนาไหนจะเอาเป็นธุระคุ้มครองให้แกจริงจัง

ที่พระพุทธเจ้าทรงห้ามไม่ให้ชาวพุทธแสวงหาบุญนอกศาสนานั้น คือห้ามไม่ให้เอาอย่าง

อีตาเหลาะแหละนี้ต่างหาก

ข้อที่ ๕ ทำบุญในพระพุทธศาสนา   เมื่อเข้าใจข้อที่ ๔ แล้ว ข้อที่ห้านี้ก็ไม่ต้องอธิบายมาก เพียงแต่ว่าข้อที่ ๔ นั้นท่านห้าม แต่ข้อที่ ๕ นี้ท่านให้ทำ

คุณสมบัติข้อที่ ๕ นี้ พึงเข้าใจว่าชาวพุทธที่แท้นั้น     นอกจากจะไม่ทำบาปแล้ว  ยังต้องทำบุญอีกด้วย ไม่ใช่อยู่เฉย ๆ  ทำบุญโดยสุจริต  ก็คือให้ทาน  รักษาศีล  และบำเพ็ญจิตภาวนา

มิจฉาวณิชชา   

การค้าขายที่ผิดหรือไม่ชอบธรรม  อุบาสกไม่ควรประกอบ  มี  ๕  ประการ

๑. สัตถวณิชชา ค้าขายอาวุธ

๒. สัตตวณิชชา ค้าขายมนุษย์

๓. มังสวณิชชา ค้าขายเนื้อสัตว์  หรือเลี้ยงสัตว์ไว้ขาย

๔. มัชชวณิชชา ค้าขายน้ำเมา  สิ่งเสพติดให้โทษ

๕. วิสวณิชชา ค้าขายยาพิษ

อารยวัฑฒิ  หรืออารยวัฒิ  เครื่องวัดความเจริญของชาวพุทธ

ความเจริญงอกงามด้วยคุณธรรมของชาวพุทธ    ที่เรียกว่า  อริยวัฑฒิ  หรืออารยวัฒิ         ทั้ง  ๕  ประการ ดังต่อไปนี้

๑. งอกงามด้วยศรัทธา  คือมีความเชื่อมั่นในพระรัตนตรัย ในคุณความดี มีหลักยึดเหนี่ยวจิตใจ

๒. งอกงามด้วยศีล  คือให้มีความประพฤติดีงาม สุจริต รู้จักเลี้ยงชีวิต มีวินัย และมีกิริยามารยาทงาม

๓. งอกงามด้วยสุตะ   คือให้มีความรู้จากการเล่าเรียนสดับตรับฟัง  โดยการแนะนำหรือขวนขวายศึกษาหาความรู้ และฟื้นฟูปรับปรุงจิตใจ

๔. งอกงามด้วยจาคะ  คือให้มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่  มีน้ำใจต่อกัน และพอใจทำประโยชน์

แก่เพื่อนมนุษย์

๕. งอกงามด้วยปัญญา  คือให้มีความรู้คิด เข้าใจเหตุผล  และความจริงตามสภาวะ  

มีวิจารณญาณ

นาถกรณธรรม  ธรรมะเพื่อให้บุคคลพึ่งตัวเองได้

ธรรมะดังกล่าวคือหลักธรรมที่มีผลให้ผู้ปฏิบัติทำตนให้เป็นที่พึ่งของตนได้    พร้อมที่จะ   รับผิดชอบตนเอง  ไม่ทำตนให้เป็นปัญหา หรือเป็นภาระถ่วงหมู่คณะหรือหมู่ญาติด้วยการประพฤติธรรม  สำหรับสร้างที่พึ่งแก่ตนเอง  เรียกว่า ประพฤตินาถกรณธรรม มี ๑๐ ประการ คือ

๑. ศีล  ประพฤติดีมีวินัย คือดำเนินชีวิตโดยสุจริตทั้งทางกาย  ทางวาจา มีวินัย  และประกอบสัมมาชีพ

๒. พาหุสัจจะ  ได้แก่การสดับตรับฟังมาก  คือศึกษาเล่าเรียน สดับตรับฟังมาก  อันใดเป็นสายวิชาของตน  หรือตนศึกษาศิลปวิทยาใด  ก็ศึกษาให้ช่ำชอง  มีความเข้าใจกว้างขวางลึกซึ้ง  รู้ชัดและใช้ได้จริง

๓. กัลยาณมิตตตา  รู้จักคบคนดี คือกัลยาณมิตร  รู้จักเลือกเสวนา   เข้าหาที่ปรึกษาหรือผู้แนะนำสั่งสอนที่ดี   เลือกสัมพันธ์เกี่ยวข้องและถือเยี่ยงอย่างสิ่งแวดล้อมทางสังคมที่ดี  ซึ่งจะทำให้ชีวิตเจริญงอกงาม

๔. โสวจัสสตา  เป็นคนว่าง่าย  คือไม่ดื้อรั้นกระด้าง  รู้จักฟังเหตุผล  และข้อเท็จจริง  พร้อมที่จะแก้ไขปรับปรุงตนเอง

๕. กิงกรณีเยสุ  ทักขตา  ขวนขวายกิจของหมู่คณะ   คือเอาใจใส่ช่วยเหลือธุระและกิจการของคนร่วมหมู่คณะ ญาติ เพื่อนพ้องและชุมชน  รู้จักใช้ปัญญาไตร่ตรองหาวิธีดำเนินการที่เหมาะสม     ทำได้  จัดได้ให้สำเร็จเรียบร้อยด้วยดี

๖. ธัมมกามตา   เป็นผู้ใคร่ธรรม    คือรักธรรม       ชอบศึกษาค้นคว้าสอบถามหาความรู้ 

หาความจริง  รู้จักพูด  รู้จักรับฟัง  สร้างความรู้สึกสนิทสนมสบายใจ   ชวนให้ผู้อื่นอยากเข้ามาปรึกษาและร่วมสนทนา

๗. วิริยารัมภะ  มีความเพียร  ขยัน  คือขยันหมั่นเพียร  พยายามหลีกละความชั่ว ประกอบ

ความดี  บากบั่น ไม่ย่อท้อ ไม่ละเลยทอดทิ้งธุระหน้าที่

๘. สันตุฏฐี  มีสันโดษ รู้พอดี คือพอใจยินดีแต่ในลาภผล ผลงาน และผลสำเร็จต่าง ๆ ที่ตนสร้างหรือแสวงหามาได้ด้วยเรี่ยวแรงความเพียรพยายามของตนเองโดยชอบธรรม  และไม่มัวเมาเห็นแก่ความสุขทางวัตถุ

๙. สติ  มีสติมั่น  คือรู้จักกำหนดจดจำ  ระลึกในการที่ทำ  คำที่พูด  กิจที่ทำแล้วและจะต้องทำต่อไปได้  จะทำอะไรก็รอบคอบ รู้จักยับยั้งชั่งใจ ไม่ผลีผลาม ไม่เลินเล่อ ไม่เลื่อนลอย ไม่ประมาท ไม่ยอมถลำไปในทางที่ผิดพลาด ไม่ปล่อยปละละเลยทิ้งโอกาสสำหรับทำความดีงาม

๑๐. ปัญญา  มีปัญญาเหนืออารมณ์  คือมีปัญญาหยั่งรู้เหตุผล รู้ดีรู้ชั่ว  รู้คุณรู้โทษรู้ประโยชน์มิใช่ประโยชน์   มองเห็นสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง      รู้จักพิจารณาวินิจฉัยด้วยใจเป็นอิสระ  

ทำการต่าง ๆ ด้วยความคิดและวิจารณญาณ

หลักการครองคน

พรหมวิหาร ๔ คุณธรรมสำหรับผู้ใหญ่

ความรักใคร่นับถือและจงรักภักดี ย่อมมีความสำคัญอย่างยิ่งในการปกครองบังคับบัญชา  เพราะจะนำมาซึ่งความเคารพเชื่อฟังของผู้ใต้บังคับบัญชาหรือผู้น้อย  จะเป็นประโยชน์ทั้งในการปกครอง

และการสั่งการต่าง ๆ 

ความเคารพนับถือและความจงรักภักดีจะเกิดขึ้นได้  จะต้องอาศัยการประพฤติธรรมของ    ผู้ใหญ่หรือของผู้บังคับบัญชาเป็นประการสำคัญ และหลักธรรมเพื่อสร้างความจงรักภักดีมีดังนี้

๑. เมตตา  ความรัก คือความปรารถนาดี มีไมตรี ต้องการให้ผู้น้อยมีความสุขความเจริญ

๒. กรุณา  ความสงสาร    คือเมื่อผู้น้อยประสบทุกข์       มีความเดือดร้อนด้วยประการใด 

ก็มีใจฝักใฝ่อยากจะปลดเปลื้องบำบัดความทุกข์ร้อนนั้น ๆ ให้หมดสิ้นไป

๓. มุทิตา  ความเบิกบานพลอยยินดี เมื่อเห็นผู้น้อยอยู่ดีมีสุข  หรือประสบความสำเร็จ

ในชีวิตหน้าที่การงาน

๔. อุเบกขา    ความมีใจเป็นกลาง      คือมองตามความเป็นจริง มีความมั่นคงเที่ยงตรง

ดุจตราชั่งไม่เอนเอียงหวั่นไหว โดยสรุปคือเว้นจากอคติ ๔

อคติ ๔

อคติ  คือความลำเอียง ความไม่ยุติธรรม  ๔ ประการ  เพราะอคติธรรมเป็นอุปสรรค และ

มีแต่จะสร้างความเสื่อมทรามให้แก่การปกครองตลอดมาในทุกสมัยและทุกวงการ  ผู้ใหญ่ที่ขาดความยุติธรรมย่อมจะไม่ได้รับความเคารพหรือนับถือและความจงรักภักดี ฉะนั้น บุคคลผู้เป็นใหญ่ หากหวังจะให้เป็นที่เคารพนับถือและเป็นที่จงรักภักดีของผู้น้อย  จะต้องเว้นอคติ ๔ ประการ คือ

๑. ฉันทาคติ  ลำเอียงเพราะรักใคร่ เห็นแก่หน้า เห็นแก่พวกพ้อง หรือคนใกล้ชิด เห็นแก่

ประโยชน์ตน

๒. โทสาคติ    ลำเอียงเพราะไม่ชอบกัน    เช่น     เพราะชะตาไม่ต้องกัน หรือเคยมีเรื่องโกรธเคืองกันมาก่อน  ตลอดจนเป็นคนอื่น พวกอื่น ผู้ใหญ่ต้องรู้จักให้อภัย  ไม่ถือโทษโกรธาโดยไม่มี

วันสิ้นสุด

๓. โมหาคติ  ลำเอียงเพราะเขลา  คือรู้เท่าไม่ถึงการณ์  ขาดการตรวจสอบพิจารณา

๔. ภยาคติ  ลำเอียงเพราะกลัว  คือกลัวเสื่อมลาภ  เสื่อมยศ  ตลอดจนกลัวอันตรายต่าง ๆ จนยอมเสียความยุติธรรม

สังคหวัตถุ

หลักสร้างมนุษยสัมพันธ์

ทุกสิ่งในโลกจะเจริญขึ้นได้  และจะดำรงอยู่ในความเจริญได้  ย่อมต้องอาศัยสิ่งแวดล้อมช่วยเหลือสนับสนุน  ดังเช่นเมล็ดผลไม้ที่จะงอกงามขึ้นได้  ก็ต้องได้ดิน น้ำ ปุ๋ย อากาศเข้าสนับสนุน  อาคารตึกรามที่ใหญ่โต จะทรงตัวอยู่ได้ก็ต้องได้ไม้ อิฐ หิน ปูน ทราย เหล็ก และอื่น ๆ คุมกันเข้า  ไม่ต้องอื่นไกล  ร่างกายของเรานี้ เติบโตขึ้นมาและมีชีวิตอยู่ได้  ก็ต้องได้รับความสนับสนุนจากอาหาร อากาศ  และเครื่องอุปโภคอื่น ๆ อีกมาก ข้อที่ว่า  ทุกสิ่งจะเจริญขึ้นได้ต้องอาศัยการสนับสนุนของสิ่งแวดล้อมนี้ เป็นความจริงอย่างหนึ่ง

ชีวิตของเราก็เหมือนกัน  จะมีความเจริญรุ่งโรจน์ไม่ว่าทางการครองชีพ ทางการศึกษา ทางการสังคม  หรือทางการงานก็ตาม  จำเป็นจะต้องได้รับความสนับสนุนจากบุคคลอื่นจึงจะสำเร็จได้  ไม่มีผู้ใดที่จะเจริญรุ่งเรืองขึ้นได้โดยลำพังคนเดียว  โดยไม่ต้องอาศัยคนอื่นเลย

การที่คนอื่นเขาจะยินดีสนับสนุนช่วยเหลือแก่เราเพียงใดนั้น  ส่วนสำคัญก็อยู่ที่ใจของเขาที่จะต้องมีความรักใคร่นับถือในตัวเราเป็นทุนอยู่ก่อน ดังนั้น เราจึงมีปัญหาสำคัญที่จะต้องแก้ในลำดับแรก คือปัญหาที่ว่า  ทำอย่างไรคนอื่นจึงจะรักใคร่นับถือเรา และทำอย่างไรผู้ที่รักและนับถืออยู่แล้วจึงจะมีความรักนับถือไม่จืดจาง

พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรมะเครื่องยึดเหนี่ยวใจคนอื่นไว้  เรียกว่า สังคหวัตถุ (หลักสร้างมนุษยสัมพันธ์)  มี ๔ ประการคือ 

๑. ทาน การให้ปันของของตนแก่คนที่ควรให้ปัน   ทาน ในที่นี้ต่างจากทานในบุญกิริยาวัตถุ คือในบุญกิริยาวัตถุนั้น เป็นการให้โดยการมุ่งจะทำบุญ  แต่ในที่นี้ มุ่งการสงเคราะห์แก่ผู้รับ  มีการปฏิบัติ และผล คือ

    ๑.๑ วิธีปฏิบัติ  คือ  รู้จักแบ่งของกินของใช้แก่คนอื่นบ้าง   เพื่อแสดงอัธยาศัยไมตรี

ต่อกัน ไม่เป็นคนตระหนี่ใจแคบหวงกินหวงใช้แต่คนเดียว

    ๑.๒ ผลที่ผู้ให้จะได้จากผู้รับ ลำดับแรกที่สุด คือจะได้รับความรักจากผู้รับทันทีที่ให้  ต่อจากนั้นไป ยังจะได้รับไมตรีจิตและอามิสตอบแทน  คนทั้งหลายที่รู้เห็นจะสรรเสริญ

๒. ปิยวาจา  ได้แก่  การเจรจาถ้อยคำน่ารัก  ซึ่งคำพูดโดยทั่วไปนั้นมีสองประเภท คือ

      ๒.๑ ปิยวาจา  คำพูดที่พูดแล้วทำให้คนฟังรักคนพูด

      ๒.๒ อัปปิยวาจา คำพูดที่พูดแล้วทำให้คนฟังชังคนพูด

    ในคำทั้งสองนี้  ปิยวาจาเท่านั้นที่ครองใจคนฟังได้ ในทางปฏิบัติ  ผู้ปฏิบัติจะต้องรู้จักคำหยาบ   แล้วเว้นจากการพูดคำหยาบเสีย    พูดแต่คำที่ตรงกันข้าม    คำหยาบมีลักษณะต่าง ๆ คือ 

- คำด่า ได้แก่ การกล่าวโดยกดให้ต่ำลง

- ประชด ได้แก่   การกล่าวโดยยกให้สูงเกินตัว

- กระทบ ได้แก่   การกล่าวโดยเลียบเคียงให้เจ็บใจ

- แดกดัน ได้แก่   การกล่าวด้วยเจตนาจะแดกดัน

- สบถ ได้แก่   คำกล่าวเข่นฆ่าน่าสยอง

- คำต่ำ ได้แก่  ใช้คำกล่าวที่สังคมถือว่าต่ำทราม

คำกล่าวทั้งหมดนี้  จะเป็นคำหยาบหรือไม่  วินิจฉัยด้วยเจตนาของผู้กล่าวนั่นเอง  ถ้าเจตนาหยาบก็เป็นคำหยาบ บางคนเข้าใจผิดว่า  การกล่าวคำหยาบเป็นการแสดงอำนาจในตัวคนกล่าว  แต่ความจริงแล้ว คำหยาบได้ลดความศักดิ์สิทธิ์และละลายอำนาจในตัวคนกล่าวลงทุกครั้งที่กล่าวคำหยาบ  ผู้กล่าวคำหยาบ  เป็นผู้สร้างเสนียดขึ้นในตัว  ในครอบครัว  และในสังคมอย่างน่าอับอาย  ทุกคนควรจำไว้ว่า  สิ่งที่จะมัดสิ่งอื่นไว้ได้  ต้องเป็นของอ่อน  และคำที่จะมัดใจคนอื่นไว้ได้  ก็มีแต่คำสุภาพอ่อนโยนเท่านั้น

๓. อัตถจริยา คือการบำเพ็ญประโยชน์ การบำเพ็ญประโยชน์หมายความว่า  รู้จักช่วยเหลือผู้อื่นด้วยแรงตน      มิใช่ประพฤติเป็นคนตัดช่องน้อยเอาตัวรอด        ในทางปฏิบัติ  ผู้บำเพ็ญอัตถจริยา  จะต้องคำนึงถึงการปฏิบัติตน ๒ สถาน คือ

    ๓.๑ การทำตนให้เป็นคนมีประโยชน์  คือ  สร้างกำลังกาย  กำลังความคิด  กำลังความรู้  กำลังทรัพย์ขึ้นในตน  ให้พอที่จะใช้กำลังอย่างใดอย่างหนึ่งช่วยเหลือคนอื่นได้ คนอย่างนี้ เรียกว่า คนมีประโยชน์ และ

    ๓.๒ จ่ายกำลังที่ตนมีอยู่นั้น  บำเพ็ญสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่เพื่อนฝูง  เพื่อนบ้าน ตลอดจนเพื่อนมนุษย์ทั่วไปตามสมควรแก่เรื่อง  การบำเพ็ญประโยชน์ดังกล่าวนี้  หมายถึงการไม่ดูดายในการช่วยเหลือคนอื่น  เป็นการแสดงอัธยาศัยน่ารักน่านับถือของผู้บำเพ็ญ

    อนึ่ง  ผู้บำเพ็ญอัตถจริยา  จะต้องเว้นการกระทำอันเป็นภัยแก่ผู้อื่นเสีย แม้แต่

การกระทำเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น ทิ้งเศษแก้วลงตามทางเดิน  หรือถ่ายเทของสกปรกในที่อันจะทำลายความสุขของคนอื่น  เป็นต้น

๔. สมานัตตตา คือการวางตนเหมาะสม เสมอสมาน   ความเป็นผู้มีตนเสมอ  หมายถึงการวางตัวสมกับภาวะและฐานะของตน  ไม่ลืมตัวกลายเป็นคนเย่อหยิ่งจองหองเหยียบย่ำญาติพี่น้องและคนที่เคยนับถือกัน เป็นคนประพฤติความดีสม่ำเสมอ

    ความมีตนเสมอมี ๒ นัย  คือ 

      ๑. ความมีตนเสมอในบุคคล  หมายความถึงนับถือกันสม่ำเสมอ  หรือเสมอต้นเสมอปลาย ไม่ถือตัว เช่น  บุคคลใดเป็นพ่อแม่หรือญาติชั้นใด   ควรจะนับถือยกย่องอย่างใด  และเคยนับถือกันมาอย่างใด  ก็นับถืออย่างนั้น  ไม่เปลี่ยนแปลง  แม้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะมีฐานะเปลี่ยนแปลงไปตามเวลาและเหตุการณ์ อีกอย่างหนึ่ง  หมายถึงความสามารถที่ปฏิบัติตนเข้ากับบุคคลอื่นได้

    ๒. ความมีตนเสมอในธรรม หมายความว่าสิ่งใดเป็นความดีและเคยประพฤติมาอย่างใด  ก็ประพฤติอย่างนั้น ไม่ใช่ต่อหน้าอย่างหนึ่ง  ลับหลังอย่างหนึ่ง  หรือเมื่อก่อนนี้ประพฤติอย่างหนึ่งครั้นบัดนี้ลืมความดี ประพฤติวิปริตไป ซึ่งคำว่าธรรมในที่นี้ หมายถึง กฎ  ข้อบังคับ  ระเบียบ  แบบแผน  สุจริตธรรม และคำว่า การวางตนเสมอภาค  ในความหมายทางธรรมก็คือการวางตนเสมอต้นเสมอปลาย 

ฆราวาสธรรม ๔

ทางศาสนาแยกคนออกเป็น ๒ ประเภท  ตามลักษณะการดำรงชีวิต คือ 

๑ . คนที่ไม่ได้บวชทั้งหมด  รวมเรียกว่า ฆราวาส  แปลว่า  คนครองเรือน   ทั้งนี้ไม่จำกัดว่าจะเป็นโสด  หรือมีครอบครัวแล้วก็ตาม  และ 

๒. คนที่สละเหย้าเรือนออกบวชทั้งหมด  รวมเรียกว่า บรรพชิต

ผู้ที่จะครองเรือนได้อย่างมีความสุขและราบรื่นนั้น ทางพระพุทธศาสนาสอน  ว่าต้องประพฤติตัวและครองตนพร้อมชีวิตคู่อยู่ในหลักการครองเรือนที่เรียกว่า   ฆราวาสธรรม มี ๔ ประการ

คือ 

๑. สัจจะ  สัจจะ  แปลว่า ความสัตย์  หรือความซื่อสัตย์ หรือความซื่อตรง  หรือความจริง คือเป็นคนมั่นคง ไม่หลอก  ไม่ลวง  ไม่กลับกลาย    ในทางปฏิบัติควรทราบว่า    สัจจะมีลักษณะ ๓ อย่าง  

คือ 

    ๑.๑ จริง   คนมีสัจจะย่อมจะเป็นคนจริง คนจริง คือ ทำอะไรก็ทำจริง ไม่ทำเล่นหรือทำเหลาะแหละสักแต่ว่าทำ  เมื่อได้ตกลงเรื่องใดกับใคร  หรือได้ปลงใจที่จะกระทำหน้าที่ใดแล้ว  ก็จะกระทำให้ได้จริง 

  ๑.๒ ตรง  คนมีสัจจะย่อมจะเป็นคนตรง คนตรง คือ เป็นคนซื่อตรง ไม่คดโกง ไม่เป็นคนเจ้าเล่ห์ จิตใจ คำพูด และการกระทำตรงกัน เรียกว่าคนตรง  ความตรงนี้  ถ้าตรงต่อคนด้วยกันเรียกว่า ซื่อตรง ถ้าตรงต่อระเบียบ  แบบแผน  และเหตุผล   เรียกว่า เที่ยงตรง คนมีสัจจะต้องประพฤติซื่อตรง และเที่ยงตรงอยู่เสมอ

  ๑.๓ แท้ คนมีสัจจะย่อมจะเป็นคนแท้  ความเป็นคนแท้  ก็คือการปรับปรุงตัวเองให้มีสมรรถภาพสมกับที่ตัวเป็น ไม่ใช่สักแต่ว่าเป็น  แต่ไม่แท้ คือเก๊  หรือปลอม  หรือเทียม

๒. ทมะ  ทมะ  แปลว่าฝึก ความฝึก หมายความว่า  ฝึกฝนตนเองให้มีสมรรถภาพพอที่จะทำมาหากิน  และแปลว่าข่ม หมายความว่า รู้จักข่มใจของตนเอง ไม่ให้เห่อเหิมเสริมตัว

คุณลักษณะของความฝึก ความข่ม ล้วนเป็นคุณลักษณะที่ควรให้มีในตัวเรา

๓. ขันติ   ขันติ คือ ความอดทน  หมายความว่า อดทนต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ อันจะทำให้

เราทอดทิ้งความดี ทนยืนหยัดอยู่ในทางดีให้ได้ หรือหยุดใจไว้ไม่ให้ถลำไปในการทำผิดทำชั่ว ในทางปฏิบัติ ขันติ พึงใช้ในที่ ๔ สถาน คือ 

    ๓.๑ ทนต่อความลำบาก  คือกล้าสู้กับความลำบาก  ทำงานของตนให้ก้าวหน้าไปได้ แม้ว่าตนจะลำบากตรากตรำก็ไม่พรั่นพรึง

    ๓.๒ ทนต่อความเจ็บกาย (ทุกขเวทนา)  คือไม่อ้างความเจ็บปวดเป็นเลศแล้วกระทำในสิ่งอันไม่ควรทำ  เช่น ครวญครางหรือร้องไห้ เป็นการแสร้งมายาเกินเหตุ

    ๓.๓ ทนต่อความเจ็บใจ  คือทำให้ใจหนักแน่นได้  ข่มความรู้สึก   และกิริยาวาจาให้เรียบร้อย เมื่อถูกผู้อื่นทำให้ไม่พอใจ

    ๓.๔ ทนต่ออำนาจกิเลส  ความอดทน ๓ อย่างก่อนนั้น เป็นเรื่องทนต่อสิ่งที่เราเกลียด ไม่ยอมทำเนื่องจากความไม่พอใจ  แต่ข้อที่ ๔ นี้ เป็นการทนต่อสิ่งที่เราชอบ ซึ่งอาจทำให้เราเสียได้เหมือนกัน เช่น การเที่ยวเตร่ การบำเรอด้วยสุรานารี  และคำสรรเสริญเยินยอ เป็นต้น

๔. จาคะ  จาคะ คือ ความสละ  หรือความเสียสละ คนครองเรือนจำเป็นต้องมีความเสียสละ ในที่นี้  หมายถึงการสละ ๒ อย่าง คือ

    ๔.๑ สละวัตถุ  การสละวัตถุ  หมายความถึงการสละทรัพย์ หรือสละแรงบำเพ็ญประโยชน์แก่ตนและส่วนรวม  เช่น สละรายได้เป็นภาษีอากรแก่รัฐ    หรือสละเงิน  สละของร่วมใน    การก่อสร้างโรงเรียน   สะพาน  ฯลฯ  รวมทั้งสละแรงช่วยทำประโยชน์แก่ส่วนรวม ดังเช่นชายฉกรรจ์สละประโยชน์ส่วนตัวแล้วเอาตัวเข้าปฏิบัติราชการทหารเป็นตัวอย่าง

    ๔.๒ สละอารมณ์        การสละอารมณ์ คือ เมื่อผู้อื่นทำสิ่งใดล่วงเกิน  ทำให้เราขัดใจ  ก็พึงสละอารมณ์นั้นเสีย     รู้จักให้อภัย คุณสมบัติข้อนี้จะรักษาสันติสุขในครอบครัวและในสังคมไว้ได้ ทั้งเป็นทางเสริมสร้างความสุขใจของผู้ปฏิบัติด้วย

ธรรมะ ๔ ข้อนี้  เป็นมูลฐานแห่งการดำรงชีวิต  จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ต้องการความสุขในชีวิตผู้ครองเรือน เพราะว่าถ้าผู้ครองเรือนคนใดขาดคุณธรรมทั้ง ๔ นี้แล้ว  บรรดาความดีความเจริญ

อื่น ๆ ย่อมจะพังทลายสิ้น  ถ้าจะเปรียบกับอาคารบ้านเรือน  ธรรมะ ๔ ข้อนี้ก็เปรียบกับเสาเรือน ส่วน   คุณธรรมอื่น ๆ เปรียบกับพื้น ฝา หลังคา  และอื่น ๆ ซึ่งทรงตัวอยู่ได้เพราะเสาค้ำเอาไว้


ความหมายฆราวาสธรรม ๔ โดยสรุป



                   ๑           ๔

                สัจจะ                     ทมะ             ขันติ         จาคะ

         ๑. ความจริง       ๑. ความฝึก   ๑. ทนลำบาก             ๑. สละวัตถุ

         ๒. ความตรง      ๒. ความข่ม   ๒. ทนเจ็บกาย   ๒. สละอารมณ์

         ๓. ความแท้     ๓. ทนเจ็บใจ   

    ๔. ทนอำนาจกิเลส

ความสุขสมบูรณ์ของผู้ครองเรือน ๔ ประการ (สุขของคฤหัสถ์)

ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต ต่างก็มุ่งแสวงหาความสุขด้วยกันทั้งนั้น สำหรับคฤหัสถ์ จะมีความสุขสมบูรณ์ได้ก็ด้วยเหตุ ๔ ประการคือ

๑. สุขเกิดแต่การมีทรัพย์ (อัตถิสุข)  สุขเกิดแต่การมีทรัพย์นั้น   แสดงว่า การมีทรัพย์เป็นเหตุให้มีความสุขเป็นข้อแรก คนมีทรัพย์ อย่างน้อยที่สุดก็มีความสุขใจว่า เรามี แม้จะใช้หรือไม่ใช้ก็ตามที  ฉะนั้น  ผู้หวังความสุข  จะต้องแสวงหาทรัพย์เพื่อให้เกิดมีขึ้น โดยอาศัยหลักการตั้งตัว(ทิฎิฐธัมมิกัตถ ฯ ๔)   และหลีกจากอบายมุข เป็นต้น

๒. สุขเกิดแต่การจ่ายทรัพย์บริโภค  (บริโภคสุข)        สุขเกิดแต่การจ่ายทรัพย์บริโภคนั้น  แสดงว่า  การมีทรัพย์แม้จะมีความสุข  ก็เป็นเพียงความอิ่มใจ  ต่อเมื่อได้ใช้ทรัพย์ที่จะให้ได้รับความสุขจึงมีทั้งความสุขกาย และสุขใจ การใช้ทรัพย์ต้องยึดหลักดังนี้คือ


    ๒.๑  เลี้ยงตัว  บิดา มารดา บุตร ภรรยา คนอาศัยให้เป็นสุข

    ๒.๒ เลี้ยงเพื่อนมิตรสหายให้มีสุข

    ๒.๓ บำบัดอันตรายที่เกิดขึ้นจากเหตุต่าง ๆ

    ๒.๔ ทำพลีกรรม (การเสียสละ) ๕ อย่างคือ

            -  ญาติพลี สงเคราะห์ญาติ

            -  อติถิพลี  ต้อนรับแขก

            -  ปุพพเปตพลี ทำบุญอุทิศให้ผู้ตาย

            -  ราชพลี  มอบคืนหลวง มีเสียภาษีอากร เป็นต้น

            -  เทวตาพลี  ทำบุญอุทิศให้เทวดา

    ๒.๕ บริจาคทานให้สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติชอบ

๓. สุขเกิดแต่ความไม่เป็นหนี้  (อนณสุข)    สุขเกิดแต่ความไม่เป็นหนี้นั้น      แสดงว่า  การใช้ทรัพย์ แม้จะมีความสุขกายสุขใจ  แต่ถ้าหยิบยืมเขามาใช้จนมีหนี้สินติดตัว   ก็ยากที่จะมีความสุข เพราะ  “การเป็นหนี้” เป็นทุกข์อย่างหนึ่ง  เพื่อไม่ให้มีหนี้สิน  การใช้จ่ายทรัพย์ควรยึดหลัก  ๒ ประการ คือ

    ๓.๑ รู้จักประมาณตน

    ๓.๒ รู้จักประหยัด

๔. สุขเกิดแต่การประกอบการงานที่ไม่มีโทษ (อนวัชชสุข)        สุขเกิดแต่การประกอบการงานที่ไม่มีโทษนั้น  แสดงให้เห็นว่า  ทรัพย์ที่ใช้จ่ายแลกความสุขนั้น  แม้จะมิได้หยิบยืมใครมา   แต่ถ้าเป็นทรัพย์ที่ได้จากการงานที่มีโทษ   จะทำให้ต้องเดือดร้อนในภายหลัง  ฉะนั้นการทำงานเพื่อให้ได้ทรัพย์   จึงต้องเป็นงานที่ไม่มีโทษ   ซึ่งจะทำให้ความสุขเกิดมีขึ้นได้อย่างแท้จริง   งานนั้นมี ๒ ประเภท คือ 

    ๔.๑ งานที่ผิดกฎหมาย  เป็นงานผิดศีลธรรมอยู่ในตัว  เช่น การค้าของเถื่อน การฉ้อโกง เป็นต้น ใครทำ  ก็ถูกตำหนิติเตียนทั้งนั้นอย่างนี้ เรียกว่า งานมีโทษ

    ๔.๒ งานที่ไม่ผิดกฎหมาย ไม่ผิดศีลธรรม  เช่น   การทำราชการ การค้าขายของไม่ผิดกฎหมาย เป็นต้น ตามปกติ  เรียกว่างานไม่มีโทษ     แต่งานเหล่านี้   ถ้าผู้ทำ ๆ ด้วยการทุจริต เช่น ฉ้อราษฎร์บังหลวง ฯลฯ อย่างนี้   ผู้นั้นก็ถูกเรียกว่า ทำงานมีโทษเหมือนกัน

      ฉะนั้น คนไม่มีหนี้  แต่ทำงานมีโทษ ก็ไม่ประสบความสุขที่ยั่งยืน แม้จะมีสมบัติมั่นคง ในที่สุดก็จะต้องวิบัติ   เหตุนี้  เมื่อต้องการความสุขที่แท้  จึงต้องทำงานที่ไม่มีโทษเท่านั้น

กุลจิรัฎฐิติธรรม  ๔

ธรรมะหมวดนี้  เป็นธรรมสำหรับทำให้ครอบครัวหรือตระกูลตั้งมั่นอยู่ได้นาน ไม่เสื่อมสลายไปก่อนเวลาอันสมควร ทำให้ตระกูลดำรงอยู่ด้วยความสงบสุข  เรียบร้อย  และมีฐานะอันมั่นคง  ซึ่งธรรมะ     ดังกล่าว  ได้แก่


๑.  เมื่อเครื่องอุปโภคบริโภคหายหรือหมดไปต้องรู้จักจัดหามาไว้

ในแต่ละครอบครัวย่อมต้องมีสิ่งของที่จำเป็นในการช่วยสนองความต้องการตามธรรมชาติและช่วยอำนวยความสะดวกสบายบางอย่าง  ได้แก่  เครื่องอุปโภคบริโภค  สิ่งเหล่านี้หากหมดหรือหายไปโดยผู้ดูแลบ้านไม่จัดหามาไว้  ก็จะทำให้สมาชิกในครอบครัวเดือดร้อน  เช่นข้าวสารหมดไม่หามาเตรียมไว้  อาจทำให้คนในบ้านเกิดโมโหเพราะความหิว  เป็นสาเหตุของการทะเลาะวิวาทกันจนกลายเป็นเรื่องใหญ่ถึงขั้นแตกหักกันไปเลย  ครอบครัวก็เกิดความระส่ำระสาย

ในบางครอบครัวสิ่งจำเป็นมิใช่มีแต่อาหารและเครื่องใช้ภายในบ้านเท่านั้น  ยังมีเครื่องมือสำหรับประกอบอาชีพด้วย  เช่น  เกวียน รถ คันไถนา  เครื่องดนตรี  เป็นต้น  ของเหล่านี้อาจสิ้นสภาพจนใช้การไม่ได้  แต่ผู้มีหน้าที่ดูแลไม่จัดหามาแทน  การประกอบอาชีพการงานก็สะดุดหยุดลง  ทำให้เกิดความเสียหายได้  สมาชิกในครอบครัวควรช่วยกันดูแล   เมื่อพบเห็นสิ่งใดที่ขาดไป  ควรบอกให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ  จะได้จัดหามาเพื่อมิให้การงานขาดช่วง  ซึ่งในบางกรณีอาจก่อให้     เกิดความเสียหายแก่ครอบครัวได้

๒.  ซ่อมแซมสิ่งของที่เก่าและชำรุดเสียหาย

เครื่องอุปโภคส่วนมาก  เมื่อมีการใช้งานไปนาน ๆ อาจชำรุดเสียหายได้  ซึ่งถ้าไม่รีบซ่อมแซมยังใช้ต่อไปเรื่อย ๆ อาจจะยิ่งเสียมากขึ้นจนถึงขั้นซ่อมแซมไม่ได้  หรือมิฉะนั้นก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมมาก  บางคนเสียดายเงินค่าซ่อมหรือเกียจคร้านไม่ดูแลเอาใจใส่  โดยไม่นึกถึงข้อเท็จจริงที่ว่ายิ่งทิ้งไว้นานยิ่งเสียเงินมากขึ้น  เข้าทำนองเสียน้อยเสียยาก  เสียมากเสียง่าย  ในบางกรณีถ้ามีสิ่งของบางอย่างชำรุดหากไม่รีบซ่อมจะทำให้ของอื่น ๆ เสียตามไปด้วย เช่นหลังคาบ้านรั่วเล็กน้อย  หากไม่รีบซ่อมเมื่อฝนตกอาจทำให้เพดานบ้านตลอดจนพื้นเสียหายได้  หรือหม้อน้ำรถยนต์เสีย  หากไม่รีบซ่อม 

อาจทำให้ส่วนอื่น ๆ เสียโดย ไม่จำเป็นด้วย

มีข้อควรคำนึงบางประการ  คือของบางอย่างชำรุดมากแล้วซ่อมไปก็ใช้อีกไม่ได้นานต้องซ่อมแซมบ่อย ๆ เมื่อคิดคำนวณดูแล้ว  ซื้อใหม่อาจประหยัดกว่า  เมื่อเป็นเช่นนี้ต้องพิจารณาในการเลือกใช้เครื่องอุปโภคให้ดี

สิ่งของโดยทั่วไปยอมเก่าและชำรุดเมื่อกาลเวลาผ่านไป ซึ่งเป็นเรื่องธรรมชาติ  แต่ถ้าผู้ใช้ขาดการเอาใจใส่ดูแล  อาจทำให้สิ่งของนั้นเก่าและชำรุดก่อนเวลาอันควรได้  ดังนั้นเราไม่ต้องคอยให้ของชำรุดก่อนแล้วจึงมาซ่อม  แต่ควรดูแลรักษาให้ดีแล้วสิ่งของจะใช้ได้นาน เช่น จอบ เสียม  ถ้าทิ้งตากแดดตากฝนตลอดวันตลอดคืนย่อมชำรุดเร็วกว่าที่เก็บไว้ให้เรียบร้อย  เป็นต้น

๓.  ประมาณตนในการอุปโภค

ครอบครัวบางครอบครัวใช้จ่ายเกินฐานะของตน  คือหาได้น้อยแต่ใช้มาก  ครอบครัวที่มีสภาพอย่างนี้คงอยู่ไม่ได้นาน  ต้องมีหนี้สินล้นพ้นตัว  จนต้องยากจนลงในที่สุด  แต่ครอบครัวบางครอบครัวก็ใช้จ่ายต่ำกว่าฐานะของตนจนน่าสมเพช  เป็นเศรษฐีแต่นุ่งกางเกงเก่า ๆ ปะแล้วปะอีก  จะซื้อทุเรียนรับประทานสักลูกก็คิดแล้วคิดอีก  จะทำบุญทำทานสักนิดก็คิดนั่นคิดนี่  ครอบครัวแบบนี้อาจตั้งอยู่ได้นานแต่จะขาดความอบอุ่นจากเพื่อนร่วมสังคม

การเดินสายกลางเป็นสิ่งดีที่สุด  นั่นคือการรู้จักประมาณตน  รู้จักความพอดี  ความเหมาะสม  หมายความว่าเราต้องอยู่สายกลางระหว่างความสุรุ่ยสุร่ายกับความตระหนี่ถี่เหนียวคำว่า “ประมาณตน” 

นี้มีความหมายไม่ตายตัว  คน ๒  คนใช้เงินเท่ากันแต่เราอาจเรียกว่าคนหนึ่งประมาณตน  อีกคนหนึ่งไม่ประมาณตน  เช่น  คนที่มีรายได้เดือนละหนึ่งหมื่นบาทพาครอบครัวไปรับประทานอาหารที่ภัตตาคาร

หรู ๆ ทุกสัปดาห์  ที่บ้าน ดูโทรทัศน์เครื่องละห้าหมื่น  เช่นนี้เรียกว่าไม่ประมาณตน  แต่เศรษฐีที่มีเงินร้อยล้านทำอย่างเดียวกันนี้จะว่าเขาไม่ประมาณตนเองไม่ได้

ผู้ที่มีอาชีพเป็นดาราหรือนักร้อง  อาจต้องตัดเสื้อผ้าบ่อย ๆ ให้นำสมัยอยู่เสมอ  เพื่อผดุงอาชีพของตน ไม่เรียกว่าสุรุ่ยสุร่าย  แต่คนที่มีอาชีพเป็นครู  เงินเดือนก็น้อยทำอย่างนั้นบ้างเรียกได้ว่าสุรุ่ยสุร่ายไม่ประมาณตน  เพราะการมีเสื้อผ้าใหม่ ๆ นำสมัยหลาย ๆ ชุดไม่ใช่สิ่งจำเป็นในการประกอบอาชีพเหมือนนักร้องนักแสดง   แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่าคนเป็นครูจะมีเสื้อผ้าใหม่ ๆ ไม่ได้  มีได้เพียงแต่ต้องให้พอควรกับฐานะของตน

๔.  ตั้งผู้มีศีลธรรมเป็นพ่อบ้านแม่เรือน

พ่อบ้านแม่เรือนในที่นี้     หมายรวมถึงผู้ที่มีหน้าที่ดูแลจัดการทุกอย่างภายในครอบครัว

อาจเป็นพ่อ  แม่  หรือใคร ๆ ก็ได้ คำว่าผู้มีศีลธรรมในที่นี้หมายถึง  คนซื่อสัตย์  ยุติธรรม  มัธยัสถ์  มีเมตตา  ขยันขันแข็ง       ไม่หลงอยู่ในอบายมุข  เป็นต้น  นอกจากนี้พ่อบ้านแม่เรือนยังควรเป็นคนรอบรู้เรื่องราวต่าง ๆ นอกบ้านด้วย  เพราะคนเราจะดูแลภายในบ้านให้ดีไม่ได้หากไม่รู้เรื่องนอกบ้านเลย

ถ้าพ่อบ้านแม่เรือนเป็นคนสุรุ่ยสุร่าย    เราก็พอวาดภาพได้ว่าครอบครัวนั้นจะตั้งอยู่ได้ไม่นาน  ถ้าพ่อบ้านแม่เรือนติดสุรา  ชอบเล่นการพนัน  ชอบเที่ยวเตร่  เราก็พอเห็นได้ว่าภายในครอบครัว

จะต้องมีความระส่ำระสายและยุ่งเหยิงมาก  ถ้าพ่อบ้านแม่เรือนเป็นคนไม่ยุติธรรมคนในบ้านก็จะเกิด  การเล่นพรรคเล่นพวก  อิจฉาริษยากัน  ไม่สามัคคีปรองดองกัน  ครอบครัวนั้นก็คงเจริญรุ่งเรืองได้ยาก  หากพ่อบ้านแม่เรือนเป็นคนตระหนี่  ไม่ทำบุญทำทานเลยแม้มีฐานะที่พอทำได้  ครอบครัวนั้นก็จะเป็นครอบครัวที่แห้งแล้ง  ขาดหลัก  ยึดเหนี่ยวทางใจ  ในระยะยาวก็จะหาความสงบสุขได้ยาก  เพราะคนเราที่อยู่ด้วยกัน  หากขาดหลักยึดเหนี่ยวทางใจแล้วจะไม่มีใครยอมรับฟังใคร  มีแต่จะเอาเปรียบซึ่งกันและกัน  จะทะเลาะกันแม้แต่เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ดังนั้นคนที่เป็นพ่อบ้านแม่เรือน  แม้จะด้อยในเรื่องอื่น ๆ ก็ยังไม่   ร้ายแรงนัก  แต่ถ้าด้อยคุณธรรมแล้วครอบครัวจะดำรงอยู่ได้ยาก

สารณียธรรม  ๖  หลักการอยู่ร่วมกัน  ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึงกัน

ในด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่นที่เป็นเพื่อนร่วมกิจการหรือชุมชน   ตลอดจนพี่น้องร่วมครอบครัว  พึงปฏิบัติตามหลักการอยู่ร่วมกันที่เรียกว่า สารณียธรรม  ๖ ประการ คือ

๑. เมตตากายกรรม  ทำต่อกันด้วยเมตตา  คือแสดงไมตรีและความหวังดีต่อเพื่อนร่วมงานร่วมกิจการ ร่วมชุมชน ด้วยการช่วยเหลือธุระของผู้ร่วมหมู่คณะด้วยความเต็มใจ  แสดงอาการกิริยาสุภาพ  เคารพนับถือกันทั้งต่อหน้าและลับหลัง

๒. เมตตาวจีกรรม  พูดต่อกันด้วยเมตตา  คือช่วยบอกแจ้งสิ่งที่เป็นประโยชน์     สั่งสอนหรือแนะนำตักเตือนกันด้วยความหวังดี  กล่าววาจาสุภาพ  แสดงความเคารพนับถือกันทั้งต่อหน้าและ  ลับหลัง

๓. เมตตามโนกรรม   ตั้งจิตปรารถนาดี  คิดทำแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่กัน  มองกันในแง่ดี มีหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสต่อกัน

๔. สาธารณโภคี  ได้ของสิ้งใดมาแบ่งปันกัน  คือแบ่งลาภผลที่ได้มาโดยชอบธรรม  แม้เป็นของเล็กน้อยก็แจกจ่ายให้ได้มีส่วนร่วมใช้สอยบริโภคทั่วกัน

๕. สีลสามัญญตา  ประพฤติให้ดีเหมือนเขา  คือมีความประพฤติสุจริตดีงาม  รักษาระเบียบวินัยของส่วนรวม  ไม่ทำตนให้เป็นที่รังเกียจหรือเสียนายแก่หมู่คณะ

๖. ทิฏฐิสามัญญตา  ปรับความเห็นเข้ากันได้    คือเคารพเชื่อฟังความคิดเห็น มีความเห็นชอบร่วมกัน     ตกลงกันในหลักการสำคัญยึดถืออุดมคติ        หลักแห่งความดีงามหรือจุดหมายสูงสุดอันเดียวกัน

ทิศ ๖  มนุษยสัมพันธ์

รอบ ๆ ตัวเราคนหนึ่ง ๆ นี้ ทั้งข้างหน้า ข้างหลัง  ข้างขวา และข้างซ้าย ย่อมมีคนที่เกี่ยวพันกับชีวิตของเราอยู่ซึ่งหลีกไม่พ้น   และก็ล้วนเป็นบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับชีวิตของเราอย่างใกล้ชิด

หากขาดเสียแล้ว  ชีวิตย่อมไม่มีความสมบูรณ์  บุคคลเหล่านั้น ท่านเปรียบเหมือนทิศต่าง ๆ   ที่เรารู้ ๆ  

กันนี้แหละ  คือ   ทิศเหนือ  ทิศใต้  ตะวันออก  ตะวันตก   ทิศเหล่านี้ ย่อมให้ประโยชน์แก่คนใน

การกำหนดทิศทาง  เรือเดินสมุทร หรือเครื่องบิน เดินทางโดยไม่หลงทาง ทำให้ไปสู่ที่หมายได้ถูกต้อง  นั่นก็เพราะอาศัยการสังเกตทิศทางนั่นเอง นั่นคือทิศภายนอก

แต่ทิศภายในที่ทางพระพุทธศาสนาได้แสดงไว้ หมายถึงความผูกพันระหว่างกลุ่มคนต่าง ๆ ที่เราเกี่ยวข้อง และจำต้องอาศัยอยู่ร่วมกัน คำกล่าวที่ว่า “เราต้องอยู่ให้ได้ โดยมีเขาอยู่ด้วย” คือความหมายที่สมบูรณ์พร้อมแห่งความเกี่ยวข้องผูกพันของกลุ่มคนต่าง ๆ ซึ่งเปรียบได้กับทิศทางในภายนอก ที่เราต้องสร้างให้เกิดขึ้น ซึ่งทิศ ๖ ในทางพระพุทธศาสนา  ก็คือการปฏิบัติหน้าที่ต่อกันระหว่างกลุ่มคนที่สัมพันธ์เกี่ยวข้อง เช่น ความรู้จักผู้ใหญ่ผู้น้อย ความรู้ที่ต่ำที่สูง  และรู้จักตัวเอง แล้วปฏิบัติให้พอเหมาะพอควรแก่กันและกัน ซึ่งเป็นแนวทางที่จะให้เกิดความสุขความเจริญ เป็นสวัสดิมงคลแก่ผู้ปฏิบัตินั้น ๆ 

การปฏิบัติด้วยความเอื้ออาทรต่อกัน ทั้งด้วยหน้าที่และความผูกพัน ซึ่งเปรียบได้กับการปฏิบัติต่อกันระหว่างทิศต่อทิศ   เรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า  “หลักธรรมเพื่อความมีมนุษยสัมพันธ์”  ทาง

พระพุทธศาสนามี ๖ ประการ เรียกว่า  ทิศ ๖  

ทิศ ๖ เป็นหลักธรรมสำหรับใช้ปฏิบัติต่อบุคคลต่าง ๆ ในสังคมอย่างเหมาะสม เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข โดยแบ่งบุคคลที่อยู่รอบข้างออกเป็น ๖ กลุ่ม หรือ ๖ ทิศ ดังนี้

ทิศเบื้องหน้า ( ปุรัตถิมทิศ ) หมายถึง บิดามารดา

บิดามารดาพึงอนุเคราะห์บุตรธิดา  ดังนี้

๑) ห้ามไม่ให้ทำความชั่ว

     ๒) ให้ตั้งอยู่ในความดี

     ๓) ให้ได้รับการศึกษา

     ๔) หาคู่ครองที่สมควรให้

     ๕) มอบทรัพย์ให้ตามเวลาอันควร

บุตรพึงบำรุงต่อบิดามารดา ดังนี้

     ๑) เลี้ยงดูพ่อแม่เมื่อมีโอกาสตอบแทน

     ๒) ช่วยเหลืองานของพ่อแม่

     ๓) ดำรงวงศ์สกุล

     ๔) ประพฤติตนให้เหมาะสมกับความเป็นทายาท

     ๕) ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ท่านเมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว

ทิศเบื้องขวา ( ทักษิณทิศ ) หมายถึง ครูอาจารย์

ครูอาจารย์พึงอนุเคราะห์ต่อศิษย์   ดังนี้

     ๑) ฝึกฝนแนะนำให้เป็นคนดี

     ๒) สอนให้เข้าใจแจ่มแจ้ง

     ๓) ถ่ายทอดความรู้ต่าง ๆ ให้แก่ศิษย์โดยไม่ปิดบังอำพราง

     ๔) ยกย่องชมเชยให้ปรากฎในหมู่คณะ

     ๕) ปกป้องภัยให้ศิษย์  สร้างเครื่องคุ้มภัยในสารทิศ

ศิษย์พึงบำรุงครูอาจารย์  ดังนี้

     ๑) ต้อนรับครูอาจารย์ตามโอกาสอันควร

     ๒) ไปหาเพื่อบำรุงและคอยรับใช้  ปรึกษา  ซักถาม  เป็นต้น

     ๓) ใฝ่ใจเรียนเชื่อฟังคำสอนของครูอาจารย์

     ๔) ช่วยเหลือเกื้อกูล  ปรนนิบัติ  ช่วยบริการครูอาจารย์เมื่อมีโอกาส

     ๕) เรียนศิลปวิทยาโดยเคารพ

ทิศเบื้องหลัง ( ปัจฉิมทิศ )  หมายถึง  สามีกับภรรยา    

สามีพึงบำรุงภรรยา ดังนี้

     ๑) ยกย่องให้เกียรติภรรยา

     ๒) ไม่ดูหมิ่นภรรยา

     ๓) ไม่ประพฤตินอกใจภรรยา

     ๔) มอบความเป็นใหญ่ในงานบ้านให้

     ๕) ให้เครื่องประดับเป็นของขวัญตามโอกาส

ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามี ดังนี้

     ๑) จัดการงานดี

     ๒) สงเคราะห์ญาติมิตรทั้งสองฝ่ายด้วยดี

     ๓) ไม่ประพฤตินอกใจ

     ๔) รักษาทรัพย์สมบัติที่หามาได้

     ๕) ขยันไม่เกียจคร้านในการงานทั้งปวง

ทิศเบื้องซ้าย ( อุตรทิศ ) หมายถึงมิตร  

ผู้ปฏิบัติก่อนพึงปฏิบัติ  ดังนี้

     ๑) เผื่อแผ่ปันสิ่งของต่าง ๆ ให้แก่เพื่อน

     ๒) พูดจามีน้ำใจ

     ๓) ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน

     ๔) วางตนสม่ำเสมอกับเพื่อน  ร่วมสุขร่วมทุกข์

     ๕) ซื่อสัตย์จริงใจต่อกัน

มิตรผู้ปฏิบัติตอบแทน พึงปฏิบัติ ดังนี้

     ๑) ตักเตือนเพื่อนเมื่อเพื่อนประมาทหรือประพฤติไม่ดี และไม่ซ้ำเติมเพื่อน

     ๒) รักษาทรัพย์สมบัติของเพื่อนเมื่อเพื่อนขาดความรอบคอบในการรักษาทรัพย์สมบัติ

     ๓) เป็นที่พึ่งของเพื่อน  ยามเพื่อนมีภัย

     ๔) ไม่ละทิ้งเพื่อนในยามที่เพื่อนลำบาก

     ๕) เคารพนับถือวงศ์ญาติพี่น้องของเพื่อน

ทิศเบื้องต่ำ ( เหฏฐิมทิศ ) หมายถึง ลูกจ้าง หรือคนรับใช้

นายจ้างพึงปฏิบัติต่อลูกจ้าง ดังนี้

     ๑) มอบหมายงานให้ลูกจ้างทำตามกำลังความสามารถ

     ๒) ให้ค่าจ้างและรางวัลแก่ลูกจ้างตามสมควรแก่งานและความเป็นอยู่

     ๓) จัดสวัสดิการดี  รักษาพยาบาลลูกจ้างในเวลาเจ็บไข้

     ๔) ได้ของแปลก ๆ พิเศษมาก็แบ่งปันให้

     ๕) ให้มีการพักผ่อนหรือวันหยุดตามโอกาสอันควร

ลูกจ้างพึงปฏิบัติต่อนายจ้าง ดังนี้

     ๑) เริ่มทำงานก่อนนาย

     ๒) เลิกงานหลังนาย

     ๓) ถือเอาแต่ของที่นายให้

     ๔) ทำการงานให้เรียบร้อยและดียิ่งขึ้น

     ๕) ยกย่องและเผยแพร่คุณความดีของนายจ้าง

ทิศเบื้องบน ( อุปริมทิศ ) หมายถึง พระสงฆ์

พระสงฆ์พึงปฏิบัติต่อศาสนิกชน ( บุคคลทั่วไป )  ดังนี้

     ๑) ห้ามปรามจากความชั่ว

     ๒) ให้ตั้งอยู่ในความดี

     ๓) อนุเคราะห์ด้วยน้ำใจอันงาม

     ๔) ให้ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง

     ๕) ทำสิ่งที่เคยฟังแล้วให้แจ่มแจ้ง

     ๖) บอกทางสวรรค์  คือทางชีวิตที่มีความสุขความเจริญให้

ศาสนิกชนพึงบำรุงพระสงฆ์ ดังนี้

     ๑) กระทำและประพฤติปฏิบัติต่อท่านด้วยความเมตตา

     ๒) พูดจากับท่านด้วยความเมตตา

     ๓) จะคิดสิ่งใดก็คิดด้วยความเมตตา

     ๔) ยินดีต้อนรับด้วยความเต็มใจ

     ๕) อุปถัมภ์บำรุงท่านด้วยปัจจัย  ๔

ผลดีจากการที่บุคคลต่าง ๆ ปฏิบัติตามหลักของทิศ ๖ มีดังนี้

     ๑.รู้จักหน้าที่อันควรปฏิบัติต่อคนรอบข้าง

     ๒. รู้ฐานะและหน้าที่รับผิดชอบของตน

     ๓. ได้รับความร่วมมือร่วมใจจากบุคคลรอบข้าง

     ๔. อยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้

     ๕. ประสบความสำเร็จในชีวิตครอบครัวและการงาน

ทิศ ๖ เป็นหลักธรรมที่สอนให้บุคคลปฏิบัติต่อบุคคลรอบ ๆ ข้างอย่างเหมาะสม ซึ่งหากปฏิบัติตามย่อมส่งผลให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข


หลักการครองงาน

อิทธิบาท 

อิทธิ  แปลว่า  “ความสำเร็จ”  บาท  แปลว่า “ทางหรือสิ่งที่ช่วยนำทาง” เมื่อนำมารวม

กันเป็นอิทธิบาท  แปลว่า  ทางแห่งความสำเร็จ

ความสำเร็จหมายถึงการได้บรรลุเป้าหมายตามที่บุคคลตั้งไว้   ซึ่งอาจเป็นเป้าหมายกว้าง ๆ ไม่กำหนดลักษณะและระยะเวลาแน่นอน  เช่น  ตั้งความหวังไว้ว่าวันหนึ่งจะต้องเป็นนักกีฬาระดับชาติ  หรือเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียง  หรือเป้าหมายนั้นอาจเป็นเป้าหมายที่ระบุเวลาและขีดขั้นไว้อย่างแน่นอน  เช่น  ตั้งเป้าหมายว่าสิ้นเดือนนี้จะต้องท่องศัพท์ภาษาอังกฤษให้ได้เพิ่มมากขึ้น  ๕๐  คำ  หรือภายใน  ๓ ปีนี้  จะต้องสอบเลื่อนฐานะเป็นนายทหารสัญญาบัตรให้ได้  เป็นต้น 

ในชีวิตของแต่ละคนย่อมมีเป้าหมายและวิธีการที่ให้เป้าหมายของตนบรรลุผลสำเร็จแตกต่างกัน  รูปแบบของความสำเร็จก็มีต่าง ๆ  กัน  บางคนตั้งเป้าหมายในการศึกษา  บางคนตั้งเป้าหมายในการทำงานและอาชีพ  บางคนตั้งเป้าหมายในชีวิตส่วนตัวและครอบครัว  แต่ที่ทุกคนเหมือนกัน  คือ

เป้าหมายนั้นจะเป็นผลดีแก่ตัวเอง  เป้าหมายที่ดีนอกจากจะเป็นผลดีแก่ตัวเองแล้วก็ควรจะไม่เป็นผลร้ายแก่สังคม  ความสำเร็จของสังคมเป็นผลรวมของความสำเร็จของคนแต่ละคนไม่อาจแยกกันได้  เช่น  

ทีมฟุตบอลไทยชนะทีมชาติอื่น ความสำเร็จของส่วนรวมก็คือผลรวมของความสำเร็จหรือเป้าหมายที่

นักฟุตบอลไทยแต่ละคนตั้งเอาไว้

นอกจากเป้าหมายต้องชอบธรรม  เป็นผลดีแก่ตนและสังคมแล้ว  วิธีการที่จะนำไปสู่

เป้าหมายนั้นก็ต้องชอบธรรมด้วย  มิใช่ได้มาด้วยการทุจริตคิดมิชอบ  คดโกง  เป็นต้น ถ้าเราใช้วิธีที่ไม่ชอบธรรมในการสร้างความสำเร็จให้กับตนเอง  ความสำเร็จนั้นมักจะทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนเป็นผลเสียหายแก่สังคมส่วนรวม  ดังนั้นบุคคลที่จะได้ชื่อว่าประสบความสำเร็จในชีวิตของตนเองและสังคม  ย่อมต้องรู้จักใช้วิธีการที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม  เพื่อบรรลุเป้าหมายที่ดีมีคุณประโยชน์ทั้งต่อตนเองและสังคม

วิธีการที่บุคคลจะพึงใช้ในการสร้างความสำเร็จให้ชีวิตนั้น  ในทางพระพุทธศาสนามีคุณธรรมอยู่ข้อหนึ่งเรียกว่า  อิทธิบาท  ๔  ซึ่งมีองค์ประกอบอยู่  ๔  ประการ  คือ

ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น

วิริยะ ความพยายามหมั่นประกอบในสิ่งนั้น

จิตตะ ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น

วิมังสา การพิจารณาไตร่ตรองหาเหตุผลในสิ่งนั้น

คำอธิบายอิทธิบาท  ๔ 

๑)  ฉันทะ  แปลว่า  ความพอใจ  ในการกระทำกิจการใด ๆ  ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาหรือ

การทำงาน  ถ้าขาดความพอใจที่จะทำหรือความต้องการที่จะทำ  ไม่มีความปรารถนาอย่างจริงจังกับงานนั้น  งานนั้นก็จะสำเร็จลงมิได้  เพราะเกิดความเบื่อหน่ายท้อแท้  งานง่ายก็กลายเป็นงานยาก  งานเบาก็กลายเป็นงานหนัก  เพราะขาดความเต็มใจ  กลายเป็นคนจับจดทำอะไรไม่สำเร็จสักอย่าง  ทำไปได้หน่อยก็ทิ้งเสียกลางคัน  ทำให้ไม่ก้าวหน้า  ไม่มีใครเชื่อถือ  ดังนั้นประการแรก  เราต้องสร้างฉันทะในงานนั้นเสียก่อน  ให้เกิดความพอใจสนใจและเต็มใจที่จะทำ  ไม่ว่างานนั้นจะยากหรือง่าย  หนักหรือเบา  ก็มีโอกาสจะลุล่วงความสำเร็จไปได้โดยง่าย

๒)  วิริยะ  แปลว่า  ความเพียร  ในการทำงานทุกอย่างย่อมต้องมีความลำบากและอุปสรรคบ้างไม่มากก็น้อยแตกต่างกันไป  ถ้าไม่มีความขยันหมั่นเพียร  อดทน  และพยายามฟันฝ่าอุปสรรคด้วยความอุตสาหะแล้ว  ถึงจะมีใจรักใคร่ในงานนั้น  ก็มิได้หมายความว่าสิ่งนั้นจะสำเร็จลงได้  ความท้อแท้เกิดขึ้นได้กับทุกคน บางคนท้อแท้เพราะไม่มั่นใจในความสามารถของตนที่จะทำ  บางคน

ท้อแท้เพราะคิดการใหญ่เกินไป ทำให้เกิดความสำเร็จได้ยาก  ทางแก้คือสำรวจความสามารถของตนเองให้ละเอียด  อย่าเข้าข้างตัวเองหรือดูถูกตัวเองมากเกินไป  พยายามเปรียบตัวเองกับตัวเอง คือเปรียบเทียบดูว่าวันนี้กับเมื่อวานนี้เราทำงานได้แตกต่างกันเท่าไร  และพรุ่งนี้เราควรได้อะไรเท่าไรในเวลาเท่านั้นเท่านี้  การเปรียบเช่นนี้ก่อให้เกิดกำลังใจ  มีมานะทำงานด้วยกำลังกายตามความสามารถจนก้าวหน้าสำเร็จลุล่วงไปได้  ไม่เกิดความเกียจคร้าน  หรือกลายเป็นคนไร้ความสามารถซึ่งเป็นผลเสียต่อชีวิตของตน

๓)  จิตตะ  แปลว่า  ความเอาใจใส่ เป็นการตั้งจิตให้แน่วแน่ในสิ่งที่ทำ  ตั้งใจจดจ่ออยู่กับเรื่องที่ตนกำลังทำ ไม่ปล่อยใจให้เลื่อนลอยไปสู่เรื่องอื่น  คนที่ทำอะไรโดยขาดความตั้งใจมั่นอยู่ในเรื่องนั้น  ย่อมยากที่จะทำงานให้สำเร็จได้โดยเฉพาะงานที่ต้องใช้เวลานาน  เพราะความคิดไม่ต่อเนื่องกันตลอดเป็นเรื่องเดียว  เวลานี้คิดเรื่องนี้กำลังคิด ๆ  อยู่ใจไพล่ไปนึกถึงสิ่งอื่นแล้วกลับมาเรื่องนี้ใหม่แล้วกลับไปเรื่องอื่นอีก  งานที่ทำอยู่ก็ไม่เกิดผลสำเร็จ  หรือถ้าสำเร็จก็ไม่ได้ผลเต็มที่  ไม่นับว่าทำงานได้ดีกลายเป็นคนที่ขึ้นชื่อว่าเอาดีไม่ได้  สักแต่ว่าทำงานให้แล้วเสร็จเท่านั้น  แต่ถ้ามีจิตใจจดจ่อกับสิ่งที่ทำ  ความคิดก็จะพุ่งมาที่จุดเดียว  ก็ย่อมมีพลังผลักดันให้งานสำเร็จไปได้อย่างน่าชื่นชม  เหมือนแสงอาทิตย์ที่มารวมกันเป็นจุดเดียวที่กระจกนูนย่อมมีพลังเผาไหม้ได้ คนที่มีจิตใจฝักใฝ่กับงานของตนเองนั้นย่อมได้รับการยกย่องเชื่อถือให้ทำงานต่าง ๆ จากคนทั้งปวง  เป็นหนทางพาไปสู่ความสำเร็จในชีวิต

๔)  วิมังสา  แปลว่า  การพิจารณา  สอบสวน  เป็นการใช้เหตุผลพิจารณาตรวจสอบสิ่งที่ทำให้ละเอียดถี่ถ้วนเพื่อให้ได้งานที่ดีที่สุด  ก่อนจะลงมือกระทำต้องมีการวางแผนล่วงหน้าเป็นขั้นตอนตริตรองใคร่ครวญถึงปัญหาที่อาจมี  หาทางแก้ไขด้วยสติปัญญา  เวลากระทำก็ดำเนินการเป็นขั้น ๆ  มี

การประเมินผลแต่ละขั้นว่าเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่  ถ้าไม่เป็นไปตามที่วางไว้ก็ต้องสำรวจดูว่ามีปัญหาอะไร  ต้องตรวจตราหาเหตุผลแล้วคิดวิธีแก้ไขปรับปรุงข้อผิดพลาดให้งานนั้นมีประสิทธิภาพไป

เรื่อย ๆ คนที่ทำงานด้วยความหมั่นตริตรองพิจารณาหาทางแก้ปัญหาตรวจสอบข้อดีข้อเสีย  ย่อมรู้จักใช้เวลาในการทำงานอย่างมีค่า  ไม่ต้องเสียเวลากลับมาริเริ่มงานนั้นใหม่  กลายเป็นคนที่มีคนยกย่องนับถืออยากให้เป็นผู้นำในการทำกิจการต่าง ๆ  เป็นหนทางแห่งความเจริญก้าวหน้าในชีวิตการงานของตนและนำความสำเร็จมาสู่ส่วนรวม

คุณธรรมทั้ง  ๔  ประการนี้  ถ้าขาดข้อใดข้อหนึ่ง  งานที่ทำก็จะสำเร็จลงมิได้  เพราะเป็นเรื่องที่ต้องต่อเนื่องกันตลอด  ถ้าเรามีความพอใจที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง  แต่ไม่ลงมือกระทำเราก็ไม่มีโอกาสที่จะได้สิ่งนั้น  แต่ถ้าเราลงมือกระทำโดยขาดความเพียรพยายาม  ทำแล้วเกิดความท้อแท้  งานนั้นก็ไม่ประสบผลสำเร็จ  เราจึงต้องตั้งจิตให้แน่วแน่ในสิ่งที่กำลังทำอยู่  ไม่วอกแวก  ไม่ฟุ้งซ่าน  ความเพียรจึงจะดำเนินไปได้  การทำงานโดยขาดการพิจารณาไตร่ตรองหาเหตุผลให้รอบคอบและมิได้คิดหาทางหนีทีไล่สำหรับปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ  แม้จะทำด้วยความเพียรพยายามเพียงใดก็ตาม  งานนั้นก็ไม่อาจลุล่วงไปได้ด้วยดี  ดังนั้นจึงต้องปฏิบัติให้ครบทั้ง  ๔  วิธีโดยไม่ขาดจึงประสบความสำเร็จขึ้นได้

โกศล

โกศล คือความฉลาด  ความเชี่ยวชาญ  ๓  ประการคือ

๑. อายโกศล  ความฉลาดในความเจริญ  รอบรู้ทางเจริญ  และเหตุของความเจริญ

๒. อปายโกศล  ความฉลาดในความเสื่อม  รอบรู้ทางเสื่อมและเหตุของความเสื่อม

๓. อุปายโกศล  ความฉลาดในอุบาย  รอบรู้วิธีแก้ไขเหตุการณ์และวิธีที่จะทำให้สำเร็จ

วัฒนธรรมและเอกลักษณ์ของชาติ

ข้อปฏิบัติอันเป็นการแสดงว่า ผู้ปฏิบัติเป็นคนที่เจริญ  รวมเรียกว่า วัฒนธรรม  แปลว่า สภาพเครื่องทำให้เจริญ  หรือข้อปฏิบัติอันส่อแสดงถึงความเจริญ ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Culture  ในการศึกษานี้      ขอให้คำจำกัดความดังนี้  วัฒนธรรม        คือ สภาพที่ทำให้เจริญงอกงาม  หมายความว่า คุณสมบัติชนิดนี้ เมื่อมีอยู่ในผู้ใดแล้ว  ย่อมทำให้ผู้นั้นเป็นคนเจริญขึ้นด้วย  ทำให้หมู่คณะของผู้นั้นเป็นหมู่ที่เจริญด้วย  ส่วนที่ว่าวัฒนธรรม เป็นเครื่องแสดงให้ผู้อื่นรู้ว่า ผู้นั้นเป็นคนเจริญนั้น เป็นอันไม่มีปัญหา  เพราะเมื่อทำตัวให้เจริญแล้ว  ก็เป็นอันบอกกล่าวแก่คนทั้งหลายอยู่ในตัว เช่น การแต่งตัวสะอาดเรียบร้อย  นอกจากจะทำให้ตัวผู้นั้นสบายตัวสบายใจแล้ว  ก็เป็นเครื่องแสดงให้คนอื่นรู้อยู่เองว่า เขาเป็นคนสะอาดเรียบร้อย ดังนี้เป็นต้น

รากฐานของวัฒนธรรม

รากฐานหรือที่มาของวัฒนธรรมนั้น ส่วนใหญ่ก็มาจากลัทธิศาสนา และขนบประเพณีของคนในชาตินั้น  เพียงแต่ว่ามีการนิยมแสดงออกให้แน่นอนเท่านั้น ยกตัวอย่างศาสนาสอนให้คนแสดงสัมมาคารวะต่อกัน แล้ววัฒนธรรมก็กำหนดเพิ่มเติมลงไปอีกว่า  ควรจะแสดงความเคารพอย่างไร  คนไทยนิยมการไหว้    ญี่ปุ่นนิยมการโค้งตัว   ฝรั่งนิยมจับมือ     ฉะนั้น การไหว้ก็เป็นวัฒนธรรมของไทย  

การโค้งตัวเป็นวัฒนธรรมของญี่ปุ่น  การจับมือเป็นวัฒนธรรมของฝรั่ง  แต่ครั้นนาน ๆ เข้า ก็มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างชาติกันอีกด้วย  แต่เมื่อกล่าวอย่างรวบยอดแล้ว  วัฒนธรรมย่อมมาจากลัทธิศาสนา  และขนบประเพณีของชาตินั้นเป็นส่วนใหญ่


ประโยชน์ของการมีวัฒนธรรม

ประโยชน์ของการมีวัฒนธรรมมีมาก  จะชี้ให้เห็นพอเป็นตัวอย่างทั้งคุณของการมี

วัฒนธรรม และโทษของการไม่มีวัฒนธรรม

คุณของการมีวัฒนธรรม

๑. มีความสุขความเจริญ

๒. สังคมนับถือ

๓. ทำให้หมู่คณะเจริญ

๔. มีคนสรรเสริญ

        ฯลฯ

โทษของการขาดวัฒนธรรม

๑. มีความทุกข์ความเสื่อม

๒. สังคมรังเกียจเหยียดหยาม

๓. ทำให้หมู่คณะเสื่อม

๔. มีคนตำหนิติเตียน

                                     ฯลฯ

จำแนกวัฒนธรรม

เมื่อกล่าวโดยย่อ  วัฒนธรรม มี ๒ แขนง  คือ วัฒนธรรมทางด้านวัตถุ  กับ  วัฒนธรรม

ทางด้านจิตใจ

ในทางการศึกษา  ตามรูปวัฒนธรรมของชาติท่านแยกเป็น ๔ แขนง คือ

๑. คติธรรม  (Moral  Culture )

๒. เนติธรรม (Legal  Culture )

๓. วัตถุธรรม  (Material  Culture )

๔. สหธรรม (Social  Culture )

๑. คติธรรม

หมายถึง ความประพฤติอันเป็นคุณลักษณะของบุคคลที่มีหลักธรรมเป็นแนวดำเนินชีวิต  เช่น

๑. มีความเข้มแข็งอดทน

๒. รู้จักขออภัยเมื่อผิด  และให้อภัยเมื่อผู้อื่นผิด

๓. รู้จักออมทรัพย์ไม่ใช้จ่ายเกินตัว

๔. รู้จักเสียสละ  ไม่เห็นแก่ตัว

๕. บูชาความยุติธรรม

๖. พร้อมที่จะรับผิดชอบในหน้าที่การงานของตน

๗. เมื่อตนชนะไม่เหยียบย่ำผู้แพ้  เมื่อตนแพ้ก็ไม่โอหัง

๒. เนติธรรม

หมายถึง ความประพฤติอันเป็นคุณลักษณะของบุคคลที่มีความเคารพในกฎหมาย และ

ระเบียบวินัย  เช่น

๑. รู้จักสิทธิและหน้าที่ของตน

๒. กล้าเผชิญกับความจริง  ไม่ทำบัตรสนเท่ห์

๓. ปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง

๔. ไม่ละเมิดคำสั่งเจ้าหน้าที่เวรยามและเจ้าหน้าที่จราจร แม้ตนเป็นผู้ใหญ่กว่า

๕. ย่อมถือว่าการละเมิดกฎ กติกา ระเบียบ วินัย เป็นสิ่งน่าอับอาย

๖. ไม่เข้าข้างคนผิด

๗. ไม่ประพฤติเป็นคนนอกกฎหมาย  หรือสนับสนุนนักเลงอันธพาล


๓. วัตถุธรรม

หมายถึง ความประพฤติอันคุณลักษณะของบุคคลที่มีคุณธรรมอันสูงในความเป็นอยู่ เช่น

๑. แต่งกายสะอาดเรียบร้อยตามควรแก่ฐานะ

๒. จัดแจงที่อยู่ที่ทำงานให้มีระเบียบเรียบร้อย

๓. รับประทานอาหารเป็นเวลา

๔. ไม่ถ่ายเทสิ่งปฏิกูลลงตามถนนหนทาง และสาธารณสถาน

๕. รู้จักรักษาสมบัติส่วนรวม

๖. จัดระเบียบอาชีพของตนให้เหมาะสม

๔. สหธรรม

หมายถึง   ความประพฤติ    อันเป็นคุณลักษณะของบุคคลที่เหมาะสมในการอยู่ร่วมกัน

ด้วยดี เช่น

๑. เป็นคนมีสมบัติผู้ดี

๒. มีกิริยาวาจาน่ารัก ไม่เย่อหยิ่งจองหอง

๓. เป็นสุภาพชนในที่ทั้งปวง

๔. รู้จักช่วยเหลือผู้อื่น

๕. ไม่ส่งเสียงดัง  หรือใช้เครื่องเสียงดัง จนทำลายความสุขของเพื่อนบ้าน

๖. คอยสมานสามัคคีของหมู่คณะ

๗. รักพวกเดียวกันและผูกไมตรีกับคนต่างพวก

เอกลักษณ์ของชาติ

วัฒนธรรมและเอกลักษณ์ของชาติไทย  เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นชาติ และเป็นศูนย์รวมแห่งจิตใจของคนในชาติ  เป็นสิ่งจำเป็นที่เราจะต้องหวงแหนและรักษาไว้  เพื่อให้ความเป็นไทของเราดำรงอยู่ต่อไป

สิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติ ได้แก่

๑. สถาบันชาติ

๒. สถาบันพระศาสนา

๓. สถาบันพระมหากษัตริย์

๔. วัฒนธรรมและประเพณี

๕. นิสัยของคนในชาติ

สถาบันชาติ  ได้แก่

- ผืนแผ่นดินไทย

- ประชาชนคนไทย

- ทรัพย์สมบัติของชาติ

การรักษาสถาบันชาติ

- รักษาแผ่นดินไม่ให้ผู้ใดมายื้อแย่งไป

- รักษาประชาชนคนไทยโดยไม่เบียดเบียนทำลายกันและกัน

- รักษาทรัพย์สมบัติของชาติไทย  ทั้งที่เป็นรูปธรรมนามธรรมไว้

สถาบันพระศาสนา

ประเทศชาติเป็นดุจร่างกาย  เป็นที่อยู่อาศัยให้ความสุขแก่คนในชาติ

ศาสนา  คือสถาบันเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของคนทั้งชาติ

คุณของพระศาสนา

- ศาสนาเป็นที่พึ่งให้ความอบอุ่นแก่คน

- ศาสนาเป็นเครื่องมืออันประเสริฐในการพัฒนาคน

- ศาสนาเป็นที่พึ่งอันสูงสุดและดีที่สุดของสังคม

สถาบันพระมหากษัตริย์

พระมหากษัตริย์  คือพระประมุขของชาติ  เป็นดุจจอมเจดีย์ของหมู่มนุษย์

คนไทยกับสถาบันพระมหากษัตริย์มีความผูกพันมาแต่อดีต

บทบาทของพระมหากษัตริย์ไทย

- ทรงเป็นพระประมุขของรัฐ  “ พระเจ้าอยู่หัว ”

- ทรงเป็นผู้ทะนุบำรุงแผ่นดินให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ “ พระเจ้าแผ่นดิน ”

- ทรงเป็นผู้คุ้มครองป้องกัน  ให้ความอบอุ่นแก่พสกนิกร  “ เจ้าชีวิต ”

- ทรงเป็นผู้ให้ความยุติธรรม  หลั่งความร่มเย็นแก่ปวงชน  “ ธรรมราชา ”

พระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบัน

- ทรงสมบูรณ์ด้วยพระจริยาวัตรส่วนพระองค์

- ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณปกครองไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินโดยธรรม

คุณลักษณะพิเศษ

- ทรงมีลักษณะชาติ  คือทรงกระทำเพื่อความอยู่รอดของชาติ

- ทรงมีลักษณะมหาชน  ทรงทำเพื่อความผาสุกของปวงชน

- ทรงมีลักษณะต่อสู้ ไม่ทรงหวั่น ไม่ทรงหนี

วัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของชาติ

๑. ความรักประเทศชาติ

๒. ความมีศรัทธาในพระพุทธศาสนา

๓. ความเคารพเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์

๔. ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่

๕. ความมีสัมมาคารวะ

๖. ความกตัญญูกตเวที

๗. ความเป็นภราดรภาพ

๘. รักความเป็นธรรม  รักสงบ

๙. ความมีนิสัยร่าเริงแจ่มใส

๑๐. นิสัยปรับปรุงพัฒนา

คุณลักษณะนิสัยของคนในชาติ

๑. รักอิสระ

๒. ปราศจากหิงสา  โอบอ้อมอารี

๓. รู้จักประสานประโยชน์

๔. สุภาพอ่อนโยน

๕. มีความเกรงใจ

๖. ยิ้มแย้มแจ่มใส

๗. ใฝ่สันโดษ  ใฝ่สันติ

๘. เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่

๙. ประนีประนอม  ผ่อนสั้นผ่อนยาว

๑๐. ไม่ประมาท

ลักษณะไม่พึงปรารถนาของคนไทย

๑. หย่อนระเบียบวินัย

๒. เคารพเชื่อฟังผู้มีอำนาจเกินไป  ยึดบุคคลมากกว่าหลักการ

๓. ขาดความมานะอดทน

๔. ขาดความสามารถในการทำงานเป็นหมู่คณะ

๕. ขาดความสามารถทางการค้า

๖. อ่อนแอเมื่อขาดผู้นำ

๗. ชอบเสี่ยงโชค  เล่นการพนัน

๘. ชอบสนุกทุกโอกาส

๙. เชื่อไสยศาสตร์  ถือโชคลางของขลัง

สาเหตุของความเสื่อมสูญทางวัฒนธรรม

๑. การบ่อนทำลายของลัทธิคอมมิวนิสต์

๒. การไหลบ่าของวัฒนธรรมตะวันตก

๓. ขาดการเอาใจใส่ในการศึกษาอบรม



มรรยาทชาวพุทธ

มรรยาท หมายถึง  ระเบียบปฏิบัติที่สังคมกำหนดไว้เป็นแนวทางในการแสดงออกทางกายและทางวาจาในด้านต่าง ๆ เช่น  กิริยาท่าทาง  การแต่งกาย  การพูด  การแสดงอริยาบถต่าง ๆ เป็นต้น  สังคมแต่ละแห่งมีประเพณีในการแสดงออกไม่เหมือนกัน  เช่น ฝรั่งทักทายกันโดยการจับมือ  คนไทย

ทักทายกันโดยผู้น้อยไหว้ผู้ใหญ่ก่อน เป็นต้น

คนไทยได้รับการยกย่องจากต่างชาติมานานแล้วว่าเป็นผู้มรรยาทอ่อนโยน  นิ่มนวลน่ารัก

เราจึงควรเรียนรู้เกี่ยวกับมรรยาทในสังคมไทย  เพื่อจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง  เป็นการรักษาเอกลักษณ์อันดีงามอย่างหนึ่งของไทยไว้สืบไป  อีกทั้งเป็นการทำให้ตัวผู้ปฏิบัติเองเป็นที่น่ารักชื่นชมของผู้อื่นและเป็นการเสริมบุคลิกภาพด้วย

ในที่นี้จะพูดถึงมรรยาทบางเรื่อง  คือ

๑. มรรยาทในการยืน

๒. มรรยาทในการเดิน

๓. มรรยาทในการนั่ง

๔. มรรยาทในการแต่งกาย

๑. มรรยาทในการยืน

๑.๑ การยืนตามลำพัง  การยืนตามลำพังแม้จะไม่ต้องระวังตัวมากเหมือนยืนต่อหน้า

ผู้ใหญ่แต่ก็ไม่ควรปล่อยตัวให้อยู่ในลักษณะที่น่าเกลียด  ซึ่งอาจมีคนมาพบเห็นเข้า  เช่นไม่ควรยืนถ่างขา  ท้าวสะเอวทำท่าทางเย่อหยิ่ง  หันหน้าไปมาลุกลี้ลุกลน  ทำท่าทางหลุกหลิก เป็นต้น  

การยืนควรอยู่ในลักษณะสุภาพ ปล่อยตัวตามสบายพอควร  ขาชิดกันหรือห่างกันเล็กน้อยก็ได้  หรือจะยืนในท่าพักก็ได้  จะยืนเอียงเล็กน้อยพองามก็ได้  แขนปล่อยแนบลำตัวตามสบาย

๑.๒ การยืนต่อหน้าผู้ใหญ่    สมัยก่อนถ้าไม่จำเป็นจะไม่ยืนตรงต่อหน้าผู้ใหญ่  แต่จะยืนเฉียงไปทางใดทางหนึ่ง  แต่ปัจจุบันเรื่องนี้ไม่ถือกันมากนัก

การยืนทำได้สองวิธีคือ  ยืนตรง  ขาชิด  ปลายเท้าห่างกันเล็กน้อย มือทั้งสองแนบข้างหรือยืนค้อมส่วนบนตั้งแต่เอวขึ้นไปเล็กน้อย  ท่าทางสำรวมและมือประสานกัน  การค้อมตัวจะมากน้อยแล้วแต่ ผู้ใหญ่อาวุโสมากหรือน้อย

การประสานมือทำได้สองวิธี  คือ  คว่ำมือซ้อนกันจะเป็นมือไหนทับมือไหนก็ได้  หรือหงายมือทั้งสอง  สอดนิ้วเข้าระหว่างร่องนิ้วของแต่ละมือ

๒. มรรยาทในการเดิน

๒.๑  การเดินตามลำพัง  การเดินตามลำพังปล่อยตัวตามสบายได้  แต่อย่าทำให้น่าเกลียดจะเสียบุคลิกภาพ  ผู้ที่ระมัดระวังการเดินให้ดีนั้นจะดูสง่าแก่ผู้ที่พบเห็น  ทำให้เกิดความนิยมเลื่อมใสแก่ผู้พบเห็นได้

ขณะที่เดินนั้นหลังควรตรง  ช่วงก้าวไม่สั้นหรือยาวเกินไป  แกว่งแขนพองาม  เมื่อแกว่งแขนขวาไปข้างหน้าพร้อมกับก้าวขาซ้ายออกไป  แกว่งแขนซ้ายไปข้างหน้าพร้อมกับก้าวขาขวาออกไป  เวลาเดินต้องตามองตรงไปข้างหน้า

๒.๒  กากรเดินกับผู้ใหญ่  การเดินกับผู้ใหญ่  ควรเดินอย่างสุภาพ  ให้เดินทางซ้ายค่อนไปทางหลังเล็กน้อย  ห่างประมาณหนึ่งถึงสองฟุต  ท่าเดินควรนอบน้อม  อย่าเดินส่ายตัว หรือโคลงศีรษะ  การเดินนำผู้ใหญ่  ให้เดินเยื้องไปทางขวามือค้อมตัวลงเล็กน้อย

๒.๓  การเดินสวนกับผู้ใหญ่และเดินผ่านผู้ใหญ่  การเดินสวนกับผู้ใหญ่ควรหลีกให้ห่างเล็กน้อย ค้อมตัวพอสมควร  ถ้าผู้ใหญ่ทักทายให้หยุดยืนและมือประสานกัน  เมื่อจบการสนทนาแล้วไหว้  แล้วค้อมตัวก่อนผ่านไป

การเดินผ่านผู้ใหญ่ที่นั่งอยู่บนเก้าอี้  ควรหลีกให้ห่างพอสมควร  แล้วค้อมตัวเล็กน้อยขณะผ่านไป  ถ้ามีที่แคบควรไหว้เสียก่อนเป็นการขอผ่านอย่างสุภาพ

การเดินผ่านผู้ใหญ่ที่นั่งอยู่บนพื้น  เมื่อถึงระยะใกล้ตัวผู้ใหญ่ ควรคุกเข่าลงคลานผ่านไปเมื่อพ้นระยะพอสมควรจึงลุกขึ้นยืนแล้วเดินต่อไป

๒.๔ การเดินเข้าสู่ที่ชุมนุม  การเดินเข้าที่ชุมนุมที่นั่งเก้าอี้  ให้เดินเข้าไปอย่างสุภาพเมื่อเดินผ่านผู้ที่นั่งอยู่ก่อน  ให้ก้มตัวเล็กน้อย หากเป็นผู้มีอาวุโสมากก็ให้ก้มตัวมาก  ระวังอย่าเดินใกล้จนเกินไป  เพราะเสื้อผ้าหรือส่วนของร่างกายอาจไปกรายผู้อื่นได้  เมื่อผ่านไปแล้วก็เดินตามธรรมดา

การเดินเข้าสู่ที่ชุมนุมที่นั่งกับพื้น  เมื่อผ่านผู้ที่นั่งอยู่ให้ก้มตัว  จะก้มมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับผู้ที่นั่งอยู่เป็นอาวุโสมากหรือน้อย  และระยะทางที่เดินผ่าน  อนึ่งถ้าเดินผ่านผู้อาวุโสมากในระยะใกล้มากมักจะใช้วิธี “เดินเข่า”

การเดินเข่า  คือ

๑. นั่งคุกเข่าตัวตรง  มืออยู่ข้าง ๆ ตัว

๒. ยกเข่าขวา-ซ้ายไปข้างหน้า สลับข้างกัน  ปลายเท้าตั้ง ช่วงก้าวพองาม

๓. มือห้อยข้าง  แกว่งได้เล็กน้อย

๒.๕ การเดินในที่ที่พระมหากษัตริย์หรือพระราชินีประทับอยู่  ตามประเพณีไทยหากไม่จำเป็นจะไม่เดินผ่านที่ประทับหรือเดินผ่านหลังที่ประทับในระยะใกล้  หากจำเป็นก็ทำได้  เช่นมีหน้าที่ต้องไปยกของหรือไปจัดการเครื่องขยายเสียงหรือไปทำความสะอาดหน้าที่ประทับหรือมีกิจจำเป็นต่าง ๆ อื่นใด ให้ปฏิบัติดังนี้

๑. เดินผ่านหน้าหรือหลังที่ประทับ  ให้ลุกขึ้นจากที่ถวายคำนับ  เดินไปอย่างสุภาพ  เมื่อจะผ่านที่ประทับให้หันไปถวายคำนับเมื่อผ่านไปแล้วหันไปถวายคำนับและก่อนที่จะนั่งถวายคำนับ

อีกครั้งหนึ่ง

๒. เดินไปทำธุระใด ๆ ให้ลุกขึ้นจากที่แล้วถวายคำนับ  เดินไปยังที่ที่จะต้องทำกิจธุระเมื่อถึงที่ถวายคำนับ  การทำกิจธุระให้ย่อเข่าหรือคุกเข่าแล้วแต่กรณี  ทำเสร็จแล้วลุกขึ้นถอยหลังหนึ่งก้าว  ถวายคำนับ  เดินถอยหลัง  ๓  ก้าว  แล้วถวายคำนับ  เดินกลับที่และก่อนจะนั่งถวายคำนับอีกครั้งหนึ่ง

๓. มรรยาทในการนั่ง

๓.๑ การนั่งเก้าอี้  ควรนั่งตัวตรง   คอตั้งตรง  หลังพิงพนักเก้าอี้  เท้าชิดกัน  เข่าชิดกัน  มือวางบนหน้าขา  แต่ถ้านั่งกับผู้อาวุโสนิยมให้มือประสานกันโดยคว่ำมือหนึ่งหงายมือหนึ่ง

สิ่งที่ควรระวังเมื่อนั่งใกล้ผู้มีอาวุโส  คือ

๑. อย่างนั่งไขว่ห้าง

๒. อย่าเอนหลังพิงพนักเก้าอี้หรือถ้านั่งตัวตรงพิงพนักเก้าอี้ได้

๓. อย่าเอาแขนพาดที่ท้าวแขน (ถ้ามี)

๔. อย่าเหยียดเท้าไปข้างหน้า

๕. นั่งอย่างสำรวม  ไม่แสดงกิริยาหลุกหลิก

อนึ่งหากนั่งตามลำพังนั้น  นั่งปล่อยตัวตามสบายได้  เอนหลังพิงพนักเก้าอี้ก็ได้  แขนพาดที่ท้าวแขนก็ได้  ไขว่ห้างก็ได้  แต่ต้องระวังอย่าให้น่าเกลียด  เช่น ไม่ควรยกขาขึ้นพาดโต๊ะหรือเก้าอี้  ไม่นั่งโยกเก้าอี้ไปมา  ไม่นั่งโดยยกเท้าข้างหนึ่งวางบนเก้าอี้ที่กำลังนั่งอยู่  เป็นต้น

๓.๒  การนั่งกับพื้น  ในเมืองไทยการนั่งกับพื้นยังเป็นอิริยาบถที่ยังนิยมทำกันอยู่  การนั่งกับพื้นทำได้  ๒  อย่าง คือ

๑. การนั่งพับเพียบ  นั่งพับขาทั้ง ๒ ข้างให้ไปในทางเดียวกัน  เบนปลายเท้าเข้าหาสะโพก  ตั้งตัวตรง  มือไว้บนตักก็ได้  ผู้หญิงจะนั่งเท้าแขนก็ได้  การเท้าแขนอย่าเอาท้องแขนไว้ข้างหน้า  ให้ปลายมืออยู่ข้างหน้า  ผู้ชายไม่ควรนั่งเท้าแขน จะประสานมือ  หรือปล่อยแขนวางพาดบนเข่าทั้งสองก็ได้

การนั่งพับเพียบเป็นท่านั่งที่สุภาพเรียบร้อย  เมื่อนั่งต่อหน้าผู้ใหญ่  คนไทยทั้งชายและหญิงนิยมนั่งพับเพียบ

๒. การนั่งขัดสมาธิ คือ การนั่งพับเข่าทั้ง ๒ ข้างให้ขาไขว้กันทับฝ่าเท้า  ตั้งตัวตรง  การนั่งแบบนี้ผู้หญิงไม่ควรนั่ง  ถือว่าไม่เรียบร้อยไม่น่าดู  ผู้ชายนิยมนั่งแบบนี้เพราะเป็นท่าที่สบายแต่จะไม่นั่งท่านี้เมื่อนั่งต่อหน้าผู้ใหญ่

๔. มรรยาทในการแต่งกาย

เครื่องแต่งกายเป็นสิ่งแรกที่สะดุดตาผู้ที่พบเห็นเรา  ถ้าเราแต่งตัวเหมาะสมก็จะก่อให้เกิดความประทับใจในทางที่ดี  หากแต่งตัวไม่เหมาะสมภาพของเราในสายตาผู้อื่นก็จะเป็นภาพที่ไม่สู้ดี  แม้จะเป็นความจริงว่าคนเลวอาจซ่อนร่างอยู่ในเครื่องแต่งกายที่เรียบร้อยสวยงามได้  แต่คนดีมีความรู้ความสามารถนั้นหากแต่งกายไม่เหมาะสม  คนเห็นครั้งแรกอาจไม่เกิดความนิยมเลื่อมใสเป็นการปิดโอกาส

ตนเองที่จะได้แสดงความดีและความสามารถ  การแต่งกายจึงเป็นสิ่งที่ควรคำนึงเหมือนกัน

หลักสำคัญเกี่ยวกับการแต่งกายมีดังนี้

๑. ความสะอาด  ความสะอาดเป็นสิ่งสำคัญ  ความสะอาดไม่เกี่ยวกับความเก่าความใหม่  เครื่องแต่งกายที่ใหม่อาจสกปรกก็ได้  เครื่องแต่งกายที่เก่ามีรอยปะชุนและราคาถูกก็ดูสะอาดได้  เครื่องแต่งกายราคาแพงก็ดูสกปรกได้  ดังนั้น  คนฐานะด้อยก็แต่งตัวสะอาดได้เท่ากับคนฐานะดี  เสื้อผ้าก็ควรซักรีดให้เรียบร้อย รองเท้าก็ขัดให้ดูพองาม  กระเป๋าก็เช็ดถูให้ดูสะอาดเป็นสิ่งที่ทุกคนรู้แล้ว  แต่จะทำหรือไม่เท่านั้น  อนึ่งการอาบน้ำชำระกายให้สะอาด  การดูแลเล็บมือเล็บเท้ามิให้สกปรก  ก็เป็นสิ่งที่ควรระวัง

๒. ความสุภาพเรียบร้อย  การแต่งกายควรแต่งให้เรียบร้อยพอควร  คนแต่ละคนหรือสังคมแต่ละแห่ง  อาจมีเกณฑ์การวัดความสุภาพเรียบร้อยต่างกันออกไป  แต่ถ้าใช้สามัญสำนึกเราก็จะพอรู้ว่าในสังคมไทย  อย่างไรถือว่าแต่งกายเรียบร้อย  อย่างไรไม่เรียบร้อย  การใส่เสื้อกล้ามไปรับประทานอาหารก็ดี  การแต่งกายโดยเปิดเผยให้เห็นส่วนของร่างกายที่ควรสงวนก็ดี  การออกรับแขกในชุดนอนก็ดี  ตัวอย่างเหล่านี้  ทุกคนก็จะรู้ว่าไม่สุภาพเรียบร้อย

๓. ถูกต้องกาลเทศะ  การแต่งกายควรให้เหมาะสมกับสมัยนิยม  และให้เหมาะสมกับสถานที่ที่จะไป  การแต่งกายผิดสมัยนิยมนั้น  หากสะอาดและสุภาพเรียบร้อยก็จะไม่น่าเกลียด  คนอาจมองว่า “เชย” เท่านั้น  แต่การแต่งกายให้ถูกกาลเทศะนั้นเป็นเรื่องสำคัญ  มีข้อควรระวังดังนี้

    ๓.๑  ควรแต่งกายให้เหมาะสมกับงานที่จะไป  เช่น  ไม่แต่งชุดดำไปงานแต่งงาน  

ไม่แต่งสีฉูดฉาดไปงานศพ  เป็นต้น

    ๓.๒  แต่งกายให้เกียรติเจ้าภาพของงานตามสมควร  เช่น  ไปงานเลี้ยงสังสรรค์ระหว่างเพื่อนฝูง  จะแต่งลำลองอย่างไรก็ได้  แต่ถ้าไปงานที่จัดหรูหราเป็นพิธีรีตรองจะใส่กางเกงยีนส์

เสื้อยึดไปไม่เหมาะสม  ถือว่าไม่ให้เกียรติเจ้าภาพ  ถ้าเรามีเงินน้อยไม่มีชุดสากลหรือชุดพระราชทาน  จะใส่กางเกงเสื้อธรรมดาไปก็ได้  ข้อสำคัญคือต้องสะอาดและสุภาพเรียบร้อย

    ๓.๓  การแต่งกายอย่างหนึ่งอาจเหมาะสมกับสถานที่หนึ่ง  แต่ไม่เหมาะสมกับอีกสถานที่หนึ่ง  เช่น  ชุดว่ายน้ำเหมาะสำหรับใส่อยู่ที่ชายหาดหรือข้างสระว่ายน้ำ  แต่ถ้าเดินไปในที่ที่ห่างจากชายหาดและสระมาก ๆ ก็ดูไม่เหมาะสม  สวมรองเท้าแตะเหมาะสมสำหรับใส่ที่บ้านหรือเดินเล่นนอกบ้าน  แต่ไม่เหมาะสำหรับใส่ไปโรงเรียน  หรือไปงานบางอย่าง  เป็นต้น

    ๓.๔  ความสะอาดและสุภาพเรียบร้อยสำคัญที่สุด  คนเรานั้นต่างจิตต่างใจ  คนหนึ่งว่าเหมาะสมออีกคนว่าไม่เหมาะ  ดังนั้นถ้ามีปัญหาก็ยึดหลักสะอาดและสุภาพไว้  ใช้ได้ทุกกรณี  ตามความเป็นจริงการแต่งกายนั้นเป็นเรื่องภายนอก  ความดีนั้นขึ้นอยู่ที่จิตใจมากกว่า  หากแต่งกายสะอาดและสุภาพแล้วก็ไม่ต้องไปกังวลจนเกินเหตุ










ศาสนพิธี

พิธีทำบุญทั่วไป

---------------

พิธีทำบุญในที่นี้ จะพูดถึงพิธีทำบุญทั่ว ๆ ไป ซึ่งเป็นกิจเบื้องต้นที่พุทธศาสนิกจะพึงทราบ  และนำไปปฏิบัติได้ ส่วนจะผิดแผกแตกต่างกันไปบ้างนั้น ก็สุดแต่ความนิยมของแต่ละท้องถิ่น พิธีทำบุญในศาสนาพุทธ สรุปแล้วมี ๒ พิธี คือ

  1. พิธีทำบุญในงานมงคล เป็นการทำบุญเพื่อความเป็นสิริมงคล ความสุขความเจริญ 

เช่น พิธีแต่งงาน ขึ้นบ้านใหม่ และวันเกิด เป็นต้น

ข. พิธีทำบุญในงานอวมงคล เป็นการทำบุญเพื่อปัดเป่าความชั่วร้ายให้หมดไป โดยปรารภถึงเหตุที่มาไม่ดี หรือเหตุที่ก่อให้เกิดความทุกข์โศก เช่น พิธีศพ พิธีทำบุญในการที่แร้งจับบ้าน    รุ้งกินน้ำในบ้าน  เป็นต้น

ทั้ง ๒ พิธี มีพิธีกรรมที่จะต้องปฏิบัติโดยย่อ ๆ ดังนี้

๑. จัดสถานที่  ก่อนถึงวันพิธี จะต้องตบแต่งสถานที่รับรองพระที่จะเจริญพระพุทธมนต์ 

และแขกที่จะมาในงาน ตลอดจนเครื่องใช้แต่ละแผนกให้เรียบร้อย

โดยเฉพาะที่พระสงฆ์ ต้องจัดให้อยู่ในฐานะที่น่าเคารพเสมอ โดยจัดที่บูชาไว้ทางขวามือ

ของพระสงฆ์ที่จะสวดมนต์  และให้หันหน้าไปทางทิศตะวันออก (ถ้าที่จำกัดก็เว้นได้) และอาสนะพระนั้น

ต้องจัดให้เป็นส่วนหนึ่งต่างหากจากฆราวาส โดยเฉพาะผู้หญิง แล้วตั้งกระโถนภาชนะน้ำ พานหมากพลู

ไว้ทางขวามือของพระสงฆ์  โดยตั้งกระโถนไว้ข้างในแล้วเรียงออกมาตามลำดับ

๒. เครื่องสักการะ หมายถึง โต๊ะหมู่หรือที่บูชาอื่นใดตามฐานะ อันประกอบด้วย  พระพุทธรูป ๑ องค์, แจกัน ๑ คู่, เชิงเทียน ๑ คู่, กระถางธูป ๑ ที่  เป็นอย่างน้อย อย่างมากจะจัดให้เต็มที่ตามรูปแบบ

การจัดของโต๊ะหมู่ ๕,๗ หรือ ๙ เป็นต้น ก็ได้

๓. ด้ายสายสิญจน์, บาตรน้ำมนต์ ในงานมงคลทุกชนิด นิยมวงด้ายสายสิญจน์รอบบ้านหรือสถานที่  แต่จะย่อลงมาแค่ที่พระสวดมนต์ก็ได้ การวงด้ายสายสิญจน์ ให้ถือเวียนขวาไว้เสมอ ถ้าจะวงรอบบ้านด้วย ก็ให้เริ่มต้นที่โต๊ะหมู่บูชาแล้วเวียนออกไปที่รั้วบ้านหรือตัวบ้านทางขวามือ (เวียนแบบเลข ๑ ไทย)  เมื่อวงรอบแล้วกลับมาวงรอบที่ฐานพระพุทธรูป วงไว้กับฐานพระพุทธรูป แล้วมาวงที่บาตรน้ำมนต์ 

เสร็จแล้วหาพานวางด้ายสายสิญจน์ที่เหลือไว้ใกล้ ๆ บาตรน้ำมนต์นั้น เพื่อให้พระสงฆ์ใช้ประกอบการเจริญพระพุทธมนต์ต่อไป

บาตรน้ำมนต์ให้ใส่น้ำพอควร    จะใส่ใบเงินใบทองใบนาก   หญ้าแพรก    ฝักส้มป่อย ผิวมะกรูด ฯลฯ ก็ได้ สุดแต่จะนิยม ไม่ใส่อะไรเลยก็ได้เพราะพระพุทธมนต์ที่พระสวดเป็นของประเสริฐอยู่แล้ว  และตั้งไว้ทางขวามือของพระสงฆ์ที่เป็นประธาน ติดเทียนน้ำมนต์ไว้ที่ขอบบาตร ๑ เล่ม จะหนัก 

๑ บาท หรือ ๒ บาทก็ได้ แต่ควรให้ไส้ใหญ่ ๆ ไว้เพื่อกันลมพัดดับด้วย และเมื่อพระสงฆ์ดับเทียนน้ำมนต์แล้วห้ามจุดอีกต่อไป ซึ่งถือว่าเป็นการดับเสนียดจัญไรไปหมดแล้ว มิให้เกิดขึ้นมาอีก

ส่วนในพิธีศพ ตั้งแต่ถึงแก่กรรมจนกระทั่งเผา ไม่มีการวงด้ายสายสิญจน์และตั้งบาตรน้ำมนต์ หลังจากเผาศพเสร็จแล้วจะทำบุญอัฐิจึงกระทำได้

๔. การนิมนต์พระ  เจ้าภาพจะต้องแจ้ง วัน เดือน ปี  และพิธีที่จะกระทำให้พระสงฆ์

ทราบเสมอ    เพราะบทสวดมนต์จะมีเพิ่มเติมตามโอกาสที่ทำบุญไม่เหมือนกัน ส่วนจำนวนพระสงฆ์นั้นมีแน่นอนเฉพาะพระสวดพระอภิธรรม  สวดรับเทศน์  และสวดหน้าไฟเท่านั้น   คือ ๔ รูป     นอกนั้นแล้ว ถ้าเป็นงานมงคลพระสงฆ์ที่สวดมนต์ (เจริญพระพุทธมนต์)  ก็นิยม ๕ รูป, ๗ รูป, ๙ รูป, ๑๐รูปโดยเหตุผลว่า ถ้าเป็นงานแต่งงานซึ่งนิยมคู่ จะนิยมพระ ๕ รูป, ๗ รูป, ๙ รูป โดยรวมพระพุทธรูปเข้าอีก ๑ องค์ เป็น ๖ รูป, ๘ รูป และ  ๑๐ รูป ก็ได้เหมือนกัน    ส่วนพิธีหลวงใช้ ๑๐ รูปเสมอ  สำหรับพิธีสดับปกรณ์ มาติกา-บังสุกุล ก็เพิ่มจำนวนพระสงฆ์มากขึ้นอีกเป็น ๑๐, ๑๕, ๒๐, ๒๕ รูป หรือจนถึง ๘๐ รูป หรือ ๑๐๐ รูป ก็สุดแต่จะศรัทธา ไม่จำกัดจำนวน การนิมนต์พระเพื่อฉันหรือรับอาหารบิณฑบาต อย่าระบุชื่ออาหาร ๕ ชนิด คือ ข้าวสุก ขนมสด ขนมแห้ง ปลา เนื้อ สรุปแล้วระบุไม่ได้ทุกชนิด จะเป็นขนมจีน หมี่กรอบ ไม่ได้ทั้งนั้น ให้ใช้คำรวมว่า  “ รับอาหารบิณฑบาต เช้า – เพล ”   หรือ  “  ฉันเช้าฉันเพล ” ก็พอแล้ว

เมื่อพระสงฆ์ที่มาสวดมนต์ถึงบ้านแล้ว กิจที่จะต้องทำอีกอย่างหนึ่งก็คือ ควรจัดหาน้ำล้างเท้าและทำให้เสร็จ   เพราะถ้าพระสงฆ์ล้างเอง  น้ำมีตัวสัตว์   พระสงฆ์ก็เป็นอาบัติ   และถ้าปล่อยให้เท้าเปียกน้ำแล้วเหยียบอาสนะ พระสงฆ์ก็เป็นอาบัติอีก จึงต้องทำให้ท่าน แต่สมัยนี้ การไปมาสะดวกด้วยยานพาหนะ  เท้าพระสงฆ์ไม่เปรอะเปื้อนจึงไม่มีการล้างเท้าพระสงฆ์เป็นส่วนมาก

๕. ลำดับพิธี  โดยทั่วไปพิธีมงคลจะเริ่มด้วยประธาน หรือเจ้าภาพจุดธูปเทียนบูชา

พระรัตนตรัย ธูปไม่ควรเกิน ๓ ดอก หรืออย่างมากไม่เกิน ๕ ดอก เทียน ๒ เล่ม และจุดให้ติดจริง ๆ 

จุดแล้วอธิษฐานใจ กราบพระ ๓ หน แล้วอาราธนาศีล อาราธนาพระปริตร  ฟังพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ เมื่อพระสงฆ์สวดถึงบท “ อเสวนา จ พาลานํ ” ให้เจ้าภาพจุดเทียนน้ำมนต์ และเมื่อพระสงฆ์สวดถึงบทว่า

“ นิพพันติ ธีรา  ยถา ยัมปทีโป ” ท่านดับเทียนตรงคำว่า “นิพ” โดยจุ่มเทียนน้ำมนต์ลงในบาตรน้ำมนต์

(การดับเทียนอาจจะผิดแผกไปจากนี้บ้างก็เป็นเรื่องของพระสงฆ์) พระสงฆ์สวดมนต์จบแล้ว ถ้าเป็นพิธี-

สวดมนต์ในวันเดียวซึ่งนิยมทำในตอนเช้าหรือเพลก็ถวายภัตตาหาร  พระสงฆ์ฉันเสร็จถวายไทยธรรม พระสงฆ์อนุโมทนา เจ้าภาพกรวดน้ำ ก็นับว่าเสร็จพิธี แต่ถ้าทำบุญ ๒ วัน วันแรกนิยมสวดมนต์เย็นแบบนี้          เมื่อสวดมนต์เย็นเสร็จก็นับว่าเสร็จไปตอนหนึ่ง รุ่งขึ้นจะเช้าหรือเพล พระสงฆ์มาถึงก็ทำกิจเบื้องต้น มีจุดธูปเทียน อาราธนาศีล รับศีลเสร็จแล้ว พระสงฆ์สวดถวายพรพระ ไม่มีอาราธนาพระปริตร จบแล้วถวายภัตตาหาร ถวายไทยธรรม พระสงฆ์อนุโมทนา เจ้าภาพกรวดน้ำ จึงเสร็จพิธี

๖. การกรวดน้ำ  เมื่อพระสงฆ์เริ่มอนุโมทนา คือ รูปหัวหน้าว่า “ ยถา…”  ก็ให้เจ้าภาพ

กรวดน้ำทันที พอจบ “ ยถา…”  พระสงฆ์รูปที่สองขึ้นบทอนุโมทนา “ สัพพี…”  พระสงฆ์นอกนั้นสวดรับต่อพร้อมกัน ก็ให้เจ้าภาพเทน้ำให้หมด แล้วนั่งประนมมือฟังพระสงฆ์ให้พรต่อไป จบแล้วกราบ ๓ หน

๗. การประพรมน้ำพระพุทธมนต์  ให้กระทำหลังจากพระสงฆ์อนุโมทนา (ยถาสัพพี) 

จบแล้ว จะนิมนต์ให้พระสงฆ์ประพรมใครหรือที่ใดก็นิมนต์ท่านตามประสงค์

๘. การเทศน์  การนิมนต์พระสงฆ์ให้แสดงพระธรรมเทศนาด้วย ในกรณีที่มีสวดมนต์ก่อน  แล้วก็มีเทศน์ติดต่อกันไป การอาราธนาตอนพระสวดมนต์ให้อาราธนาพระปริตร ยังไม่ต้องรับศีล ต่อเมื่อถึงเวลาเทศน์ นิมนต์พระสงฆ์ขึ้นธรรมาสน์แล้ว  จึงอาราธนาศีล รับศีลเสร็จ อาราธนาธรรมต่อ พระสงฆ์เทศน์จบ    ถ้าไม่มีพระสวดรับเทศน์  พระท่านจะอนุโมทนาบนธรรมาสน์เลย    ท่านลงมาแล้วจึงถวายไทยธรรม  (เครื่องกัณฑ์)       แต่ถ้ามีพระสวดรับเทศน์   เช่น ในกรณีทำบุญหน้าศพ       เป็นต้น 

พระเทศน์จบ พระสงฆ์สวดรับเทศน์ต่อ (ระหว่างนี้พระเทศน์จะลงมานั่งข้างล่างตรงต้นแถวพระสวด)         จบแล้ว  เจ้าภาพจึงถวายไทยธรรม พระสงฆ์อนุโมทนา เจ้าภาพกรวดน้ำเป็นพิธี

๙. การตั้งเครื่องบูชาหน้าศพ ถ้าเป็นพิธีอาบน้ำศพ จะต้องมีเทียน (ประทีป) ๑ เล่ม ตามไว้ข้างศพเหนือศีรษะด้วย และประทีปนี้จะตามไว้ตลอดเวลา เมื่อนำศพลงหีบแล้ว ก็ตามไว้ข้างหีบ ด้านเท้าของผู้ตาย ซึ่งถือว่าผู้ตายจะได้จุดส่องทางไป

ถ้าเป็นพิธีทำบุญหน้าศพ ๗ วัน ๕๐ วัน ๑๐๐ วัน   หรือวันเผาก็ตาม  ด้านหน้าศพจะมีที่จุดธูปไว้ให้ผู้ที่เคารพนับถือบูชา ๑ ที่ และนอกจากนี้ เวลาประกอบพิธีทุกครั้งนิยมจัดเครื่องทองน้อยไว้เบื้องหน้าศพอีก ๑ ที่ ซึ่งประกอบด้วย กรวยปักดอกไม้ ๓ กรวย, เทียน ๑ เล่ม, ธูป ๑ ดอก, เครื่องทองน้อยนี้ตั้งไว้หน้าศพเพื่อให้ศพบูชาธรรมโดยเจ้าภาพจุดให้ และการตั้งให้ตั้งดอกไม้ไว้ข้างนอก ตั้งธูปเทียนไว้ข้างใน (หันธูปเทียนไว้ทางศพ) ให้ตั้งเครื่องทองน้อยอีกชนิดหนึ่งสำหรับเจ้าภาพในเวลาฟังธรรมระหว่างพระสงฆ์กับเจ้าภาพ การตั้งหันธูปเทียนไว้ทางเจ้าภาพ

๑๐. การจุดธูปเทียน การจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยหรืออื่นใดก็ตาม   จะต้องจุดเทียน

ก่อนเสมอ แล้วจึงจุดธูป เพราะถือว่าเทียนสูงกว่าธูป และอีกประการหนึ่ง การจุดเทียนก่อน หากเทียนเกิดดับขึ้นระหว่างกลางคัน ก็จะได้ต่อติดกันสะดวกยิ่งขึ้น

๑๑. ผ้าภูษาโยง พิธีศพ    เวลาพระท่านจะบังสุกุล    จะมีผ้าภูษาโยงซึ่งเชื่อมโยงมาจากศพเสมอ    การทอดผ้าบนผ้าภูษาโยงนี้ให้ทอดตามขวาง เพื่อพระจับชักบังสุกุล   ถ้าไม่มีผ้าทอด พระสงฆ์ก็จับเฉพาะ

ผ้าภูษาโยง หากไม่มีผ้าภูษาโยง จะใช้ด้ายสายสิญจน์แทนก็ได้และห้ามข้ามเด็ดขาด ไม่ว่าจะเป็นมือหรือเท้าก็ตาม ถือว่าไม่เคารพศพ     สำหรับศพหลวง   ผ้าภูษาโยงจะถูกนำเชื่อมกับผ้าหรือด้ายสายสิญจน์ที่ต่อมาจากศพ  จากนั้นเจ้าภาพจึงทอดผ้า

๑๒. ใบปวารณา ในการทำบุญ มักจะมีเงินถวายพระสงฆ์เสมอ เพื่อให้ท่านนำไปใช้จ่าย แต่พระสงฆ์ท่านจับต้องเงินไม่ได้ จึงใช้ใบปวารณาแทน และใช้คำว่าจตุปัจจัย (ปัจจัย ๔ คือ เครื่องนุ่งห่ม ๑ อาหาร  ที่อยู่อาศัย  และยารักษาโรค ) แทนคำว่าเงิน

การเตรียมการในการทำบุญ

๑. การจัดสถานที่ทำบุญ

๑.๑ โต๊ะหมู่บูชา

  • ตั้งไว้ด้านขวาของอาสน์สงฆ์ สูงกว่าอาสน์สงฆ์พอสมควร หันหน้าไปทาง

ด้านทิศตะวันออก ทิศเหนือ หรือทิศใต้ก็ได้ ไม่นิยมตั้งหันหน้าไปทางทิศตะวันตก (ดูความเหมาะสมของสถานที่ประกอบด้วย)

- โต๊ะหมู่บูชา ประกอบด้วยสิ่งสำคัญอย่างน้อย คือ

๑.๑.๑ พระพุทธรูป ๑ องค์

๑.๑.๒ แจกัน ๑ คู่ พร้อมดอกไม้ประดับ (ดอกไม้นิยมให้มีสีสวย – กลิ่นหอม –

กำลังสดชื่น)

๑.๑.๓ กระถางธูป ๑ ใบ พร้อมธูปหอม ๓ ดอก

๑.๑.๔ เชิงเทียน ๑ คู่ พร้อมเทียน ๒ เล่ม

๑.๒ อาสน์สงฆ์

- จัดตั้งไว้ด้านซ้ายโต๊ะหมู่บูชา แยกเป็นเอกเทศต่างหากจากที่นั่งฆราวาส ประกอบด้วยเครื่องรับรอง คือ

๑.๒.๑ พรมเล็กเท่าจำนวนพระสงฆ์

๑.๒.๒ กระโถนเท่าจำนวนพระสงฆ์

๑.๒.๓ ภาชนะน้ำเย็นเท่าจำนวนพระสงฆ์

๑.๒.๔ ภาชนะน้ำร้อนเท่าจำนวนพระสงฆ์

- เครื่องรับรองดังกล่าว ตั้งไว้ด้านขวามือของพระสงฆ์ โดยตั้งกระโถนไว้ด้าน

ในสุด ถัดออกมาเป็นภาชนะน้ำเย็น ส่วนภาชนะน้ำร้อนจัดถวายเมื่อพระสงฆ์เข้านั่งแล้ว

- ถ้าเครื่องรับรองไม่เพียงพอ     จัดไว้สำหรับพระผู้เป็นประธานสงฆ์ ๑ ที่  นอก

นั้น ๒ รูปต่อ ๑ ที่ก็ได้ (ยกเว้นแก้วน้ำ)

๑.๓ ที่นั่งเจ้าภาพและผู้จัดงาน

- จัดไว้ด้านหน้าของอาสน์สงฆ์ โดยแยกเป็นส่วนหนึ่งต่างหากจากอาสน์สงฆ์

- ถ้าเนื่องเป็นอันเดียวกับอาสน์สงฆ์ ให้ปูเสื่อหรือพรมบนอาสน์สงฆ์ทับผืนที่

เป็นที่นั่งสำหรับฆราวาส โดยปูทับกันออกมาตามลำดับ แล้วปูพรมเล็กสำหรับพระสงฆ์แต่ละรูปอีกเพื่อให้สูงกว่าที่นั่งเจ้าภาพ

๑.๔ ภาชนะน้ำมนต์

        - จัดทำเฉพาะพิธีทำบุญงานมงคลทุกชนิด โดยตั้งไว้ข้างโต๊ะหมู่บูชา ด้านขวา

ของประธานสงฆ์

  -  พิธีทำบุญงานอวมงคลที่เกี่ยวเนื่องกับศพ เช่น ทำบุญ ๗ วัน ๕๐ วัน ๑๐๐ วัน

เป็นต้น ไม่ต้องจัดภาชนะน้ำมนต์

๑.๕ เทียนน้ำมนต์

-  ใช้เทียนขี้ผึ้งแท้ น้ำหนัก ๑ บาทขึ้นไป โดยใช้ชนิดไส้ใหญ่ เพื่อป้องกันมิให้

ดับง่าย

๒. การนิมนต์พระสงฆ์

๒.๑ พิธีทำบุญงานมงคล อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า ๕ รูป ข้างมากไม่มีกำหนด (พิธีหลวง และพิธีที่มีการทำบุญทักษิณานุประทานนิยม ๑๐ รูป)

๒.๒ งานมงคลสมรส เมื่อก่อนนิยมนิมนต์จำนวนคู่ คือ ๖ - ๘ - ๑๐ - ๑๒ รูป เพื่อฝ่าย

เจ้าบ่าวและเจ้าสาวนิมนต์ฝ่ายละเท่า ๆ กัน

๒.๓ ในปัจจุบัน งานมงคลทุกประเภท รวมทั้งงานมงคลสมรสนิยมนิมนต์ ๙ รูป

(เลข ๙ ออกเสียงใกล้เคียงคำว่า  “ ก้าว ” หมายถึง ก้าวหน้าหรือกำลังพระเกตุ ๙, พระพุทธคุณ ๙  และ

โลกุตตรธรรม ๙

๒.๔ งานทำบุญอายุ นิยมนิมนต์พระสงฆ์เกินกว่าอายุเจ้าภาพ ๑ รูป

๒.๕ งานอวมงคลเกี่ยวเนื่องกับพิธีศพ นิยมนิมนต์ดังนี้

-  สวดพระอภิธรรม ๔ รูป

- สวดหน้าไฟ ๔ รูป

- สวดพระพุทธมนต์ ๕ - ๗ - ๑๐ รูป ตามกำลังศรัทธา

- สวดแจง ๒๐ -๒๕ -๕๐ - ๑๐๐ - ๕๐๐ รูป หรือทั้งวัด

- สวดมาติกา สวดบังสุกุล นิยมนิมนต์เท่าอายุผู้ตายหรือตามศรัทธาก็ได้

๒.๖ วิธีการนิมนต์พระสงฆ์

- พิธีที่เป็นทางราชการ นิมนต์เป็นลายลักษณ์อักษร

- พิธีทำบุญส่วนตัว นิยมไปนิมนต์ด้วยวาจาด้วยตนเอง

๒.๗ ข้อควรระวัง

- อย่านิมนต์ออกชื่ออาหาร เช่น นิมนต์ไปฉันขนมจีน เป็นต้น เพราะพระผิดวินัยบัญญัติ

- นิมนต์แต่เพียงว่า  “นิมนต์รับบิณฑบาต รับภิกษา” หรือ “นิมนต์ฉันเช้า ฉันเพล”  เป็นต้น

๓. การใช้ด้ายสายสิญจน์ 

๓.๑ นิยมใช้ทั้งงานพิธีมงคล และพิธีอวมงคล

๓.๒ งานพิธีอวมงคลเกี่ยวกับศพ ไม่ใช้ด้ายสายสิญจน์วงรอบอาคารบ้านเรือน ใช้เป็นสายโยงจากศพมาถึงอาสน์สงฆ์ สำหรับพระสงฆ์พิจารณาบังสุกุล

๓.๓ งานพิธีมงคล นิยมวงรอบอาคารบ้านเรือนเฉพาะพิธีขึ้นบ้านใหม่ ทำบุญบ้าน

ประจำปี  และทำบุญปัดความเสนียดจัญไรดังนี้

- อาคารบ้านเรือนที่มีรั้วหรือกำแพง วงรอบรั้วหรือกำแพงโดยรอบ

- อาคารบ้านเรือนที่มีรั้วหรือกำแพงล้อม หรือมีแต่บริเวณกว้างขวางเกินไป

ให้วงเฉพาะรอบตัวอาคารบ้านเรือน

๓.๔ การวงด้ายสายสิญจน์

  - เริ่มวงด้ายสายสิญจน์ตั้งแต่โต๊ะหมู่บูชา แต่ยังไม่ต้องวงรอบพระพุทธรูป เมื่อ

วงรอบอาคารบ้านเรือน หรือรอบบริเวณงาน แล้วจึงนำมาวงรอบฐานพระพุทธรูปภายหลัง โดยวงเวียนขวา ๑  รอบ  หรือ ๓ รอบ

  - วงด้ายสายสิญจน์เวียนขวาไปตามลำดับ และยกขึ้นให้อยู่สูงที่สุด เพื่อป้องกัน

คนข้ามกราย หรือทำขาด

  - ด้ายสายสิญจน์ที่วงแล้วให้คงไว้ตลอดไป ไม่ต้องเก็บ

  - พิธีทำบุญงานมงคลอื่น ๆ วงเฉพาะบริเวณห้องพิธีหรือเฉพาะรอบฐานพระพุทธรูป

ที่โต๊ะหมู่บูชา แล้วโยงมาวงรอบภาชนะน้ำมนต์ วางกลุ่มด้ายสายสิญจน์ใส่พานไว้ด้านซ้ายโต๊ะหมู่บูชา

๓.๕ การใช้ด้ายสายสิญจน์ทอดบังสุกุล

  - โยงจากศพ จากโกศอัฐิ จากรูปของผู้ตาย หรือจากรายนามของผู้ตายอย่างใด

อย่างหนึ่งมาทอดให้พระสงฆ์พิจารณาบังสุกุล

  - ในพิธีทำบุญงานมงคล หากเชิญโกศอัฐิของบรรพบุรุษมาร่วมบำเพ็ญกุศลด้วย

เมื่อจะนิมนต์พระสงฆ์พิจารณาบังสุกุล ให้ใช้ด้ายสายสิญจน์อีกกลุ่มหนึ่งต่างหากจากกลุ่มที่พระสงฆ์ถือ     

เจริญพระพุทธมนต์ หรือจะเด็ดด้ายสายสิญจน์จากกลุ่มเดียวกันนั้นให้ขาดออกจากพระพุทธรูป แล้วเชื่อม

โยงกับโกศอัฐิก็ได้

๓.๖ การทำมงคลแฝด

- นำด้ายดิบที่ยังไม่ได้ทำเป็นด้ายสายสิญจน์ไปขอให้พระเถระที่เคารพนับถือทำพิธีปลุกเสกและทำเป็นมงคลแฝดสำหรับคู่บ่าวสาว   ก่อนถึงวันงานประมาณ ๗ วัน  หรือ ๓ วันเป็นอย่างน้อย

๔. เทียนชนวน

๔.๑ อุปกรณ์ 

- ใช้เชิงเทียนทองเหลืองขนาดกลาง ๑ ข้าง

- เทียนขี้ผึ้งไส้ใหญ่ ๆ ขนาดพอสมควร ๑ เล่ม

- น้ำมันชนวน (ขี้ผึ้งแท้แช่น้ำมันเบนซิน หรือเคี่ยวขี้ผึ้งให้เหลว ยกลงจากเตาไฟแล้ว 

ผสมน้ำมันเบนซิน

๔.๒ การถือเชิงเทียนชนวนสำหรับพิธีกร

  - ถือด้วยมือขวา โดยหงายฝ่ามือ ใช้นิ้วมือสี่นิ้ว (เว้นนิ้วหัวแม่มือ) รองรับฐาน

เชิงเทียน ใช้หัวแม่มือกดฐานเชิงเทียนด้านบนให้แน่นเข้าไว้

  - ไม่นิยมจับกึ่งกลางเชิงเทียน เพราะจะทำให้ผู้ใหญ่รับไม่สะดวก

๔.๓  การส่งเทียนชนวนให้ผู้ใหญ่สำหรับพิธีกร

    - ถึงเวลาประกอบพิธี   จุดเทียนชนวน  ถือด้วยมือขวา  เดินเข้าไปหาประธาน

ในพิธี   ยืนตรงโค้งคำนับ

      - เดินตามหลังประธานในพิธีไปยังที่บูชา 

    - ถ้าประธานในพิธีหยุดยืนหน้าที่บูชา พิธีกรน้อมตัวลงเล็กน้อยส่งเทียนชนวน 

(ถ้าประธานในพิธีนั่งคุกเข่า  พิธีกรก็นั่งคุกเข่าตาม) แล้วส่งเทียนชนวนด้วยมือขวา มือซ้ายห้อยอยู่ข้างตัว

  - ส่งเทียนชนวนแล้วถอยหลังออกมาห่างจากประธานในพิธีพอสมควร พร้อมกับคอยสังเกต ถ้าเทียนชนวนดับ พึงรีบเข้าไปจุดทันที

  - เมื่อประธานในพิธีจุดธูปเทียนเสร็จแล้ว    เข้าไปรับเทียนชนวน โดยวิธียื่นมือขวา  แบมือเข้าไปรองรับ  ถอยหลังห่างออกไปเล็กน้อย โค้งคำนับแล้วจึงกลับหลังหันเดินออกมา

๔.๔ การจุดธูปเทียนสำหรับประธานในพิธี

- เมื่อพิธีกรถือเทียนชนวนเข้าไปเชิญประธานฯ ประธานฯ ลุกขึ้นจากที่นั่ง เดินไปที่หน้าโต๊ะหมู่บูชา ถ้าโต๊ะหมู่บูชาตั้งอยู่สูง พึงยืน ถ้าตั้งอยู่ไม่สูงนัก พอนั่งคุกเข่าจุดถึง พึงนั่งคุกเข่าลงแล้วรับเชิงเทียนชนวนจากพิธีกร

- จุดเทียนเล่มขวาของพระพุทธรูปก่อน แล้วจุดเล่มซ้ายต่อไป แล้วจึงจุดธูปเช่นเดียวกับเทียน

- ถ้ามีสายชนวนเชื่อมโยงจากธูปไปยังเทียนทุกคู่ พึงจุดธูปเป็นอันดับแรก

- ถ้าธูปมิได้จุ่มน้ำมันชนวน พึงถอนธูปออกมาจุดกับเทียนชนวน ส่งเทียนชนวนให้พิธีกรแล้ว ปักธูปไว้ตามเดิม โดยปักเรียงหนึ่งเป็นแถวเดียวกัน หรือปักเป็นสามเส้าก็ได้

- จุดธูปเทียนเสร็จแล้ว นั่งคุกเข่าประนมมือ กล่าวคำบูชาพระรัตนตรัย โดยว่า

นโม…. ๓ จบ แล้วว่า อิมินา….(เพียงแต่นึกในใจ) แล้วกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ขณะกราบพึงระลึกถึงพระรัตนตรัยด้วย คือกราบครั้งที่ ๑ บริกรรมว่า อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ  ภะคะวา  พุทธัง  ภะคะวันตัง  

อะภิวาเทมิ ครั้งที่ ๒ บริกรรมว่า สวากขาโต  ภะคะวะตา  ธัมโม  ธัมมัง  นะมัสสามิ  ครั้งที่ ๓ บริกรรมว่า 

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ  สังฆัง  นะมามิ  เสร็จแล้วกลับเข้าไปนั่งประจำที่

๕. การอาราธนาสำหรับพิธีกร

- เมื่อเจ้าภาพ หรือประธานในพิธี จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยเสร็จแล้ว พิธีกรเริ่ม

กล่าวคำอาราธนาศีล

- ถ้าอาสน์สงฆ์อยู่ระดับพื้น ผู้ร่วมพิธีทั้งหมดนั่งกับพื้น พิธีกรพึงนั่งคุกเข่าประนมมือ

กราบ ๓ ครั้ง แล้วจึงกล่าวคำอาราธนา ถ้าอาสน์สงฆ์ยกขึ้นสูงจากพื้น แต่ผู้ร่วมพิธีทั้งหมดนั่งอยู่กับพื้น

ก็นั่งคุกเข่าอาราธนาเช่นกัน

- ถ้าอาสน์สงฆ์ยกสูง ผู้ร่วมพิธีทั้งหมดนั่งเก้าอี้ พิธีกรพึงยืนทางท้ายอาสน์สงฆ์ ข้างหน้า

พระสงฆ์รูปที่ ๓ จากท้ายแถวหรือที่อันเหมาะสม ทำความเคารพประธานในพิธี แล้วหันหน้าไปทาง

ประธานสงฆ์ ประนมมือ กล่าวคำอาราธนาศีล โดยหยุดทอดเสียงเป็นจังหวะ ๆ ดังนี้ “ มะยัง  ภันเต วิสุง วิสุง  รักขะณัตถายะ, ติสะระเณนะ  สะหะ, ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ,  ทุติยัมปิ…ฯลฯ,  ตะติยัมปิ…ฯลฯ

    - เมื่อรับศีลเสร็จแล้ว พึงอาราธนาพระปริตรต่อไป จบแล้ว ถ้านั่งคุกเข่า กราบ ๓ ครั้ง 

ถ้ายืน ก็ยกมือไหว้  เสร็จแล้วทำความเคารพประธานในพิธีอีกครั้งหนึ่ง

๖. การจุดเทียนน้ำมนต์

- ประธานในพิธี หรือเจ้าภาพ จะต้องรอคอยจุดเทียนน้ำมนต์อีกครั้งหนึ่ง

- เมื่อพระเจริญพระพุทธมนต์ถึงบทมงคลสูตร พิธีกรพึงจุดเทียนชนวนเข้าไปเชิญประธานในพิธีหรือเจ้าภาพไปจุดเทียนน้ำมนต์ ยกภาชนะน้ำมนต์ถวายประธานสงฆ์ ยกมือไหว้ แล้วกลับไปนั่งที่เดิม


๗. การถวายข้าวบูชาพระพุทธ

- เมื่อพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ถึงบทถวายพรพระ  พิธีกรยกสำรับคาวหวานไปตั้งที่หน้าโต๊ะบูชาโดยตั้งบนโต๊ะที่มีผ้าขาวปูรอง หรือที่พื้นแต่มีผ้าขาวปูรอง

- เชิญประธานในพิธีหรือเจ้าภาพทำพิธีบูชา (พิธีกรไม่ควรจัดทำเสียเอง)

- ประธานในพิธี หรือเจ้าภาพ นั่งคุกเข่า (พิธีราษฎร์จุดธูป ๓ ดอก ปักที่กระถางธูป)

 ประนมมือกล่าวคำบูชาข้าวพระพุทธจบแล้วกราบ ๓ ครั้ง

- กรณียกสำรับคาวหวานสำหรับพระพุทธและสำรับคาวหรือทั้งคาวและหวานสำหรับพระสงฆ์เข้าไปพร้อมกัน (หลังจบบทถวายพรพระ) ประธานฯ หรือเจ้าภาพ นั่งคุกเข่ากล่าวคำบูชาข้าวพระพุทธจบแล้ว จึงยกสำรับคาวหรือทั้งคาวและหวานถวายพระสงฆ์เฉพาะรูปประธานฯ นอกนั้นจะมอบให้ผู้ร่วมพิธีเข้าร่วมถวาย ก็ชื่อว่าเป็นความสมบูรณ์แห่งพิธีการที่เหมาะสม

๘. การลาข้าวพระพุทธ

- เมื่อพระสงฆ์ฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว เจ้าภาพหรือพิธีกร เข้าไปนั่งคุกเข่าประนมมือ

กล่าวคำลาข้าวพระพุทธจบแล้วกราบ ๓ ครั้ง แล้วยกสำรับไปได้

๙. การจัดภัตตาหารถวายพระสงฆ์

- เวลาเช้า จัดอาหารประเภทอาหารเบา เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก กาแฟ ขนมปัง เป็นต้น

- เวลาเพล จัดอาหารประเภทอาหารหนัก โดยมากจัดเป็นอาหารไทย และควรเป็น

อาหารพื้นเมืองเป็นหลัก อาจมีอาหารพิเศษแทรกบ้างก็ได้

๑๐. การประเคนของพระ

- ถ้าเป็นชาย ยกส่งให้ถึงมือพระภิกษุผู้รับประเคน ถ้าเป็นหญิง วางถวายบนผ้าที่พระสงฆ์

ทอดรับประเคนและรอให้ท่านจับที่ผ้าทอดนั้นก่อน จึงวางสิ่งของลงบนผ้านั้น

- ถ้าพระสงฆ์นั่งกับพื้น พึงนั่งคุกเข่าประเคน ถ้าพระสงฆ์นั่งเก้าอี้ พึงยืนประเคน

- ยกภัตตาหารที่จะพึงฉันพร้อมภาชนะอาหารถวายเท่านั้น สิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ไม่ต้องยกประเคน เพียงแต่วางมอบให้เท่านั้นก็พอ

- ภัตตาหารทุกชนิดที่ประเคนแล้ว ห้ามคฤหัสถ์จับต้องอีก ถ้าเผลอไปจับต้องเข้า ต้องประเคนใหม่

- ประเคนครบทุกอย่างแล้ว ถ้านั่งคุกเข่าประเคน ก็กราบ ๓ ครั้ง     ถ้ายืนประเคนก็น้อมตัว ลงยกมือไหว้

- ลักษณะการประเคนที่ถูกต้อง ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ

    ๑. สิ่งของที่จะประเคน ไม่ใหญ่โตหรือหนักเกินไป ขนาดปานกลางคนเดียวยกไหว และยกสิ่งของนั้นให้ขึ้นพ้นจากพื้นที่สิ่งของนั้นตั้งอยู่

    ๒. ผู้ประเคนอยู่ห่างจากพระภิกษุผู้รับประเคนประมาณ ๑ ศอก (อย่างมากไม่เกิน ๒ ศอก)

    ๓. ผู้ประเคนน้อมสิ่งของนั้นเข้าไปให้ด้วยกิริยาอาการแสดงความเคารพอ่อนน้อม

    ๔. กิริยาอาการที่น้อมสิ่งของเข้าไปให้นั้น    จะส่งให้ด้วยมือก็ได้ ด้วยของเนื่องด้วยกาย  เช่น ใช้ทัพพีตักถวาย ก็ได้

    ๕. พระภิกษุผู้รับประเคนนั้น จะรับด้วยมือก็ได้ ด้วยของเนื่องด้วยกาย เช่น จะใช้ผ้าทอดรับ  ใช้บาตรรับ หรือใช้ภาชนะรับก็ได้

๑๑. การจัดเครื่องไทยธรรมถวายพระสงฆ์ 

  ๑๑.๑ เครื่องไทยธรรม คือวัตถุสิ่งของต่าง ๆ ที่สมควรถวายแก่พระสงฆ์ ได้แก่ 

ปัจจัย ๔ และสิ่งของที่นับเนื่องในปัจจัย ๔

  ๑๑.๒ สิ่งของที่ประเคนพระสงฆ์ได้ในเวลาเช้าชั่วเที่ยง ได้แก่ ประเภทอาหารคาวหวานทุกชนิด ทั้งอาหารสด อาหารแห้ง และอาหารเครื่องกระป๋องทุกประเภท

  หากนำสิ่งของเหล่านี้ไปถวายในเวลาหลังเที่ยงวันแล้ว เพียงแต่แจ้งให้ภิกษุ

รับทราบแล้วมอบสิ่งของเหล่านั้นแก่ศิษย์ของท่านให้เก็บรักษาไว้ทำถวายในวันต่อไปก็พอ

  ๑๑.๓ สิ่งของที่ประเคนพระสงฆ์ได้ตลอดเวลา ได้แก่ประเภทเครื่องดื่ม เครื่องยาบำบัดความเจ็บไข้ และประเภทเภสัช เช่น น้ำตาล น้ำผึ้ง น้ำอ้อย หมากพลู หรือประเภทสิ่งของที่ไม่ใช่ของสำหรับขบฉัน

  ๑๑.๔ สิ่งของที่ไม่สมควรประเคนพระสงฆ์ ได้แก่ เงิน และวัตถุสำหรับใช้แทนเงิน เช่น ธนบัตร เป็นต้น

  (ในการถวาย ควรใช้ใบปวารณาแทนตัวเงิน ส่วนตัวเงินมอบไว้กับไวยาวัจกรของพระภิกษุนั้น)

๑๒. การปฏิบัติในการกรวดน้ำ

- กระทำในงานทำบุญทุกชนิด เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว

- ใช้น้ำที่ใสสะอาดบริสุทธิ์ ไม่มีสิ่งอื่นใดเจือปน

- ใช้ภาชนะสำหรับกรวดน้ำโดยเฉพาะ ถ้าไม่มี ก็ใช้แก้วน้ำหรือขันน้ำแทน โดยจัดเตรียมไว้ก่อนถึงเวลาใช้

- กรวดน้ำหลังจากถวายเครื่องไทยธรรมแล้ว

- เมื่อประธานสงฆ์เริ่มอนุโมทนา (ยถา…) ก็เริ่มหลั่งน้ำอุทิศส่วนกุศล

- ถ้านั่งอยู่กับพื้น พึงนั่งพับเพียบจับภาชนะ สำหรับกรวดน้ำด้วยมือทั้งสอง รินน้ำให้ไหลลงเป็นสาย

- ถ้าภาชนะสำหรับกรวดน้ำปากกว้าง เช่น ขันหรือแก้ว ควรใช้นิ้วมือขวารองรับ

สายน้ำให้ไหลลงไปตามนิ้วชี้นั้น ถ้าภาชนะปากแคบ ไม่ต้องใช้นิ้วมือรองรับสายน้ำ

- ควรรินน้ำให้ไหลลงเป็นสาย โดยไม่ขาดตอนเป็นระยะ ๆ พร้อมกันนั้น ควรตั้งจิตอุทิศส่วนกุศลแก่ท่านผู้ล่วงลับไปแล้ว

- เมื่ออุทิศเป็นส่วนรวมแล้ว ควรอุทิศระบุเฉพาะเจาะจงชื่อ นามสกุล ของผู้ล่วงลับ

ไปแล้วอย่างชัดเจนอีกครั้งหนึ่ง

- เมื่อพระสงฆ์รูปที่ ๒ รับและขึ้นอนุโมทนาว่า สัพพีติโย….พึงเทน้ำให้หมดภาชนะแล้วประนมมือรับพรต่อไป

- ขณะที่พระสงฆ์กำลังอนุโมทนา ไม่พึงลุกไปทำธุรกิจอื่น ๆ (หากไม่จำเป็นจริง ๆ)

- พระสงฆ์อนุโมทนาจบแล้ว พึงกราบหรือไหว้ตามสมควรแก่สถานที่นั้น ๆ

- น้ำที่กรวดแล้วพึงนำไปเทลงที่พื้นดิน      โดยเทลงที่กลางแจ้งภายนอกตัวอาคารบ้านเรือน ห้ามเทลงไปในกระโถนหรือในที่สกปรกเป็นอันขาด

ศาสนพิธีเป็นองค์ประกอบที่สำคัญส่วนหนึ่งของพระพุทธศาสนา  ซึ่งผู้รู้ได้ถือปฏิบัติกัน

มาจนเป็นแบบแผนและเป็นสิ่งที่ชาวพุทธควรศึกษาและปฏิบัติให้ถูกต้อง    เพื่อให้เกิดศรัทธาปสาทะแก่ผู้

พบเห็นและให้เกิดความขลังความศักดิ์สิทธิ์แก่พิธีกรรมนั้น ๆ ข้อควรทราบเพิ่มเติม  ดังนี้

๑. การไหว้

๑.๑ การไหว้พระ

- ยกมือทั้งสองพนมอยู่ระดับอก แล้วยกมือที่พนมนั้นขึ้นจรดหน้าผาก โดยให้ปลายนิ้วหัวแม่มือทั้งสองจรดระหว่างคิ้ว น้อมศีรษะลงพองาม

เหตุผล : การเคารพผู้ที่เรานับถืออย่างสูงสุด ควรพนมมือให้อยู่ระดับสูงสุดของใบหน้าและนอบน้อมเคารพด้วยเศียรเกล้า

๑.๒ การไหว้บิดามารดา ปู่ย่า ตายาย 

- ยกมือที่พนมอยู่ขึ้น ให้ปลายนิ้วหัวแม่มือจรดปลายจมูก น้อมศีรษะลงพองาม

เหตุผล : การเคารพผู้ที่ให้ชีวิต ให้ลมหายใจแก่เรา จึงพนมมือไว้เหนือจมูกและน้อมรำลึกถึง  พระคุณด้วยเศียรเกล้า

๑.๓ การไหว้ผู้ที่เราเคารพนับถือทั่วไป

- ยกมือที่พนมอยู่ให้ปลายนิ้วหัวแม่มือจรดปลายคาง น้อมศีรษะลงพองาม

เหตุผล : การเคารพผู้ที่ให้วิชาความรู้เป็นแบบอย่างในการทำมาหาเลี้ยงชีพ จึงพนมมือไว้ระดับของปาก และน้อมรับเป็นแบบอย่างการดำรงชีวิตด้วยเศียรเกล้า

๑.๔ การไหว้ (การรับไหว้) ผู้เสมอกันหรือผู้น้อยกว่า

- ยกมือพนมขึ้นเสมออก ให้ปลายนิ้วชี้จรดปลายคาง ไม่ต้องน้อมศีรษะ

เหตุผล : คนเสมอกันและเพื่อนมนุษย์ ควรมีน้ำใจเมตตาเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน จึงพนมไว้ในระดับอก หมายถึงจิตใจ

หมายเหตุ  การไหว้นั้น จะนั่งพับเพียบไหว้หรือยืนไหว้ก็ได้ ผู้ชายถ้ายืนต้องให้เท้าทั้งสองชิดกัน ในลักษณะยืนตรง ผู้หญิงถ้ายืนให้สืบเท้าข้างหนึ่งไปข้างหลังเล็กน้อย พร้อมทั้งน้อมตัวไหว้สำหรับการไหว้ ผู้อาวุโสโสกว่าขึ้นไป



๒. การกราบ

๒.๑ การกราบพระ - กราบศพพระ

- กราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ ๓ ครั้ง หมายถึงให้อวัยวะ ๕ ส่วยจรดถึงพื้น คือ เข่า ๒ มือ หรือศอก  ๒ หน้าผาก ๑ 

ท่าเตรียม ผู้ชาย นั่งคุกเข่าบนเส้นเท้า ปลายเท้าตั้ง

ผู้หญิง นั่งทับฝ่าเท้า ปลายเท้าราบ

จังหวะ ๑ (อัญชลี) ยกมือทั้งสองขึ้นพนมเสมออก ปลายนิ้วเบนออกประมาณ ๔๕ องศา

จังหวะ ๒ (วันทา) ยกมือที่พนมนั้นขึ้นจรดหน้าผาก ให้หัวแม่มือทั้งสองจรดระหว่างคิ้ว 

จังหวะ ๓ (อภิวาท) กราบลงกับพื้น แบมือคว่ำให้ฝ่ามือทั้งสองห่างกันพอศีรษะจรดพื้นได้ (ผู้ชายให้ข้อศอกต่อหัวเข่า ผู้หญิงให้ข้อศอกคร่อมเข่า)

๒.๒ กราบคน - กราบศพคน (กราบมือตั้งครั้งเดียว)

จังหวะ ๑ นั่งพับเพียบพนมมือไหว้ขึ้น (กรณีผู้ตายอาวุโสกว่า)  ให้หัวแม่มือจรดปลายจมูก  (กรณีผู้ตายอาวุโสเท่ากันหรือรุ่นราวคราวเดียวกัน)ให้หัวแม่มือจรดปลายคาง

จังหวะ ๒ กราบลงมือหมอบกราบครั้งเดียวโดยให้มือที่พนมนั้นตั้งกับพื้น หน้าผากจรดสันมือ

๓. การจุดเทียนธูปบูชาพระ

- จุดเทียนเล่มทางขวาของพระพุทธก่อน แล้วจึงจุดเทียนเล่มทางซ้าย

  ของพระพุทธ

- จุดธูป ๓ ดอก โดยจุดดอกทางขวาของพระพุทธ ไปทางซ้ายตามลำดับ

- เสร็จแล้วกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ๓ ครั้ง

๔. สัญลักษณ์แห่งการบูชา

เทียน    เป็นสัญลักษณ์แห่งการบูชาพระธรรมและพระวินัย เปรียบเทียบ

      ว่าเทียนเป็นแสงสว่างส่องทาง พระธรรมให้ความสว่างแก่จิตใจ

ธูป       เป็นสัญลักษณ์แห่งการบูชาพระคุณของพระพุทธเจ้า ผู้ทรงพระ

      คุณ ๓ ประการ คือ พระปัญญาคุณ พระวิสุทธิคุณ และพระมหา

      กรุณาธิคุณ เปรียบเทียบว่า ธูปมีกลิ่นหอม เมื่อหมดดอกความ

      หอมจะสิ้นไป แต่ความหอมของพระพุทธคุณ มิมีวันจางหายไป

ดอกไม้ เป็นสัญลักษณ์แห่งการบูชาพระสงฆ์  เปรียบเทียบว่า ดอกไม้จัด

เป็นระเบียบแล้วดูสวยงาม พระสงฆ์อยู่ในระเบียบวินัย ปฏิบัติดี

ปฏิบัติชอบ ย่อมสวยงามมีคุณค่า 




๕. การจุดธูป 

จุด ๑ ดอก : บูชาศพ

จุด ๓ ดอก : บูชาพระรัตนตรัย

    - บูชาพระคุณของพระพุทธเจ้าทั้ง ๓ ประการ

จุด ๕ ดอก บูชาปูชนียบุคคลทั้งห้าคือ บูชาพระรัตนตรัย ๓ ดอก บูชาบิดามารดา ๑ ดอก บูชาครูอาจารย์ ๑ ดอก หรือบูชาพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ คือ พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ 

พระโคตมะ และพระศรีอริยเมตไตรย

จุด ๗ ดอก บูชาองค์แห่งธรรมเป็นเครื่องตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ๗ ประการที่เรียกว่า โพชฌงค์ ๗

- บูชาวันทั้ง. ๗ คือ อาทิตย์ - เสาร์

จุด ๙ ดอก บูชาพระพุทธคุณโดยพิสดาร ๙ ประการ บูชาพระภูมิเจ้าที่ทั้ง ๙ พระองค์

๖. การอัญเชิญพระพุทธรูปมาตั้งบนโต๊ะหมู่บูชา

- ควรทำเมื่อใกล้เวลาจะประกอบพิธี 

- พระพุทธรูปนั้นควรใหญ่พอสมควร ไม่ใช่พะเครื่อง ซึ่งเล็กเกินไป

- ถ้ามีครอบ ควรเอาที่ครอบออก หากมัวหมอหงด้วยธุลี ควรเช็ดให้สะอาด หรือสรงน้ำเสียก่อน

- อัญเชิญโดยยกที่ฐานพระให้สูงระดับอกด้วยอาการเคารพ ห้ามจับที่พระศอ (คอ) หรือพระพาหา (แขน) ในลักษณะหิ้วของ ซึ่งเป็นอาการที่ไม่เคารพ

- ตั้งบนโต๊ะหมู่บูชาตัวที่สูงที่สุด

- ควรอัญเชิญกลับไปไว้ที่เดิมเมื่อเสร็จพิธี


คำกล่าวพิธีกรรมในพุทธศาสนพิธีที่ควรทราบ

คำบูชาพระรัตนตรัย

   อิมินา  สักกาเรนะ/   พุทธัง  ปูเชมิ / (หรือ  อะภิปูชะยามิ)

อิมินา  สักกาเรนะ/   ธัมมัง   ปูเชมิ / (หรือ  อะภิปูชะยามิ)         

อิมินา  สักกาเรนะ/   สังฆัง    ปูเชมิ / (หรือ  อะภิปูชะยามิ)         

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา/        พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ / (กราบ)

สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม/            ธัมมัง นะมัสสามิ / (กราบ)

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวกะสังโฆ/   สังฆัง นะมามิ / (กราบ)

 ( คำกล่าวปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ )

     เอเต  (หญิงว่า เอตา)  มะยัง  ภันเต /  สุจิระปะรินิพพุตัมปิ/  ตัง  ภะคะวันตัง/  สะระณัง  คัจฉามะ,   

ธัมมัญจะ   สังฆัญจะ/  พุทธะมามะกาติ/   โน  สังโฆ  ธาเรตุ ฯ



     ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ/ ข้าพเจ้าทั้งหลาย/  ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น/  

แม้ปรินิพพานไปนานแล้ว/ ทั้งพระธรรมและพระสงฆ์/  เป็นสรณะที่ระลึกนับถือ/  

ขอพระสงฆ์จงจำข้าพเจ้าทั้งหลาย/   ว่าเป็นพุทธมามกะ ดังนี้ ฯ

( พระสงฆ์ จะได้ให้โอวาท  เมื่อจบโอวาทแล้ว  พึงรับด้วยคำาว่า  “ สาธุ” )

( ต่อจากนั้น กล่าวคำอาราธนาศีล ๕ ดังนี้ )

  มะยัง  ภันเต  วิสุง  วิสุง  รักขะณัตถายะ/  ติสะระเณนะ  สะหะ/  ปัญจะสีลานิ  ยาจามะ/ 

ทุติยัมปิ   มะยัง  ภันเต  วิสุง  วิสุง  รักขะณัตถายะ/  ติสะระเณนะ  สะหะ/  ปัญจะสีลานิ  ยาจามะ/ 

ตะติยัมปิ มะยัง  ภันเต  วิสุง  วิสุง  รักขะณัตถายะ/  ติสะระเณนะ  สะหะ/  ปัญจะสีลานิ  ยาจามะ/

( รับศีล ๕ โดยว่าตามพระสงฆ์ตามลำดับ ดังนี้ )

(บทนะโม)       นะโม   ตัสสะ   ภะคะวะโต   อะระหะโต   สัมมาสัมพุทธัสสะ/   

                               นะโม   ตัสสะ   ภะคะวะโต   อะระหะโต   สัมมาสัมพุทธัสสะ/

                               นะโม   ตัสสะ   ภะคะวะโต   อะระหะโต   สัมมาสัมพุทธัสสะ/

(บทไตรสรณคมน์)

   พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ/         ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ/                 สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ/

ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ/    ทุติยัมปิ   ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ/   ทุติยัมปิ  สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ/

ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ/  ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ/   ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ/

( ถ้าพระสงฆ์สรุปว่า “ ติสะระณะคะมะนัง  นิฏฐิตัง “  ให้กล่าวรับด้วยคำว่า  “ อามะ  ภันเต “ )

(ศีล ๕)

ปาณาติปาตา เวระมะณี   สิกขาปะทัง   สะมาทิยามิ

อะทินนาทานา   เวระมะณี   สิกขาปะทัง   สะมาทิยามิ

กาเม สุมิจฉาจารา เวระมะณี   สิกขาปะทัง   สะมาทิยามิ

มุสาวาทา เวระมะณี   สิกขาปะทัง   สะมาทิยามิ

สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี   สิกขาปะทัง   สะมาทิยามิ

คำอาราธนาพระปริตร

วิปัตติปะฏิพาหายะ/ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา/

สัพพะ ทุกขะ วินาสายะ/ ปะริตตัง  พฺรูถะ  มังคะลัง/

วิปัตติปะฏิพาหายะ/ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา/

สัพพะ ภะยะ  วินาสายะ/ ปะริตตัง  พฺรูถะ  มังคะลัง/

  วิปัตติปะฏิพาหายะ/ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา/

สัพพะ โรคะ  วินาสายะ/ ปะริตตัง  พฺรูถะ  มังคะลัง/

คำอาราธนาธรรม

พรัหมา  จะ โลกาธิปะตี  สะหัมปะติ/      กัตอัญชะลี  อันธิวะรัง  อะยาจะถะ/

สันตีธะ  สัตตาปปะระชักขะชาติกา/      เทเสตุ  ธัมมัง  อะนุกัมปิมัง  ปะชัง/

คำบูชาข้าวพระพุทธ (ตั้งนะโมก่อน  ๓  จบ)

อิมัง/ สูปะพะยัญชะนะสัมปันนัง/ สาลีนัง/  โอทะนัง/  สะอุทะกัง วะรัง/  พุทธัสสะ/  ปูเชมิ/

คำลาข้าวพระพุทธ (และใช้ลาเครื่องสังเวยบวงสรวงก็ได้) (ตั้งนะโมก่อน ๓ จบ)

เสสัง   มังคะลัง  ยาจามิ/

คำถวายสังฆทานทั่วไป  (ตั้งนะโมก่อน ๓ จบ)

อิมานิ/ มะยัง ภันเต/ ภัตตานิ/ สะปะริวารานิ/  ภิกขุสังฆัสสะ/  โอโณชะยามะ/  

สาธุ  โน  ภันเต/  ภิกขุสังโฆ/  อิมานิ/  ภัตตานิ/  สะปะริวารานิ/  ปะฏิคคัณหาตุ/

อัมหากัง/ ทีฆะรัตตัง/  หิตายะ/  สุขายะ/

ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ/  ข้าพเจ้าทั้งหลาย/  ขอน้อมถวาย/  ภัตตาหาร/  

กับทั้งของบริวารเหล่านี้/  แก่พระภิกษุสงฆ์/   ขอพระภิกษุสงฆ์/   จงรับภัตตาหาร/   

กับทั้งของบริวารเหล่านี้/ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย/  เพื่อประโยชน์/  และความสุข/  

แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย/  ตลอดกาลนานเทอญ/

คำกรวดน้ำอุทิศให้ญาติ

อิทัง  เม/  ญาตีนัง  โหตุ/  สุขิตา  โหนตุ/  ญาตะโย/

ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ/ แก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า/

ขอให้ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า/ จงมีความสุข/

คำกรวดน้ำปรารถนาผลส่วนตัว

อิทัง  เม  กะตัง  ปุญญัง/  นิพพานะปัจจะโย  โหตุ/  อะนาคะเต  กาเล/

พิธีกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

-------------------------

  วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา หมายถึง วันที่มีเหตุการณ์พิเศษบางอย่างเกิดขึ้นในพระพุทธศาสนาโดยมากจะเป็นวันที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า ซึ่งอาจจะกำหนดเอาวันที่มีเหตุการณ์พิเศษเกิดขึ้นในชีวิตของพระองค์เป็นหลัก   วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาในประเทศไทยที่นิยมปฏิบัติกิจกรรมเพื่อระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัยมีดังนี้

วันวิสาขบูขา

  วันวิสาขบูชา ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ เป็นวันสำคัญในทางพระพุทธศาสนา   หมายถึง 

การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขบูชา หรือราวเดือน ๖ ของไทย เนื่องในโอกาสวันพระพุทธเจ้าประสูติ   ตรัสรู้ และเสด็จดับขันธปรินิพพาน 

  ความสำคัญ พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และเสด็จดับขันธปรินิพพาน เวียนมาบรรจบตรงในวันเดียวกัน คือ วันเพ็ญเดือนวิสาขะ จึงถือว่าเป็นวันสำคัญของพระพุทธเจ้า 

ประวัติความเป็นมา

๑. พระพุทธเจ้าประสูติ ณ  สวนลุมพินีวัน อยู่ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับกรุงเทวทหะ แคว้นสักกะ (ปัจจุบันอยู่ในเมืองลุมมินเด ประเทศเนปาล) เมื่อเช้าวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖     ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี 

ต่อมาพระองค์ได้เสด็จออกผนวช และทรงบำเพ็ญเพียรอย่างหนัก  จนได้ตรัสรู้พระอนุตร-สัมสัมมาสัมโพธิญาณ ณ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ (ปัจจุบันอยู่ในเขตเมืองพุทธคยา แคว้นพิหาร ประเทศอินเดีย) เมื่อเช้ามืด วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี หลังจากตรัสรู้แล้ว พระองค์ทรงบำเพ็ญพุทธกิจโปรดผู้ควรแนะนำสั่งสอนให้ได้บรรลุมรรคผลจนสำเร็จผลจนนับไม่ถ้วน       และเสด็จดับขันธปรินิพพาน เมื่อวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖  ณ สาลวโนทยานของมัลลกษัตริย์ เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ (ปัจจุบันอยู่ในเขตเมืองกุสีนคระ) แคว้นอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย พระชนมายุได้ ๘๐ พรรษา

๒. การถือปฏิบัติวันวิสาขบูชาในประเทศไทย

  การประกอบพิธีวิสาขบูชาในเมืองไทยเริ่มทำมาแต่สมัยสุโขทัยเป็นราชธานี ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะได้รับแบบอย่างมาจากลังกา กล่าวคือ เมื่อประมาณ พ.ศ. ๔๒๐  พระเจ้าภาติกราช กษัตริย์แห่งลังกาได้ประกอบพิธีวิสาขบูชาอย่างมโหฬาร เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา กษัตริย์ลังกาในรัชกาลต่อ ๆ มา 

ก็ทรงดำเนินรอยตาม แม้ปัจจุบันก็ยังถือปฏิบัติอยู่

ในสมัยสุโขทัยนั้น ประเทศไทยกับประเทศลังกา มีความสัมพันธ์กันทางด้านพระพุทธศาสนาอย่างใกล้ชิดมากเพราะพระสงฆ์ชาวลังกาได้เดินทางเข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนา และเชื่อว่าได้นำการประกอบพิธีวิสาขบูชามาปฏิบัติในประเทศไทยด้วย

ในสมัยอยุธยา สมัยธนบุรี และสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ไม่ปรากฏหลักฐานว่าได้มี

การประกอบพิธีวิสาขบูชา จนมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ แห่ง

กรุงรัตนโกสินทร์จึงปรากฎหลักฐานในพระราชพงศาวดารว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย   มีพระราชประสงค์จะให้ฟื้นฟูการประกอบพิธีวันวิสาขบูชาขึ้นใหม่ ให้ปรากฎในแผ่นดินไทยต่อไปกับมีพระประสงค์จะให้ประชาชนประกอบการกุศล เป็นหนทางเจริญอายุและอยู่เย็นเป็นสุขปราศจากทุกข์โศก 

โรค  ภัยและอุปัทวันตรายต่าง ๆ โดยทั่วหน้ากัน ฉะนั้นการประกอบพิธีในวันวิสาขบูชาในประเทศไทย จึงได้รื้อฟื้นให้มีขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ และ

ถือปฏิบัติมาจวบจนกระทั่งปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงนิพนธ์ไว้ในพระราชพิธีสิบสองเดือนว่า ตั้งแต่พระพุทธศาสนาได้มาประดิษฐานในแผ่นดินสยามแล้ว  คนทั้งปวงได้ทำการบูชานั้นมาแต่เดิมหรือไม่ได้ทำ  ก็ไม่มีปรากฏชัดในที่แห่งใด  แต่พอถึงสมัยสุโขทัยก็มีหลักฐานปรากฏชัดว่า  ได้มีพิธีวิสาขบูชาแน่นอน  เพราะมีกล่าวไว้ในตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ว่า  ในวันวิสาขบูชา กรุงสุโขทัยประดับประดาไปด้วยธงทิว  พวงดอกไม้ต่าง ๆ หลากสีหลากพันธุ์  สว่างไสวไปด้วยแสงประทีป เทียน ดอกไม้ไฟ  ครึกครื้นด้วยเสียงไพเราะ สนุกสนาน ของพิณพาทย์  ฆ้อง กลอง ตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน  ผู้คนพากันหลั่งไหลมาจากทุกสารทิศ  เพื่อประกอบการกุศลในวันวิสาขบูชา เช่น รักษาอุโบสถศีล   ฟังธรรมเทศนา    ถวายสังฆทาน แจกทาน ปล่อยนก ปล่อยปลา เต่า เป็นต้น บรรยากาศของกรุงสุโขทัยในวันวิสาขะนี้  

นับว่าน่าเบิกบาน รื่นรมย์  สมกับคำสรรเสริญว่า “อันพระนครสุโขทัยราชธานี  ถึงวันวิสาขนักขัตฤกษ์ครั้งใด  ก็สว่างไสวไปด้วยแสงประทีป เทียน ดอกไม้เพลิง  และสล้างสลอนด้วยธงชาย  ธงประฏาก 

ไสวไปด้วยพู่พวงดอกไม้กรองร้อยห้อยแขวนหอมตลบไปด้วยกลิ่นสุคนธรส รวยรื่น เสนาะสำเนียง

พิณพาทย์  ฆ้องกลองทั้งทิวาราตรี  มหาชนชายหญิงพากันกระทำกองการกุศล เสมือนจะเผยซึ่งทวารพิมานฟ้าทุกช่อชั้น”

ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์  ปี พ.ศ.๒๓๖๐ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้โปรดเกล้าฯ ให้จัด “พระราชกำหนดพิธีสวดวิสาขบูชา” ขึ้นโดยมีการประดับประดาตกแต่งวัดพระศรีรัตนศาสดาราม  ด้วยดอกไม้หลากสีหลากพันธุ์  ป่าวประกาศให้ประชาชนรักษาศีล ฟังธรรม ถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์  จุดประทีปและโคมไฟ  เพื่อบูชาพระพุทธเจ้า ทำให้พระนครและบ้านเรือนทั่วไปสว่างไสวไปทั่ว

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว         ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการเทศนาพุทธประวัติปฐมสมโพธิ  ขึ้นตามวัดในวันวิสาขบูชาเป็นพิเศษ  เพิ่มขึ้นจากกิจกรรมที่ปฏิบัติตามแบบอย่างในรัชกาลก่อน

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดงานวันวิสาขบูชาให้พิเศษไปกว่าที่เคยจัดในรัชกาลก่อน  คือให้ตั้งโต๊ะเครื่องบูชาพระพุทธธรรม ณ เฉลียงพระอุโบสถ

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม  และให้ทำโคมแขวนไว้ตามศาลารายอีกด้วย

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการฝ่ายในเดินเวียนเทียนและสวดมนต์รอบ ๆ พระพุทธรัตนสถาน  วิธีปฏิบัตินี้นับว่าเป็น

แบบอย่างของการเวียนเทียนในรัชกาลต่อ ๆ มา จนถึงสมัยปัจจุบัน

ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๔๒ ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยสามัญ ครั้งที่ ๕๔ ได้พิจารณาว่า เนื่องจากวันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญของพุทธศาสนิกชนทั่วโลก เพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้า

ประสูติ ทรงตรัสรู้ เสด็จดับขันธปรินิพพาน พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนให้มวลมนุษย์มีเมตตาธรรมและขันติธรรมต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเพื่อให้เกิดสันติสุขในสังคม อันเป็นแนวทางของสหประชาชาติ 

ที่ประชุมจึงให้การรับรองโดยฉันทามติว่าวันดังกล่าวเป็นวันสำคัญสากลแห่งองค์การสหประชาชาติ 

เป็นวันที่สำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติและที่ทำการสมัชชาจะจัดให้มีการระลึกถึงตามความเหมาะสม

วิธีปฏิบัติพิธีวิสาขบูชาสำหรับประชาชน

สำหรับพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป  ก็จะประดับธงชาติ และธงเสมาธรรมจักรตามหน้าบ้านเมืองของตน  ตอนเช้าก็พากันไปตักบาตรที่วัดในท้องถิ่นของตน  หรือตามสถานที่ที่กำหนดเป็นพิเศษ  กลางวันอาจจะไปวัด  สมาทานศีล รักษาอุโบสถศีล  ฟังเทศน์ ทำวัตรสวดมนต์  ตอนเย็นไปร่วมพิธีเวียนเทียนที่วัดหรือศาสนสถานที่กำหนด

ระเบียบพิธีเวียนเทียนตามวัดทั่ว ๆ ไป

เมื่อได้เวลากำหนดแล้ว  ทางวัดตีระฆังสัญญาณให้พุทธศาสนิกชน คือ ภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา มาชุมนุม พร้อมกันที่หน้าพระอุโบสถ วิหาร หรือลานเจดีย์  จัดรูปกระบวนให้เป็นระเบียบ  

โดยให้พระภิกษุยืนแถวหน้า  ถัดไปเหล่าสามเณร สุดท้ายอุบาสก อุบาสิกา ทุกคนถือดอกไม้ธูปเทียน          หัวหน้าพระสงฆ์ จุดธูปเทียน ทุกคนจุดตาม แล้วหันหน้าเข้าหาปูชนียสถานที่จะเวียนรอบนั้น     หัวหน้ากล่าวนำว่า  นะโม…..๓ จบ คนอื่นก็ว่าตาม  แล้วหัวหน้ากล่าวนำคำถวายดอกไม้ธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย 

ทุกคนว่าตามจนจบ  ลำดับต่อไป  หัวหน้าสงฆ์เดินนำแถวด้วยการประนมมือถือดอกไม้ ธูปเทียนนั้น

เดินเวียนไปทางที่มือขวาของตนหันเข้าหาสถานที่นั้น จะเดินแถวเรียงหนึ่งหรือ มากกว่านั้นก็แล้วแต่ความเหมาะสม  ข้อสำคัญต้องรักษามารยาท เดินด้วยอาการสำรวมสงบมีสติกำกับตลอดเวลา  อย่าทำไปเพราะเห็นแก่สนุกสนานเฮฮาเบียดเสียดกัน  การทำเช่นนี้เสียมาก  เมื่อจะทำทั้งทีก็ทำให้เป็นกุศล

การเดินเวียนเทียนรอบที่ ๑ พึงตั้งใจระลึกถึงพระพุทธคุณ บท อิติปิโส ภะคะวา….. หรือบริกรรมในใจว่า “พุทโธ” รอบที่ ๒ ระลึกถึงพระธรรมคุณ บท สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม… หรือบริกรรมในใจว่า “ธัมโม”  รอบที่ ๓ ระลึกถึงพระสังฆคุณ บท สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต …..  หรือบริกรรมในใจว่า “สังโฆ”   เดินครบ ๓ รอบ แล้วนำดอกไม้ ธูปเทียน ไปปักบูชา ณ ที่ที่เตรียมไว้ต่อจากนั้น ก็พากันเข้าไปในพระอุโบสถ  พระวิหาร หรือ ศาลาการเปรียญ ทำวัตร   สวดมนต์พร้อมกัน    สมาทานศีลฟังพระธรรมเทศนาเกี่ยวกับพุทธประวัติ

ประโยชน์ของประเพณีวิสาขบูชา

  ๑. เป็นการส่งเสริมให้ชาวพุทธแสดงความกตัญญูต่อองค์พระศาสดาของศาสนาพุทธในฐานะเป็นศาสนาประจำชาติไทย  นับว่าพุทธศาสนาได้อำนวยประโยชน์ผลดีแก่สังคมไทยมากมาย จึงสมควรอย่างยิ่งที่คนไทยจะแสดงความกตัญญู โดยจัดให้มีวันวิสาขบูชาขึ้น

๒. เป็นประเพณีที่ช่วยกระชับความสามัคคีของชาวไทยให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น     เมื่อถึงเทศกาลวิสาขบูชา 

ก็มารวมกันที่ศาสนสถานโดยไม่ได้นัดหมาย  แต่มาชุมนุมกันตามธรรมเนียมนิสัยที่เคยปฏิบัติสืบต่อกันมายาวนาน  เมื่อมาพบกัน ร่วมกันทำกิจกรรมด้วยกันก็ยิ่งเพิ่มความสามัคคีให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นไปอีก

- ๘ -

๓. ทำให้ชาวพุทธมีโอกาสได้รับคำสอนที่สำคัญ ๆ ในพุทธศาสนาซึ่งเป็นการเตือนชาวพุทธให้ตระหนักในสัจธรรม และความไม่ประมาทในการดำเนินชีวิต

การทำนุบำรุงส่งเสริม

  ๑. การเชิญชวนให้ประชาชนมาร่วมพิธีเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา

  ๒. การโฆษณา ประชาสัมพันธ์พิธีวิสาขบูชาทางสื่อมวลชน  เช่น ทางวิทยุกระจายเสียง 

โทรทัศน์ และสื่อหนังสือพิมพ์เป็นต้น

  ๓. ควรบรรจุเนื้อหาของวันวิสาขบูชาไว้ในหลักสูตรการศึกษาตั้งแต่ระดับประถมศึกษาขึ้นไป

วันมาฆบูชา

  มาฆบูชา แปลว่า การบูชาในเดือน ๓ เป็นวันที่มีความสำคัญวันหนึ่งของพระพุทธศาสนา ในที่ท่ามกลางสงฆ์ ณ เวฬุวันมหาวิหาร  พระพุทธเจ้าทรงปรารภเหตุสำคัญ ๔ ประการ ที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า จาตุรงคสันนิบาต  ซึ่งแปลว่า การประชุมที่พร้อมด้วยองค์ ๔ คือ

๑. วันนั้น เป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓  พระจันทร์เสวยมาฆฤกษ์เต็มดวง

๒. วันนั้น พระอรหันตขีณาสพ จำนวน ๑,๒๕๐ รูป มาชุมนุมกันพร้อมหน้าที่พระเวฬุวันมหาวิหาร กรุงราชคฤห์

๓. พระอรหันตสาวกเหล่านี้  มาประชุมโดยมิได้นัดหมายกันมาก่อน

๔. พระอรหันตขีณาสพทั้งหมดนั้น เป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทา คือพระพุทธเจ้าทรงบวชให้ด้วยพระองค์เองทั้งสิ้น

เหตุการณ์อันสำคัญยิ่งที่เกิดขึ้นในวันเพ็ญเดือน ๓ อันเป็นปีแรกแห่งการประกาศศาสนานี้ คือ พระพุทธองค์ก็ได้ทรงประทานเสาหลักสำหรับให้พุทธบริษัท ๔    ยึดเป็นแกนคำสอนหลักของ

พระพุทธศาสนานั่นคือ   ได้ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ อันเป็นคำสอนที่เป็นหลักใหญ่ ในพระพุทธศาสนา 

มีใจความย่อ ๆ ว่า 

“การไม่ทำความชั่วทั้งปวง การทำความดีให้ถึงพร้อม การทำจิตของตนให้สะอาดผ่องใส  นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย”

“ความอดทน คือ ความอดกลั้นเป็นตบะอย่างยิ่ง     พระพุทธเจ้าทั้งหลายกล่าวว่านิพพานเป็น

บรมธรรม  ผู้ทำร้ายคนอื่น ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ”

“การไม่กล่าวร้าย การไม่ทำร้าย  ความสำรวมในพระปาติโมกข์ ความเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร ที่นั่งที่นอนอันสงัด  ความเพียรในอธิจิต นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย”

“คำสอนเหล่านี้ถือเป็นหลักการที่สำคัญของพระพุทธศาสนา  แต่เรามักจะจำได้เฉพาะคาถาแรกเท่านั้นว่า ไม่ทำชั่ว ทำแต่ความดี และทำจิตให้บริสุทธิ์”

วิธีปฏิบัติพิธีมาฆบูชา

การบูชาในวันมาฆบูชาเป็นประเพณีที่เพิ่งเริ่มทำกันในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔  โดยในสมัยนั้นได้มีการบำเพ็ญพระราชกุศล คือ เวลาเช้า พระสงฆ์ทำวัตรสวดมนต์  สวดคาถาโอวาทปาติโมกข์ ๑ กัณฑ์  แต่สมัยต่อมา  พระเจ้าแผ่นดิน ทรงติดภารกิจราชการ  ณ หัวเมืองต่าง ๆ ก็จะทรงบำเพ็ญพิธีมาฆบูชาที่เมืองนั้น ๆ

ปัจจุบัน ราชการได้ให้ความสำคัญต่อวันมาฆบูชา โดยกำหนดเป็นวันหยุดราชการ

ประโยชน์ของพิธีมาฆบูชา

๑. ทำให้พุทธศาสนิกชนได้ทราบหลักคำสอนอันเป็นแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา คือ โอวาทปาติโมกข์

๒. ทำให้พระพุทธศาสนาได้รับการทำนุบำรุงส่งเสริม  เป็นการสนับสนุนการเผยแพร่พุทธธรรม และการปฏิบัติธรรมเป็นพิเศษ

ความจริงการที่ทางราชการได้กำหนดให้วันมาฆบูชาเป็นวันหยุดราชการนั้น ก็นับว่าเป็นการอนุรักษ์ส่งเสริมให้พิธีกรรมนี้ดำรงคงอยู่   และจะอำนวยผลอย่างแท้จริง    บรรดาข้าราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่ และประชาชนทั่วไป  ควรตั้งใจประกอบพิธีกรรมนี้ให้ครบทั้ง ๓ พิธี คือ ทานพิธี บุญพิธี และกุศลพิธีควรละเว้นอบายมุขทุกชนิด  ไม่ใช้ช่วงเวลานี้ไปทำอย่างอื่น

วันอาสาฬหบูชา

อาสาฬหบูชา แปลว่า การบูชาในเดือน   เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันหนึ่ง โดยเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาเป็นครั้งแรก  หลังจากที่ได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมา-สัมโพธิญาณ เรียกว่า ปฐมเทศนา หรือธัมมจักกัปปวัตนสูตร ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี  

ผู้ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมโปรดในวันนี้ คือ พระปัญจวัคคีย์ โดยใจความย่อ พระพุทธองค์ทรงเตือนพระปัญจวัคคีย์ว่าบุคคลไม่ควรหมกหมุ่นในกามสุข (กามสุขัลลิกานุโยค) และไม่ควรบำเพ็ญเพียรด้วยการทรมานตนเองให้ลำบาก (อัตตกิลมถานุโยค) แต่ควรจะปฏิบัติตนตามทางสายกลาง  (มัชฌิมาปฏิปทา) คือไม่เคร่งจนเกินไป และไม่หย่อนยานเกินไป  ก็จะได้บรรลุความพ้นทุกข์

จากนั้น พระองค์ทรงแสดงอริยสัจ ๔ ประการ  ซึ่งเป็นหลักความจริงที่ทำให้บุคคลเป็นผู้ประเสริฐ  ๔ ประการ คือ

๑. ทุกข์ คือ ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ ได้แก่ อุปาทานขันธ์ ๕

๒. สมุทัย คือ เหตุเกิดทุกข์ ได้แก่ตัณหา ๓ ประการ คือ กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา

๓. นิโรธ คือ ความดับทุกข์  ได้แก่พระนิพพาน

๔. มรรค  คือ หนทางที่จะนำไปสู่ความดับทุกข์ ได้แก่มรรคมีองค์ ๘ 

        เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาจบลง พระโกณฑัญญะ ได้เกิดดวงตาเห็นธรรม แล้วก็ทูลขออุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้อุปสมบทด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา  จึงนับว่าเป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา ฉะนั้น วันอาสาฬหบูชา จึงมีความสำคัญ ๓ ประการ คือ

๑.  เป็นวันแรกที่พระพุทธเจ้าเริ่มประกาศศาสนา     โดยทรงแสดงปฐมเทศนาชื่อ

ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

๒.  เป็นวันกำเนิดพระสงฆ์รูปแรกในพระพุทธศาสนา คือ พระอัญญาโกณฑัญญะ

๓.  เป็นวันแรกที่พระรัตนตรัยครบบริบูรณ์ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

  การประกอบพิธีกรรมในวันอาสาฬหบูชาในอดีตไม่ปรากฏชัดว่ามีหรือไม่ จวบจนถึงปี         พ.ศ. ๒๕๐๑ คณะสังฆมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้กำหนดวันอาสาฬหบูชา เป็นวันสำคัญทางศาสนาวันหนึ่ง เช่นเดียวกับวันมาฆบูชา และวันวิสาขบูชา ตามข้อเสนอของสังฆมนตรีช่วยว่าการองค์การศึกษา (พระธรรมโกศาจารย์ วัดมหาธาตุ) เสนอไปยังรัฐบาลให้กำหนดเป็นวันสำคัญทางราชการด้วย  คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๐๑ และมีระเบียบรับรองเมื่อวันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๐๑

วันเข้าพรรษา

วันเข้าพรรษาตรงกับวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ เป็นวันที่พระภิกษุตั้งใจว่าจะอยู่ประจำ

ณ วัดใดวัดหนึ่งตลอดเวลา ๓ เดือน ในฤดูฝน โดยไม่ไปค้างคืนที่อื่นในระหว่าง ๓ เดือนนี้

การปฏิบัติตนของชาวพุทธ

๑) จัดเครื่องสักการะ เช่น ดอกไม้ ธูปเทียน เครื่องใช้มาถวายพระภิกษุ และสามเณรที่ตนเคารพนับถือ

๒) มีการหล่อเทียนขนาดใหญ่สำหรับจุดบูชาพระประธานในโบสถ์ให้อยู่ได้ตลอด ๓ เดือน

๓) มีการถวายผ้าอาบน้ำฝน ในตอนที่ไปทำบุญที่วัดในตอนเช้า

วันออกพรรษา

วันออกพรรษาตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ถือเป็นวันสิ้นสุดระยะการอยู่จำพรรษา

ซึ่งใช้เวลานาน ๓ เดือน บางครั้งเรียกวันนี้ว่า วันปวารณา คือเป็นวันที่พระสงฆ์กล่าวคำปวารณา หรือเปิดโอกาสให้ว่ากล่าวกันได้ ใครมีข้อข้องใจในเรื่องความประพฤติเกี่ยวกับวินัยสงฆ์ก็ไม่ต้องนิ่งไว้ อนุญาตให้ซักถามและชี้แจงกันได้  การปฏิบัติตนของชาวพุทธ มีการตักบาตรเทโว หรือเทโวโรหณะ  คือการตักบาตรในวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก

ประโยชน์ของพิธีกรรม

๑. ทำให้พุทธศาสนิกชนได้มีโอกาสปฏิบัติคุณธรรม เช่น ความกตัญญูต่อศาสนา ความสามัคคีของพุทธศาสนิกชน เป็นต้น

๒. ทำให้พุทธศาสนิกชนมีโอกาสได้รับทราบคำสอนที่สำคัญ ๆ ในพระพุทธศาสนา เพื่อยึดเป็นหลักในการดำรงชีวิตของตนต่อไป  เช่น พุทธดำรัสเตือนในธัมมจักกัปปวัตนสูตรว่า ไม่ควรประพฤติหย่อนยานจนเกินไป  จะทำอะไรก็ไม่สำเร็จ แต่ก็ไม่ควรให้ตึงเกินไป จนเป็นการทรมานตัวเอง  จะทำให้ไม่ประสบผลสำเร็จ  ทางที่ถูกควรประพฤติปฏิบัติตนตามทางสายกลาง ไม่หย่อนเกินไป และไม่ตึงเกินไป  สิ่งที่ทำอยู่ก็จะประสบผลสำเร็จอย่างที่พระพุทธองค์ทรงกระทำมาแล้ว

การทำนุบำรุงส่งเสริม

๑. ให้การศึกษาแก่ประชาชน  เกี่ยวกับวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น จัดให้มีการปาฐกถา บรรยาย อภิปราย การบรรจุเนื้อหาเรื่องนี้ไว้ในหลักสูตรการศึกษา การประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้เรื่องนี้ทางสื่อมวลชน

.สถาบันทางศาสนา ทางการศึกษา หน่วยงานของรัฐและเอกชน ควรประกาศเชิญชวนประชาชนให้มาร่วมกิจกรรมวันอาสาฬหบูชา

๓. ทางราชการควรประกาศชักชวนให้มีการสนับสนุนการประพฤติชอบในโอกาสวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา  เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา เช่น งดอบายมุขทุกชนิด ห้ามฆ่าสัตว์ สถานเริงรมย์ทุกแห่งควรหยุดให้บริการหยุดทำความชั่ว ๑ วัน ในวันสำคัญทางศาสนา

--------------------------


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระเบียบงานสารบรรณ

ระเบียบงานสารบรรณ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 ( อ่าน ) ระเบียบกองทัพบก ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2555 ( อ่าน ) ระเบียบกองทัพบก ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2563 ( อ่าน )  ระเบียบกองทัพบก ว่าด้วยงานสารบรรณ (ฉบับที่2) พ.ศ.2564 ( อ่าน ) สรุปงานสารบรรณ

วิชาการศาสนาและศีลธรรม หลักสูตรนายสิบชั้นต้น

  หลักสูตรนายสิบชั้นต้น วิชาการศาสนาและศีลธรรม ประวัติพระพุทธศาสนา ดินแดนที่เกิดพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาเกิดขึ้น   ณ   ดินแดนแถบเชิงเขาหิมาลัย   ทางทิศใต้     เมื่อ ๒๕๐๐ ปีเศษมาแล้ว เรียกว่า “ ชมพูทวีป ” ทุกวันนี้อาณาบริเวณดังกล่าวแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน   ส่วนเหนือเป็นประเทศเนปาล ภูฐาน และสิขิม     ส่วนใต้เป็นประเทศอินเดีย พื้นเพชาวชมพูทวีป พื้นเพเดิมของชาวชมพูทวีปสมัยก่อนพุทธกาลคือ   ๑ . เชื้อชาติ ชนชาวชมพูทวีป มีอยู่ ๒ เชื้อชาติ คือ     ๑ . ๑ พวกอริยกะ     เป็นพวกที่ฉลาด มีการศึกษาดี เป็นผู้บริหารกิจการของประเทศ     ๑ . ๒ พวกมิลักขะ หรือทัสยุ   เป็นพวกไม่ค่อยมีการศึกษา       ส่วนมากอยู่ในตำบลชายแดน   พระพุทธเจ้าเกิดในเผ่าอริยกะ ๒ . การปกครอง   ภาคพื้นชมพูทวีปนั้นถูกแบ่งออกเป็นรัฐ     แต่ละรัฐมีพระราชาเป็นประมุข   บางรัฐพระราชาปกครองโดยเด็ดขาด บางรัฐมีสภาปกครอง       การแบ่งวรรณะของคนสมัยนั้น   ...