ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

วิชาการศาสนาและศีลธรรม หลักสูตรนายสิบชั้นต้น

 หลักสูตรนายสิบชั้นต้น

วิชาการศาสนาและศีลธรรม

ประวัติพระพุทธศาสนา

ดินแดนที่เกิดพระพุทธศาสนา

พระพุทธศาสนาเกิดขึ้น    ดินแดนแถบเชิงเขาหิมาลัย  ทางทิศใต้    เมื่อ ๒๕๐๐ ปีเศษมาแล้ว เรียกว่าชมพูทวีปทุกวันนี้อาณาบริเวณดังกล่าวแบ่งออกเป็น ส่วน  ส่วนเหนือเป็นประเทศเนปาล ภูฐาน และสิขิม    ส่วนใต้เป็นประเทศอินเดีย

พื้นเพชาวชมพูทวีป

พื้นเพเดิมของชาวชมพูทวีปสมัยก่อนพุทธกาลคือ 

. เชื้อชาติ ชนชาวชมพูทวีป มีอยู่ เชื้อชาติ คือ

    . พวกอริยกะ     เป็นพวกที่ฉลาด มีการศึกษาดี เป็นผู้บริหารกิจการของประเทศ

    . พวกมิลักขะ หรือทัสยุ   เป็นพวกไม่ค่อยมีการศึกษา      ส่วนมากอยู่ในตำบลชายแดน   พระพุทธเจ้าเกิดในเผ่าอริยกะ

. การปกครอง  ภาคพื้นชมพูทวีปนั้นถูกแบ่งออกเป็นรัฐ     แต่ละรัฐมีพระราชาเป็นประมุข  บางรัฐพระราชาปกครองโดยเด็ดขาด บางรัฐมีสภาปกครอง

      การแบ่งวรรณะของคนสมัยนั้น   แบ่งเป็น คือ

วรรณะกษัตริย์ ชนชั้นปกครอง

วรรณะพราหมณ์ พวกเจ้าพิธีทางศาสนา

วรรณะแพศย์ พวกใช้วิชาชีพ

วรรณะศูทร พวกคนงาน

    วรรณะศูทร  ได้รับการดูถูกเหยียดหยามจากวรรณะอื่นมาก

. อาชีพ   อาชีพส่วนใหญ่ คือ การทำนา  เลี้ยงสัตว์ และค้าขายแพร เพชร พลอย

. ลัทธิศาสนา  ประชาชนทั่วไปนับถือศาสนาพราหมณ์        คือเชื่อว่าพระพรหมเป็นผู้สร้างโลก  และสัตว์ทั้งปวง ลัทธิพิธีกรรมต่าง มีอยู่มากในสมัยนั้น   เช่น  การบูชายัญ  การทรมานตัวและการสวดอ้อนวอน เป็นต้น

ประวัติพระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าและพระสงฆ์สาวก    เพียบพร้อมด้วยความดีงามหลายประการ   เช่นมี

ความรู้จริง  เห็นจริง  ซึ่งความทุกข์และแนวทางดับทุกข์  มีความบริสุทธิ์สะอาดทางกาย  วาจา และจิตใจ และที่สำคัญคือมีความกรุณาอันยิ่งใหญ่ ช่วยสั่งสอนแนวทางดำเนินชีวิตที่ประเสริฐให้แก่ชาวโลก ช่วยปลดเปลื้องทุกข์  สร้างความสุขที่แท้จริงแก่ชาวโลก โดยไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยาก

การศึกษาพุทธประวัติ     นอกจากจะได้มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวของพระพุทธเจ้า    อันเป็นการเพิ่มพูนความเป็นผู้คงแก่เรียนแก่ตนเองแล้ว    ยังมีจุดมุ่งหมายสำคัญคือ เพื่อให้รู้สึกซาบซึ้ง ในคุณงามความดีของพระองค์   แล้วพยายามนำเอามาเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตของตน

พระพุทธเจ้ามีพระนามเดิมว่า  “สิทธัตถะ”  เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ กษัตริย์ผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์     ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ทางภาคใต้ของประเทศเนปาล    พระราชมารดาทรงพระนามว่า พระนางสิริมหามายา ซึ่งเป็นพระราชธิดาของกษัตริย์ราชสกุลโกลิยวงศ์ แห่งกรุงเทวทหะ

เมื่อพระนางสิริมหามายาทรงพระครรภ์จวนจะประสูติ ได้เสด็จกลับกรุงเทวทหะ แต่เมื่อขบวนเสด็จไปถึงสวนลุมพินี    ซึ่งตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์  กับกรุงเทวทหะ พระนาง-

สิริมหามายาก็ทรงประชวรพระครรภ์และประสูติพระราชโอรส          ข้าราชบริพารจึงเชิญเสด็จกลับกรุงกบิลพัสดุ์

วันประสูติของพระราชกุมารสิทธัตถะตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี  พระราชกุมารได้รับขนานนามว่า  “สิทธัตถะ”      (แปลว่าผู้สำเร็จในสิ่งที่ทรงประสงค์) พราหมณ์ทั้ง ผู้เชี่ยวชาญในการทำนายลักษณะ ได้พยากรณ์ว่า  ถ้าพระราชกุมารสิทธัตถะอยู่ครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ ถ้าเสด็จออกผนวชจะได้เป็นศาสดาเอกของโลก  แต่โกณฑัญญะพราหมณ์ผู้อายุน้อยที่สุดในจำนวนนั้น  ยืนยันหนักแน่นว่า พระราชกุมารสิทธัตถะจะเสด็จออกผนวชและจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน

หลังประสูติได้ วัน  พระราชมารดาก็สวรรคต พระนางปชาบดีโคตมี พระกนิษฐาของพระนางสิริมหามายา ได้เป็นผู้เลี้ยงดูพระราชกุมารสิทธัตถะสืบต่อมา

พระราชกุมารสิทธัตถะทรงได้รับการศึกษาศิลปวิทยาทุกแขนง       เท่าที่จำเป็นสำหรับพระราชโอรสของกษัตริย์ผู้ครองนครจะพึงศึกษาจากครูวิศวามิตร เมื่อพระชนมายุได้ ๑๖ พรรษา  ก็ทรงอภิเษกสมรสกับพระนางยโสธราหรือพิมพา พระราชธิดาของพระเจ้าสุปปพุทธะ และพระนางอมิตาแห่งเทวทหนคร  ทรงมีพระโอรสองค์หนึ่งพระนามว่าราหุล

พระเจ้าสุทโธทนะ  ทรงต้องการให้พระราชโอรสอยู่ครองราชสมบัติสืบแทน จึงทรงบำรุงบำเรอปรนเปรอความสุขทุกอย่างให้พระราชกุมาร เช่น สร้างปราสาท หลัง สำหรับประทับ ฤดู และทรงอำนวยความสะดวกสบายทุกอย่างให้      แต่พระราชกุมารสิทธัตถะก็มิได้หมกมุ่นมัวเมา ในความสุขเหล่านั้นเลย

เมื่อทอดพระเนตรเห็นคนแก่  คนเจ็บ คนตาย และสมณะตามลำดับ ก็ทรงคิดว่าชีวิตของทุกคนต้องตกอยู่ในสภาพเช่นนั้น ไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้  และวิถีทางที่จะพ้นจากความทุกข์ของชีวิตเช่นนี้ได้จะต้องสละเพศผู้ครองเรือน    สิ่งที่ทรงพบเห็นนี้เรียกว่าเทวทูต”     หมายถึง ทูตสวรรค์  หรือผู้ส่งข่าวสารที่ประเสริฐ

ในที่สุดพระองค์ก็ตัดสินพระทัยเสด็จออกผนวช (เรียกว่า มหาภิเนษกรมณ์) ในตอนดึกของคืนวันหนึ่ง ทรงตัดพระเมาลีถือเพศบรรพชิตริมฝั่งแม่น้ำอโนมา  เมื่อพระชนมายุ  ๒๙  พรรษา

ภายหลังพระราหุลกุมารประสูติเล็กน้อย

จากนั้นได้เสด็จไปยังแคว้นมคธ   ทรงศึกษาในสำนักของอาฬารดาบส   กาลามโคตร 

และอุทกดาบส รามบุตร  จนสำเร็จฌานสมาบัติขั้นที่ ซึ่งจบสิ้นความรู้ของพระอาจารย์ทั้งสอง ทรงเห็นว่ามิใช่ทางตรัสรู้      จึงทรงอำลาพระอาจารย์ทั้งสองไปบำเพ็ญเพียรตามลำพัง     ที่อุรุเวลาเสนานิคม  ในช่วงนี้ ปัญจวัคคีย์   คือพราหมณ์ทั้งห้า   ได้แก่ ท่านโกณฑัญญะ วัปปะ  ภัททิยะ มหานามะ  อัสสชิ  ได้ตามมาคอยปรนนิบัติอยู่ด้วย  พระองค์ทรงทรมานกายด้วยวิธีต่าง   ตามที่ผู้แสวงหาทางพ้นทุกข์สมัยนั้นกระทำกันอยู่       ในที่สุดก็ทรงบำเพ็ญหรือกระทำ   “ทุกรกิริยา”     (การกระทำที่ทำได้ยากยิ่ง) มี ขั้นตอนตามลำดับคือ  ขั้นที่ กัดฟัน   ขั้นที่ กลั้นลมหายใจ    ขั้นที่ อดอาหาร

พระองค์ทรงทำถึงขั้นนี้แล้วก็ยังไม่ได้ตรัสรู้ ทรงได้คิดว่ามิใช่ทางที่ถูกต้อง จึงทรงเลิก

กระทำทุกรกิริยา หันมาเสวยพระกระยาหารตามเดิม  ทำให้ปัญจวัคคีย์เสื่อมศรัทธา  พากันหนีไปอยู่ที่

ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน  แขวงเมืองพาราณสี      การเช่นนี้กลับเป็นผลดีแก่พระสิทธัตถะ        เพราะ

ได้สร้างบรรยากาศอันเงียบสงัด ปราศจากเสียงรบกวนจากบุคคลอื่น เอื้อต่อการบำเพ็ญเพียรทางจิต

อย่างยิ่ง

พระองค์ทรงฝึกฝนอบรมจิตให้สงบ ตามแนวทางแห่งมัชฌิมาปฏิปทา (ทางสายกลาง

ซึ่งได้แก่ อริยมรรคมีองค์แปด)

ตรัสรู้

พระสิทธัตถะได้เสด็จดำเนินโดยลำพังไปยังตำบลอุรุเวลาเสนานิคม    ในตอนเช้าทรงรับข้าว  “มธุปายาส”  จากนางสุชาดา  ซึ่งนำมาถวายด้วยเข้าใจว่าเป็นเทวดาที่ตนบนบานขอลูกชายไว้ หลังเสวยข้าวมธุปายาสแล้ว    ทรงลอยถาดในแม่น้ำเนรัญชรา    ทรงรับหญ้าคา กำ   จากนายโสตถิยะ

มาปูลาดเป็นอาสนะ (ที่นั่ง) โคนต้นโพธิ  ประทับนั่งขัดสมาธิ   ผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก พระปฤษฎางค์พิงต้นโพธิ     ทรงพิจารณาความเป็นจริงของธรรมชาติทั้งหลายจนเกิดญาณ    (การหยั่งรู้สิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง)

ความรู้แจ่มแจ้งนั้น ปรากฏขึ้นในพระทัยของพระองค์ดุจมองเห็นด้วยตาเปล่าเกิด    ความสว่างโพลงภายในที่ปราศจากความเคลือบแคลงสงสัยใด         เป็นความรู้ที่สามารถตอบปัญหาที่ค้างพระทัยมาเป็นเวลา ปีได้สำเร็จ

สิ่งที่พระองค์ตรัสรู้เรียกว่า อริยสัจ  (ความจริงอันประเสริฐ) มี ประการ คือ

) ทุกข์  ความทุกข์ หรือปัญหาของชีวิตทั้งหมด โดยย่อคือ อุปาทานขันธ์  

เป็นทุกข์ 

) สมุทัย สาเหตุของทุกข์ หรือสาเหตุของปัญหาชีวิต ได้แก่ ตัณหา คือ

 กามตัณหา  ภวตัณหา และวิภวตัณหา

) นิโรธ ความดับทุกข์ หรือภาวะหมดปัญหา  คือ พระนิพพาน

) มรรค ทางดับทุกข์ หรือแนวทางแก้ปัญหาชีวิต คือ มัชฌิมาปฏิปทา ได้แก่

อริยมรรคมีองค์ สรุปลงในไตรสิกขา คือ ศีล  สมาธิ  ปัญญา

เมื่อเกิดความรู้ในอริยสัจนี้ขึ้น    ทำให้กิเลส  (ความโลภ   ความโกรธ   ความหลง) หมดสิ้นไปจากจิตใจพระองค์    กลายเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ     (ผู้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ) หรือพระพุทธเจ้า      เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อวันเพ็ญเดือน (วันวิสาขบูชา) ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี    ขณะที่พระองค์มีพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา

หลักธรรม คำสอนของพระองค์นั้นจัดเป็น ประเภท คือ

. พระธรรม   ได้แก่  คำสอน  ซึ่งขัดเกลาจิตชำระใจของผู้ปฏิบัติให้บริสุทธิ์   และให้ผู้ปฏิบัติมีความสุขความเจริญ 

. พระวินัย      คือ   ข้อบัญญัติที่พระองค์ทรงวางไว้เพื่อควบคุมกายวาจาศาสนิก      ให้มีระเบียบเรียบร้อย

พระธรรมกับพระวินัย รวมกันเรียกว่าพระพุทธศาสนา

ทรงประกาศพระศาสนาและมอบความเป็นใหญ่ให้พระสงฆ์

เมื่อตรัสรู้แล้ว  พระพุทธเจ้าทรงพักผ่อนเป็นเวลา ๗ สัปดาห์  แล้วเสด็จไปเผยแผ่

พระศาสนา   โดยเสด็จไปแสดงธรรมโปรดปัญจวัคคีย์    ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน    แขวงเมืองพาราณสี  การแสดงธรรมครั้งแรกนี้เรียกว่าปฐมเทศนา”    ธรรมที่ทรงแสดงเรียกว่าธัมมจักกัปปวัตตนสูตรซึ่งว่าด้วยแนวทางที่พึงปฏิบัติ  เรียกว่ามัชฌิมปฏิปทาหรือทางสายกลาง”  (อริยมรรคมีองค์ ) และอริยสัจสี่หลังจากจบพระธรรมเทศนา ท่านโกณฑัญญะ ได้เกิดดวงตาเห็นธรรมในวันเพ็ญเดือน       (วันอาสาฬหบูชาจึงทูลขอบวชเป็นพระสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา    ต่อมาอีกสี่ท่านที่เหลือก็ได้ดวงตาเห็นธรรมและทูลขอบวชตามลำดับ

ต่อจากนั้นมา ได้มีผู้เลื่อมใสศรัทธาเข้ามาบวชเป็นจำนวนมาก อาทิ ยสกุลบุตร พร้อมสหายชาวเมืองพาราณสี    และบริวารจำนวนรวม ๕๕ คน   ชั่วระยะเวลาไม่นาน ก็มีพระอรหันตสาวกของพระพุทธเจ้าจำนวน ๖๐ รูป    ซึ่งมีจำนวนมากพอ           พระองค์จึงทรงให้แยกย้ายกันไปเผยแผ่พระพุทธศาสนายังแว่นแคว้นต่าง ส่วนพระองค์ได้เสด็จไปโปรดชฎิล (นักบวชเกล้าผม พี่น้อง พร้อมทั้งบริวารจำนวน ,๐๐๐ รูป ที่ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของพระเจ้าพิมพิสารและประชาชนชาวเมืองราชคฤห์   ชฎิลทั้งหมดยอมละทิ้งลัทธิความเชื่อเดิมของตน กราบทูลขอบวชเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า    พระเจ้าพิมพิสาร ได้ถวายสวน (ไผ่)   และสร้างขึ้นเป็นวัดสำหรับเป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้า ชื่อว่าพระเวฬุวันมหาวิหาร (หรือวัดเวฬุวัน) ” นับเป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา

  เมืองราชคฤห์นี้  เด็กหนุ่มสองคนซึ่งเป็นศิษย์ของสัญชัย เวลัฏฐบุตร นักปรัชญาเมธีผู้มีชื่อเสียงคนหนึ่ง    ได้มาขอบวชเป็นสาวก      และมีชื่อเรียกทางพระพุทธศาสนาในเวลาต่อมาว่า  พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ ตามลำดับ         ทั้งสองท่านได้รับแต่งตั้งจากพระพุทธเจ้าให้เป็นพระอัครสาวก     โดยพระสารีบุตรเป็นพระอัครสาวกเบื้องขวา มีความเป็นเลิศกว่าผู้อื่นทางปัญญา และพระโมคคัลลานะ   เป็นพระอัครสาวกเบื้องซ้าย เป็นเลิศกว่าผู้อื่นทางมีฤทธิ์มาก

เมื่อประดิษฐานพระศาสนาในแคว้นมคธได้อย่างมั่นคงแล้ว                ต่อมาไม่นานพระพุทธศาสนาก็มีศูนย์กลางแห่งใหม่ที่เมืองสาวัตถี แคว้นโกศล โดยอนาถบิณฑิกเศรษฐี   ได้สร้างวัดพระเชตวันขึ้น    แล้วกราบทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์ไปอยู่ประจำ          และนางวิสาขามหาอุบาสิกาเศรษฐินีคนหนึ่ง  ก็มีจิตศรัทธาสร้าง วัดบุพพาราม ถวายด้วย   

ในระยะแรก          พระพุทธเจ้าจะทรงบวชให้เฉพาะผู้ที่มาทูลขอบวชต่อพระองค์เอง 

ซึ่งวิธีนี้เรียกว่า  “เอหิภิกขุอุปสัมปทา”  ต่อมาเมื่อจำนวนคนมาขอบวชมีมากขึ้น   บ้างก็อยู่ห่างไกลไม่สามารถจะเดินทางมารับการบวชจากพระองค์ได้ พระองค์จึงทรงมอบภาระหน้าที่นี้แก่พระสงฆ์ โดยทรงมอบความเป็นใหญ่ให้พระสงฆ์ปกครองกันเอง   โดยมีพระธรรมวินัยเป็นหลักในการปกครอง       การทำสังฆกรรม (สิ่งที่พระสงฆ์พึงทำ) ทุกอย่าง  จะต้องประชุมปรึกษาหารือกัน บางเรื่องต้องได้รับความเห็นชอบเป็นเอกฉันท์    บางเรื่องต้องได้รับความเห็นชอบโดยเสียงข้างมากจึงจะใช้ได้    จะเห็นว่าลักษณะการปกครองและการอยู่รวมกันในแวดวงของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา เป็นบรรยากาศแห่งประชาธิปไตยอย่างแท้จริง    ตลอดระยะเวลา ๔๕ ปี แห่งการประกาศศาสนา ได้มีคนยอมรับนับถือพุทธศาสนาจำนวนมากมาย คนเหล่านั้นเรียกว่า พุทธบริษัท หรือพุทธศาสนิก แบ่งเป็น เหล่า คือ

. ภิกษุ

. ภิกษุณี

. อุบาสก

. อุบาสิกา

ปรินิพพาน

เมื่อทรงสถาปนาพุทธบริษัทสี่  คือ  ภิกษุ ภิกษุณี  อุบาสก อุบาสิกา ขึ้นมา  แต่ละบริษัทก็เจริญแพร่หลาย      มีความรู้ความสามารถที่จะสืบสานต่อเจตนารมณ์ของพระพุทธองค์     และสืบทอด

พระพุทธศาสนาให้ยืนยาวต่อไปได้แล้ว   พระพุทธเจ้าจึงทรงตัดสินพระทัยเสด็จดับขันธฺปรินิพพาน     

สาลวโนทยาน (สวนสาละ)    ของเหล่ามัลลกษัตริย์ เมืองกุสินารา   เมื่อวันเพ็ญเดือน (วันวิสาขบูชาขณะพระชนมายุ ๘๐ พรรษา ก่อนเสด็จดับขันธปรินิพพานได้ตรัสพระโอวาทครั้งสุดท้ายว่า 

ภิกษุทั้งหลายเราขอบอกเธอทั้งหลาย สังขารทั้งปวงมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดาพวกเธอจงยังกิจของตนและกิจของผู้อื่น ให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด

นิกายศาสนา

เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ประมาณ ๑๐๐ ปี พระสงฆ์ในพระพุทธศาสนามี    ความคิดเห็นแตกต่างกันในการตีความพระพุทธบัญญัติ (วินัย) จึงแยกนิกายออกเป็น นิกาย คือ

. นิกายเถรวาท   ได้ขยายตัวไปทางประเทศลังกา พม่า ไทย เขมร ลาว

. นิกายมหายาน  ขยายตัวไปทางธิเบต จีน ญวน เกาหลี ญี่ปุ่น

ทั้งสองนิกายคงปฏิบัติธรรมของพระพุทธเจ้าเหมือนกัน       แต่ตีความพุทธบัญญัติแตกต่างกัน

พระจริยาวัตรที่ควรยึดถือเป็นแบบอย่าง

) ทรงมีเมตตากรุณาสูงยิ่ง   แม้ขณะที่พระองค์ยังทรงพระเยาว์    ได้พยายามช่วยเหลือนกที่ถูกเจ้าชายเทวทัตยิงตกด้วยความสงสาร จนถึงกับถกเถียงกับเจ้าชายเทวทัต เมื่อเรื่องแย่งชิงนกเข้าสู่

สภาตัดสินของผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ตัดสินให้เจ้าชายสิทธัตถะชนะ  ด้วยเหตุผลว่า  “ผู้ทำลายชีวิตมิใช่เจ้าของนก แต่ผู้ให้ต่างหากเป็นเจ้าของนก

เมื่อทรงเห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย  ก็ทรงสงสารอยากให้เขาได้พ้นทุกข์ จึงเสด็จออกผนวช เพื่อตรัสรู้แล้วจะได้ช่วยเหลือผู้ตกอยู่ในห้วงแห่งความทุกข์เหล่านั้น

แม้พระเทวทัตจะคิดมุ่งร้ายทำลายพระองค์ให้ถึงกับสิ้นพระชนม์ พระองค์ก็มิได้มี     พระทัยโกรธเคือง ตรงกันข้ามกลับทรงสงสาร ปรารถนาให้พระเทวทัตละเว้นจากความประพฤติชั่วนั้นให้ได้  เป็นที่ทราบกันว่า  พระองค์ทรงรักและเมตตาต่อราหุลกุมารมากเพียงใด    พระองค์ก็ทรงรักและเมตตาต่อผู้ที่มุ่งร้ายพระองค์มากเพียงนั้นเช่นกัน  นี่คือตัวอย่างแห่งความเมตตากรุณาของพระพุทธเจ้า

) ทรงมีความพากเพียรสูงยิ่ง   เมื่อพระองค์ตั้งพระทัยจะทำอะไรแล้ว   ทรงพยายามจนสุดความสามารถ  เพื่อให้ได้สิ่งที่ทรงประสงค์   พระองค์ทรงต้องการบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ  จึงได้พยายามอย่างเต็มที่ ด้วยการทรมานพระองค์ด้วยวิธีต่าง จนกระทั่งท้ายสุดทรงอดอาหารจนพระวรกายผ่ายผอมเหลือแต่หนังหุ้มกระดูก  ในที่สุดทรงตั้งปณิธานว่า  “ตราบใดที่ยังไม่บรรลุสิ่งที่ต้องการจะไม่ยอมลุกจากที่นั่ง แม้เนื้อและโลหิตจะเหือดแห้งไปเหลือแต่กระดูกก็ตามที

) ทรงใฝ่รู้และทรงแก้ปัญหาด้วยปัญญา       ตั้งแต่ทรงพระเยาว์พระองค์ทรงอยากรู้ว่า

ทำไมคนจึงเกิด แก่ เจ็บ ตาย  ก็พยายามแสวงหาความรู้จากการทดลองด้วยพระองค์เอง จนกระทั่งทรงรู้แจ้งในที่สุด พระองค์ทรงใช้ปัญญาแก้ไขปัญหา  คือเมื่อทรงทำอะไรผิดพลาดล้มเหลว  ก็ทรงพิจารณาว่า ความผิดพลาดหรือความล้มเหลวนั้นเกิดขึ้นเพราะอะไร  และควรจะแก้ไขอย่างไร     ดังกรณีที่ทรงคิดว่า 

การอดอาหารจะทำให้บรรลุ ครั้นทำไปนานเข้าจนกระทั่งทรงซูบผอมสิ้นพละกำลัง ก็ทรงตระหนักว่า   วิธีทรมานตนมิใช่แนวทางที่ถูกต้อง จึงทรงหันมาดำเนินตามทางสายกลาง เป็นต้น

) ทรงเป็นนักเสียสละ    คนที่เสียสละจะไม่เห็นแก่ประโยชน์ตน   และประโยชน์ของพวกตน   แต่จะยอมสละความสุขส่วนตัวและประโยชน์ที่ตนพึงได้    เพื่อเห็นแก่ประโยชน์สุขของคนส่วนใหญ่ เจ้าชายสิทธัตถะอยากให้สัตว์โลกได้พ้นจากความทุกข์    จึงยอมเสียสละพระชายา พระโอรสยอมละทิ้งราชสมบัติที่พระองค์จะพึงได้ ยอมสละความสุข สนุก สบาย ที่เจ้าชายในราชสำนักจะพึงได้  พระองค์สละหมดทุกอย่าง เพื่อหาทางช่วยเหลือสัตว์โลกให้พ้นทุกข์



พุทธโอวาท ๓

โอวาท  แปลว่า  คำแนะนำ  คำตักเตือน  คำสอน      ในที่นี้ หมายถึง คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า  ข้อ       ซึ่งถือว่า เป็นแก่นสำคัญหรือเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา     โอวาท นี้  พระพุทธเจ้า   ทรงแสดงแก่พระสงฆ์จำนวน ,๒๕๐ รูป  ในวันมาฆบูชา           ซึ่งมีประเด็นสำคัญอยู่ ประการ คือ  การไม่ทำความชั่วทั้งปวง  การทำความดีให้ถึงพร้อม  การทำจิตใจให้บริสุทธิ์

. การไม่ทำความชั่วทั้งปวง

คนเราทำความชั่วได้ ทาง คือ ทางกาย ทางวาจา ทางใจ ซึ่งถือเป็นการกระทำที่ผิดทั้งทางด้านกฎหมาย ศีลธรรมและขนบประเพณี ขึ้นอยู่กับว่าจะประพฤติชั่วแบบใด เพราะการทำความชั่วบางอย่างแม้ไม่ผิดกฎหมาย แต่ผิดศีลธรรมหรือขนบประเพณีได้ การไม่ทำความชั่วทั้งปวง แยกออกได้ดังนี้

                      ) การไม่ทำความชั่วทางกาย  ได้แก่

    . ไม่ทำร้ายหรือเบียดเบียนผู้อื่น ไม่นำสัตว์มาทรมานมากักขัง

    . ไม่ลักขโมย ไม่ถือเอาทรัพย์ของผู้อื่น

    . ไม่ประพฤติผิดในกาม รวมตลอดไปถึงการไม่ทำลายวัตถุสิ่งของอันเป็นที่รัก

ของผู้อื่น

        ) การไม่ทำความชั่วทางวาจา ได้แก่

    . ไม่พูดเท็จ ไม่พูดหลอกลวง

    . ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดยั่วยุให้คนแตกความสามัคคีกัน

    . ไม่พูดคำหยาบ

    . ไม่พูดเพ้อเจ้อเหลวไหล อันหาสาระประโยชน์มิได้

        ) การไม่ทำความชั่วทางใจ ได้แก่

    . ไม่คิดโลภ อยากได้ของผู้อื่นโดยมิชอบ

    . ไม่คิดพยาบาท ปองร้าย หรือคิดแก้แค้น

    . ไม่เห็นผิดเป็นชอบ  ไม่หลงงมงายกับความคิดที่ผิด เช่น ไม่คิดว่าการที่เราทำทุจริต

แล้วเขาจับไม่ได้  เป็นเพราะเรามีความสามารถหรือเป็นคนเก่ง เป็นต้น

. การทำความดีให้ถึงพร้อม

การไม่ทำความชั่วดังที่กล่าวมา ถือได้ว่าเป็นการทำความดีถึงระดับหนึ่งแล้ว แต่จะให้ดีจริงต้องไม่เพียงแต่ละเว้นความชั่ว หากแต่ต้องประกอบคุณงามความดีด้วย การทำความดีก็ทำได้ ทาง คือ    ทางกาย ทางวาจา และทางใจ เช่น

                       ) การทำความดีทางกาย  ได้แก่

. มีเมตตากรุณาช่วยเหลือผู้อื่น     คือ  ปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข    ไม่อยากให้เขาได้รับ           

ความเดือดร้อนทั้งทางกายและทางใจ

    . เคารพกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของผู้อื่น ไม่ถือเอาสิ่งของของผู้อื่นมาเป็นของตน

    . มีความสำรวมในกาม ไม่ล่วงละเมิดประเพณีทางเพศ

        ) การทำความดีทางวาจา ได้แก่

    . พูดแต่ความจริง มีสัจจะ ไม่พูดเท็จหรือพูดให้ผิดจากความเป็นจริง

     .พูดแต่คำที่ช่วยส่งเสริมความสามัคคี ช่วยให้คนที่แตกร้าวกันคืนดีกัน ไม่พูดยุยง

ให้คนขัดใจกัน

. พูดแต่คำสุภาพอ่อนหวาน ไม่พูดคำหยาบ

    . พูดแต่คำที่มีสาระประโยชน์ พูดให้ถูกกาลเทศะ ไม่พูดเพ้อเจ้อ

        ) การทำความดีทางใจ ได้แก่

    . พอใจแต่ของที่ได้มาโดยชอบ ไม่คิดโลภในทางทุจริต

    . แผ่เมตตาให้สัตว์โลกทั้งหลายมีความสุข ไม่มีจิตคิดร้ายต่อใคร  

    . มีความเห็นชอบ คือ เชื่อกฎแห่งกรรม เชื่อว่าทำดีได้ดี  ทำชั่วได้ชั่ว

. การทำจิตใจให้บริสุทธิ์

มนุษย์เรามีทั้งร่างกายและจิตใจ ความสะอาดของร่างกายเป็นสิ่งสำคัญ แต่ความสะอาดของจิตใจก็สำคัญเหมือนกัน  เพราะในแง่ของความประพฤติ จิตใจเป็นใหญ่กว่าร่างกาย เพราะเมื่อใจคิดก่อนแล้วจึงสั่งให้ร่างกาย ทำตาม ปกติคนเรานั้นมีจิตใจเป็นใหญ่กว่าร่างกาย ความบริสุทธิ์ของจิตใจจึงมีความสำคัญมากกว่า  คนที่สะอาดทั้งกายและใจนั้นย่อมเป็นคนดีน่าคบค้าสมาคม      แต่ถ้าคน หนึ่งร่างกายค่อนข้างสกปรก  แต่ใจบริสุทธิ์   กับอีกคนหนึ่งร่างกายสะอาดหมดจดแต่จิตใจสกปรก เราก็คงอยากคบหากับคนแรกมากกว่า

ฉะนั้น เมื่อเราละเว้นไม่ทำความชั่วทั้งทางกาย วาจา ใจ และพยายามทำความดีให้ถึงพร้อมแล้ว เราก็ควรทำใจให้บริสุทธิ์ด้วย โดยการหมั่นฝึกฝนตนเองให้มีกุศลมูลหรือรากเหง้าแห่งความดีขึ้นในจิตใจอีก ประการ ได้แก่

. อโลภะ ความไม่โลภ คือหมั่นฝึกอบรมจิตใจตนเองให้สามารถระงับตัณหาหรือความอยากได้ โดยไม่ปล่อยให้ตัณหาเกิดขึ้น คนที่ไม่อยากได้สิ่งของของผู้อื่น ย่อมจะไม่ทำความชั่วโดยการลักขโมย  ฉ้อโกง  เป็นต้น

. อโทสะ     ความไม่โกรธ  ไม่ประทุษร้าย       คือพยายามฝึกจิตใจของตนให้เป็นคนมีเมตตา  ปรารถนาที่จะเห็นผู้อื่นอยู่อย่างเป็นสุข  ไม่เบียดเบียนกัน   ผู้ที่มีจิตปราศจากโทสะย่อมจะไม่ทำร้ายผู้อื่น   ไม่ด่าว่าด้วยคำหยาบ และไม่เบียดเบียนผู้อื่นให้เดือดร้อน   ตรงกันข้ามกลับจะเป็นคนดีคอยช่วยเหลือเกื้อกูลให้ผู้อื่นได้รับแต่ความสุข

. อโมหะ   ความไม่หลง   คือต้องฝึกอบรมจิตใจของตนให้รู้จักเหตุ  รู้จักผล  รู้จักบาป

บุญคุณโทษ  ประโยชน์ และมิใช่ประโยชน์   ผู้ที่ปราศจากความหลงย่อมมีชีวิตอยู่อย่างผาสุก      มีความเจริญก้าวหน้า ไม่มัวเมาอยู่กับอบายมุขและไม่เกลือกกลั้วอยู่กับสิ่งเลวร้ายต่าง

พุทธจริยาอันเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต

พระพุทธเจ้าทรงสมบูรณ์ด้วยความรู้แจ้งจริง       ทรงมีความบริสุทธิ์ทั้งทางกาย วาจา และใจ ปราศจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองจิตโดยประการทั้งปวง     ทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ  คือ ทรงตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง แล้วสั่งสอนให้คนอื่นรู้ตาม ทรงมีความกรุณาอันยิ่งใหญ่ เสียสละความสุขส่วนพระองค์เสด็จออกไปสั่งสอนแนวทางพ้นทุกข์แก่ชาวโลก โดยไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยาก สิ่งที่ทรงบำเพ็ญตลอดระยะเวลา ๔๕ ปีหลังตรัสรู้ เรียกกันว่าพุทธจริยา

พุทธจริยา  แปลตามศัพท์ว่า  พระจริยาวัตรของพระพุทธเจ้า  หรือพูดอย่างภาษาสามัญก็คือ ความประพฤติที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น มี ประการคือ

. โลกัตถจริยา  พุทธจริยาที่ทรงบำเพ็ญเพื่อประโยชน์แก่ชาวโลก

. ญาตัตถจริยา  พุทธจริยาที่ทรงบำเพ็ญเพื่อประโยชน์แก่พระประยูรญาติทั้งหลาย 

. พุทธัตถจริยา  พุทธจริยาที่ทรงบำเพ็ญประโยชน์ในฐานะที่เป็นพระพุทธเจ้า

) โลกัตถจริยาการบำเพ็ญประโยชน์แก่ชาวโลก    การที่พระพุทธเจ้าทรงอนุเคราะห์แก่ชาวโลกนั้น แสดงออกในพุทธกิจประจำวันนั่นเอง ซึ่งเห็นได้ชัดว่า วันเวลาที่ผ่านไปแต่ละวันนั้น เป็นไปเพื่อประโยชน์ของผู้อื่นแทบทั้งสิ้น พระองค์แทบไม่มีเวลาพักผ่อนเลย แม้กระทั่งจะประชวร

หนักอย่างไรก็ทรงอุตส่าห์ข่มทุกขเวทนาพยายามสั่งสอนผู้อี่น ดังเช่น ทรงโปรดสุภัททปริพาชก   เมื่อครั้งพระองค์จวนจะปรินิพพาน เป็นต้น

พุทธกิจประจำวันแบ่งเป็น ประการ คือ

() ช่วงเช้า (ตอนเช้ามืด) เสด็จออกบิณฑบาต  การเสด็จบิณฑบาตนี้ นอกจากจะเพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้ทำบุญตักบาตรแล้ว   พระพุทธเจ้ายังถือเป็นโอกาสดีที่จะได้แสดงธรรมโปรดเวไนยสัตว์ (หมายถึงบุคคลที่สามารถแนะนำสั่งสอนให้เข้าถึงธรรมได้) ตามสมควรแก่กรณี เพราะฉะนั้นเราจึงมักเรียกการบิณฑบาตของพระภิกษุโดยทั่วไปว่าไปโปรดสัตว์

() ช่วงกลางวัน  (หลังเสวยพระกระยาหารเช้า)   ทรงเสด็จออกจากพระคันธกุฎี แสดงพระธรรมเทศนาแก่ประชาชนในท้องถิ่นนั้น

() ช่วงกลางคืนยามที่   (เวลาประมาณพบค่ำ - ทุ่ม)     ทรงใช้เวลาตลอดยามนี้ตอบปัญหา ชี้แนะการปฏิบัติกรรมฐาน แสดงธรรม หรือให้คำปรึกษาหารือแก่พระภิกษุสงฆ์

() ช่วงกลางคืนยามที่   (เวลาประมาณ ทุ่มเที่ยงคืน)    ทรงใช้เวลาตลอดยามนี้ตอบปัญหาธรรมะและแสดงธรรมแก่เทวดาทั้งหลายที่เสด็จเข้ามาเฝ้า

() ช่วงกลางคืนยามที่   (เวลาประมาณเที่ยงคืน - ตี ในช่วงแรกจะเสด็จดำเนินจงกรมเพื่อให้พระวรกายผ่อนคลาย ช่วงที่ เสด็จเข้าบรรทม ช่วงที่ ตื่นจากบรรทม ประทับนั่งแล้วพิจารณาการสอดส่องเลือกสรรบุคคลที่พระองค์ควรจะเสด็จไปโปรดในช่วงเช้า

) ญาตัตถจริยาการบำเพ็ญประโยชน์แก่พระประยูรญาติ    พระพุทธเจ้าตรัสว่า   การสงเคราะห์ญาติเป็นมงคลยิ่งอย่างหนึ่งในจำนวนมงคล ๓๘ ประการ พระพุทธเจ้าเองมิได้ทรงละเลยหน้าที่นี้ การสงเคราะห์พระญาติของพระองค์พอประมวลได้ ดังนี้

      () เมื่อตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว      ทรงรอเวลาอันสมควรจึงได้เสด็จนิวัติพระนครกบิลพัสดุ์   ทรงแสดงธรรมโปรดพระพุทธบิดาจนสำเร็จเป็นพระโสดาบัน    หลังจากนั้นมา แม้ว่าพระองค์จะไม่ค่อยมีเวลาว่างมากนัก แต่พระองค์ก็ยังเสด็จไปเยี่ยมพระพุทธบิดาเป็นครั้งคราว เมื่อพระพุทธบิดาสิ้นพระชนม์ก็ได้เสด็จมาถวายพระเพลิงพระบรมศพในฐานะลูกที่ดี     แสดงแบบอย่าง

แห่งความกตัญญูกตเวทิตาธรรมให้ปรากฏ

      () กล่าวกันว่า           พระองค์เสด็จไปแสดงพระอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดาที่

สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นการทดแทนบุญคุณพระมารดาบังเกิดเกล้าสถานหนึ่งด้วย  จากเรื่องนี้ทำให้เกิดประเพณีเทศน์อภิธรรมโปรดมารดาหรือแต่งหนังสืออภิธรรมโปรดมารดาสืบต่อมาจนถึงปัจจุบันนี้  เช่น

พญาลิไท  กษัตริย์สุโขทัย ทรงพระราชนิพนธ์ไตรภูมิพระร่วง”  ทรงบอกจุดประสงค์ไว้ประการหนึ่งว่าเพื่อโปรดพระมารดา

      () ทรงชักนำขัตติยกุมารจากศากยตระกูลหลายองค์ออกบวช   เช่น    พระอานนท์ 

พระอนุรุทธะ เป็นต้น นอกจากช่วยอนุเคราะห์ให้ท่านเหล่านั้นได้มาพบทางพ้นทุกข์เป็นการส่วนตัวแล้ว   ท่านเหล่านั้นยังได้เป็นกำลังสำคัญในการบำเพ็ญประโยชน์แก่ชาวโลกด้วย               เท่ากับได้ผลสองต่อ 

นอกจากนี้   พระองค์ยังทรงเผื่อแผ่ประโยชน์ด้านนี้แก่พระญาติที่เป็นสตรีด้วย    ดังได้ทรงอนุญาตให้พระนางปชาบดีโคตมี ซึ่งมีฐานะเป็นพระมาตุจฉา (น้า) ของพระองค์ บวชเป็นภิกษุณี  เป็นต้น

      () บางครั้งเกียรติยศของศากยตระกูลถูกคนเข้าใจผิดกล่าวร้ายให้โทษ    พระองค์ก็ทรงช่วยชี้แจงให้เข้าใจพระญาติของพระองค์ในทางที่ถูกก็มี

      () เมื่อพระญาติทั้งสองฝ่าย  คือ  ศากยวงศ์และโกลิยวงศ์  กำลังจะทำสงครามแย่ง

น้ำในแม่น้ำโรหิณีมาทำการเกษตร  พระองค์ก็เสด็จไปห้ามทัพ ชี้แจงให้เห็นถึงความพินาศอันจะตามมา เพราะการทะเลาะเบาะแว้งกันในเรื่องเล็กน้อยนี้ จนทั้งสองฝ่ายหันมาปรองดองคืนดีกันในที่สุด การห้ามสงครามระหว่างเครือญาติของพระองค์ครั้งนี้ นับเป็นการทำประโยชน์แก่พระญาติครั้งสำคัญยิ่ง จึงมีพระพุทธรูปปางหนึ่งสร้างเป็นอนุสรณ์ถึงเหตุการณ์ดังกล่าวเรียกว่า พระพุทธรูปปางห้ามญาติ (พระพุทธรูปยืนยกหัตถ์ขวาในท่าห้ามปราม)

      () ก่อนเสด็จปรินิพพานเล็กน้อย   พระเจ้าวิฑูฑภะกษัตริย์แห่งแคว้นโกศล ยกทัพไปหมายจะทำลายล้างพวกศากยะให้สิ้น   เพื่อชำระความแค้นแต่หนหลังที่ถูกพวกศากยะดูหมิ่นสมัยยังทรงพระเยาว์    พระพุทธเจ้าทรงเห็นว่าจะเกิดความพินาศย่อยยับแก่ศากยวงศ์ สุดจะทนนิ่งดูดาย จึงเสด็จไปป้องกันไว้ถึง ครั้ง     แต่ครั้งที่ เป็นคราวเคราะห์กรรมของพวกศากยะ ไม่สามารถทัดทานได้ พระเจ้าวิฑูฑภะได้ทำลายล้างเมืองกบิลพัสดุ์เกือบหมดสิ้น



สรุปความว่า       พระพุทธเจ้าถึงแม้จะอยู่ในฐานะเป็   “คนของโลก”         แล้วก็ตาม 

พระองค์ยังไม่ลืมสายสัมพันธ์แห่งเครือญาติ   ทรงอนุเคราะห์ช่วยเหลือพระญาติทั้งหลาย  ทั้งส่วนปัจเจกบุคคลและส่วนรวม  ตามความเหมาะสมและตามควรแก่กรณี

) พุทธัตถจริยา : การบำเพ็ญประโยชน์ในฐานะพระพุทธเจ้า     หลังจากตรัสรู้แล้ว พระพุทธเจ้าทรงอุทิศพระองค์เพื่อสร้างประโยชน์สุขให้แก่ชาวโลก ไม่ว่าจะเป็นการช่วยชี้แนะหนทางที่จะทำให้สัตว์โลกทั้งหลายหลุดพ้นจากสังสารวัฏ   หรือหาทางป้องกันมิให้สัตว์โลกทั้งปวงก้าวเข้าไปสู่ความเสื่อม ความจริงการทำประโยชน์แก่ชาวโลกก็นับรวมอยู่ในข้อโลกัตถจริยานั่นเอง  แต่การแยกนำมาพูดก็เพื่อแสดงให้เห็นถึงพุทธจริยาวัตรของพระพุทธเจ้าให้เห็นเด่นชัดมากยิ่งขึ้น

ภารกิจที่พระพุทธเจ้าทรงกระทำในฐานะที่ทรงเป็นพระพุทธเจ้ามีอยู่มากมาย เช่น

. ช่วยสัตว์โลกให้หลุดพ้นห้วงความทุกข์       คือ  ให้หลุดพ้นจากสังสารวัฏหรือ การเวียนว่ายตายเกิดตามพระประณิธานที่ทรงตั้งไว้ตลอดเวลาอันยาวนาน        ที่ทรงบำเพ็ญบารมีเพื่อพระโพธิญาณ เมื่อทรงข้ามพ้นทุกข์ด้วยพระองค์แล้ว ก็ทรงมีพระมหากรุณาช่วยสัตว์อื่นให้หลุดพ้นทุกข์ด้วย  โดยการชี้แนะคนที่ชี้แนะได้  ฝึกฝนอบรมคนที่ฝึกอบรมได้

. ช่วยวางรากฐานการสร้างความดี   หรือสร้างอุปนิสัยที่ดีในภายหน้า   ในกรณีคนที่แนะหรือฝึกไม่ได้ หยาบช้าหนาแน่น ด้วยกิเลสตัณหาเกินว่าจะเข้าถึงธรรมได้ในปัจจุบัน พระองค์ก็ไม่ทรงทอดทิ้ง ดังกรณีพระเทวทัต ทรงทราบด้วยพระญาณก่อนแล้วว่า พระเทวทัตจะมุ่งทำลายพระองค์และกระทำสังฆเภท  (สร้างความแตกแยกในหมู่สงฆ์)   แต่พระองค์ก็ทรงบวชให้         ด้วยทรงเห็นว่าการบวชประพฤติพรหมจรรย์ในพระพุทธศาสนา   ย่อมจักมีความดีงามพอที่จะเป็นอุปนิสัยปัจจัยแก่   พระเทวทัตได้บ้างในภายภาคหน้า

. ช่วยสัตว์โลกมิให้ก้าวเข้าสู่ความเสื่อม    ภารกิจของพระพุทธเจ้าอีกประการหนึ่ง ก็คือ นอกเหนือจากชี้ทางสวรรค์นิพพานให้แก่คนที่พร้อมที่จะดำเนินสู่ทางนั้นแล้ว ยังช่วยปิดอบายหรือปิดกั้นมิให้คนบางประเภทถลำลึกลงสู่ทางเสื่อมฉิบหายมากขึ้น เช่น เสด็จไปโปรดโจรองคุลิมาลก่อนที่จะพบมารดาระหว่างทางและก่อนที่จะกระทำมาตุฆาต (ฆ่ามารดาอันเป็นกรรมหนัก)

. ทรงบัญญัติพระวินัยเพื่อความดำรงมั่นแห่งพระพุทธศาสนา      เมื่อเริ่มประกาศพระพุทธศาสนาในระยะแรก ยังไม่มีพระวินัย หรือศีลสำหรับให้พระภิกษุได้รักษามากมายดังในเวลาต่อมา ผู้เข้ามาบวชส่วนมากเป็นผู้ที่เบื่อหน่ายในโลกียวิสัยแล้ว  พร้อมที่จะปฏิบัติตนเพื่อบรรลุธรรมชั้นสูงสุด     วินัยหรือศีลสำหรับควบคุมความประพฤติจึงยังมีไม่มาก มีเพียงหลักการกว้าง ว่าพระภิกษุไม่พึงกระทำกิจ ประการคือ เสพเมถุน (เสพกาม), ลักทรัพย์, ฆ่ามนุษย์ และอวดคุณวิเศษที่ไม่มีในตน   ต่อมาเมื่อมีผู้ประพฤติตนไม่เหมาะสมแก่การดำรงเพศสมณะขึ้น  มีผู้ตำหนิติเตียน     พระพุทธเจ้าจึงทรงบัญญัติพระวินัยห้ามมิให้มีการกระทำที่ไม่สมควรเช่นนั้นอีกต่อไป   และได้บัญญัติเพิ่มเติมแก้ไขให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ที่เรียกว่าศีล”  มีทั้งหมด ๒๒๗ ข้อ  (ไม่นับรวมข้อบัญญัติเล็ก น้อย อีกมาก)    พระวินัยที่ทรงบัญญัติขึ้นนี้เป็นเครื่องควบคุมให้สถาบันสงฆ์มีความสงบเรียบร้อยเป็นที่เลื่อมใสของประชาชนทั่วไป     และเป็นเครื่องจรรโลงพระพุทธศาสนาให้ดำรงมั่นคงยืนนาน

. ทรงสถาปนาสถาบันสืบทอดพระพุทธศาสนา  เมื่อมีผู้เข้ามาบวชมากขึ้น  ทั้งบุรุษ

และสตรี   พระองค์ได้ทรงตั้งสถาบันพุทธบริษัทขึ้น   เรียกว่า  “บริษัท ”    คือ   ภิกษุ , ภิกษุณี, อุบาสก

และอุบาสิกา พร้อมทั้งทรงวางหน้าที่ที่แต่ละบริษัทจะพึงปฏิบัติ     และหน้าที่ที่พุทธบริษัทจะพึงร่วมกันทำเพื่อความวัฒนาสถาพรแห่งพระพุทธศาสนา ดังนี้

          หน้าที่ของแต่ละบริษัท

(.ภิกษุ ภิกษุณี  มีหน้าที่ดังนี้

- ห้ามปรามมิให้เขาทำความชั่ว

- แนะนำสั่งสอนให้ตั้งอยู่ในความดี

- อนุเคราะห์ด้วยความปรารถนาดี

- สอนสิ่งที่เขายังไม่เคยได้ยินได้ฟัง

- ชี้แจงอธิบายสิ่งที่เขาเคยได้ยินได้ฟังแล้วให้เข้าใจแจ่มแจ้ง

- สอนวิธีดำเนินชีวิตที่ดีงามให้

(.อุบาสก อุบาสิกา  มีหน้าที่ดังนี้

- ทำ พูด คิด ต่อพระสงฆ์ด้วยเมตตา

- ต้อนรับพระสงฆ์ด้วยความเต็มใจ

- อุปถัมภ์บำรุงพระสงฆ์ด้วยปัจจัยสี่

      หน้าที่ของบริษัททั้ง

หน้าที่ของบริษัททั้ง จะพึงทำร่วมกันมีดังนี้

  - ศึกษาคำสอนทางพระพุทธศาสนาให้เข้าใจแจ่มแจ้ง

- ปฏิบัติตามที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมาตามความสามารถจนได้รับผล   

จากการปฏิบัติ

- เผยแพร่คำสอนให้ผู้อื่นได้รู้ตาม 

- ปกป้องพระพุทธศาสนาจากภัยทั้งภายในและภายนอก


พระรัตนตรัย

พระรัตนตรัย  แปลว่า แก้วประเสริฐ ดวง  อันได้แก่  พระพุทธ  พระธรรม  พระสงฆ์  ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของพระพุทธศาสนา

พระพุทธ  หมายถึง  องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ซึ่งทรงเป็นศาสดาของศาสนา  กล่าวคือ  ทรงเป็นผู้ค้นพบสัจธรรมโดยการตรัสรู้เอง  และนำมาสอนให้ผู้อื่นปฏิบัติตาม  พระพุทธองค์ได้บรรลุธรรมเมื่อพระชนม์ได้  ๓๕  พรรษา  หลังจากนั้นได้ทรงประกาศพระศาสนาและเผยแผ่ธรรมให้มนุษย์ได้เห็นสัจจะของชีวิต  โดยมิได้มีเวลาว่าง  จนกระทั่งเสด็จดับขันธปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ  ๘๐  พรรษา

พระธรรม  หมายถึง  ความจริงที่พระพุทธองค์ทรงค้นพบ      พระธรรมนี้พระพุทธองค์มิได้ทรงคิดขึ้นเอง  แต่เป็นความจริงที่มีอยู่แล้ว  พระพุทธเจ้าทรงค้นพบแล้วนำมาสั่งสอนชาวโลก

พระสงฆ์   หมายถึง  สาวกของพระพุทธเจ้า   เป็นผู้ปฏิบัติธรรมและเผยแผ่ธรรมแก่มวลมนุษย์

) คุณของพระรัตนตรัย     พระรัตนตรัยแต่ละรัตนะ      มีคุณลักษณะแตกต่างกัน    คือ พระพุทธเจ้ามีคุณลักษณะ    ประการ   เรียกว่า  “พุทธคุณ  ”        พระธรรมมีคุณลักษณะ    ประการ 

เรียกว่าธรรมคุณ  ”  พระสงฆ์มีคุณลักษณะ    ประการ  เรียกว่าสังฆคุณ  ”  ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

    .) พุทธคุณ  ประกอบด้วย

(อรหัง เป็นผู้บริสุทธิ์ปราศจากกิเลส

(สัมมาสัมพุทโธ เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ

(วิชชาจรณสัมปันโน               =  เป็นผู้พร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ

(สุคโต เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว

(โลกวิทู เป็นผู้รู้แจ้งโลก

(อนุตตโร  ปุริสทัมมสารถิ เป็นผู้ฝึกคนที่ควรฝึกอย่างยอดเยี่ยม

(สัตถา  เทวมนุสสานัง             = เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

(พุทโธ =   เป็นผู้ตื่นแล้ว

(ภควา =   เป็นผู้มีโชค,ผู้จำแนกธรรม

หมายเหตุแต่บางที่ก็นิยมสรุปพระพุทธคุณ    เหลือแค่    ได้แก่  พระวิสุทธิคุณ  คือข้อ () () (พระปัญญาคุณ  คือข้อ () () (และพระมหากรุณาธิคุณ  คือข้อ () () ()

     .) ธรรมคุณ    ประกอบด้วย

(สวากขาโต  ภควตา  ธัมโม พระธรรมเป็นคำสอนอันพระผู้มีพระภาค    

                                                                                                    ตรัสไว้ดีแล้ว

(สันทิฏฐิโก เห็นได้ด้วยตนเอง

(อกาลิโก                                  =  เป็นจริงตลอดเวลา

(เอหิปัสสิโก                            =  ควรเรียกให้มาพิสูจน์ดู

(โอปนยิโก                              =  ควรน้อมเข้ามาในตน

(ปัจจัตตัง  เวทิตัพโพ วิญญูหีติ = วิญญูชนรู้ได้เฉพาะตน

                                .) สังฆคุณ    ประกอบด้วย

(สุปฏิปันโน เป็นผู้ปฏิบัติดี

(อุชุปฏิปันโน เป็นผู้ปฏิบัติตรง

(ญายปฏิปันโน เป็นผู้ปฏิบัติถูกทาง

(สามีจิปฏิปันโน เป็นผู้ปฏิบัติชอบ 

(อาหุเนยโย เป็นผู้ควรแก่ของคำนับ

(ปาหุเนยโย         =  เป็นผู้ควรแก่การต้อนรับ

(ทักขิเณยโย         =  เป็นผู้ควรแก่ของทำบุญ

(อัญชลิกรณีโย         =  เป็นผู้ควรแก่การกราบไหว้

(อนุตตรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ  = เป็นเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก


ไตรสรณคมน์

ไตรสรณคมน์    แปลว่า    การถึงไตรสรณะ       หมายถึง     การเข้าถึงที่พึ่งหรือที่ระลึก   

ประการ  คือ  พระพุทธ   พระธรรม   พระสงฆ์

ตามความเป็นจริงนั้น    การนับถือพระพุทธศาสนา  เป็นการนับถือด้วยใจ     ไม่จำเป็น

ต้องเปล่งวาจาใด ออกมา    แต่เพื่อแสดงตนว่าเราเป็นชาวพุทธที่ดี      ท่านจึงกำหนดธรรมเนียมในการปฏิบัติก่อนการรับศีล  ดังนี้  นั่ง  (ยืน)   ประนมมือ     น้อมใจระลึกถึงพระรัตนตรัยพร้อมกับกล่าวคำปฏิญาณว่า

พุทธัง  สะระณัง  คัจฉามิ =     ข้าพเจ้าถือพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ระลึก

ธัมมัง  สะระณัง  คัจฉามิ =     ข้าพเจ้าถือพระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึก

สังฆัง  สะระณัง  คัจฉามิ =     ข้าพเจ้าขอถือพระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึก

เมื่อจบคำปฏิญาณครั้งแรกแล้วให้กล่าวซ้ำอีก    ครั้ง  โดยเพิ่มคำว่าทุติยัมปิ”  ซึ่งแปลว่า  แม้ครั้งที่    และเพิ่มคำว่า  “ตะติยัมปิ”  ซึ่งแปลว่า แม้ครั้งที่    นำหน้าคำปฏิญาณครั้งที่    


หลักการครองตนเป็นคนดี มีความสุข

เบญจศีล เบญจธรรม

เบญจศีล   หมายถึง   ข้อปฏิบัติสำหรับละเว้นการทำความชั่ว ประการ   เพราะคนที่จะได้ชื่อว่าเป็นผู้มีความดีอย่างสมบูรณ์นั้น           นอกจากจะละเว้นการทำความชั่วแล้วยังต้องกระทำคุณความดีด้วย

เบญจศีลและเบญจธรรมเป็นข้อปฏิบัติเบื้องต้นที่คนควรยึดถือทำตาม เพื่อความสงบ-สุขของชีวิตและสังคมโดยส่วนรวม

. เบญจศีลหรือศีลห้า

. เว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต   ทั้งนี้รวมถึงการไม่ทำร้ายร่างกาย การทรมาน การใช้แรงงานของคนและสัตว์จนเกินกำลังความสามารถด้วย

. เว้นจากการลักทรัพย์  ทั้งนี้รวมถึงการไม่ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ให้มาเป็นของตน ไม่ว่าจะเป็นโดยวิธีการหลอกลวง ฉ้อโกง เบียดบัง ยักยอก ตลอดจนการทำความเสียหายให้แก่ทรัพย์สินของผู้อื่นโดยมิชอบ

. เว้นจากการประพฤติผิดในกาม  หมายถึง การไม่ไปยุ่งเกี่ยวทางเพศสัมพันธ์กับหญิงหรือชายที่มีคู่ครองแล้ว  ผู้ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะหรือผู้ที่กฎหมายคุ้มครอง

. เว้นจากการพูดเท็จ หมายถึง การไม่เจตนาที่จะบิดเบือนความจริงทุกอย่าง เช่น ไม่พูด

เล่นสำนวนให้คนเข้าใจผิด ไม่อวดอ้างตนเอง ไม่พูดเกินความจริง หรือไม่พูดน้อยกว่าที่เป็นจริง เป็นต้น

. เว้นจากการดื่มสุราเมรัย   หมายถึง ละเว้นการดื่มเครื่องดื่มที่ทำให้ตนเองครองสติไม่อยู่ เช่น เหล้า เบียร์ น้ำตาลเมา และรวมถึงละเว้นการเสพสิ่งเสพติดทั้งหลายด้วย ไม่ว่าจะเป็น ยาบ้า บุหรี่ ฝิ่น กัญชา เฮโรอีน เป็นต้น

. เบญจธรรม  หรือธรรมห้า

. เมตตากรุณา    ธรรมข้อนี้คู่กับศีลข้อหนึ่งให้เว้นจากการฆ่าสัตว์   เมตตา คือ ความปรารถนาที่จะให้ผู้อื่นมีความสุข กรุณา คือ ความสงสารคิดที่จะให้ผู้อื่นปราศจากทุกข์   การไม่ทำร้ายผู้อื่นนั้น

ก็นับว่าเป็นคนดีแล้ว แต่ถ้าจะให้ดียิ่งขึ้น ต้องเอื้อเฟื้อช่วยเหลือผู้อื่นด้วย สังคมจึงจะสงบร่มเย็นยิ่ง ขึ้น

. สัมมาอาชีวะ    หมายถึง การหาเลี้ยงชีพในทางที่ชอบ ธรรมข้อนี้คู่กับศีลข้อสองที่ให้ละเว้นจากการถือเอาของที่เขาไม่ให้ คนที่ประกอบอาชีพสุจริต ขยันขันแข็งในการทำมาหากิน ย่อมยินดีกับของที่ตนหาได้เอง ไม่คิดฉกฉวยเอาของผู้อื่น

. ความสำรวมในกาม     หมายถึง การยินดีเฉพาะในคู่ครองของตนและการไม่คิดหมกมุ่นอยู่แต่เรื่องความรักความใคร่จนเกินขอบเขต การที่คนเรามีความต้องการทางเพศนั้น มิใช่ของผิดปกติแต่อย่างใด แต่ถ้าเดินสายกลางไว้ ก็จะทำให้เราไม่ไปผิดลูกเมียผู้อื่น ธรรมข้อนี้คู่กับศีลข้อสาม

. ความสัตย์     หมายถึง  การพูดความจริง เป็นธรรมที่ใช้คู่กับศีลข้อสี่ที่ให้เว้นจากการพูดเท็จ ธรรมข้อนี้เป็นการส่งเสริมให้มนุษย์รู้จักแสดงไมตรีจิตต่อกันทางวาจา การพูดความจริงนี้หมายรวมถึงการพูดคำสุภาพ คำอ่อนหวาน  และการสื่อสารที่ตรงกับความเป็นจริง  ไม่บิดเบือนสื่อ

. สติสัมปชัญญะ      หมายถึง  มีสติรอบคอบรู้สึกตัวอยู่ตลอดเวลาว่ากำลังทำอะไร พูดอะไร  ธรรมข้อนี้คู่กับศีลข้อห้าที่ห้ามมิให้ดื่มสุราเมรัย ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติตามศีลและธรรมข้อที่ห้าอยู่เสมอ จะเป็นผู้ที่ไม่ขาดสติ ไม่ประมาท จะทำการสิ่งใดก็จะสำเร็จได้โดยไม่ยาก และโอกาสที่จะเผลอตัวทำผิดด้วยความประมาทก็มีน้อยหรือไม่มีเลย

เพื่อสะดวกแก่การทำความเข้าใจ จึงจะขอสรุปเบญจศีลและเบญจธรรมเป็นตารางเปรียบเทียบให้เห็นได้ง่าย ดังนี้

เบญจศีล             เบญจธรรม

. เว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต . มีเมตตากรุณา

. เว้นจากการลักทรัพย์ . มีสัมมาอาชีวะ

. เว้นจากการประพฤติผิดในกาม . มีความสำรวมในกาม

. เว้นจากการพูดเท็จ . มีความสัตย์

. เว้นจากการดื่มสุราเมรัย . มีสิตสัมปชัญญะ

หิริโอตตัปปะ

หิริ   หมายถึง  ความละอายต่อความชั่ว  โอตตัปปะ หมายถึง ความเกรงกลัวต่อความชั่ว 

สังคมทุกแห่งมีกฎหมายห้ามคนกระทำชั่ว หากใครละเมิดกฎหมายก็จะได้รับโทษ กฎหมายเป็นข้อห้ามที่มีไว้เพื่อให้สังคมดำเนินไปอย่างปกติสุข หน่วยย่อย ในสังคม เช่น โรงเรียนก็มีกฎและระเบียบให้นักเรียนปฏิบัติเพื่อให้เกิดความเรียบร้อยเช่นกัน

การที่คนเราไม่ทำความชั่วหรือความผิดตามที่กฎหมายหรือระเบียบของโรงเรียนห้ามไว้นั้นอาจเป็นเพราะเหตุผล กรณี     คือ  กลัวถูกลงโทษและติดตะราง     หรือมิฉะนั้นก็กลัวถูกคนอื่น

ติเตียนประการหนึ่ง ที่ไม่ทำความชั่วเพราะละอายต่อความชั่วและเกรงกลัวความชั่วอีกประการหนึ่ง

ความละอายต่อความชั่วนั้น     ทางพระเรียกว่าหิริ ความละอายต่อความชั่ว     คือการละเว้นความชั่ว  เพราะละอายแก่ใจตนเอง มีความสำนึกตัวว่า สิ่งนี้เป็นสิ่งชั่วไม่ควรทำ การที่ไม่ทำความชั่วมิใช่เพราะกลัวถูกจับหรือกลัวคนเห็น คนที่มีจิตสำนึกทางจริยธรรมนั้น ที่ไม่ทำความชั่วมิใช่เพราะกลัวการถูกลงโทษที่มาจากภายนอก แต่เพราะความรู้สึกภายในยับยั้งไว้ มิใช่เพราะกลัวคนอื่นเห็น   แต่เพราะตัวเองละอายที่จะเห็นตนทำเช่นนั้น

ส่วนความเกรงกลัวต่อความชั่วนั้น ทางพระเรียกว่า โอตตัปปะ คนที่กลัวความชั่วนั้น ไม่ยอมทำผิดเพราะกลัวความชั่ว  มิใช่กลัวตะรางหรือคำติเตียน   เขาไม่ทำความชั่วเพราะสิ่งนั้นเป็นความชั่ว เขาเห็นความชั่วเป็นสิ่งโสโครก ไม่อยากเข้าใกล้ เพราะกลัวจะเกิดความสกปรกขึ้นในจิตใจ

สมมติว่ามีนักเรียน คนเดินอยู่บนถนนแห่งหนึ่ง นักเรียนคนหนึ่งเหลือบไปเห็นกระเป๋าสตางค์อยู่บนพื้นถนนจึงหยิบขึ้นมาดู เมื่อเปิดออกก็เห็นเงินหลายพันบาทในนั้น เหตุการณ์นี้เพื่อนอีก คนที่เดินไปด้วยกันก็เห็นด้วย นักเรียนคนนั้นจึงชวนเพื่อน ไปแจ้งความและมอบกระเป๋าเงินไว้ที่สถานีตำรวจ การกระทำครั้งนี้เรียกได้ว่าเป็นการละเว้นความชั่ว เพราะการเอาของผู้อื่นมาเป็นของตนโดยไม่มีสิทธิ์ที่ควรได้นั้นเป็นความชั่วอย่างแน่นอน และไม่เพียงผิดศีลธรรมเท่านั้น ยังผิดกฎหมายด้วย  แต่กรณีเช่นนี้ เรายังไม่รู้ความในใจของนักเรียนคนนี้ในการที่ไม่ทำความชั่ว ซึ่งอาจจะเป็นเพราะมีคนเห็นและกลัวถูกจับจึงไม่กล้ากระทำก็ได้

สมมติว่าเด็กอีกคนหนึ่งเดินไปคนเดียวและพบกระเป๋าสตางค์บนถนน   ขณะที่เขาหยิบ

กระเป๋าขึ้นมาถือไว้นั้น ไม่มีใครเห็นเขาเลย หากเขาประสงค์จะเก็บไว้เป็นของตัว ก็จะไม่มีใครมาติเตียน หรือไม่มีใครไปบอกตำรวจมาจับ หากเด็กคนนี้มีจิตสำนึกดี เขาก็จะเอากระเป๋าไปมอบที่สถานีตำรวจ เช่นนี้เรียกว่าเขาละอายใจตนเองที่จะถือเอาสิ่งที่ตนไม่มีสิทธิอันชอบธรรม เขาละอายต่อความชั่วมิใช่ละอายผู้อื่นใด เพราะแถวนั้นไม่มีใคร เรียกได้ว่าเขากลัวความชั่ว   มิใช่กลัวถูกจับหรือกลัวถูกติเตียน เพราะไม่มีใครเห็น คนที่ละอายและกลัวความชั่วนั้นจะไม่ทำชั่ว ไม่ว่าในที่ลับหรือที่แจ้ง

ผู้ที่ละอายและเกรงกลัวความชั่วนั้นคือผู้ที่เคารพตนเอง กฎหมายเพียงอย่างเดียวไม่อาจทำให้สังคมเป็นปกติสุขได้  คนที่ไม่มีความละอายต่อความชั่วย่อมหาทางหลีกเลี่ยงกฎหมายเสมอ ถ้าไม่มีคนเห็นหรือแน่ใจว่าไม่มีใครจับได้ก็จะยังคิดที่จะทำความชั่วอยู่

คนที่ฉลาดมาก หากไม่มีความละอายต่อความชั่วแล้วย่อมหาช่องทางหลีกเลี่ยงกฎหมายได้เสมอ คนที่มีอำนาจก็เหมือนกัน หากไร้หิริโอตตัปปะแล้ว จะทำให้ผู้คนเดือดร้อน เพราะคนเหล่านี้มีกฎหมายอยู่ในมือ อาจใช้กฎหมายข่มเหงเบียดเบียนผู้อื่นหรือคดโกงทุจริตได้ เพราะอำนาจของกฎหมายนั้น อยู่ที่ความกลัวของคน หากคนไม่กลัวกฎหมายเพราะมีกฎหมายอยู่ในมือแล้ว เขาก็จะกล้าทำผิด กฎหมายไม่อาจห้ามเขามิให้ทำผิดได้ แต่หากคนทุก คนในสังคมมีจิตสำนึกทางศีลธรรม         คือมีความละอายและเกรงกลัวต่อความชั่วแล้ว เขาก็จะไม่ทำความชั่วไม่ว่าเขาจะฉลาดมากหรือน้อย  มีอำนาจหรือไม่มีอำนาจ  เพราะคนอย่างนี้เป็นคนหักห้ามใจตนเอง  และเคารพตนเอง

หิริโอตตัปปะหรือความละอายต่อความชั่วและเกรงกลัวความชั่วนี้ เป็นหลักธรรมที่สำคัญมาก พระพุทธศาสนาเรียกว่า โลกปาลธรรม  หรือธรรมที่คุ้มครองโลก เป็นหลักที่จะอำนวยสันติสุขให้เกิดขึ้นในโลกได้อย่างแท้จริง ลำพังเพียงกฎหมายอย่างเดียวไม่อาจทำให้สังคมสงบสุขได้  เพราะหากขาดหิริโอตตัปปะแล้ว   คนจะตกเป็นทาสของสิ่งเย้ายวน      และโอกาสที่จะทำผิดก็เกิดขึ้นได้เสมอ การอบรมปลูกฝังให้คนมีสำนึกดีชั่ว  มีความละอายและเกรงกลัวความชั่วเป็นการตัดต้นตอของความชั่วอย่างถึงรากถึงโคน เพราะการไม่ทำชั่วนั้นอยู่ที่ตัวเองมิให้ผันแปรไปตามสิ่งเย้ายวนภายนอก

วิธีปลูกฝังหิริโอตตัปปะ

สังคมจะเป็นสุขเมื่อคนทุกคนมีหิริโอตตัปปะ  ดังนั้นเราแต่ละคนจะต้องปลูกฝังสิ่งนี้ให้แก่ตัวเอง  การพัฒนาตัวเองให้เป็นคนมีหิริโอตตัปปะ เริ่มจากง่าย ก่อน คือ ฝึกตัวเองให้เคารพกฎหมายและระเบียบของโรงเรียนไว้ ข้อนี้ทำไม่ยากเพราะการละเมิดกฎหมายและระเบียบนั้น ตัวเองต้องถูกลงโทษอยู่แล้ว หัดตัวเองให้กลัวการถูกลงโทษก่อน ถ้าหากจะพยายามหาอุบายหลีกเลี่ยงกฎหมายและระเบียบ      จงระลึกอยู่เสมอว่าท่านอาจจะพลาดพลั้ง       หรือถ้าท่านคิดว่าท่านฉลาดเอาตัวรอดได้     จงนึกว่าอาจมีคนฉลาดกว่าและจับได้      ถ้าท่านกำลังจะทำผิดเพราะคิดว่าไม่มีใครรู้เห็น จงจำไว้ว่าความลับไม่มีในโลกนี้

เมื่อฝึกตนให้เป็นคนเคารพและกลัวกฎหมายแล้ว       ขั้นต่อไปก็ฝึกให้เคารพตนเอง หัดปกครองตนเอง การปกครองตนเอง คือ การยับยั้งใจตนเองมิให้กระทำผิด     จงคิดว่าเราเป็นมนุษย์ซึ่งแปลว่าผู้มีใจสูง มนุษย์เท่านั้นที่อาจฝึกให้รู้จักละอายต่อความชั่วได้ การฝึกสัตว์เดรัจฉานนั้นฝึกได้ทางเดียวคือ การลงโทษ  ถ้าสุนัขตัวโตที่บ้านของนักเรียนรังแกตัวเล็กเสมอ  นักเรียนฝึกให้มันละเว้นการรังแกนี้ได้โดยใช้ไม้ตีมันทุกครั้งที่มันรังแกตัวเล็ก ในที่สุดมันจะละเว้นการรังแกได้     แต่นักเรียนไม่อาจสั่งสอนมันโดยการอบรมจิตใจให้มันเกิดความละอาย เพราะมันปกครองตัวเองไม่ได้  มันไม่อาจรับการฝึกให้เคารพตัวเองได้  ฝึกได้ก็แต่การเคารพไม้เรียว




แต่มนุษย์ประเสริฐกว่าสัตว์ มนุษย์เท่านั้นที่ฝึกให้ละอายความชั่วได้ นั่นคือรู้จักยับยั้งชั่งใจ มีสำนึกผิดชอบชั่วดี  มนุษย์เท่านั้นที่อบรมให้ละเว้นความชั่ว และทำความดี เราเกิดมาเป็นคนแล้ว ควรทำตนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทำให้ตนเป็นผู้มีศักดิ์ศรีเหนือกว่าสัตว์เดรัจฉาน  หากใช้สติปัญญาไตร่ตรองอย่างนี้แล้ว และเมื่อเคยชินกับการปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบมาแล้ว หลักธรรมข้อนี้ก็เป็นสิ่งที่     ทุกคนสามารถกระทำตามได้


สติสัมปชัญญะ

. ความหมายของสติสัมปชัญญะ

    สติ  แปลว่า  “ความระลึกได้”    หมายถึง  ระลึกถึงการกระทำทั้งทางกาย วาจา และใจได้  เช่น ระลึกถึงสิ่งที่เคยเห็น เคยฟัง เคยศึกษา   ระลึกได้ว่า  เคยพูดอะไรกับใคร    ระลึกความคิดที่ตนเคยคิด เป็นต้น     สติยังหมายรวมถึงการคิดคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดในอนาคตด้วย  เช่น คิดว่าพรุ่งนี้มีงานอะไรจะต้องทำ ต้องดำเนินงานเป็นขั้นตอนอย่างไร กล่าวสั้น ได้ว่า สติ คือ ความไม่ประมาท ความรอบคอบ ความไม่พลั้งเผลอ

สัมปชัญญะ แปลว่าความรู้ตัวคือรู้ตัวว่าปัจจุบันตนกำลังทำอะไร คิดอะไร พูดอะไร เช่น กำลังอ่านหนังสือ ก็รู้ตัวว่ากำลังอ่านหนังสือ ตอกตะปูก็รู้ว่ากำลังตอกตะปู รู้ว่าปัจจุบันตนกำลังเป็น     นักเรียนก็ปฏิบัติตนให้สมกับเป็นนักเรียน เป็นต้น

. วิธีฝึกตนให้มีสติสัมปชัญญะ

. ก่อนทำ  ก่อนพูด  ก่อนคิดอะไรก็ตาม   ใคร่ครวญให้รอบคอบเสียก่อน อย่าทำอวดดี

อวดเก่งจนเกินเหตุ

. ระลึกอยู่เสมอว่า  ป้องกันดีกว่าแก้ไข      เมื่อความประมาทเลินเล่อทำให้เกิดความเสียหายแล้ว  การแก้ไขนั้นยาก  จะแก้ไขให้เหมือนเดิมนั้นเกือบเป็นไปไม่ได้ เช่น ข้ามถนนด้วยความประมาท ทำให้ถูกรถชนเกิดบาดเจ็บ จะรักษาอย่างไรร่างกายก็ไม่เหมือนเดิมและบางครั้งก็ไม่สามารถรักษาได้อย่างนี้ เป็นต้น

      . เมื่อเกิดอารมณ์เสีย โกรธหรือหงุดหงิด อย่าเพิ่งคิด พูด หรือทำอะไร      เพราะในขณะนั้นสติสัมปชัญญะจะเกิดไม่ได้   ควรปล่อยให้เวลาผ่านไปสักครู่แล้วค่อยทำหรือพูด ก่อนพูดและทำอาจยับยั้งตัวเองได้   แต่เมื่อเริ่มพูดและทำไปแล้ว เป็นการยากที่จะยับยั้งตัวเอง

. เครื่องดองของเมา    สิ่งเสพติด    การพนัน              สิ่งเหล่านี้ล้วนทำให้เกิดการขาด

สติสัมปชัญญะ   ควรถอยให้ห่างอย่าเข้าไปกล้ำกราย

สติสัมปชัญญะเป็นหลักธรรมคู่กัน      ในบางแห่งอาจกล่าวถึงสติอย่างเดียว   แต่ก็หมายความถึงสัมปชัญญะด้วย



ในชีวิตประจำวันสติสัมปชัญญะมีประโยชน์มาก ช่วยให้เรามีความระมัดระวัง            ไม่ประมาทไม่เลินเล่อ ความประมาทเป็นหนทางนำไปสู่ความล้มเหลว และอาจทำให้เกิดอันตรายหรือความเสียหายร้ายแรงได้ เช่น เดินข้ามถนน หากขาดสติสัมปชัญญะอาจถูกรถชนได้รับบาดเจ็บสาหัสได้   ถ้าระลึกและรู้ตัวอยู่ตลอดเวลาว่ากำลังทำอะไร ดูซ้ายดูขวาให้ดีก่อนข้าม หรือเลือกใช้สะพานลอยเดินข้ามก็เป็นวิธีการปลอดภัยที่สุด

คนที่กำลังเป็นนักเรียนอยู่ไม่รู้ตัวว่ากำลังเป็นนักเรียน มีหน้าที่ศึกษาหาความรู้ เพื่อนำประโยชน์ให้ตัวเองและสังคม แต่กลับเที่ยวเตร่ดื่มสุรา ไม่ดูหนังสือ ไม่นึกถึงอนาคต ชีวิตก็มีแต่จะตกต่ำลงเรื่อย ตัวอย่างเช่น เห็นเพื่อน เกเร หนีโรงเรียนไปมั่วสุมตามแหล่งอบายมุขก็ทำตามเขาบ้าง โดยขาดสติสัมปชัญญะ การเรียนก็จะอ่อนลง และเมื่ออ่อนลงก็ยิ่งขาดกำลังใจ หาทางออกในทางที่ผิดมากขึ้น การเรียนก็ยิ่งอ่อนลงไปอีก จนในที่สุดก็กลายเป็นคนล้มเหลว

คนมีสติสัมปชัญญะเมื่อจะพูดหรือจะแสดงกิริยาท่าทางอะไรออกมาก็รู้สึกตัวอยู่เสมอ ไม่พูดหยาบ พูดเพ้อเจ้อ กิริยามรรยาทก็นิ่มนวล ย่อมทำให้เป็นที่รักใคร่ชอบพอแก่คนที่คบค้าสมาคมด้วย ชีวิตก็จะมีแต่ความราบรื่น นอกจากมีประโยชน์ในการทำงานแล้วยังทำให้ใจสงบด้วย


บุพการีและกตัญญูกตเวที

. ความหมายของบุพการีและกตัญญูกตเวที

บุพการี     แปลว่า  “ผู้ทำก่อนหมายถึง ผู้ที่ทำอุปการคุณให้แก่ตนก่อนหน้านี้

      กตัญญู     หมายถึง  “การรู้อุปการคุณที่ผู้อื่นกระทำแก่ตน” 

      กตเวที    หมายถึง  “ประกาศอุปการคุณที่ผู้อื่นได้กระทำแล้วแก่ตน”  คือการฉลองคุณหรือ ตอบแทนคุณ     ความกตัญญูกตเวทีเป็นสิ่งประเสริฐ บุคคลใดรู้จักคุณและตอบแทนคุณที่ผู้อื่นได้ทำแก่ตนแล้ว ก็ขึ้นชื่อว่าเป็นคนดีมีแต่คนสรรเสริญ

โดยปกติมนุษย์เรา      เมื่อใครทำบุญคุณแก่ตน      ย่อมรู้สึกสำนึกในบุญคุณนั้นและคิด

ตอบแทนคุณท่าน คำว่ากตัญญูและกตเวทีจึงมาด้วยกันเสมอ ต้องรู้จักกตัญญูก่อนแล้วจึงแสดงกตเวที  แต่สามัญชนแม้สำนึกในบุญคุณก็อาจมิได้ตอบแทนคุณ   อย่างนี้เรียกว่ามีกตัญญูแต่ขาดกตเวที ไม่มีใครสรรเสริญแต่ไม่มีใครประณาม ถ้าบุคคลใดไม่ยอมรับรู้ว่าผู้อื่นมีคุณแก่ตน คือขาดกตัญญู เป็นคนไม่รู้คุณคนเหมือนคนพาล และกตเวทีก็มีไม่ได้ ถ้าถึงกับลบหลู่ผู้มีพระคุณแก่ตนด้วยแล้ว  ก็เรียกได้ว่าเป็นคนชั่วเนรคุณ เป็นที่ประณามเหยียดหยามทั้งทางโลกและทางธรรม

. ประเภทของบุคคลผู้มีอุปการคุณและการตอบสนองคุณ

ในโลกนี้มีบุคคลที่มีอุปการคุณแก่เรามากมาย      อาจแบ่งตามความใกล้ชิดกับเราตั้งแต่

มากไปหาน้อยได้เป็น สายคือ

. ทางสกุล

       . ทางการศึกษา

        . ทางการปกครอง

        . ทางศาสนา

. ทางสกุล   ได้แก่ บิดามารดา ปู่ย่า ตายาย ลุงป้า น้าอา

    บิดามารดา    เป็นผู้มีพระคุณแก่เราโดยตรง       เพราะเป็นผู้ให้กำเนิดชีวิตและเลี้ยงดู

เรามาก่อนผู้อื่น ให้อุปการคุณแก่เราโดยไม่มุ่งหวังผลประโยชน์หรือสิ่งตอบแทน    ตั้งแต่เราเกิดมาท่านก็ให้ความรักความเมตตา  เอาใจใส่ดูแลห่วงใยโดยบริสุทธิ์ใจ  คอยแนะนำตักเตือนชี้ทางที่ดีให้แก่เรา เมื่อเราทุกข์หรือเจ็บไข้ได้ป่วยก็ทุกข์ด้วย ถ้ายากจนก็สู้อุตส่าห์กู้ยืมมารักษาพยาบาลลูกหรือให้การศึกษา แม้ว่าจะต้องทำงานด้วยความเหนื่อยยากก็สู้ยอมทนเพื่อลูก

     ปู่ย่า ตายาย เปรียบเสมือนบิดามารดาคู่ที่สอง เพราะเป็นบิดามารดาของบิดา มารดา

เราอีกทีหนึ่ง     ก็นับว่ามีพระคุณแก่เราอย่างยิ่ง

        ลุงป้า น้าอา  ก็เช่นเดียวกัน ให้อุปการคุณเลี้ยงดู  รักใคร่เรามาตั้งแต่เด็ก      ให้ความ

เมตตา  คอยปกป้องรักษาห่วงใยเรา เป็นผู้มีพระคุณเช่นเดียวกัน

      เมื่อเรารู้จักพระคุณของท่านแล้ว ก็มีหน้าที่ต้องตอบแทนฉลองคุณท่านด้วยวิธีต่างๆ

เช่น แสดงความเคารพนบนอบเชื่อฟัง ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนด้วยความขยันหมั่นเพียร ไม่ทะเลาะวิวาทกัน        ในบรรดาพี่น้อง ช่วยเหลือการงานของท่าน รู้ว่าท่านชอบอะไรถ้าอยู่ในวิสัยที่จะซื้อหาได้ ก็หามาให้ท่าน และถ้าท่านตกทุกข์ได้ยากหรือมีภัย แม้ชีวิตของเราก็ควรยอมสละเพื่อท่านได้เหล่านี้เป็นต้น

. ทางการศึกษา ได้แก่ ครูอาจารย์

     ครูอาจารย์   มีพระคุณแก่ศิษย์รองจากบิดามารดา      เป็นผู้ปลูกฝังและถ่ายทอดวิชา

ความรู้ให้แก่เราโดยตรง  บิดามารดาเป็นผู้ให้กำเนิด    แต่ครูอาจารย์เป็นผู้อบรมสั่งสอนให้วิชาความรู้แก่เรา ทำให้เรามีความรู้  ความคิด     ความสามารถที่จะนำไปใช้เป็นประโยชน์ในการทำมาหาเลี้ยงชีพของเราต่อไปในอนาคต  ครูอาจารย์มีความหวังดีต่อศิษย์ปรารถนาให้ศิษย์เป็นผู้มีความรู้ ความเข้าใจแจ่มแจ้งในสิ่งที่ตนสอนและใช้ความรู้ทำงานให้ได้ผลดี กอปรทั้งเป็นผู้มีคุณธรรม ประพฤติตนในทางที่ถูกที่ควร มีความเจริญก้าวหน้าในชีวิตและการงาน

     การระลึกถึงบุญคุณของครูอาจารย์     และหาทางตอบแทนท่านเพื่อแสดงกตเวทีนั้น     

อาจทำได้หลายอย่าง  เช่น ให้ความยกย่องนับถือด้วยกิริยาและวาจา ตั้งใจฟังในสิ่งที่ครูสอน ไม่เกียจคร้าน

ประพฤติตัวตามคำอบรมสั่งสอน การมีน้ำใจ  ให้วัตถุสิ่งของตามควรแก่อัตภาพ

. ทางการปกครอง ได้แก่ ประมุขของประเทศ คือองค์พระมหากษัตริย์

     พระมหากษัตริย์ ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ปกครอง

มานับแต่โบราณกาล ประเทศเปรียบเสมือนบ้าน  ถ้าขาดผู้ปกครองดูแลทุกข์บำรุงสุขให้เกิดภายในบ้าน คนที่อาศัยอยู่ในบ้านก็ไม่อาจมีความสงบสุขได้ ถ้าประเทศขาดพระมหากษัตริย์ คนไทยทั้งชาติก็ไม่อาจอยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขได้   เพราะพระองค์ทรงเป็นที่รวมจิตใจของคนไทยทั้งชาติให้มีความรักใคร่สามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน   อันเป็นทางช่วยให้ประเทศชาติเกิดความเจริญรุ่งเรือง    รอดพ้นจากภัยอันตรายที่มาคุกคามได้ด้วยการที่ทรงบำเพ็ญทศพิธราชธรรม เห็นแก่ความสุขสงบของพสกนิกรมากกว่าความสุขสำราญส่วนพระองค์       จึงจัดได้ว่าพระมหากษัตริย์ทรงมีบุญคุณต่อประเทศชาติและคนในชาติอย่างใหญ่หลวง

เราสามารถสนองพระคุณขององค์พระประมุขของชาติได้       โดยการประพฤติตนเป็น

พลเมืองดีของชาติรักชาติ  ไม่คิดทรยศต่อชาติบ้านเมือง รักษาความมั่นคงให้ชาติ        อาจกระทำโดยทางตรง เช่น เป็นทหาร ตำรวจ หรือโดยทางอ้อมคือ เมื่อได้รู้หรือเห็นสิ่งใดอันอาจทำให้เกิดผลร้ายต่อความปลอด-ภัยของประเทศชาติอย่านิ่งนอนใจ ต้องรีบหาทางแก้ไขหรือพยายามขจัดขัดขวางทุกวิถีทาง เทิดทูนและปกป้ององค์พระมหากษัตริย์ไว้ด้วยชีวิต ปฏิบัติตนตามพระราชดำรัสหรือพระบรมราโชวาท เป็นต้น

. ทางศาสนา ได้แก่ องค์ศาสดา ของแต่ละศาสนา

                                ศาสดา   คือ ผู้ประกาศหรือสถาปนาศาสนา    ทางพระพุทธศาสนาได้แก่พระสัมมา-สัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงแสวงหาทางหลุดพ้นให้แก่มวลมนุษย์   ทรงสอนให้มนุษย์กระทำแต่ความดี    ละเว้นความชั่ว ทรงให้หลักธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจบุคคลให้ประพฤติตนในทางที่ชอบที่ควร อันเป็นผลทำให้ประเทศชาติ และสังคมเกิดความสงบสุขร่มเย็นด้วย จัดว่าทรงเป็นผู้มีอุปการคุณแก่เราอย่างสูงสุด

     ดังนั้น      เราจึงต้องรู้จักตอบแทนพระคุณขององค์พระศาสดา          โดยเคารพบูชา

พระรัตนตรัย    อันได้แก่  พระพุทธ  พระธรรม  พระสงฆ์    อันเป็นเครื่องหมายแทนองค์พระศาสดา ทำนุบำรุงศาสนาให้เจริญถาวร รู้จักทำบุญตักบาตร นอกจากนี้การช่วยทำนุบำรุงชาติให้มั่นคง ยังเป็นทางช่วยจรรโลงศาสนาให้คงอยู่ด้วย เพราะถ้าหากไม่มีชาติศาสนาก็ดำรงอยู่ไม่ได้ และทางกลับกันชาติที่ไม่มีศาสนาเป็นหลักประจำใจของคนในชาติ ก็ย่อมถึงความพินาศสูญสิ้นเอกราชได้ในไม่ช้า

     ความกตัญญูกตเวที   นอกจากจะเป็นเครื่องแสดงความเป็นคนดีของตน     ทำให้คน

ทั่วไปรักใคร่นับถือ ตกทุกข์ได้ยากก็มีคนอยากอุ้มชูแล้วยังเป็นประโยชน์แก่สังคมด้วย เพราะเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างมนุษย์ ทำให้คนมีความรักใคร่กันช่วยเหลือกันเมื่อยามยาก  เกิดความอบอุ่นในสังคมไม่โดดเดี่ยวและว้าเหว่ เกิดความสามัคคีกลมเกลียวกัน แต่การแสดงกตัญญูกตเวทีหรือตอบแทนคุณ  ต้องคำนึงถึงคุณธรรมข้ออื่น ด้วย  มิใช่มุ่งแต่จะตอบแทนคุณโดยไม่คำนึงถึงศีลธรรมหรือกฎหมาย   ดังนั้นคนที่รู้จักคุณของผู้อื่นจักต้องรู้จักตอบแทนคุณนั้นในทางที่ถูกที่ควร จึงจะได้ชื่อว่าเป็นคนดีมี   คุณธรรม   ยังความสงบเรียบร้อยให้เกิดขึ้นในสังคม  ตั้งแต่ครอบครัวไปจนถึงประเทศชาติ


ขันติ  โสรัจจะ

. ขันติ

      ขันติ  แปลว่าความอดทน”  หมายถึง  ความสามารถที่จะทนต่อความลำบาก มีจิตใจเข้มแข็งที่จะทำความดี และสามารถควบคุมตนเองมิให้ทำชั่ว อันได้แก่

. อดทนต่อความยากลำบาก คือ มีจิตใจเข้มแข็งที่จะทำงานให้ลุล่วงสำเร็จ หนักเอาเบาสู้ 

ไม่ว่าจะเหน็ดเหนื่อย หิวกระหาย ก็เพียรพยายามทำงานที่ตั้งใจไว้ให้สำเร็จ และที่สำคัญก็คือ แม้จะยากลำบากเพียงใดก็ตามก็สามารถอดกลั้นที่จะไม่ทำความชั่ว ไม่ทำการทุจริต      แม้ชีวิตจะลำบากเพราะความจนก็ไม่ละโมบคิดเอาของผู้อื่นโดยมิชอบ แต่ต้องใช้ความอดทนเพียรทำการงานของตนให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้

. อดทนต่อความเจ็บป่วย   หมายถึง  อดทนต่อความเจ็บป่วยทางกาย     ไม่โอดครวญ 

ไม่ท้อแท้ ไม่แสดงอาการฉุนเฉียว ไม่แสดงความอ่อนแอจนเกินเหตุ ไม่นำเอาความเจ็บป่วยเล็ก น้อยๆ มาอ้างเพื่อขออภิสิทธิ์ที่จะได้โน่นได้นี่หรือที่จะไม่ต้องทำโน่นทำนี่ ทำให้กลายเป็นคนน่าสมเพชเวทนา เป็นที่น่าเหยียดหยามของคนข้างเคียง

. อดทนต่อความเจ็บใจ     หมายถึง  การอดทนต่อการกระทำล่วงเกิน    เช่น       ถูกด่า    

ถูกดูหมิ่น ถูกนินทา ถูกยั่วยุ เป็นต้น เพราะอยู่ด้วยกันหมู่มาก ย่อมมีคนดีบ้าง  คนชั่วบ้าง มีการล่วงเกินเราโดยตั้งใจบ้าง โดยไม่ตั้งใจบ้าง  การกระทบกระทั่งกันย่อมเป็นของธรรมดา เราต้องมีความอดทน   และอดกลั้นตามควร  มิใช่ว่าเขาพูดผิดใจนิดเดียวก็ท้าตีท้าต่อยเขาเสียแล้ว  อย่างไรก็ตามหากมีคนล่วงเกินอย่างรุนแรงและโดยเจตนา   ก็ต้องตอบโต้ด้วยสันติวิธี โดยอาศัยกระบวนการของกฎหมายหรือระเบียบกฎเกณฑ์ที่ยึดอยู่เป็นเครื่องมือ

. อดทนต่อกิเลส    หมายถึง   อดทนต่อสิ่งต่าง     ที่เข้ามายั่วยวนชวนให้หลงไหลให้

หมกมุ่น มัวเมา รู้จักเดินสายกลาง ไม่ปล่อยตัวให้ถลำไปในทางทุจริต ในปัจจุบันมีสิ่งต่าง ที่มายั่วยวน ผู้คนให้ประพฤติตนไปในทางเสื่อมเสียมากขึ้น        เราต้องรู้จักควบคุมจิตใจตนเองให้มั่นคงไม่หลงตามง่าย  

เรื่องความอดทนนี้    เราอาจสรุปได้ว่ามี อย่าง    คือ  อดทนต่อความโลภ   อดทนต่อ

ความโกรธ  และอดทนต่อความหลง 

ประการที่หนึ่ง  แม้เราจะลำบากมีทุกข์ยากเพียงใดก็ตาม ก็ต้องอดใจไม่คิดโลภอยากได้

ของผู้อื่นโดยมิชอบ    

ประการที่สอง    แม้จะมีผู้มาล่วงเกินเรา    เราก็อดทนยับยั้งไม่ถือโกรธ         ไม่โต้ตอบ 

นอกจากการล่วงเกินนั้นรุนแรงมาก   เราก็อดทนไม่โต้ตอบด้วยความรุนแรงแต่โต้ตอบด้วยสันติวิธี 

ประการที่สาม  อดทนต่อความหลง คือ สามารถอดทนต่อสิ่งยั่วยุ ไม่เห็นผิดเป็นชอบ 

ไม่มัวเมาลุ่มหลงกับสิ่งต่าง จนเกินควร

. โสรัจจะ

      โสรัจจะ แปลว่าความสงบเสงี่ยมหมายถึง ความสงบเสงี่ยม ความมีอัธยาศัยงาม ความประณีต ความสงบ เรียบร้อย ความไม่หรูหรา



ขันติกับโสรัจจะ เป็นธรรมสองข้อที่มักจะไปด้วยกัน รวมกันแล้วเรียกว่าธรรมอันทำ

ให้งามธรรมสองข้อนี้ผู้ใดมีแล้วเรียกว่าเป็นคนงาม คนงามในที่นี้มิได้หมายความว่าเป็นคนหน้าตาสวย   รูปหล่อ    แต่หมายถึงงามในความประพฤติทั้งทางกาย วาจา และใจ  คนที่มีความอดทนตามที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น เรียกว่าเป็นคนงาม คือ มีใจเข้มแข็งน่ายกย่อง   มีวาจาที่ไม่ก้าวร้าว  ไม่หยาบคาย เพราะอดทนได้     มีการกระทำที่อยู่ในกรอบของความพอเหมาะ  เพราะฝึกเอาไว้ได้ แต่ถ้าจะให้งามยิ่งขึ้น ต้องมีโสรัจจะด้วย คือต้องอดทนด้วยความสงบเสงี่ยม  ไม่แสดงท่าฮึดฮัด  เดินพล่าน  บ่นกระปอดกระแปด ทำเสียงกับคนข้างเคียง คนบางคนอดทนอะไรต่ออะไรได้มาก    แต่ไม่สามารถอดทนด้วยความสงบ ต้องแสดงกิริยาว่าไม่พอใจที่ต้องอดทน หรืออาจจะบ่นอยู่ตลอดเวลาอย่างนี้เรียกว่าไม่งามจริง งามเพียงครึ่งเดียว คือส่วนที่เป็นขันติ แต่ไม่งามพร้อม  เพราะไม่มีโสรัจจะ

นอกจากจะเป็นส่วนหนึ่งที่เสริมให้ขันติมีความงามพร้อมแล้ว    ตัวโสรัจจะเองก็ทำคน

ให้งามได้ คนที่ประณีตรักสวยรักงาม จะทำอะไรก็ละมุนละไม อ่อนหวาน นุ่มนวล ย่อมเป็นที่งามตาแก่ผู้ที่พบเห็น คนที่พูดจาเรียบร้อย ไม่กระโชกโฮกฮาก ไม่ส่งเสียงดังโดยไม่สมควรย่อมเป็นที่ชื่นชมแก่ผู้สนทนาด้วย

อนึ่งโสรัจจะยังหมายถึง   การไม่ทำตัวหรูหรา โอ่อ่า    ทำตัวเป็นจุดเด่นจนเกินควรด้วย

คนที่ชอบแสดงโอ้อวด ชอบพูดเกินจริง ชอบอวดมั่งมี อวดเก่ง ไปไหนก็ทำตนเหมือนกับว่าเป็นคนเด่นที่สุด   คนอย่างนี้เรียกว่าไม่มีโสรัจจะ ตัวเองอาจนึกว่าตัววิเศษแล้ว  แต่จริง แล้วไม่มีใครนึกว่างามเลย   มีแต่คนหมั่นไส้ไม่อยากไปไหนมาไหนด้วย  ไม่มีใครอยากคบค้าสมาคมด้วย คนเช่นนี้มีโอกาสเป็นผู้นำน้อยมาก เพราะผู้นำนั้นต้องสงบ สำรวม  มั่นใจในตนเองโดยไม่ต้องแสดงออก


อิทธิบาท ๔

. ความหมายของอิทธิบาท

อิทธิ  แปลว่าความสำเร็จ”  บาท  แปลว่าทางหรือสิ่งที่ช่วยนำทางเมื่อนำมารวมกัน

เป็นอิทธิบาท แปลว่า ทางแห่งความสำเร็จ

ความสำเร็จ  หมายถึงการได้บรรลุเป้าหมายตามที่บุคคลตั้งไว้        ซึ่งอาจเป็นเป้าหมาย

กว้าง   ไม่กำหนดลักษณะและระยะเวลาแน่นอน เช่น ตั้งความหวังไว้ว่าวันหนึ่งจะต้องเป็นนักกีฬาระดับชาติ หรือเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียง หรือเป้าหมายนั้นอาจเป็นเป้าหมายที่ระบุเวลาและขีดขั้นไว้อย่างแน่นอน เช่น ตั้งเป้าหมายไว้ว่าสิ้นเดือนนี้จะต้องท่องศัพท์ภาษาอังกฤษให้ได้เพิ่มมากขึ้น ๕๐ คำ หรือสิ้นปีนี้จะต้องปลูกผักกาดขาวที่สวนครัวหลังบ้านให้ได้ ๒๐๐ ต้น เป็นต้น

ในชีวิตของแต่ละคนย่อมมีเป้าหมายและวิธีการที่จะให้เป้าหมายของตนบรรลุผลสำเร็จ

แตกต่างกัน รูปแบบของความสำเร็จก็มีต่าง กัน บางคนตั้งเป้าหมายในการศึกษา  บางคนตั้งเป้าหมายในการทำงานและอาชีพ บางคนตั้งเป้าหมายในชีวิตส่วนตัวและครอบครัว   แต่ที่ทุกคนเหมือนกัน   คือเป้าหมายนั้นจะเป็นผลดีแก่ตนเอง เป้าหมายที่ดี  นอกจากจะเป็นผลดีแก่ตนเองแล้วก็ควรจะไม่เป็นผลร้ายแก่สังคม ความสำเร็จของสังคมเป็นผลรวมของความสำเร็จของคนแต่ละคนไม่อาจแยกกันได้ เช่น ทีมฟุตบอลไทยชนะทีมชาติอื่น ความสำเร็จของส่วนรวมก็คือ ผลรวมของความสำเร็จหรือเป้าหมายที่        นักฟุตบอลไทยแต่ละคนตั้งเอาไว้   นอกจากเป้าหมายต้องชอบธรรม เป็นผลดีแก่ตนและสังคมแล้ว วิธีการที่จะนำไปสู่เป้าหมายนั้นก็ต้องชอบธรรมด้วย มิใช่ได้มาด้วยวิธีการทุจริตคิดมิชอบ คดโกง เป็นต้น ถ้าเราใช้วิธีที่ไม่ชอบธรรมในการสร้างความสำเร็จให้กับตนเอง ความสำเร็จนั้นมักจะทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน เป็นผลเสียหายแก่สังคมส่วนรวม ดังนั้นบุคคลที่จะได้ชื่อว่าประสบความสำเร็จในชีวิตของตนเองและสังคม ย่อมต้องรู้จักใช้วิธีการที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม เพื่อบรรลุเป้าหมายที่ดีมีคุณประโยชน์ทั้งต่อตนเองและสังคมด้วย

วิธีการที่บุคคลจะพึงใช้ในการสร้างความสำเร็จให้ชีวิตนั้น   ในทางพระพุทธศาสนามี

คุณธรรมอยู่ข้อหนึ่งเรียกว่า อิทธิบาท ซึ่งมีองค์ประกอบอยู่ ประการ คือ

ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น (พอใจทำ)

วิริยะ      ความพยายามหมั่นประกอบในสิ่งนั้น (แข็งใจทำ)

      จิตตะ     ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น (ตั้งในทำ)

      วิมังสา   การพิจารณาไตร่ตรองหาเหตุผลในสิ่งนั้น (เข้าใจทำ)

. คำอธิบายอิทธิบาท

       . ฉันทะ   แปลว่า ความพอใจในการกระทำกิจการใด   ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาหรือการทำงาน ถ้าขาดความพอใจที่จะทำหรือความต้องการที่จะทำ ไม่มีความปรารถนาอย่างจริงจังกับงานนั้น งานนั้นก็จะสำเร็จลงมิได้ เพราะเกิดความเบื่อหน่ายหรือท้อแท้  งานง่ายก็กลายเป็นงานยาก งานเบาก็กลายเป็นงานหนัก เพราะขาดความเต็มใจ กลายเป็นคนจับจดทำอะไรไม่สำเร็จสักอย่าง ทำไปได้หน่อยก็ทิ้งเสียกลางคัน ทำให้ไม่ก้าวหน้า ไม่มีใครเชื่อถือ ดังนั้นประการแรก  เราต้องสร้างฉันทะในงานนั้นเสียก่อน ให้เกิดความพอใจสนใจและเต็มใจที่จะทำ ไม่ว่างานนั้นจะง่ายหรือยาก หนักหรือเบา ก็มีโอกาสจะ ลุล่วงความสำเร็จไปได้โดยง่าย

. วิริยะ     แปลว่า    ความเพียร        ในการทำงานทุกอย่างย่อมต้องมีความลำบากและ

อุปสรรคบ้างไม่มากก็น้อยแตกต่างกันไป   ถ้าไม่มีความขยันหมั่นเพียร อดทน และพยายามฟันฝ่าอุปสรรคด้วยความอุตสาหะแล้ว ถึงจะมีใจรักใคร่ในงานนั้น ก็มิได้หมายความว่าสิ่งนั้นจะสำเร็จลงได้ ความท้อแท้เกิดขึ้นได้กับคนทุกคน บางคนท้อแท้เพราะไม่มั่นใจในความสามารถของตนที่จะทำ บางคนท้อแท้เพราะคิดการใหญ่เกินไป ทำให้เกิดความสำเร็จได้ยาก ทางแก้คือสำรวจความสามารถของตนเองให้ละเอียด อย่าเข้าข้างตัวเองหรือดูถูกตัวเองมากเกินไป พยายามเปรียบตัวเองกับตัวเอง คือเปรียบเทียบดูว่าวันนี้กับเมื่อวานนี้เราทำงานได้แตกต่างกันเท่าไร และพรุ่งนี้เราควรทำงานได้มากกว่าวันนี้เท่าไร อย่าไปมัวคิดว่าใครทำอะไรหรือได้อะไรแค่ไหน   แต่คิดว่าเราควรได้อะไรเท่าไรในเวลาเท่านั้นเท่านี้ การเปรียบเช่นนี้ก่อให้เกิดกำลังใจ มีมานะทำงานด้วยกำลังกายตามความสามารถจนก้าวหน้าสำเร็จลุล่วงไปได้         ไม่เกิดความเกียจคร้าน หรือกลายเป็นคนไร้ความสามารถซึ่งเป็นผลเสียต่อชีวิตของตน

. จิตตะ   แปลว่า ความเอาใจใส่ เป็นการตั้งจิตให้แน่วแน่ในสิ่งที่ทำ ตั้งใจจดจ่ออยู่กับ

เรื่องที่ตนกำลังทำ ไม่ปล่อยใจให้เลื่อนลอยไปสู่เรื่องอื่น คนที่ทำอะไรโดยขาดความตั้งใจมั่นอยู่ในเรื่องนั้น ย่อมยากที่จะทำงานให้สำเร็จได้  โดยเฉพาะงานที่ต้องใช้เวลานาน เพราะความคิดไม่ต่อเนื่องกันตลอดเป็นเรื่องเดียว เวลานี้คิดเรื่องนี้กำลังคิด อยู่ใจไพล่ไปนึกถึงสิ่งอื่น แล้วกลับมาเรื่องนี้ใหม่แล้วกลับไปเรื่องอื่นอีก งานที่ทำอยู่ก็ไม่เกิดผลสำเร็จ หรือถ้าสำเร็จก็ไม่ได้ผลเต็มที่ ไม่นับว่าทำงานได้ดีกลายเป็นคนที่ขึ้นชื่อว่าเอาดีไม่ได้ สักแต่ว่าทำงานให้แล้วเสร็จเท่านั้น แต่ถ้ามีจิตใจจดจ่อกับสิ่งที่ทำ ความคิดก็จะพุ่งมาที่จุดเดียว ก็ย่อมมีพลังผลักดันให้งานสำเร็จไปได้อย่างน่าชื่นชม เหมือนแสงอาทิตย์ที่มารวมกันเป็นจุดเดียวที่กระจกนูนย่อมมีพลังเผาไหม้ได้  คนที่มีจิตใจฝักใฝ่กับงานของตนเองนั้นย่อมได้รับการยกย่องเชื่อถือไว้ใจให้ทำการงานต่าง จากคนทั้งปวง เป็นหนทางพาไปสู่ความสำเร็จในชีวิต

. วิมังสา แปลว่า การพิจารณา สอบสวน เป็นการใช้เหตุผลพิจารณาตรวจสอบสิ่งที่ทำ

ให้ละเอียดถี่ถ้วนเพื่อให้ได้งานที่ดีที่สุด ก่อนจะลงมือกระทำต้องมีการวางแผนงานล่วงหน้าเป็นขั้นตอนตริตรองใคร่ครวญถึงปัญหาที่อาจมี  หาทางแก้ไขด้วยสติปัญญา    เวลากระทำก็ดำเนินการเป็นขั้น มีการประเมินผลแต่ละขั้นว่าเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่ ถ้าไม่เป็นไปตามที่วางไว้ก็ต้องสำรวจดูว่ามีปัญหาอะไรต้องตรวจตราหาเหตุผลแล้วคิดวิธีแก้ไขปรับปรุงข้อผิดพลาดให้งานนั้นมีประสิทธิภาพไปเรื่อย คนที่ทำงานด้วยความหมั่นตริตรองพิจารณาหาทางแก้ปัญหาตรวจสอบข้อดีข้อเสีย ย่อมรู้จักใช้เวลาในการทำงานอย่างมีค่า ไม่ต้องเสียเวลากลับมาริเริ่มงานนั้นใหม่ กลายเป็นคนที่มีคนยกย่องนับถืออยากให้เป็นผู้นำในการทำกิจการต่าง เป็นหนทางแห่งความเจริญก้าวหน้าในชีวิตการงานของตนและนำความสำเร็จมาสู่ส่วนรวม

คุณธรรมทั้ง ประการนี้   ถ้าขาดข้อใดข้อหนึ่ง  งานที่ทำก็จะสำเร็จลงมิได้ เพราะเป็น

เรื่องที่ต้องต่อเนื่องกันตลอด ถ้าเรามีความพอใจที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แต่ไม่ลงมือกระทำเราก็ไม่มีโอกาสที่จะได้สิ่งนั้น แต่ถ้าเราลงมือกระทำโดยขาดความเพียรพยายาม ทำแล้วเกิดความท้อแท้งานนั้นก็ไม่ประสบผลสำเร็จ เราจึงต้องตั้งจิตให้แน่วแน่ในสิ่งที่กำลังทำอยู่ ไม่วอกแวกไม่ฟุ้งซ่าน ความเพียรจึงจะดำเนินไปได้ การทำงานโดยขาดการพิจารณาไตร่ตรองหาเหตุผลให้รอบคอบและมิได้คิดหาทางหนีทีไล่สำหรับปัญหาและอุปสรรคต่าง แม้จะทำด้วยความเพียรพยายามเพียงใดก็ตาม งานนั้นก็ไม่อาจลุล่วงไปได้ด้วยดี ดังนั้นจึงต้องปฏิบัติให้ครบทั้ง วิธี โดยไม่ขาดจึงจะประสบความสำเร็จขึ้นได้


การบำเพ็ญจิตภาวนา

การบำเพ็ญจิตภาวนา         เป็นการฝึกจิตใจสงบ   แน่วแน่อยู่ในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง   อันเป็น

ประโยชน์ให้เกิดความรู้  ความเข้าใจในสิ่งนั้น อย่างถ่องแท้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่าเป็นการฝึกสติและสมาธิเพื่อให้เกิดปัญญาหรือความสามารถในการคิดพิจารณานั่นเอง



การฝึกสติและการฝึกสมาธิ

การฝึกสติ  เป็นการฝึกควบคุมความคิดให้ระลึกอยู่เสมอว่าตนกำลังทำอะไร       ทำเพื่อ

อะไร  และทำอย่างไรจึงจะถูกต้องหรือสำเร็จ

การฝึกสมาธิ                เป็นการฝึกควบคุมจิตใจให้จดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเท่านั้น    

สติสัมปชัญญะกับสมาธิ   เป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์กันมาก    จนอาจเรียกได้ว่าเป็นสิ่งเดียวกัน         ผู้ที่มีสติสัมปชัญญะจะระลึกในสิ่งที่ตนกำลังทำตลอดเวลา    การจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ตนกำลังทำซึ่งก็คือมีสมาธินั่นเอง  ในทำนองเดียวกันผู้ที่มีสมาธิก็ย่อมมีสติสัมปชัญญะด้วยเช่นเดียวกัน

วิปัสสนากรรมฐานคือวิธีการฝึกสติสัมปชัญญะ

วิปัสสนากรรมฐาน     เป็นเรื่องของการศึกษาชีวิต             เพื่อจะปลดเปลื้องความทุกข์นานาประการ  ออกเสียจากชีวิต    เป็นเรื่องของการค้นหาความจริงว่า  ชีวิตมันคืออะไรกันแน่   ปกติเราปล่อยให้ชีวิตดำเนินไปตามความเคยชินของมัน  ปีแล้วปีเล่า  มันมีแต่ความมืดบอด

วิปัสสนากรรมฐาน            เป็นเรื่องของการตีปัญหาซับซ้อนของชีวิต       เป็นเรื่องของการค้นหาความจริงของชีวิต  ตามที่พระพุทธเจ้าได้ทรงกระทำมา

วิปัสสนากรรมฐาน     เป็นการเริ่มต้นในปลดเปลื้องตัวเราให้พ้นจากความเป็นทาสของความเคยชิน

ในตัวเรานั้น     เรามีของดีที่มีคุณค่าอยู่แล้ว   คือ   สติ  สัมปชัญญะ  แต่เรานำออกมาใช้

น้อยนัก  ทั้งที่เป็นของมีคุณค่าแก่ชีวิตหาประมาณมิได้  วิปัสสนากรรมฐาน เป็นการระดมเอาสติทั้งหมดที่มีอยู่ในตัวเราเอาออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์

วิปัสสนากรรมฐาน   คือการอัญเชิญสติที่ถูกทอดทิ้งขึ้นมานั่งบัลลังก์ของชีวิต    เมื่อสติ  ขึ้นมานั่งสู่บัลลังก์แล้ว         จิตก็จะคลานเข้ามาหมอบถวายบังคมอยู่เบื้องหน้าสติ     สติจะควบคุมจิตให้แส่ออกไปคบหาอารมณ์ต่าง   ภายนอก          ในที่สุดจิตก็จะค่อยคุ้นเคยกับการสงบอยู่กับอารมณ์เดียว  เมื่อจิตสงบตั้งมั่นดีแล้ว   การรู้ตามความเป็นจริงก็เป็นผลติดตามมา        เมื่อนั้นแหละเราก็จะทราบได้ว่าความทุกข์มันมาจากไหน  เราจะสกัดกั้นมันได้อย่างไร  นั่นแหละผลงานของสติ 

ภายหลังจากได้ทุ่มเทสติสัมปชัญญะลงไปอย่างเต็มที่แล้ว       จิตใจของผู้ปฏิบัติก็จะได้สัมผัสกับสัจจะแห่งสภาวะธรรมต่าง อันผู้ปฏิบัติไม่เคยเห็นอย่างซึ้งใจมาก่อนผลงานอันมีค่าล้ำเลิศของสติสัมปชัญญะ  จะทำให้เราเห็นอย่างแจ้งชัดว่า  ความทุกข์ร้อนนานาประการนั้น  มันไหลเข้ามาสู่ชีวิตของเราทางช่องทวาร  ช่อง  

ช่องทวาร   นี้       ทางพระพุทธศาสนาท่านเรียกว่าอายตนะ   อายตนะมีภายใน    ภายนอก   ดังนี้     อายตนะภายในมี  ตา หู  จมูก ลิ้น กาย ใจ     อายตนะภายนอกมี  รูป  เสียง  กลิ่น  รส  โผฏฐัพพะ (กายถูกต้องสัมผัสธรรมารมณ์ (อารมณ์ที่เกิดจากใจ) รวม  ๑๒  อย่างนี้  มีหน้าที่ต่อกันเป็นคู่ คือ  ตาคู่กับรูป  หูคู่กับเสียง  จมูกคู่กับกลิ่น  ลิ้นคู่กับรส   กายคู่กับการสัมผัสถูกต้อง  ใจคู่กับอารมณ์ที่เกิดกับใจ  เมื่ออายตนะคู่ใดคู่หนึ่ง  ต่อถึงกันเข้า จิตก็เกิดขึ้น ที่นั้นเองและจะดับลงไป ที่นั้นทันที  จึงเห็นได้ว่า  จิตไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน       การที่เราเห็นว่าจิตเป็นตัวเป็นตนนั้น    ก็เพราะว่าการเกิดดับของจิตรวดเร็วมาก  การเกิดดับของจิตเป็นสันตติคือ  เกิดดับต่อเนื่องไม่ขาดสาย    เราจึงไม่มีทางทราบได้ถึงความไม่มีตัวตนของจิต          ต่อเมื่อเราทำการกำหนด  รูป  นาม เป็นอารมณ์ตามระบบวิปัสสนากรรมฐานทำการสำรวม  สติสัมปชัญญะอย่างมั่นคง   จนจิตตั้งมั่นดีแล้ว     เราจึงจะรู้เห็นการเกิดดับของจิต    รวมทั้งสภาวะธรรมต่าง ตามความเป็นจริง

การที่จิตเกิดทางอายตนะต่าง นั้น          มันเป็นการทำงานร่วมกันของขันธ์      เช่น    

ตากระทบรูป      เจตสิกต่าง   ก็เกิดตามมาพร้อมกันคือ  เวทนา  เสวยอารมณ์สุข    ทุกข์   ไม่สุขไม่ทุกข์  จำได้ว่ารูปอะไร  สังขาร   ทำหน้าที่ปรุงแต่งวิญญาณ  รู้ว่ารูปนี้  ดี  ไม่ดี  หรือเฉย       กิเลสก็จะติดตามเข้ามาคือ  ดีชอบเป็นโลภะ  ไม่ดีไม่ชอบเป็นโทสะ  เฉย ขาดสติกำหนดเป็นโมหะ  อันนี้เองจะบันดาลให้อกุศลกรรมต่าง เกิดตามมา  ความประพฤติชั่วร้ายต่าง ก็จะเกิด   ตรงนี้เอง

การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน     โดยเอาสติเข้าไปตั้งกำกับจิตตามช่องทวารทั้ง   เมื่อปฏิบัติได้ผลแก่กล้าแล้ว   ก็จะเข้าตัดต่ออายตนะทั้ง   คู่นั้นไม่ให้ติดต่อกันได้      โดยจะเห็นตามความเป็นจริงว่า  เมื่อตากระทบรูป  ก็เห็นว่าสักแต่ว่าเป็นแค่รูปไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนบุคคลเราเขา  ไม่ทำให้ความรู้สึกนึกคิดปรุงแต่งให้เกิดความพอใจหรือไม่พอใจเกิดขึ้น  รูปก็จะดับลงอยู่    ตรงนั้นเอง  ไม่ไหลเข้ามาสู่ภายในจิตได้  อกุศลกรรมทั้งหลายก็จะไม่ตามเข้ามา

สติที่เกิดขึ้นขณะปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้น  นอกจากจะคอยสกัดกั้นกิเลสไม่ให้เข้ามาทางอายตนะแล้ว  ยังเพ่งเล็งอยู่ที่รูปกับนาม  เมื่อเพ่งอยู่ก็จะเห็นความเกิดดับของรูปนามนั้น  จักนำไปสู่การเห็นพระไตรลักษณ์คือ   ความไม่เที่ยง  ความเป็นทุกข์  ความไม่มีตัวตนของสังขาร      หรืออัตภาพอย่างแจ่มแจ้ง

การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้น   จะมีผลมากน้อยเพียงใด  อยู่ที่หลักใหญ่ ประการ  

. อาตาปี  ทำความเพียรเผากิเลสให้เร่าร้อน

. สติมา  มีสติ

. สัมปชาโน  มีสัมปชัญญะ   อยู่กับรูปนามตลอดเวลาเป็นหลักสำคัญ      นอกจากนั้นผู้ปฏิบัติต้องมีศรัทธาความเชื่อว่าการปฏิบัติเช่นนี้มีผลจริง         ความมีศรัทธานี้เปรียบประดุจเมล็ดพืชที่สมบูรณ์ดีพร้อมที่จะงอกงามได้ทันทีที่นำไปปลูก   ความเพียรประดุจน้ำที่พรมลงไปที่เมล็ดพืชนั้น   เมื่อเมล็ดพืชได้น้ำพรมลงไปก็จะงอกงามสมบูรณ์ขึ้นทันที      เพราะฉะนั้นผู้ปฏิบัติจะได้ผลมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับสิ่งเหล่านี้ด้วย

การปฏิบัติ  ผู้ปฏิบัติจะต้องเปรียบเทียบดูจิตใจของเรา  ในระหว่าง วาระว่า ก่อนที่ยังไม่ปฏิบัติและหลังการปฏิบัติแล้ว  วิเคราะห์ตัวเองว่า  มีความแตกต่างกันประการใด




การละปลิโพธ

การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน  จะต้องปฏิบัติให้ห่างไกลจากหมู่คณะ         และปลิโพธ  กังวลห่วงใยในทุกสิ่งทุกอย่างเสีย   เพราะเป็นทางเดียว   ทำคนเดียว   สำเร็จคนเดียว   แม้แต่ผู้สอนก็เป็นเพียงแนะนำชี้ทางในการปฏิบัติ  และให้ความอุปถัมภ์อุปการะ  ให้มีความสะดวกสบายเกี่ยวกับ       ที่อยู่  อาหาร  ยารักษาโรค และสถานที่ในการปฏิบัติตามสมควรเท่านั้น ผู้ปฏิบัติจะต้องมีใจเป็นอิสระ วางจากพันธะทั้งปวง  คือไม่มีปลิโพธ  ๑๐ ประการ  คือ

. ไม่ห่วงบ้านหรือห่วงวัด . ไม่ห่วงสกุล

. ไม่ห่วงลาภ . ไม่ห่วงหมู่คณะ

. ไม่ห่วงทำธุรกิจ . ไม่ห่วงในการเดินทาง

. ไม่ห่วงญาติ . ไม่ห่วงในโรค

. ไม่ห่วงในการเล่าเรียน ๑๐. ไม่ห่วงในการที่จะแสดงฤทธิ์


ประโยชน์ของการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน

การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้น  มีประโยชน์มากมายเหลือที่จะนับประมาณได้ จะยกมาแสดงตามที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกสักเล็กน้อยดังนี้  คือ

. สัตตานัง  วิสุทธิยา  ทำกายวาจาใจ  ของสรรพสัตว์ให้บริสุทธิ์หมดจด

. โสกะปะริเทวนัง  สะมะติกกะมายะ  ดับความเศร้าโศก  ปริเทวนาการต่าง  

. ทุกขะโทมะนัสสานัง  อัตถังคะมายะ  ดับความทุกข์กาย  ดับความทุกข์ใจ

. ญาณัสสะ  อะธิคะมายะ  เพื่อบรรลุมรรคผล

. นิพพานัสสะ  สัจฉิกิริยายะ  เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง และยังมีอยู่อีกมากมาย เช่น

    ) ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ประมาท

    ) ชื่อว่าเป็นผู้ได้ป้องกันภัยในอบายภูมิทั้งสี่

    ) ชื่อว่าได้บำเพ็ญไตรสิกขา

    ) ชื่อว่าได้เดินทางสายกลาง  คือ มรรค

    ) ชื่อว่าได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยการบูชาอย่างสูงสุด

    ) ชื่อว่าได้บำเพ็ญ ศีล สมาธิ ปัญญา  ให้เป็นอุปนิสัยปัจจัยไปในภายหน้า

    ) ชื่อว่าได้ปฏิบัติถูกต้องตามพระไตรปิฎกโดยแท้จริง

    ) ชื่อว่าเป็นผู้มีชีวิต  ไม่เปล่าประโยชน์ทั้งสาม

    ) ชื่อว่าเป็นผู้เข้าถึงพระรัตนตรัย  อย่างถูกต้อง

    ๑๐) ชื่อว่าได้ปฏิบัติเพื่อให้เกิดวิปัสสนาญาณ ๑๖

    ๑๑) ชื่อว่าได้สั่งสมอริยทรัพย์ไว้ในภายใน

    ๑๒) ชื่อว่าเป็นผู้มาดีไปดีอยู่ดีกินดีไม่เสียทีที่เกิดมาพบพระพุทธศาสนา

๑๓) ชื่อว่าได้รักษาอมตมรดกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้เป็นอย่างดี

๑๔) ชื่อว่าได้ช่วยกันเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองยิ่ง ขึ้นไปอีก

๑๕) ชื่อว่าได้เป็นตัวอย่างอันดีงามแก่อนุชนรุ่นหลัง

๑๖) ชื่อว่าตนเองได้มีธนาคารบุญติดตัวไปทุกฝีก้าว


วิธีสมาทานกรรมฐาน  และ การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ

. ถวายสักการะต่อพระอาจารย์ผู้ให้กรรมฐาน

. จุด เทียน ธูป บูชาพระรัตนตรัย

. ถ้าเป็นพระ  ให้แสดงอาบัติก่อน

. คฤหัสถ์  รับศีลก่อน

. มอบกายถวายชีวิตต่อพระรัตนตรัย ดังนี้

    อิมาหัง  ภะคะวา  อัตตะภาวัง  ตุมหากัง  ปะริจจะชามิ         ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า  ข้าพระองค์ขอมอบกายถวายชีวิต  ต่อพระรัตนตรัย  คือ  พระพุทธ  พระธรรม  พระสงฆ์

. มอบกายถวายตัวต่อพระอาจารย์ ดังนี้

                  อิมาหัง  อาจาริยะ  อัตตะภาวัง  ตุมหากัง  ปะริจจะชามิ       ข้าแต่พระอาจารย์ผู้เจริญ  ข้าพเจ้าขอมอบกายถวายตัว  ต่อครูบาอาจารย์   เพื่อเจริญวิปัสสนากรรมฐาน

ขอพระกรรมฐาน

นิพพานัสสะ   เม   ภันเต    สัจฉิกะระณัตถายะ   กัมมัฏฐานัง  เทหิ      ข้าแต่ท่านผู้เจริญ  ขอท่านจงให้กรรมฐานแก่ข้าพเจ้า  เพื่อทำให้แจ้งซึ่งมรรคผลนิพพานต่อไป

แผ่เมตตา

อะหัง  สุขิโต  โหมิ  ขอให้ข้าพเจ้าถึงสุข  ปราศจากทุกข์  ไม่มีเวร  ไม่มีภัย  ไม่มีความลำบาก  ไม่มีความเดือดร้อน  ขอให้มีความสุข  รักษาตนอยู่เถิด

สัพเพ  สัตตา  สุขิตา  โหนตุ  ขอให้สัตว์ทั้งหลาย  ทุกตัวตน  ตลอดเทพบุตรเทพธิดาทุกพระองค์  พระภิกษุสามเณร  และผู้ปฏิบัติธรรมทุกท่าน  ขอท่านจงมีความสุข  ปราศจากทุกข์  ไม่มีเวร  ไม่มีภัย  ไม่มีความลำบาก  ไม่มีความเดือดร้อน  ขอให้มีความสุข  รักษาตนอยู่เถิด

เจริญมรณานุสสติ

อัทธุวัง  เม  ชีวิตัง   ชีวิตของเราไม่แน่นอน       ความตายของเราแน่นอนเราต้องตายแน่  เพราะชีวิตของเรา  มีความตายเป็นที่สุด  นับว่าเป็นโชคอันดีแล้วที่เราได้เข้ามาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน  โอกาสบัดนี้  ไม่เสียที่ที่ได้เกิดมาพบพระพุทธศาสนา




ตั้งสัจจะอธิษฐาน  และปฏิญาณตนต่อพระรัตนตรัยและครูบาอาจารย์

เยเนวะ   ยันติ   นิพพานัง     พระพุทธเจ้า    และพระอรหันตสาวก          ได้ดำเนินไปสู่พระนิพพาน  ด้วยหนทางเส้นนี้       ข้าพเจ้า   ขอตั้งสัจจะอธิษฐาน    ปฏิญาณตนต่อพระรัตนตรัย    และครูบาอาจารย์ว่า  ตั้งแต่บัดนี้ต่อไป  ข้าพเจ้าจะตั้งอกตั้งใจ  ประพฤติและปฏิบัติ       เพื่อให้บรรลุมรรคผล  ดำเนินรอยตามพระองค์ท่าน

อิมายะ  ธัมมานุธัมมะปะฏิปัตติยา  ระตะนัตตะยัง  ปูเชมิ         ข้าพเจ้าขอบูชาพระรัตนตรัย  ด้วยการปฏิบัติธรรม  สมควรแก่มรรคผลนิพพานนี้  ด้วยสัจจะวาจาที่กล่าวอ้างนี้  ขอให้ข้าพเจ้าได้บรรลุ  มรรคผลนิพพานด้วย เทอญฯ

สวดพุทธคุณ  ธรรมคุณ  สังฆคุณ  เสร็จแล้วกราบ    ครั้ง

การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ  ผู้ที่จะแสดงตนเป็นพุทธมามกะ  พึงปฏิบัติ  ดังนี้

. ถวายสักการะต่อพระอาจารย์

. จุด เทียน  ธูป  บูชาพระรัตนตรัย

. กล่าวแสดงตนเป็นพุทธมามกะ  ดังนี้

                  เอสาหัง  ภันเต  สุจิระปะรินิพพตัมปิ  ตัง  ภะคะวันตัง  สะระณัง  คัจฉามิ  ธัมมัญจะ  ภิกขุสังฆัญจะ  พุทธมามะโกติ (มิกาติ) มัง  ภันเต  สังโฆ  ธาเรตุ  อัชชะตัคเค ปาณุเปตัง  สะระณัง  คะตัง

    ข้าแต่ท่านผู้เจริญ      ข้าพเจ้าขอถึงสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า         แม้เสด็จดับขันธ-ปรินิพพานนานแล้วกับทั้งพระธรรมและพระสงฆ์  ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก      ขอพระสงฆ์จงจำข้าพเจ้าไว้ว่า  เป็นพุทธมามกะ (มามิกา) ในธรรมวินัย  ผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต  ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

. รับศีล

ธุระในพระศาสนา  มี  ๒  อย่าง  คือ

. คันถธุระ

. วิปัสสนาธุระ

คันถธุระ   ได้แก่ การศึกษาเล่าเรียนให้รู้เรื่องพระศาสนาและหลักศีลธรรม

วิปัสสนาธุระ    ได้แก่   ธุระหรืองานอย่างสูงในพระศาสนา       ซึ่งเป็นงานที่จะช่วยให้ผู้นับถือพระพุทธศาสนาได้รู้จักดับทุกข์ออกจากตน           มากน้อยตามควรแก่การปฏิบัติทางนี้ทางเดียวเท่านั้นที่จะทำให้พ้นทุกข์      ตั้งแต่ทุกข์เล็กจนทุกข์ใหญ่  เช่นการ เกิด  แก่  เจ็บ  ตาย     และเป็นทางปฏิบัติที่มีอยู่ในศาสนาของพระพุทธเจ้าเท่านั้น

วิปัสสนาธุระ     คือส่วนมากเรารียกกันว่า   วิปัสสนากรรมฐานนั่นเอง       เมื่อกล่าวถึงกรรมฐาน   ขอให้ผู้ปฏิบัติแยกกรรมฐานออกเป็น    ประเภทเสียก่อน       การปฏิบัติจึงจะไม่ปะปนกัน  กรรมฐาน    ประเภท คือ



. สมถกรรมฐาน  กรรมฐานชนิดนี้เป็นอุบายให้ใจสงบคือ  ใจที่อบรมในทางสมถแล้ว

จะเกิดนิ่งและเกาะอยู่กับอารมณ์หนึ่งเพียงอย่างเดียว  อารมณ์ของสมถกรรมฐานนั้น  

. วิปัสสนากรรมฐาน  เป็นอุบายให้เรืองปัญญา  คือเกิดปัญญาเห็นแจ้ง  หมายความว่าเห็นปัจจุบัน  เห็นรูปนาม  เห็นพระไตรลักษณ์  และเห็น  มรรค  ผล  นิพพาน

การเรียนวิปัสสนากรรมฐานนั้นเรียนได้    อย่าง  คือ

. เรียนอันดับ

. เรียนสันโดษ

                  การเรียนอันดับ  คือการเรียนให้รู้จัก  ขันธ์    ว่า  ได้แก่อะไรบ้าง  ย่อให้สั้นในทางปฏิบัติเหลือเท่าใด ได้แก่อะไร  เกิดที่ไหน  เกิดเมื่อไร  เมื่อเกิดขึ้นแล้ว  อะไรจะเกิดตามมาอีก จะกำหนดตรงไหนจึงจะถูกขันธ์   เมื่อกำหนดถูกแล้วจะได้ประโยชน์อย่างไรบ้างเป็นต้น  นอกจากนี้ก็ต้องเรียนให้รู้เรื่องในอายตนะ  ๑๒ ธาตุ ๑๘  อินทรีย์  ๒๒  อริยสัจ    ปฏิจจสมุปบาท  ๑๒ โดยละเอียดเสียก่อน  เรียกว่าเรียนภาคปริยัติ  วิปัสสนาภูมินั่นเอง  แล้วจึงจะลงมือปฏิบัติได้

การเรียนสันโดษ คือการเรียนย่อ   สั้น         สอนเฉพาะที่จะต้องปฏบัติเท่านั้นเรียนชั่วโมงนี้ก็ปฏิบัติชั่วโมงนี้เลย      เช่น    สอนการเดินจงกรม      สอนวิธีนั่งกำหนดสอนวิธีกำหนดเวทนา  สอนวิธีกำหนดจิต  แล้วลงมือปฏิบัติเลย

วิธีปฏิบัติ

. การเดินจงกรม                  ก่อนเดินให้ยกมือไขว้หลังมือขวาจับข้อมือซ้ายวางไว้ตรงกระเบนเหน็บ   ยืนตัวตรง  เงยหน้า   หลับตา   ให้สติจับอยู่ที่ปลายผม  กำหนดว่า  ยืนหนอ ช้า   ครั้ง  เริ่มจากศีรษะลงมาปลายเท้า  และจากปลายเท้าขึ้นไปบนศีรษะกลับขึ้นกลับลงจนครบ ครั้ง แต่ละครั้งแบ่งเป็นสองช่วง      ช่วงแรก  คำว่ายืนกำหนดความรู้สึกตั้งแต่ศีรษะลงมาหยุดที่สะดือ           คำว่า หนอ  

จากละดือลงไปปลายเท้า  กำหนดขึ้นคำว่า ยืน จากปลายเท้ามาหยุดที่สะดือ คำว่า หนอ  จากสะดือขึ้นไปปลายผม  กำหนด  กลับไป  กลับมา  จนครบ ครั้ง ขณะนั้นให้สติอยู่ที่ร่างกาย  อย่าให้ออกไปนอกกาย  เสร็จแล้วลืมตาขึ้น  ก้มหน้าทอดสายตาไปข้างหน้าประมาณ ศอก  สติจับอยู่ที่เท้า   การเดิน กำหนดว่า ขวา ย่าง  หนอ  กำหนดในใจ  คำว่า  ขวา   ต้องยกส้นเท้าขวาขึ้นจากพื้นประมาณ  นิ้ว      เท้ากับใจนึกต้องให้พร้อมกัน  ย่าง  ต้องก้าวเท้าขวาไปข้างหน้าช้าที่สุดเท้ายังไม่เหยียบพื้น  คำว่า หนอ  เท้าลงถึงพื้นพร้อมกัน  เวลายกเท้าซ้ายก็เหมือนกัน  กำหนดว่า  ซ้าย ย่าง  หนอ  คงปฏิบัติเช่นเดียวกันกับ  ขวา  ย่าง  หนอ  ระยะก้าวในการเดินห่างกันประมาณ คืบ  เป็นอย่างมากเพื่อการทรงตัวขณะก้าวจะได้ดีขึ้น  เมื่อเดินสุดสถานที่ใช้แล้ว  ให้นำเท้ามาเคียงกัน  เงยหน้าหลับตา  กำหนด  ยืน  หนอ  ช้า อี    ครั้งเหมือนกับที่ได้อธิบายมาแล้ว  ลืมตา  ก้มหน้า  ท่ากลับ  การกลับกำหนดว่า กลับ หนอ   ครั้ง  คำว่ากลับหนอครั้งที่หนึ่ง  ยกปลายเท้าขวา  ใช้ส้นเท้าหมุนตัวไปทางขวา  ๙๐  องศา ครั้งที่   ลากเท้าซ้ายมาติดกับเท้าขวา  ครั้งที่    ทำเหมือนครั้งที่หนึ่ง  ครั้งที่    ทำเหมือนครั้งที่   ขณะนี้จะอยู่ในท่ากลับหลังแล้วต่อไปกำหนด  ยืน  หนอ  ช้า อีก    ครั้ง  ลืมตาก้มหน้าแล้วกำหนดเดินต่อไป  กระทำเช่นนี้จนหมดเวลาที่ต้องการ

. การนั่ง      กระทำต่อจากการเดินจงกรมอย่าให้ขาดตอนลงเมื่อเดินจงกรมถึงที่จะนั่ง  ให้กำหนด  ยืน  หนอ  อีก    ครั้ง     ตามที่กระทำมาแล้วเสียก่อน       แล้วกำหนดปล่อยมือลงข้างตัวว่าปล่อยมือหนอ   ช้า จนกว่าจะลงสุด  เวลานั่งค่อย   ย่อตัวลงพร้อมกับกำหนดตามอาการที่ทำไปจริง   เช่น ย่อตัวหนอ     เท้าพื้นหนอ   คุกเข่าหนอ       นั่งหนอ     เป็นต้น อย่าให้สติขาดตอน

วิธีนั่ง  ให้นั่งขัดสมาธิ  คือขาขวาทับขาซ้าย  นั่งตัวตรง  หลับตา เอาสติมาจับอยู่ที่สะดือที่ท้องพองยุบ เวลาหายใจเข้าท้องพอง  กำหนดว่า  พอง หนอ  ใจนึกกับท้องที่พองต้องให้ทันกัน  อย่าให้ก่อนหรือหลังกัน  หายใจออกท้องยุบ      กำหนดว่า ยุบ  หนอ  ใจนึกกับท้องที่ยุบต้องทันกันอย่าให้ก่อนหรือหลังกัน   ข้อสำคัญให้สติจับอยู่ที่ พอง  ยุบ  เท่านั้น  อย่าดูลมที่จมูก  อย่าตะเบ็งท้อง       ให้มีความรู้สึกตามความเป็นจริงว่า      ท้องพองไปข้างหน้า    ท้องยุบมาทางหลัง    อย่าให้เห็นเป็นไปว่า      ท้องพองขึ้นข้างบนท้องยุบลงข้างล่าง   ให้กำหนดเช่นนี้ตลอดไป  จนกว่าจะถึงเวลาที่กำหนด

เมื่อมีเวทนา  เวทนาเป็นเรื่องสำคัญที่สุด  จะต้องบังเกิดขึ้นกับผู้ปฏบัติแน่นอนจะต้องมีความอดทนเพื่อเป็นการสร้างขันติบารมีไปด้วย  ถ้าผู้ปฏิบัติขาดความอดทนเสียแล้วการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้นก็ล้มเหลว

ในขณะที่นั่งหรือเดินจงกรมอยู่นั้น      ถ้ามีเวทนาความเจ็บปวด  เมื่อย  คัน เกิดขึ้น  ให้หยุดเดินหรือหยุดกำหนดพองยุบ   ให้เอาสติไปตั้งไว้ที่เวทนาเกิด     และกำหนดไปตามความเป็นจริงว่าปวดหนอ เจ็บหนอๆๆๆเมื่อยหนอ   คันหนอ เป็นต้น  ให้กำหนดไปเรื่อย จนกว่าเวทนาจะหายไปเมื่อเวทนาหายไปแล้ว ก็ให้กำหนดนั่งหรือเดิน  ต่อไป

จิต     เวลานั่งอยู่หรือเดินอยู่  ถ้าจิตคิดถึงบ้าน   คิดถึงทรัพย์สิน    หรือคิดฟุ้งซ่านต่าง นานา   ก็ให้เอาสติปักลงที่ลิ้นปี่  พร้อมกับกำหนดว่า  คิดหนอ   ไปเรื่อย จนกว่าจิตจะหยุดคิดแม้ดีใจ  เสียใจ  หรือโกรธ  ก็กำหนดเช่นกันว่า  ดีใจหนอ เสียใจหนอ   โกรธหนอ   เป็นต้น

เวลานอน      เวลานอนค่อย   เอนตัวนอนพร้อมกับกำหนดตามไปว่านอนหนอ   จนกว่าจะนอนเรียบร้อย ขณะนั้นให้เอาสติจับอยู่กับอาการเคลื่อนไหวของร่างกาย   เมื่อนอนเรียบร้อยแล้วให้เอาสติจับที่ท้อง  แล้วกำหนดว่า  พอง  หนอ  ยุบ  หนอ  ต่อไปเรื่อย ให้คอยสังเกตให้ดีว่าจะหลับไป  ตอนพอง  หรือตอนยุบ

อิริยาบถต่าง การเดินไปในที่ต่าง การเข้าห้องน้ำ การเข้าห้องส้วม การรับประทาน-อาหาร   และการกระทำกิจการงานทั้งปวง      ผู้ปฏิบัติต้องมีสติกำหนดอยู่ทุกขณะในอาการเหล่านี้  ตามความเป็นจริง  คือ  มีสติ  สัมปชัญญะ  เป็นปัจจุบันอยู่ตลอดเวลา

หมายเหตุ  การเดินจงกรมนั้น   เราทำการเดินได้ถึง ระยะ       การเดินระยะต่อไปนั้นจะต้องเดินระยะที่ ให้ถูกต้องคือ  ได้ปัจจุบัน  ทำจริง จึงจะเพิ่มระยะต่อไปให้ตามผลของการปฏิบัติแต่ละบุคคล  กำหนดเดินระยะต่าง ดังนี้

ท่าเดิน ระยะที่ ขวาย่างหนอ

ท่าเดิน ระยะที่ ยกหนอ เหยียบหนอ

ท่าเดิน ระยะที่ ยกหนอ  ย่างหนอ  เหยียบหนอ

ท่าเดิน ระยะที่ ยกส้นหนอ  ยกหนอ  ย่างหนอ  เหยียบหนอ

ท่าเดิน ระยะที่ ยกส้นหนอ  ยกหนอ  ย่างหนอ  ลงหนอ  ถูกหนอ

ท่าเดิน ระยะที่   ยกส้นหนอ  ยกหนอ  ย่างหนอ  ลงหนอ  ถูกหนอ  กดหนอ

สรุปการกำหนดต่าง ๆ พอสังเขป  ดังนี้

. ตาเห็นรูป           จะหลับตาหรือลืมตาก็แล้วแต่      ให้ตั้งสติไว้ที่ตา           กำหนดว่า  เห็นหนอ       ไปเรื่อย   จนกว่าจะรู้สึกว่าเห็นก็สักแต่ว่าเห็น     ละความพอใจและความไม่พอใจออกเสียได้  ถ้าหลับตาอยู่ก็กำหนดไปจนกว่าภาพนั้นจะหายไป

. หูได้ยินเสียง  ให้ตั้งสติไว้ที่หู   กำหนดว่า  เสียงหนอ   หรือได้ยินหนอ ไปเรื่อย จนกว่าจะรู้สึกเสียงก็สักแต่ว่าเสียง  ละความพอใจและความไม่พอใจออกเสียได้

. จมูกได้กลิ่น  ตั้งสติไว้ที่จมูก  กำหนดว่า กลิ่นหนอ   ไปเรื่อย จนกว่าจะรู้สึกว่ากลิ่นก็สักแต่ว่ากลิ่น  ละความพอใจและความไม่พอใจออกเสียได้

. ลิ้นได้รส  ตั้งสติไว้ที่ลิ้น  กำหนดว่า  รสหนอ ไปเรื่อย จนกว่าจะรู้สึกว่ารสก็สักแต่ว่ารส  ละความพอใจและความไม่พอใจออกเสียได้

. การถูกต้องสัมผัส       ตั้งสติไว้ตรงที่สัมผัส         กำหนดตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น  ละความพอใจและความไม่พอใจออกเสียได้

. ใจนึกคิดอารมณ์  ตั้งสติไว้ที่ลิ้นปี่   กำหนดว่า  คิดหนอ   ไปเรื่อย     จนกว่าความนึกคิดจะหายไป

. อาการบางอย่างเกิดขึ้นกำหนดไม่ทัน หรือกำหนดไม่ถูกว่าจะกำหนดอย่างไร ตั้งสติไว้ที่ลิ้นปี่  กำหนดว่า  รู้หนอ   ไปเรื่อย จนกว่าอาการนั้นจะหาย

การที่เรากำหนดจิต       และตั้งสติไว้เช่นนี้        เพราะเหตุว่าจิตของเราอยู่ใต้บังคับของความโลภ  ความโกรธ  ความหลง เช่น ตาเห็นรูป   ชอบใจเป็นโลภะ ไม่ชอบใจเป็นโทสะ  ขาดสติไม่ได้กำหนดเป็นโมหะ  หูได้ยินเสียง  จมูกได้กลิ่น  ลิ้นได้รส  กายถูกต้องสัมผัส  ก็เช่นเดียวกัน

การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน   โดยเอาสติเข้าไปตั้งกำกับตามอายตนะนั้น    เมื่อปฏิบัติได้ผลแก่กล้าแล้ว  ก็จะเข้าตัดที่ต่อของอายตนะต่าง   เหล่านั้นมิให้ติดต่อกันได้     คือว่าเมื่อเห็นรูปก็สักแต่ว่าเห็น  เมื่อได้ยินเสียงก็สักแต่ว่าได้ยิน  ไม่ทำความรู้สึกนึกคิดปรุงแต่ให้เกิดความพอใจหรือความไม่พอใจในสิ่งที่ปรากฎให้เห็นและได้ยินนั้น  รูปและเสียง ที่ได้เห็นและได้ยินนั้นก็จะดับไป      เกิดและดับอยู่ที่นั้นเองไม่ไหลเข้ามาภายใน  อกุศลธรรมความทุกข์ร้อนใจที่คอยจะติดตาม  รูป  เสียง  และอายตนะภายนอกอื่น เข้ามาก็เข้าไม่ได้



สติที่เกิดขึ้นขณะปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้น       นอกจากจะคอยสกัดกั้นอกุศลธรรมแและความทุกข์ร้อนใจที่จะเข้ามาทางอายตนะแล้ว  สติเพ่งอยู่ที่ รูป  นาม   เมื่อเพ่งเล็งอยู่ก็ย่อมเห็นความเกิดดับของ  รูป  นาม      นั้นจะนำไปสู่การเห็นพระไตรลักษณ์  คือความไม่เที่ยง  ความเป็นทุกข์     และความไม่มีตัวตนของสังขารหรืออัตภาพอย่างแจ่มแจ้ง

สติปัฎฐาน 

มักจะมีคำถามอยู่เสมอว่า      เราจะปฏิบัติธรรมในแนวไหน       หรือสำนักใดจึงจะเป็นการถูกต้องและได้ผล          คำถามเช่นนี้เป็นคำถามที่ถูกต้องและไม่ควรถูกตำหนิว่าชอบเลือกนั่นเลือกนี่  ที่ถามก็เพื่อระวังไว้ไม่ให้เดินทางผิด  ทางปฏิบัติที่ถูกต้องคือปฏิบัติตามสติปัฎฐาน

สติปัฎฐาน    แปลให้เข้าใจง่าย ก็คือฐานที่ตั้งของสติ  หรือ เหตุปัจจัย  สำหรับปลูกสติให้เกิดขึ้นในฐานทั้ง คือ

. กายานุปัสสนาสติปัฎฐาน  คือการพิจารณากายจำแนกโดยละเอียดมี ๑๔ อย่าง  คือ

    ) อัสสาสะ  ปัสสาสะ   คือลมหายใจเข้าออก

    ) อิริยาบถ ยืน  เดิน  นั่ง  นอน

    ) อิริยาบถย่อย     การก้าวไปข้างหน้า      ถอยไปทางหลัง   คู้ขาเข้า   เหยียดขาออก  

งอแขนเข้า  เหยียดแขนออก  การถ่ายหนัก  ถ่ายเบา  การกิน  การดื่ม  การเคี้ยว ฯลฯ    คือการเคลื่อนไหวร่างกายต่าง  

    ) ความเป็นปฏิกูลของร่างกาย (อาการ ๓๒)

    ) การกำหนดร่างกายเป็นธาตุ

    ) ป่าช้า 

. เวทนานุปัสสนาสติปัฎฐาน  คือการเจริญสติเอาเวทนาเป็นที่ตั้ง

    เวทนาแปลว่าการเสวยอารมณ์มี    อย่างคือ

    ) สุขเวทนา

     ) ทุกขเวทนา

     ) อุเบกขาเวทนา

เมื่อเวทนาเกิดขึ้น   ก็ให้สติสัมปชัญญะกำหนดไปตามความเป็นจริงว่า       เวทนานี้เมื่อ

เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป  ไม่เที่ยงแท้แน่นอน  เวทนาก็สักแต่ว่าเวทนา  ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา ไม่ยินดียินร้าย  ตัณหาก็จะไม่เกิดขึ้นและปล่อยวางเสียได้  เวทนานี้เมื่อเจริญให้มาก   เป็นไปอย่างสมบูรณ์แล้ว  อาจทำให้ทุกขเวทนาลดน้อยลงหรือไม่มีอาการเลยก็เป็นได้                อย่างที่เรียกกันว่าสามารถแยก รูป  นามออกจากกันได้  (เวทนาอย่างละเอียด อย่าง)

. จิตตานุปัสสนาสติปัฎฐาน    ได้แก่   การปลูกสติโดยเอาจิตเป็นอารมณ์หรือเป็นฐาน

ที่ตั้งจิตนี้มี ๑๖ คือ

     จิตมีราคะ    จิตปราศจากราคะ

    จิตมีโทสะ จิตปราศจากโทสะ   

     จิตมีโมหะ ปราศจากโมหะ      

     จิตหดหู่   จิตฟุ้งซ่าน 

     จิตยิ่งใหญ่ (มหัคคตจิต) ๑๐) จิตไม่ยิ่งใหญ่ (อมหัคคตจิต

   ๑๑จิตยิ่ง (สอุตตรจิต)      ๑๒จิตไม่ยิ่ง (อนุตตรจิต)                       

   ๑๓จิตตั้งมั่น ๑๔จิตไม่ตั้งมั่น

   ๑๕จิตหลุดพ้น ๑๖จิตไม่หลุดพ้น

การทำวิปัสสนาให้มีสติพิจารณากำหนดให้เห็นว่า     จิตนี้เมื่อเกิดขึ้น          ตั้งอยู่ดับไป  

ไม่เที่ยงแท้แน่นอน  ละความพอใจและความไม่พอใจออกเสียได้

. ธัมมานุปัสสนาสติปัฎฐาน  คือมีสติพิจารณาธรรมทั้งหลายทั้งปวง คือ

    .  นิวรณ์    คือ รู้ชัดในขณะนั้นว่านิวรณ์     แต่ละอย่างมีอยู่ในใจหรือไม่    ที่ยังไม่เกิด  เกิดขึ้นได้อย่างไร ที่เกิดขึ้นแล้วละเสียได้อย่างไร ที่ละได้แล้วไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปอย่างไร ให้รู้ชัดตามความเป็นจริงที่เป็นอยู่ในขณะนั้น

    . ขันธ์     คือ  กำหนดรู้ว่าขันธ์   แต่ละอย่างคืออะไร         เกิดขึ้นได้อย่างไร  ดับไปได้อย่างไร

    . อายตนะ  คือ  รู้ชัดในอายตนะภายในภายนอกแต่ละอย่าง     รู้ชัดในสังโยชน์ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยอายตนะนั้น รู้ชัดว่าสังโยชน์ที่ยังไม่เกิด  เกิดขึ้นได้อย่างไร  ที่เกิดขึ้นแล้วละเสียได้อย่างไร

    . โพชฌงค์  คือ  รู้ชัดในขณะนั้นว่า  โพชฌงค์    แต่ละอย่างมีอยู่ในใจตนหรือไม่ที่ยังไม่เกิด   เกิดขึ้นได้อย่างไร     ที่เกิดขึ้นแล้วเจริญเติมบริบูรณ์ได้อย่างไร       ที่เกิดขึ้นแล้วเจริญเต็มบริบูรณ์ได้อย่างไร

    . อริยสัจ   คือ  รู้ชัดอริยสัจ   แต่ละอย่างตามความเป็นจริงว่าคืออะไร

สรุป  ธัมมานุปัสสนาปัฎฐาน นี้    คือ จิต  ที่คิดเป็น  กุศล  อกุศล     และอัพยากฤต  เท่านั้น  

ผู้ปฏิบัติสติปัฎฐาน    ต้องทำความเข้าใจอารมณ์    ประการให้ถูกต้อง  คือ

กาย    ทั่วร่างกายนี้ไม่มีอะไรสวยงามแม้แต่ส่วนเดียว        ควรละความพอใจและความ

ไม่พอใจออกเสียได้

. เวทนา  สุข  ทุกข์ และไม่สุขไม่ทุกข์นั้น    แท้จริงแล้วมีแต่ทุกข์     แม้เป็นสุขก็เพียงปิดบังความทุกข์ไว้

. จิต คือความคิดนึก  เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงแปรผันไม่เที่ยงไม่คงทน

. ธรรม   คือ อารมณ์ที่เกิดกับจิต  อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น   เมื่อเหตุปัจจัยดับไปอารมณ์นั้นก็ดับไปด้วย  ไม่มีสิ่งเป็นอัตตาใด เลย




ภาพแสดงสติปัฎฐาน ๔

สติปัฎฐาน ทั้ง ข้อ  มีการเกี่ยวโยงกันตลอด  ผู้ปฏิบัติชำนาญแล้ว  จะปฏิบัติข้อใดข้อหนึ่งก็ได้  เพราะทุกข้อเมื่อปฏิบัติแล้วก็สามารถรู้  รูป  นาม  เกิด  ดับ  เห็นไตรลักษณ์ด้วยกันทั้งสิ้น

                           








อานิสงส์ในการเดินจงกรม

. อดทนต่อการเดินทางไกล

. อดทนต่อความเพียร

. มีอาพาธน้อย

. ย่อยอาหารได้ดี

. สมาธิที่ได้ขณะเดินตั้งอยู่ได้นาน















ศาสนพิธีเบื้องต้น

. การไหว้

    . การไหว้พระ

ยกมือทั้งสองพนมอยู่ระดับอก แล้วยกมือที่พนมนั้นขึ้นจรดหน้าผาก   โดยให้ปลายนิ้วหัวแม่มือ

ทั้งสองจรดระหว่างคิ้ว น้อมศีรษะลงพองาม

เหตุผล : การเคารพผู้ที่เรานับถืออย่างสูงสุด ควรพนมมือให้อยู่ระดับสูงสุดของใบหน้าและ   นอบน้อมเคารพด้วยเศียรเกล้า

     . การไหว้บิดามารดา ปู่ย่า ตายาย 

ยกมือที่พนมอยู่ขึ้น ให้ปลายนิ้วหัวแม่มือจรดปลายจมูก น้อมศีรษะลงพองาม

  เหตุผล : การเคารพผู้ที่ให้ชีวิต ให้ลมหายใจแก่เรา จึงพนมมือไว้เหนือจมูกและน้อมรำลึกถึง  พระคุณด้วยเศียรเกล้า

      . การไหว้ผู้ที่เราเคารพนับถือทั่วไป  หรือผู้ที่มีอายุมากกว่าตน

ยกมือที่พนมอยู่ให้ปลายนิ้วหัวแม่มือจรดปลายคาง น้อมศีรษะลงพองาม

  เหตุผล  :  การเคารพผู้ที่มีอาวุโสมากกว่าอยู่ในรุ่นคราวพี่  ซึ่งถือว่าเป็นแบบอย่างในการทำมาหาเลี้ยงชีพ  จึงพนมมือไว้ระดับของปาก และน้อมรับมาเป็นแบบอย่างการดำรงชีวิต

     . การไหว้ (การรับไหว้) ผู้เสมอกันหรือผู้น้อยกว่า

ยกมือพนมขึ้นเสมออก ให้ปลายนิ้วชี้จรดปลายคาง ไม่ต้องน้อมศีรษะ

เหตุผล : คนเสมอกันและเพื่อนมนุษย์ ควรมีน้ำใจเมตตาเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน จึงพนมไว้ในระดับอก หมายถึงจิตใจ

หมายเหตุ  การไหว้นั้น จะนั่งพับเพียบไหว้หรือยืนไหว้ก็ได้ ผู้ชายถ้ายืนต้องให้เท้าทั้งสองชิดกัน ในลักษณะยืนตรง ผู้หญิงถ้ายืนให้สืบเท้าข้างหนึ่งไปข้างหลังเล็กน้อย พร้อมทั้งน้อมตัวไหว้สำหรับการไหว้ผู้อาวุโสกว่าขึ้นไป

. การกราบ

     . การกราบพระ - กราบศพพระ

- กราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ ครั้ง หมายถึงให้อวัยวะ ส่วนจรดถึงพื้น คือ เข่า มือ หน้าผาก  

ท่าเตรียม ผู้ชาย นั่งคุกเข่าบนส้นเท้า ปลายเท้าตั้ง

ผู้หญิง นั่งทับฝ่าเท้า ปลายเท้าราบ

จังหวะ (อัญชลี) ยกมือทั้งสองขึ้นพนมเสมออก ปลายนิ้วเบนออกประมาณ ๔๕ องศา

จังหวะ (วันทา) ยกมือที่พนมนั้นขึ้นจรดหน้าผาก ให้หัวแม่มือทั้งสองจรดระหว่างคิ้ว 

จังหวะ (อภิวาท) กราบลงกับพื้น แบมือคว่ำให้ฝ่ามือทั้งสองห่างกันพอศีรษะจรดพื้นได้ 

(ผู้ชายให้ข้อศอกต่อหัวเข่า ผู้หญิงให้ข้อศอกคร่อมเข่า)

     . กราบคน - กราบศพคน (กราบมือตั้งครั้งเดียว)

จังหวะ นั่งพับเพียบพนมมือไหว้ขึ้น ให้หัวแม่มือจรดปลายจมูก (กรณี

ผู้ตายอาวุโสกว่า) ให้หัวแม่มือจรดปลายคาง (กรณีผู้ตายอาวุโส

เท่ากันหรือรุ่นราวคราวเดียวกัน)

จังหวะ กราบ หมอบกราบครั้งเดียวโดยให้มือที่พนมนั้นตั้งกับพื้น หน้าผากจรดสันมือ

. การจุดธูปเทียนบูชาพระ

- จุดเทียนเล่มทางขวาของพระพุทธก่อน แล้วจึงจุดเทียนเล่มทางซ้ายของพระพุทธ

- จุดธูป ดอก โดยจุดดอกทางขวาของพระพุทธ ไปทางซ้ายตามลำดับ

- เสร็จแล้วกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ครั้ง

. สัญลักษณ์แห่งการบูชา

เทียน     เป็นสัญลักษณ์แห่งการบูชาพระธรรมและพระวินัย   เปรียบเทียบว่าเทียนเป็นแสงสว่าง

ส่องทาง พระธรรมให้ความสว่างแก่จิตใจ

ธูป         เป็นสัญลักษณ์แห่งการบูชาพระคุณของพระพุทธเจ้า   ผู้ทรงพระคุณ ประการ      คือ 

พระปัญญาคุณ พระวิสุทธิคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ เปรียบเทียบว่า ธูปมีกลิ่นหอม เมื่อหมดดอกความหอมจะสิ้นไป แต่ความหอมของพระพุทธคุณ มิมีวันหายไป

ดอกไม้  เป็นสัญลักษณ์แห่งการบูชาพระสงฆ์   เปรียบเทียบว่า          ดอกไม้จัดเป็นระเบียบแล้ว

ดูสวยงาม พระสงฆ์อยู่ในระเบียบวินัย ปฏิบัติดี

ปฏิบัติชอบ ย่อมสวยงามมีคุณค่า 

. การจุดธูป 

จุด ดอก   :   บูชาศพ

จุด ดอก   :  บูชาพระรัตนตรัย

          - บูชาพระคุณของพระพุทธเจ้าทั้ง ประการ

จุด ดอก   :   บูชาปูชนียบุคคลทั้งห้าคือ    บูชาพระรัตนตรัย ดอก     บูชาบิดามารดา ดอก 

บูชาครูอาจารย์    ดอก    หรือบูชาพระพุทธเจ้า    พระองค์       คือ    พระกกุสันธะ    พระโกนาคมนะ 

พระกัสสปะ  พระโคตมะ และพระศรีอริยเมตไตรย

จุด ดอก   :   บูชาองค์แห่งธรรมเป็นเครื่องตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า    ประการ          ที่เรียกว่า 

โพชฌงค์  

          - บูชาวันทั้ง คือ อาทิตย์ - เสาร์

จุด ดอก    :  บูชาพระพุทธคุณโดยพิสดาร ประการ บูชาพระภูมิเจ้าที่ทั้ง พระองค์

. การตั้งโต๊ะหมู่บูชา

ตั้งหันหน้าโต๊ะออกมาทางเดียวกับพระสงฆ์ ตั้งทางด้านขวาของแถวพระสงฆ์หรืออาสน์สงฆ์

- นิยมตั้งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ทิศเหนือ และทิศใต้ตามลำดับไม่นิยมหันไปทางทิศตะวันตก

. การวงด้ายสายสิญจน์

- ให้เริ่มต้นที่โต๊ะหมู่บูชาแล้วเวียนออกไปที่รั้วบ้าน หรือตัวบ้าน เวียนขวาแบบเลข ไทย เมื่อวงรอบแล้วมาวงเวียนขวาที่ฐานพระพุทธรูป  แล้วมาวงเวียนที่บาตรน้ำมนต์   เสร็จแล้วหาพานรองรับซึ่งตั้งไว้ใกล้บาตรน้ำมนต์  เสร็จแล้วหาพานรองรับตั้งไว้ใกล้บาตรน้ำมนต์

ควรโยงหลบป้องกันมิให้มีการเดินข้าม  หากมีความจำเป็นจะต้องผ่านด้ายสายสิญจน์       อย่า

ข้ามด้าย   ให้สอดมือยกสายสิญจน์ขึ้นแล้วก้มศีรษะผ่านลอดไป

. การอัญเชิญพระพุทธรูปมาตั้งบนโต๊ะหมู่บูชา

ควรทำเมื่อใกล้เวลาจะประกอบพิธี 

พระพุทธรูปนั้นควรใหญ่พอสมควร ไม่ใช่พระเครื่อง ซึ่งเล็กเกินไป

ถ้ามีครอบ ควรเอาที่ครอบออก หากมัวหมองด้วยธุลี ควรเช็ดให้สะอาด หรือสรงน้ำเสียก่อน

อัญเชิญโดยยกที่ฐานพระให้สูงระดับอกด้วยอาการเคารพ       ห้ามจับที่พระศอ (คอ)       หรือ

พระพาหา (แขน) ในลักษณะหิ้วของ   ซึ่งเป็นอาการที่ไม่เคารพ

ตั้งบนโต๊ะหมู่บูชาตัวที่สูงที่สุด

ควรอัญเชิญกลับไปไว้ที่เดิมเมื่อเสร็จพิธี

. การกรวดน้ำ

- น้ำที่ใช้กรวดควรเป็นน้ำบริสุทธิ์ และใช้ภาชนะสำหรับกรวดน้ำโดยเฉพาะ ถ้าหาไม่ได้จะใช้แก้วน้ำหรือขันก็ได้ 

เริ่มกรวด เมื่อประธานสงฆ์เริ่มสวดว่า ยะถา วาริวะหา......โดยจับภาชนะสำหรับกรวดด้วยมือ

ทั้งสอง  แล้วรินน้ำให้ไหลลงเป็นสายต่อเนื่อง ขณะกรวดน้ำ ควรสำรวมใจอุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ล่วงลับว่า 

อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย” 

เมื่อประธานสงฆ์สวดจบบท ยถา  (มณิโชติรโส ยะถา)       ให้เทน้ำกรวดลงในภาชนะรองรับ

ให้หมด  แล้วประนมมือรับพรจนจบ

- เมื่อพระสงฆ์อนุโมทนาจบ นำน้ำที่กรวดแล้วนั้นไปเทลงบนพื้นดินนอกอาคาร หรือที่โคน    ต้นไม้ อย่าเทลงกระโถนหรือใต้ถุนบ้านหรือในที่สกปรก

๑๐. การนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์

- นิยมนิมนต์ไม่ต่ำกว่า รูป จะเป็น รูป หรือ รูปก็ได้ ไม่นิยมพระจำนวนคู่ เว้นแต่งานมงคลสมรส มักนิมนต์พระจำนวนคู่ จุดมุ่งหมาย เพื่อให้เจ้าบ่าวเจ้าสาวนิมนต์พระมาจำนวนเท่า กัน 

พิธีหลวงหรือพิธีที่มีความเกี่ยวข้องด้วยอดีตพระมหากษัตริย์          หรือพิธีที่พระบาทสมเด็จ-

พระเจ้าอยู่หัว    สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จ เป็นองค์ประธาน    หรือกรณีมีผู้แทนพระองค์ไปเป็นประธาน นิมนต์พระ ๑๐ รูป (รวมทั้งกรณีที่มีการทักษิณานุประทาน)

ต้องแจ้งวันเวลา สถานที่ จำนวนพระสงฆ์ การรับ-ส่งและพิธีที่จะกระทำ เพราะบทสวดมนต์

จะมีเพิ่มเติมตามโอกาสที่ทำบุญไม่เหมือนกัน

การนิมนต์พระเพื่อฉันหรือรับบิณฑบาต อย่าระบุชื่ออาหาร ชนิด คือ ข้าวสุก ขนมสด ขนมแห้ง  ปลา  เนื้อ     สรุปแล้วระบุไม่ได้ทุกชนิด      ให้ใช้คำรวมว่า  “นิมนต์ฉันเช้า   นิมนต์ฉันเพล    หรือ

นิมนต์รับอาหารบิณฑบาตเช้า - เพล”  ก็พอ

----------------------------------------


การไหว้พระสวดมนต์ (ตามแบบธรรมเนียมทหาร)

พุทธศาสนิกหรือพุทธมามกชน ควรไหว้พระสวดมนต์เป็นประจำ จะเป็นก่อนเข้านอนหรือตื่นนอนตอนเช้าก็ได้ หรือทั้งสองเวลายิ่งดี    การไหว้พระสวดมนต์เป็นการสงบใจได้ดี  ทำให้จิตใจมั่นคง เป็นสุข เป็นสิริมงคลแก่ตัวเอง เพราะการไหว้พระคือการไหว้พระรัตนตรัย  แสดงความเคารพอ่อนน้อมด้วยดวงใจที่เต็มไปด้วยความเคารพนับถือ  การเคารพบูชาคนดี เป็นการฝึกจิตใจให้รักความดี พยายามเจริญรอยตามคนดี แม้จะยังทำไม่ได้ก็ยกย่องนับถือบูชาคนดี เป็นการยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น  ส่วนการสวดมนต์คือการกล่าวข้อธรรมะ  เป็นการควบคุมจิตใจให้ระลึกถึงพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า  และฝึกจิตให้มีความรักใคร่เมตตาในคนและสัตว์ทุกชนิด เป็นอุบายทำใจให้สงบสุข

วิธีไหว้พระสวดมนต์ และบทไหว้พระสวดมนต์นั้น มีหลายแบบตามมติของอาจารย์ต่างๆ แต่มีหลักทั่วไปตรงกันคือ จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยเสียก่อน (ถ้าไม่สามารถหาได้ก็ไม่ต้องใช้)กล่าวคำนมัสการแล้ว  จึงเริ่มสวดมนต์ต่อไป ตอนท้ายแผ่เมตตาไปยังคนทุกคนและสัตว์ทุกประเภท

ในที่นี้จะนำแบบไหว้พระสวดมนต์มาเสนอ เพื่อถือปฏิบัติรวม แบบ คือ

แบบไหว้พระ ครั้ง   ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์  (เจริญ  ญาณวโร)       อดีต

เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส  เหมาะสำหรับปฏิบัติส่วนตัว

. ระเบียบไหว้พระสวดมนต์ที่ใช้ในราชการทหารในฐานะที่เป็นนักเรียนทหาร

จะต้องปฏิบัติและฝึกสอนพลทหารต่อไป

แบบไหว้พระ ครั้ง

ในวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง      ไม่ว่าเวลาใด     ตามแต่จะเหมาะ          ต้องไหว้ให้ได้ ครั้งเป็นอย่างน้อยในคราวเดียวกัน   ถ้ามีดอกไม้ธูปเทียนก็บูชา  ถ้าไม่มีก็มือ ๑๐ นิ้ว  และปากกับใจควรไหว้ตลอดชีวิต คือ

ครั้งที่     พึงนั่งกระหย่งเท้าประนมมือว่า    นะโม   ตัสสะ   ภะคะวะโต    อะระหะโต 

สัมมาสัมพุทธัสสะ  หน      แล้วว่าพระพุทธคุณ คือ   อิติปิ  โส    ภะคะวา  อะระหัง    สัมมาสัมพุทโธ

วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต  โลกวิทู  อนุตตะโร  ปุริสะทัมมะสารถิ  สัตถา  เทวมนุสสานัง

พุทโธ  ภะคะวาติ  หยุดระลึกถึงพระปัญญาคุณทรงรู้ดีรู้ชอบสิ้นเชิง      พระบริสุทธิคุณทรงละความเศร้าหมองได้หมด     พระกรุณาคุณทรงสงสารผู้อื่นและสั่งสอนให้ปฏิบัติตามของพระพุทธเจ้า     จนเห็นชัดแล้วกราบลงหนหนึ่ง


ครั้งที่   ว่าพระธรรมคุณ  คือ สะหวากขาโต ภะคะวะตา  ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก

เอหิปัสสิโก  โอปะนะยิโก  ปัจจัตตัง  เวทิตัพโพ  วิญญูหีติ      หยุดระลึกถึงคุณพระธรรมที่รักษาผู้ปฏิบัติไม่ให้ตกไปในที่ชั่วจนเห็นชัด  แล้วกราบลงหนหนึ่ง

ครั้งที่   ว่าพระสังฆคุณ  คือ  สุปะฏิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ  อุชุปฏิปันโน

ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ  ญายะปฏิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ  สามีจิปะฏิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ   ยะทิทัง  จัตตาริ  ปุริสะยุคานิ  อัฏฐะ  ปุริสะปุคลา   เอสะ    ภะคะวะโต    สาวะกะสังโฆ 

อาหุเนยโย    ปาหุเนยโย   ทักขิเณยโย   อัญชะลิกะระณีโย    อะนุตตะรัง    ปุญญักเขตตัง     โลกัสสสาติ   

หยุดระลึกถึงความปฏิบัติดี  ปฏิบัติตรง  ปฏิบัติถูก ปฏิบัติชอบ ของพระอริยสงฆ์    จนเห็นชัดแล้วกราบลงหนหนึ่ง    นั่งพับเพียบประนมมือตั้งใจถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ     ไม่ถึงสิ่งอื่นยิ่งกว่าจนตลอดชีวิต ว่าสรณคมน์   คือ   พุทธัง  สะระณัง   คัจฉามิ      ธัมมัง  สะระณัง  คัจฉามิ         สังฆัง  สะระณัง  คัจฉามิ    

ทุติยัมปิ  พุทธัง สะระณัง  คัจฉามิ   ทุติยัมปิ ธัมมัง  สะระณัง  คัจฉามิ  ทุติยัมปิ  สังฆัง  สะระณัง  คัจฉามิ  

ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ   ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ   ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ   

ครั้งที่   ระลึกถึงคุณของมารดาบิดาของตนจนเห็นชัด  แล้วกราบลงหนหนึ่ง

ครั้งที่   ระลึกถึงคุณของบรรดาท่านผู้มีอุปการคุณแก่ตน  เช่น พระมหากษัตริย์   และ

ครูบาอาจารย์เป็นต้นไป  จนเห็นชัดแล้วกราบลงหนหนึ่ง

ต่อนี้ไปไม่ต้องประนมมือ          ตั้งใจพิจารณาเรื่องและร่างกายของตนว่า      จะต้องแก่  

หนีความแก่ไปไม่พ้น   จะต้องเจ็บ  หนีความเจ็บไปไม่พ้น  จะต้องตาย   หนีความตายไปไม่พ้น   จะต้อง

พลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น    มีกรรมเป็นของตัว  คือ  ทำดีได้ดี  ทำชั่ว ได้ชั่ว      เป็นอนิจจังไม่เที่ยงไม่แน่นอน     เป็นทุกข์    ลำบากเดือดร้อน      เป็นอนัตตา    ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของตน 

ครั้นพิจารณาแล้ว  พึงแผ่กุศลทั้งปวง   มีการกราบไหว้เป็นต้นนี้         อุทิศให้แก่ท่านผู้มีคุณมีมารดาบิดาเป็นต้น   ตลอดจนชั้นสูงสุด  คือพระมหากษัตริย์   ทั้งเทพดามนุษย์และสัตว์ทั้งหลายว่า        จงเป็นสุข อย่ามีเวรมีภัยเบียดเบียนกันและกัน    รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด

การไหว้พระ    ครั้งนี้    ถ้าวันไหนขาด   ให้ไหว้ใช้หนี้ ครั้ง  ในวันรุ่งขึ้น      ถ้านั่งกระหย่งเท้าไม่ได้   นั่งพับเพียบ     ถ้านั่งไม่ได้ ก็นอนไหว้   เมื่อยกมือไม่ขึ้น  ก็ปากกับใจก็ทำได้อย่างนี้ เป็นเครื่องพยุงตนให้เป็นคนดีไม่ได้เป็นคนชั่ว  และให้ตั้งอยู่ในที่ดี ไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว ถ้าผู้ใดประพฤติจนตลอดชีวิต ผู้นั้นจะอุ่นใจในตัวของตัวเอง     มีความเจริญงอกงามไพบูลย์ยิ่ง ขึ้นเสมอทุกคืน ทุกวัน คุ้มครองป้องกันภยันตรายปราศจากความเสียหายที่ไม่เหลือวิสัย และตั้งตัวได้ในทางคดีโลกและทางศีลธรรมเต็มภูมิเต็มขั้นของตนทุกประการ






ระเบียบไหว้พระสวดมนต์ (ตามแบบธรรมเนียมทหาร)

บทกราบพระ

(นั่งคุกเข่าประนมมือว่า)

อะระหัง  สัมมาสัมพุทโธ  ภะคะวาพุทธัง  ภะคะวันตัง  อะภิวาเทมิ   (กราบ)

สะ()วากขาโต  ภะคะวะตา  ธัมโมธัมมัง  นะมัสสามิ      (กราบ)

สุปฏิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆสังฆัง  นะมามิ    (กราบ)


บท นะโม

(ยืนประนมมือสวดจนจบสังฆคุณ)

นโม   ตัสสะ   ภะคะวะโต   อะระหะโต   สัมมาสัมพุทธัสสะ

นโม   ตัสสะ   ภะคะวะโต   อะระหะโต   สัมมาสัมพุทธัสสะ

นโม   ตัสสะ   ภะคะวะโต   อะระหะโต   สัมมาสัมพุทธัสสะ


บทเจริญพระพุทธคุณ

อิติปิ  โส    ภะคะวา  อะระหัง  สัมมาสัมพุทโธ  วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต  โลกวิทู  

อนุตตะโร  ปุริสะทัมมะสาระถิ  สัตถา  เทวะมะนุสสานัง  พุทโธ  ภะคะวาติ


บทระลึกถึงพระพุทธคุณ

พระพุทธเจ้า ทรงรู้ดีรู้ชอบได้เอง  ทรงบริสุทธิ์สิ้นเชิง  ทรงสงสารสั่งสอนผู้อื่นให้รู้ดีรู้ชอบด้วย

ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้า เป็นที่พึ่งตลอดชีวิต ไม่มีที่พึ่งอื่นจะยิ่งกว่า


บทเจริญพระธรรมคุณ

สะ () วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม  สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก  ปัจจัตตัง  เวทิตัพโพ  วิญญูหีติ


บทระลึกถึงพระธรรมคุณ

พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า   ย่อมคุ้มครองรักษาผู้ปฏิบัติตาม      ไม่ให้ตกไปในที่ชั่วข้าพเจ้าถึงพระธรรมเจ้า เป็นที่พึ่งตลอดชีวิต ไม่มีที่พึ่งอื่นจะยิ่งกว่า



บทเจริญพระสังฆคุณ

สุปะฏิปันโน   ภะคะวะโต    สาวะกะสังโฆ   อุชุปะฏิปันโน   ภะคะวะโต    สาวะกะสังโฆ  

ญายะปะฏิปันโน   ภะคะวะโต   สาวะกะสังโฆ    สามีจิปะฏิปันโน   ภะคะวะโต      สาวะกะสังโฆ 

ยะทิทัง  จัตตาริ  ปุริสะยุคานิ  อัฏฐะ  ปุริสะปุคคะลา  เอสะ  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ  อาหุเนยโย  

ปาหุเนยโย  ทักขิเณยโย  อัญชะลีกะระณีโย  อะนุตตะรัง  ปุญญักเขตตัง โลกัสสสาติ   


บทระลึกถึงพระสังฆคุณ

พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า    เป็นผู้ปฏิบัติดี   ปฏิบัติตรง   ปฏิบัติควร    ปฏิบัติชอบ

เป็นพยานในพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ว่าปฏิบัติตามได้จริง   และมีผลประเสริฐจริง

ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์เจ้า เป็นที่พึ่งตลอดชีวิต ไม่มีที่พึ่งอื่นจะยิ่งกว่า


บทแผ่เมตตา

(ลดมือลงประสานกันไว้ สำรวมใจแผ่เมตตา)

สัตว์ทั้งหลาย ที่เป็นเพื่อนทุกข์  เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันหมดทั้งสิ้น  จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด

อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย           จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด     อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย

จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด     อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย   จงมีความสุขกายสุขใจ      รักษาตน

ให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด

(แผ่เมตตาจบแล้ว กราบ ครั้ง พร้อมกัน)

บทปลงใจ

(ลุกขึ้นยืนท่าตรงกล่าวจนจบพิธี)

ชาติของเรา  เป็นไทยอยู่ได้  จนถึงตัวเราคนหนึ่งนี้ เพราะบรรพบุรุษของเรา   เอาเลือด

เอาเนื้อ  เอาชีวิต   และความลำบากยากเข็ญเข้าแลกไว้     เราต้องรักษาชาติ     เราต้องบำรุงชาติ

เราต้องสละชีพเพื่อชาติ

เพลงชาติ

ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย

เป็นประชารัฐ  ไผทของไทยทุกส่วน

อยู่ดำรงคงไว้ได้ทั้งมวล

ด้วยไทยล้วนหมายรักสามัคคี

ไทยนี้รักสงบ  แต่ถึงรบไม่ขลาด

เอกราช  จะไม่ให้ใครข่มขี่

สละเลือดทุกหยาดเป็นชาติพลี

เถลิงประเทศชาติไทยทวีมีชัย ชโย

บทสรรเสริญพระบารมี

ข้าวรพุทธเจ้า  เอามโนและศิรกราน  นบพระภูมิบาล  บุญดิเรก  เอกบรมจักริน

พระสยามมินทร์        พระยศยิ่งยง      เย็นศิระเพราะพระบริบาล   ผลพระคุณ    รักษา

ปวงประชาเป็นสุขศานต์    ขอบันดาล      ประสงค์ใด    จงสฤษดิ์ดัง      หวังวรหฤทัย

ดุจถวายชัย  ชโย


การกล่าวคำอาราธนาในพุทธศาสนาพิธี

ก่อนแต่จะรับศีลจากพระสงฆ์ก็ดี ก่อนแต่จะฟังพระธรรมเทศนาก็ดี      ก่อนแต่จะให้

พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ก็ดี  คฤหัสถ์ต้องอาราธนาก่อน  คำอาราธนานั้น เป็นภาษามคธ   ดังนี้


คำอาราธนาศีล ๕


                              คำบาลี                                                                     คำแปล

     มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ/     ข้าแต่ท่านผู้เจริญ       ข้าพเจ้าทั้งหลายขอศีล  

ติสะระเณนะ สะหะ/ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ พร้อมด้วยไตรสรณะ   เพื่อรักษาแยกกันเป็นข้อ           ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต ฯลฯ   ยาจามะ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ฯลฯ   เพื่อรักษา 

แยกกันเป็นข้อๆ เป็นครั้งที่

ติตติยัมปิ มะยัง ภันเต ฯลฯ ยาจามะ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ฯลฯ  เพื่อรักษา แยกกันเป็นข้อๆ เป็นครั้งที่     


คำอาราธนาพระปริตร (สวดมนต์)

                              คำบาลี           คำแปล

     วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา     ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลาย สวดพระปริตร

สัพพะทุกขะวินาสายะ ปะริตตัง พรูถะ มังคะลัง    อันเป็นมงคล เพื่อป้องกันความพิบัติ เพื่อให้สำเร็จ

                                                                 สมบัติทุกอย่าง และเพื่อให้ทุกข์พินาศไป

   วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา     ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลาย  ฯลฯ

สัพพะภะยะวินาสายะ ปะริตตัง พรูถะ มังคะลัง และเพื่อให้ภัยพินาศไป

   วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา     ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลาย  ฯลฯ

สัพพะโรคะวินาสายะ ปะริตตัง พรูถะ มังคะลัง และเพื่อให้โรคพินาศไป




อาราธนาธรรม (อาราธนาให้พระเทศน์)

                              คำบาลี                                                     คำแปล

     พรัหมา จะ โลกาธิปะตี สะหัมปะติ          ท้าวสหัมบดีพรหม ผู้เป็นอธิบดีของโลก ได้ประนมหัตถ์

กัตอัญชะลี  อันธิวะรัง  อะยาจะถะ                    นมัสการกราบทูล สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ประเสริฐ

สันตีธะ สัตตาปปะระชักขะชาติกา                    กว่าสัตว์ผู้ยังมืดมนว่า สัตว์ทั้งหลายผู้มี  คือกิเลส

เทเสตุ ธัมมัง อะนุกัมปิมัง ปะชัง                       ในดวงตาเพียงเล็กน้อย  ยังมีอยู่ในโลกนี้  ขอพระองค์

                                        จงทรงแสดงธรรม อนุเคราะห์หมู่สัตว์นี้เถิด

                                               

ก่อนว่าคำอาราธนา ถ้าเป็นพิธีทางราชการ  พระสงฆ์นั่งบนอาสนะสูง  เจ้าภาพนั่งเก้าอี้  ผู้อาราธนาควรยืนขึ้น ทำความเคารพประธานก่อน แล้วจึงเดินเข้าไปหาพระสงฆ์ยืนห่างพอควร แล้วประนมมือไหว้กล่าวคำอาราธนา  เสร็จแล้วไหว้อีกครั้งหนึ่งหันมาทำความเคารพประธาน  แล้วจึงไปนั่งฟังเทศน์หรือฟังพระสวดมนต์  ถ้าเป็นพิธีของเอกชน  ผู้ฟังนั่งกับพื้น ผู้อาราธนาควรนั่งคุกเข่าขึ้นแล้วกราบพระประนมมือกล่าวคำอาราธนา  เสร็จแล้ว กราบ ครั้ง นั่งราบลงกับพื้นฟังสวดหรือเทศน์ต่อไป


---------------------------------------


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

วิชาการศาสนาและศีลธรรม สำหรับ หลักสูตรนายสิบอาวุโส

  วิชาการศาสนาและศีลธรรม สำหรับ หลักสูตรนายสิบอาวุโส ------------------------   พระพุทธศาสนากับสังคมไทย พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศไทย พระพุทธศาสนาได้ถูกนำมาเผยแผ่ในประเทศไทยตั้งแต่แผ่นดินไทยทุกวันนี้ยังเป็นอาณาจักรทวาราวดีซึ่งในสมัยเดียวกันนั้น  ชาวไทยตั้งภูมิลำเนาอยู่ในผืนแผ่นดินที่เป็นประเทศจีนเดี๋ยวนี้ และเป็นที่คาดกันว่าคนไทยได้เริ่มนับถือ พระพุทธศาสนาตั้งแต่ครั้งนั้นบ้างแล้ว ความเป็นมาของพระพุทธศาสนาในประเทศไทย  อาจแบ่งออกได้เป็น  ๔  ยุค   คือ ๑.  ยุคเถรวาทแบบสมัยอโศก ๒. ยุคมหายาน ๓. ยุคเถรวาทแบบพุกาม ๔. ยุคเถรวาทแบบลังกาวงศ์ ยุคที่   ๑   เถรวาทแบบสมัยอโศก พ.ศ. ๒๑๘  พระเจ้าอโศกม หาราช  ทรงอุปถัมภ์การสังคายนาครั้งที่  ๓  ณ พระนครปาฏลีบุตร  หลังจากเสร็จสิ้นการสังคายนาแล้ว     ได้ทรงส่งพระสงฆ์ไปประกาศพระศาสนาในดินแดนต่าง ๆ          รวม ๙ สาย  บรรดา ๙ สายนั้น  พระโสณะและพระอุตตระ  เป็นสายหนึ่ง (คัมภีร์สมันตปาสาทิกาอรรถกถาแห่งพระวินัยปิฎกนับเป็นสายที่ ๘...

ระเบียบงานสารบรรณ

ระเบียบงานสารบรรณ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 ( อ่าน ) ระเบียบกองทัพบก ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2555 ( อ่าน ) ระเบียบกองทัพบก ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2563 ( อ่าน )  ระเบียบกองทัพบก ว่าด้วยงานสารบรรณ (ฉบับที่2) พ.ศ.2564 ( อ่าน ) สรุปงานสารบรรณ